วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : ‘เสรีภาพสื่อมวลชน’  มุมมอง 5 พรรคการเมือง

รายงานพิเศษ : ‘เสรีภาพสื่อมวลชน’ มุมมอง 5 พรรคการเมือง

วันพฤหัสบดี ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, 06.55 น.
Tag : พรรคการเมือง รายงานพิเศษ สื่อมวลชน เสรีภาพ
  •  

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดเสวนาหัวข้อ “สิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน ในมุมมอง
พรรคการเมืองไทย”
 เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมวันเสรีภาพสื่อมวลชนสากล วันที่ 3 พฤษภาคม ของทุกปี โดยมีตัวแทนจาก 5 พรรคการเมืองเข้าร่วม อาทิ ขัตติยา สวัสดิผล ผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกฎหมาย พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ซึ่งหลักการที่ควรจะเป็นคือ “เปิดเผยเป็นหน้าที่-ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” โดยรัฐมีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชน แต่ที่ผ่านมามีความพยายามแก้ไขแบบกลับด้าน คือให้ปกปิดเป็นหน้าที่ส่วนเปิดเผยเป็นข้อยกเว้น ดังนั้นทั้งสื่อและประชาชนต้องเฝ้าระวัง

ส่วนปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ต้องยอมรับว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือเซ็นเซอร์ได้ตราบใด
ที่มีสื่อทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อพลเมือง ดังนั้น ทางออกคือ 
“ต้องสร้างวัฒนธรรมการสื่อสารบนข้อเท็จจริง (Fact) แต่ก็ไม่ใช่การสร้างความเกลียดชัง (Hate Speech)” ซึ่งก็อาจถึงขั้นต้องดำเนินคดีหากเข้าข่ายหมิ่นประมาท แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้การฟ้องคดีเพื่อปิดปาก (SLAPP) หากเป็นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ สุดท้ายคือเรื่องของจริยธรรมวิชาชีพ จะเห็นว่าสื่อหลักค่อนข้างเคร่งครัด แต่ทำอย่างไรจะสามารถขยายไปถึงสื่อพลเมืองได้


“มีการตรวจสอบ คิดวิเคราะห์และแยกแยะก่อนนำเสนอข่าว เคารพในเสรีภาพของกันและกันไม่ปิดปาก ไม่เซ็นเซอร์กันและกัน ไม่ปล่อยข่าวปลอมใส่กัน ไม่ใส่ร้ายป้ายสีกัน เคารพว่าการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลมันสามารถทำได้ตราบใดที่ไม่ไปคุกคาม ที่ต้องพูดว่าคุกคามเพราะมีสื่อบางสำนักที่คุกคามอย่างจริงจัง อย่างที่เคยเกิดกับตัวเองคือไปถึงบ้าน ไปถามเรื่องของเรากับคนข้างบ้าน มีการโทรศัพท์มาถามเรื่องส่วนตัวของเรา พอเราถามกลับไปว่าอันนี้เกินไปหรือเปล่า เขาพูดว่าเพราะคุณเป็นบุคคลสาธารณะคำนี้มันเป็นดาบสองคมเพราะสุดท้ายแล้วสื่อสามารถล้ำเส้นไปเพราะเราเป็นบุคคลสาธารณะได้หรือ? ทั้งๆ ที่เรื่องนั้นไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นการงานของเราเลย” ขัตติยา กล่าว

วทันยา บุนนาค (วงษ์โอภาสี) ผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง“3 เสาหลัก” ที่ต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน คือ1.รัฐ ต้องสร้างบรรยากาศให้สื่อสามารถมีเสรีภาพในการนำเสนอ และประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหา เช่น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ตามหลักการควรเป็นกฎหมายดูแลเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ แต่ในความเป็นจริงถูกนำมาใช้ฟ้องในคดีหมิ่นประมาทเพราะมีอัตราโทษสูงกว่า

2.สื่อ ต้องส่งเสริมให้สามารถกำกับดูแลกันเอง ดังนั้น จุดยืนโดยส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายส่งเสริมจริยธรรมสื่อ ที่เพิ่งถูกนำเข้าสู่การพิจารณาในรัฐสภาไปเมื่อเร็วๆ นี้ และ 3.ประชาชนต้องได้รับการสนับสนุนให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งรัฐต้องมีความเป็น Open Government (รัฐบาลเปิด) เพื่อให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ สังคมต้องยอมรับเสรีภาพในการแสดงออก แต่การแสดงออกก็ต้องไม่ไปกระทบเสรีภาพของบุคคลอื่นด้วย

“ปฏิเสธไม่ได้คือเรื่องของทุน เพราะสื่อก็เป็นองค์กรที่เป็นธุรกิจประเภทหนึ่ง รัฐจะมีบทบาทอย่างไรในการที่จะสร้างองค์กรภาคกลาง ให้สื่อสามารถมีความเป็นอิสระในการนำเสนอข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยไม่มีเงื่อนไขในเรื่องของทุนเข้ามาเป็นข้อผูกมัดในองค์กรสื่อ นอกจากนี้ที่อยากฝากไปมากกว่าการแสดงสิทธิเสรีภาพ อาจจะเป็นประเด็นทางการเมือง แต่ภายใต้สื่อมันคือทุกอย่างที่เรานำเสนอมันมีผลกระทบต่อสังคมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคม บรรยากาศการนำเสนอข่าวอาชญากรรม ตรงนี้คิดว่าเป็นเรื่องบทบาทของรัฐในการเข้ามาช่วยกันดูแล ให้สื่อมีเสรีภาพ และสามารถทำงานไปตามอุดมการณ์ ไปตามจริยธรรมที่ตัวเองต้องการ” วทันยา กล่าว

รังสิมันต์ โรม ผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลเสนอให้ยุบศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม หน่วยงานของรัฐที่ใช้งบประมาณ 60-70 ล้านบาท เพราะเป็นการปิดปากประชาชน อีกทั้งมีปัญหาความผิดพลาดโดยเฉพาะประเด็นวัคซีนช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ขณะเดียวกันจะผลักดันให้แก้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา-วิธีพิจารณาความแพ่ง และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ให้ชัดเจนว่าใช้จัดการกับการหลอกลวงหรือแฮกระบบ ป้องกันการฟ้องปิดปากหรือใช้กฎหมายรังแกประชาชน อีกทั้งทบทวนบทบาทของสื่อที่ได้รับงบประมาณจากรัฐว่าควรจะมีลักษณะอย่างไร

“อีกข้อที่ผมเป็นห่วงมากๆ และเกี่ยวข้องกับความเป็นอิสระของสื่อ คือรายได้ของนักข่าวทั้งหลาย นักข่าวภาคสนามทั้งหลายมีรายได้น้อยมาก เราจะเห็นคนจำนวนมากที่เข้ามาทำงานในสื่อส่วนใหญ่อยู่ไม่นาน อยู่ไปสักพักเดี๋ยวก็ต้องย้ายไปที่อื่น ดังนั้นสิ่งที่เราควรจะทำคือการทบทวนในเรื่องนี้เหมือนกัน” รังสิมันต์ กล่าว

ว่าที่ ร.ต.อ. (หญิง) อัยรดา บำรุงรักษ์ ผู้สมัคร สส.เขต 23 กรุงเทพฯ พรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวถึงข้อเสนอให้ยุบศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม โดยเห็นว่าหน่วยงานนี้ยังมีประโยชน์อยู่เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าข่าวปลอมมีอยู่จริง และมีคำถามว่า การที่ใครจะพูดอะไรก็ได้แม้ไม่ใช่เรื่องจริงแล้วส่งผลกระทบต่อความคิดหรือการกระทำของคนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้หรือไม่? ถูกต้องตามกฎหมายและชอบธรรมหรือเปล่า? ประเด็นนี้ในสังคมไทยไม่ว่าจะอยู่พรรคใดอาจต้องมาวางเส้นแบ่งกันใหม่

“สื่อพลเมือง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาอาจเป็นเพราะ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร หรือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐบางท่านอาจทำให้ประชาชนบางกลุ่มรู้สึกว่าวันนี้จะต้องลุกขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อเองทางเราไม่ได้ปิดกั้นในการที่จะแสดงจุดยืนในการแสดงความคิดเห็นเราสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด ตามที่ไทยเราก็ได้ให้ปฏิญาณไว้ใน ICCPR อย่างไรก็ดี ในการทำงาน ณ จุดนี้เราต้องคิดถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และตรวจสอบได้(Accountability) ก็คือในส่วนแสดงการรับผิดและรับชอบในข้อความที่เรากล่าวไป” ว่าที่ ร.ต.อ. (หญิง) อัยรดา กล่าว

ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ โฆษกพรรคไทยสร้างไทย ให้ความเห็นว่าในประเทศไทยโดยเฉพาะในรัฐบาลชุดปัจจุบันมักใช้ข้ออ้างด้านความมั่นคงเพื่อที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลกับสื่อ หรือกว่าจะเปิดเผยก็ต้องใช้เวลายาวนาน ซึ่งบางประเด็นการได้รับรู้ ณ เวลานี้ กับการรอไปเป็นเดือนหรือเป็นปีหรือหลายปี จะมีผลต่อการค้นหาความจริง หรือมีผลต่อการพิสูจน์ความโปร่งใสในการทำหน้าที่ของรัฐ

ทั้งนี้ สื่อต้องเป็นอิสระจาก 3 เรื่อง คือ 1.กฎหมายที่มีลักษณะควบคุมหรือครอบงำสื่อ ต้องพูดคุยเพื่อหาจุด
ที่เหมาะสม 
2.ทุนที่สนับสนุนสื่อ แม้ทิศทางของโลก เช่น แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ จะระบุแหล่งทุนของสื่อ
สำนักต่างๆ แต่ก็ยังจำกัดในกรณีเป็นทุนจากรัฐ ไม่รวมถึงทุนเอกชน จึงอยากเรียกร้องให้สื่อทำหน้าที่อย่างมีจรรยาบรรณไม่ถูกครอบงำจากทุน และ 
3.วิธีคิดของสื่อเอง แม้สื่อจะอยากสร้างตลาดเสรีทางความคิด แต่สื่อก็ต้องมีจรรยาบรรณ รู้ว่าอะไรควร-ไม่ควรนำเสนอ

“ความรับผิดชอบของสื่อมีต่อสังคมเยอะมากเนื่องจากสื่อเป็นคนที่สร้างวัฒนธรรมทางสังคม ยิ่งอยู่ในช่วงของความแตกแยก อยู่ในช่วงของการมีขั้ว เราควรจะให้สื่อเป็นอิสระจากตรงนี้มากที่สุด” ธิดารัตน์ กล่าว


SCOOP@NAEWNA.COM
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : เปิด ‘Acceleration Program’ 5 กลุ่ม ปั้น ‘สตาร์ตอัปฯ’ เชื่อมไทยสู่ตลาดโลก รายงานพิเศษ : เปิด ‘Acceleration Program’ 5 กลุ่ม ปั้น ‘สตาร์ตอัปฯ’ เชื่อมไทยสู่ตลาดโลก
  • รายงานพิเศษ : สัมพันธ์แน่นแฟ้น‘เสฉวน-สงขลา’ รายงานพิเศษ : สัมพันธ์แน่นแฟ้น‘เสฉวน-สงขลา’
  • รายงานพิเศษ : พัฒนาระบบแผนที่ความเสี่ยงจากฝน มุ่งเป้า ‘น้ำมั่นคง - ไม่ท่วม - ไม่แล้ง’ รายงานพิเศษ : พัฒนาระบบแผนที่ความเสี่ยงจากฝน มุ่งเป้า ‘น้ำมั่นคง - ไม่ท่วม - ไม่แล้ง’
  • รายงานพิเศษ : ชายแดนไทยรั่ว ปิดช่องโหว่งัดข้อกัมพูชา รายงานพิเศษ : ชายแดนไทยรั่ว ปิดช่องโหว่งัดข้อกัมพูชา
  • รายงานพิเศษ : ​‘ฉลาดซื้อ – ฉลาดใช้’ เตือนภัย! ผู้บริโภค ทางรอดในยุคของการหลอกลวงไม่รู้จบ รายงานพิเศษ : ​‘ฉลาดซื้อ – ฉลาดใช้’ เตือนภัย! ผู้บริโภค ทางรอดในยุคของการหลอกลวงไม่รู้จบ
  • รายงานพิเศษ : ​‘สามเหลี่ยมสมดุล’ สร้างเสริมสุขภาพ ลดปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัย รายงานพิเศษ : ​‘สามเหลี่ยมสมดุล’ สร้างเสริมสุขภาพ ลดปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัย
  •  

Breaking News

(คลิป) อดีตฝ่ายแค้น'พรรคส้ม'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ'ทักษิณ'ไม่ใช่'ทหาร'

(คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม'พรรคส้ม' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112

เลย์ออฟครั้งใหญ่! 'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน

เก๋งเสียหลักตกคลอง มุดท่อระบายน้ำ ดับสลด 2 เจ็บ 2

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved