หมอเอกชำแหละงานวิจัยหมอรามาฯ พบข้อมูลบุหรี่ไฟฟ้าไม่น่าเชื่อถือ จี้ถึงเวลาบุหรี่ไฟฟ้าต้องถูกกฎหมาย
“หมอเอก” ชำแหละผลการศึกษาอ้างบุหรี่ไฟฟ้าทำลาย DNA ในช่องปากเท่าบุหรี่มวน ชี้เป็นการศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนผลวิจัยที่ได้มาตรฐานระดับโลกกลับถูกปิดกั้นไม่เผยแพร่ จี้ไทยควรยอมรับความจริงและถึงเวลาให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย พร้อมแนะให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานแทนหากหน่วยงานที่รับผิดชอบหาแนวทางใหม่ๆ ไม่ได้
นพ.เอกภพ เพียรพิเศษ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร โพสต์ในเฟสบุ๊กส่วนตัวถึงกรณีที่มีการกล่าวอ้างถึงการเผยแพร่ผลวิจัยว่าบุหรี่ไฟฟ้าทำลาย DNA เซลล์ช่องปากเทียบเท่าบุหรี่มวนว่าเป็นการตีข่าวใหญ่โตจนทำให้คนเข้าใจผิด โดยนพ.เอกภพได้อธิบายว่าผลวิจัยที่ได้รับการกล่าวอ้างนั้น “ศึกษาจากประชากรแค่ 72 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 24 คน ว่าเป็นกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ กลุ่มที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า(ไม่มีประวัติสูบบุหรี่มวนมาก่อน) และกลุ่มที่สูบบุหรี่มวน” โดยเมื่อพิจารณาลักษณะประชากรแต่ละกลุ่ม พบว่ามีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงต้องตั้งคำถามถึงอคติและเกณฑ์ในการเลือกประชากรที่เข้าร่วมการศึกษา
“อย่าลืมว่ามะเร็งเป็นโรคที่เกิดจากหลายปัจจัยมาร่วมกัน ดังนั้นการด่วนสรุปว่าการเจอ DNA ที่เปลี่ยนแปลงเป็นจากการสูบบุหรี่ หรือ บุหรี่ไฟฟ้าเท่านั้น และที่สำคัญ ข้อมูลจากการศึกษานี้สรุปไว้ชัดเจนว่า บุหรี่ไฟฟ้า กับ บุหรี่มวน มีโอกาสให้ DNA เซลล์ในช่องปากเปลี่ยนแปลงมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างบุหรี่ กับ บุหรี่ไฟฟ้า” นพ.เอกภพกล่าว
นพ.เอกภพระบุเพิ่มเติมว่า มีข้อมูลว่าการเกิดการเปลี่ยนแปลงของ DNA เป็นลักษณะที่หากมีการสัมผัสบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้ามากจะยิ่งมีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลง DNA มาก โดยการศึกษาดังกล่าวพิจารณาจากปริมาณซีซีของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าต่อปี เช่นเดียวกับการพิจารณาจำนวนซองของบุหรี่มวนที่สูบต่อปี ซึ่งรายงานดังกล่าวยอมรับว่าพฤติกรรมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและการสูบบุหรี่มวนนั้นมีความแตกต่างกัน เนื่องจากบุหรี่มวนจะสูบครั้งเดียวจนหมดมวน ขณะที่บุหรี่ไฟฟ้ามีลักษณการใช้งานเป็นครั้ง ส่งผลให้ปริมาณสารที่ได้รับมีความเข้มข้นน้อยกว่าบุหรี่มวน
ทั้งนี้ นพ.เอกภพได้กล่าวถึงการเลือกเผยแพร่รายงานเฉพาะส่วน ส่งผลให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด ขณะที่ผลการวิจัยที่ได้มาตรฐาน เช่น การทบทวนอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) ที่มีพิจารณาการศึกษากว่า 70 ชิ้นและศึกษากลุ่มตัวอย่างกว่า 20,000 ราย กลับไม่ได้รับการกล่าวถึง นอกจากนี้ นพ.เอกภพยังระบุว่าตนถูกกีดกันจากการเข้าร่วมเวทีเสวนาอีกด้วย
โดยรายงานฉบับดังกล่าวที่ ดร.เอกภพกล่าวถึงคือการศึกษาการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกบุหรี่ (Electronic cigarettes for smoking cessation) ด้วยวิธีการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบโดยต่อเนื่อง (Living systematic review) โดย Cochrane Tobacco Addiction ซึ่งได้ทำการศึกษาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2014 และมีการปรับปรุงฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง รวมรวมผลการศึกษากว่า 78 ชิ้น และมีผู้เข้าร่วมการวิจัยกว่า 22,000 ราย
ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้คนเลิกบุหรี่ได้มากกว่าการบำบัดด้วยนิโคตินทดแทน และพบว่าผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ด้วยการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีระดับคาร์บอนมอนอกไซด์นั้นต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับผู้ที่สูบบุหรี่มวนอย่างต่อเนื่อง
ประเด็นเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นไม่เพียงแต่ถูกกล่าวถึงโดยนพ.เอกภพ แต่ยังมีการกล่าวถึงโดยนักการเมืองอีกมากมาย เช่น นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนายชัยวุฒิได้กล่าวว่าจะผลักดันให้นโยบายบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายเป็นนโยบายพรรคในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้อีกด้วย โดยชาวเน็ตและคนดังอีกมากมายก็จับตาดูว่านโยบายบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายจะมาแทนที่การแบนทิพย์ในเร็วๆนี้หรือไม่
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี