วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : น้อมนำ‘ศาสตร์พระราชา’  สร้างความมั่นคงยั่งยืนให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน

สกู๊ปพิเศษ : น้อมนำ‘ศาสตร์พระราชา’ สร้างความมั่นคงยั่งยืนให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน

วันอาทิตย์ ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

ความเปลี่ยนแปลงสำคัญประการหนึ่งที่เกิดขึ้นภายหลังการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในประเทศไทยคือ ภาคการเกษตรของไทยถูกยึดโยงเข้ากับภาคการส่งออกมากขึ้น

ดังนั้น แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมภาคการเกษตรจึงเน้นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด มีการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยเพื่อทำงานให้ได้มากขึ้น ปุ๋ยเคมียาปราบศัตรูพืช ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง เพื่อเพิ่มผลผลิตและป้องกันศัตรูพืช แม้เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่จำเป็นต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกมากขึ้น เป็นหนี้เป็นสินมากขึ้น เกษตรกรสูญเสียความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ประกอบกับภาวการณ์ขาดแคลนน้ำในภาคการเกษตร เป็นปัญหาซ้ำเติมให้เกษตรกรรายย่อยซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศตกอยู่ในวงจรของความยากจน และนำไปสู่การสูญเสียที่ดิน ผลจากการพัฒนาแม้จะเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศแต่ขาดรากฐานที่มั่นคง


จากการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมประชาชนในภาคต่างๆ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ และปัญหาของประชาชนกลุ่มต่างๆ จึงทรงรวบรวมข้อมูลจากปัญหาที่เกิดขึ้น และทรงวิเคราะห์ออกมาเป็นแนวคิดทฤษฎีในการแก้ปัญหาให้กับประเทศและประชาชน

18 กรกฎาคม พ.ศ.2517 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแนวพระราชดำริ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญและจุดเริ่มต้นของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...”

25 พฤศจิกายน 2535 จากการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรที่บ้านกุดตอแก่น ตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ อำเภอเขาวงจังหวัดกาฬสินธุ์ ทรงเห็นสภาพปัญหาของเกษตรกรรายย่อยเนื้อที่ถือครองน้อย ปลูกข้าวได้เพียงปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น บางรายปลูกพืชเพียงชนิดเดียว บ่อน้ำที่ขุดไว้บางปีก็ไม่เพียงพอเนื่องจากฝนทิ้งช่วงและความแปรปรวนของสภาพอากาศ หากต้องการให้เกษตรกรเลี้ยงตนเองได้พอเพียง และบ่อมีน้ำให้พอใช้ทั้งปี ควรวางแผนการใช้ที่ดิอย่างไร จากนั้นจึงทรงวิเคราะห์ออกมาเป็นทฤษฎี เพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหา คือ “ทฤษฎีใหม่” ซึ่งเป็นแนวทางเกี่ยวกับการจัดการดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขึ้น และในเวลาต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริให้ทำการทดลอง “ทฤษฎีใหม่” ขึ้น ณ วัดชัยมงคลพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

ผลปรากฏว่า แนวทางดังกล่าว ทำให้เกษตรกรสามารถมีน้ำสำหรับการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อยังชีพ และทำรายได้แก่ครอบครัวได้ในระดับที่น่าพอใจ หลังจากนั้น จึงได้ขยายผลต่อเนื่องไปยังพื้นที่ต่างๆ อีกมากมาย เกษตรกรต่างให้ความสนใจนำรูปแบบทฤษฎีใหม่ไปดำเนินการอย่างกว้างขวาง

ปัจจุบันได้มีการน้อมนำ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”และ“ทฤษฎีใหม่” เป็นแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นผ่านศูนย์การพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศทั้ง 6 แห่ง โดยมีโครงการพัฒนาในด้านต่างๆที่ปฏิบัติจริงในพื้นที่ และเป็นศูนย์เรียนรู้ให้แก่ประชาชนมากกว่า 4,000 โครงการ

นายเฉลิมชัย อินทรชัยศรี เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินบ้านโคกใหญ่ ตำบลตาดข่า อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย เล่าให้ฟังว่าหลังจากประสบความล้มเหลวจากการปลูกมันสำปะหลังบนผืนดิน 65 ไร่ ที่ตกทอดมาจากพ่อแม่ ประมาณปี พ.ศ. 2526 เขาจึงมานั่งทบทวนแนวทางการทำการเกษตรใหม่ เพราะหากยังทำเกษตรเชิงเดี่ยวก็คงเอาตัวไม่รอด เพราะในพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำ ดินขาดความสมบูรณ์เพราะเป็นลูกรังปนทราย ของกินในบ้านก็ซื้อเกือบทุกอย่าง เขาจึงเริ่มต้นจากหลักคิดพื้นฐานที่ว่า ถ้าจะทำการเกษตรให้ได้ผลก็จะต้องมีแหล่งน้ำก่อน เขาจึงวางแผนระยะยาวไว้ว่า บนที่ดิน 65 ไร่ จะต้องขุดบ่อน้ำไว้กี่แห่ง อยู่ที่ตรงไหนบ้าง เมื่อฝนตก น้ำหลากไปตรงไหนก็จะขุดคลองดักน้ำเก็บไว้ จากนั้นจึงค่อยๆ ทำไปตามกำลังเงินที่มี

ขั้นต่อไปคือ การวางแผนปลูกพืชผัก โดยตั้งเป้าหมายไว้ตลอดชีวิตว่าจะกินอะไรในแต่ละวัน จะใช้อะไรบ้าง ก็ปลูกขึ้นมา จะกินสัตว์น้ำ พวกกุ้ง หอย ปู ปลา ก็จับไปปล่อยในบ่อที่ขุดไว้ ทำให้มีข้าวในนา มีปลาในบ่อ ป่าที่มีอยู่แล้วก็ปลูกเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติ และเมื่อทำได้ขนาดนี้ก็พออยู่ พอกิน และมีความมั่นคงในเรื่องอาหาร พอในหลวงรัชกาลที่ 9 พูดเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมา เขาจึงเกิดความมั่นใจว่า สิ่งที่ทำนั้นมาถูกทางแล้ว แต่ตอนนั้นยังไม่เป็นระบบ เขาจึงมาปรับพื้นที่อีกเล็กน้อย เพื่อให้เข้ากับหลักของเกษตรทฤษฎีใหม่ และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นายเฉลิมชัยกล่าวว่า ที่นี่เราเป็นเกษตรผสมผสานเริ่มต้นจากเรื่องของอยู่ของกิน เอาให้มั่นคงในเรื่องอาหารก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนาข้าว เรื่องแหล่งอาหาร ปลา กุ้ง หอย มีให้ครบ แล้วพืชผักที่เรากิน พวกผักหวานป่า เราก็มีมากกว่า 300 ต้น ไผ่ก็มีมากกว่า 400 ต้น ระบบน้ำเราก็มีให้ครบ การที่เราอยู่จะต้องมีค่าใช้จ่าย เราหาเงินยังไง อย่างเช่น ทำก้อนเห็ด นำมาเลี้ยง ขายเป็นเห็ดสด ส่วนที่เหลือนำมาแปรรูป

“ผมเคยเล่นการเมืองท้องถิ่น ปี 2540-2548 สองสมัย 8 ปีผมเป็นหนี้ 7 ล้าน จากนั้นจึงวางมือ และกลับมาพัฒนาผืนดินอีกครั้ง จากก้อนเห็ดเก่าที่ถูกทิ้งไว้นำมาทำเป็นดิน ทำเป็นปุ๋ยเพื่อจำหน่าย โดยรวมเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผมสามารถปลดหนี้ทั้งหมดได้ภายในเวลา 4 ปี อยู่ที่นี่เรามีมากกว่า 30 กิจกรรม เริ่มมีพี่น้องที่เป็นหน่วยงานราชการ ไม่ว่าจะเป็นเกษตร กศน. ส.ป.ก. พัฒนาชุมชน อยากมาฟังแนวคิดของเรา นี่คือสิ่งที่ผมได้ชัดเลยจากศาสตร์พระราชา” นายเฉลิมชัย กล่าว

ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กล่าวว่า ในอดีต เมื่อเกษตรกรล้มเหลวจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว จะมีเกษตรกรหัวก้าวหน้าบางส่วนหันมาทบทวนแนวทางการทำการเกษตรในพื้นที่ของตนเองใหม่ และลงมือพัฒนา เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้และอยู่อย่างมั่งคง มีเกษตรกรหลายๆ ท่านประสบความสำเร็จในการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ และได้สรุปเป็นแนวทางการพัฒนาเผยแพร่สู่สาธารณชน โดยมีคำจำกัดความและเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป เช่น การเกษตรแบบยั่งยืน สวนวนเกษตร เกษตรกรรมทางเลือก เกษตรกรรมเชิงพุทธฯ

แต่เนื่องจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นประสบการณ์จากการพัฒนาเฉพาะพื้นที่ ความแพร่หลายจึงอยู่ในวงจำกัด คือแพร่หลายเฉพาะในกลุ่มของผู้ที่มีประสบการณ์ และมีพื้นที่เพาะปลูกที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ต่างจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของสายกลาง คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต

“เศรษฐกิจพอเพียง” จึงเป็นปรัชญาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกคน ทุกภาคส่วน ทุกมิติ และทุกพื้นที่ โดยประยุกต์ใช้ควบคู่กับ “ทฤษฎีใหม่” ซึ่งเป็นแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเกื้อหนุนกัน เช่น ทฤษฎีใหม่ทางด้านการเกษตร เป็นแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกและแหล่งน้ำ และวางแผนการผลิตเพื่อให้พอมีพอกินในครัวเรือน ซึ่งเป็นทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 จากนั้นจึงยกระดับสู่การรวมกลุ่มและการขยายผลความสำเร็จสู่ชุมชน (ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3) ดังนั้น การนำ “ทฤษฎีใหม่” มาประยุกต์ใช้พัฒนาภายใต้ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” จึงเป็นแนวทางให้ผู้ที่นำไปปฏิบัติสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือส.ป.ก. จึงได้น้อมนำแนวพระราชดำริดังกล่าวเป็นแนวทางในการพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินให้อยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
  • สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน. สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน.
  • สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ  เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

ลมกระโชกแรง! บ้านริมน้ำกระบี่ทรุดตัวพังถล่ม บาดเจ็บ 2 ราย

'กมธ.ป.ป.ช.'ตีธงสอบ 2 ประเด็นร้อน เชิญ'กรมบัญชีกลาง'ขึงพืดปม'ตึก สตง.'ถล่ม

ล้มได้ก็ลุกเป็น ‘นิน เพชรพัณณิน’กีฬา การเมือง ชีวิต ความรัก

‘ในหลวง-พระราชินี’เสด็จฯทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันวิสาขบูชา 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved