ก้าวเข้าสู่ปี 2567 มาราวสองเดือน สถานการณ์ของประเด็นต่างๆ ในสังคมก็ยังคงดำเนินไปอย่างเข้มข้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หนึ่งในประเด็นที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากปีก่อนก็คงจะหนีไม่พ้น “ของเถื่อนของลักลอบ” ไม่ว่าจะเป็น หมูเถื่อน ยางพาราเถื่อน ปืนเถื่อน ที่เป็นปัญหาสังคมสะท้อนการทุจริตกันอย่างเป็นกระบวนการ
ในอุตสาหกรรมยาสูบ ที่ในปัจจุบันไม่ได้จำกัดอยู่เพียง “บุหรี่เถื่อน” หากแต่มีตัวการสำคัญอีกอย่างคือ “บุหรี่ไฟฟ้าเถื่อน” ที่มาร่วมซ้ำเติมอุตสาหกรรมยาสูบไทย ซึ่งหมายรวมถึงร้านค้าปลีกที่มีใบอนุญาตจำหน่ายบุหรี่อย่างถูกกฎหมาย 500,000 ร้านค้า และชาวไร่ยาสูบกว่า 30,000 ครอบครัวทั่วประเทศให้น่าเป็นห่วงกว่าเก่า
กรมศุลกากร รายงานว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567) ที่ผ่านมา มีรายงานการจับกุมผู้ลักลอบนำบุหรี่เข้ามาในไทยกว่า 632 ราย เป็นจำนวนราว 8.5 ล้านมวน ตีเป็นมูลค่ากว่า 47.5 ล้านบาท ซึ่งก็นับว่ามหาศาลมากแล้วซ้ำร้ายยังมีการจับกุมผู้ลักลอบนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า (อุปกรณ์และน้ำยา) อีกกว่า 62 ราย ด้วยบุหรี่ไฟฟ้าและอุปกรณ์กว่า68,000 ชิ้น ตีเป็นมูลค่ากว่า 15.5 ล้านบาททีเดียว
หากนับรวมทั้งบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้าเถื่อนแล้ว ก็สรุปได้ว่าประเทศไทยมีของเถื่อนทะลักเข้ามาจำนวนมหาศาล เพราะถ้านับแค่ที่จับได้ภายใน4 เดือนแรกก็มูลค่ากว่า 63 ล้านบาทแล้ว ไม่นับข้อมูลการส่งออกบุหรี่ไฟฟ้าจากจีนมายังไทยที่มีมูลค่ากว่า 1,500-2,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา การปราบปรามอย่างเดียวอาจไม่ใช่ทางออกอีกต่อไป
ของเถื่อนมูลค่ามหาศาลเหล่านี้ได้บ่อนทำลายอุตสาหกรรมยาสูบไทยมากว่าสิบปี จึงสามารถกล่าวได้ว่าขณะนี้อาจเป็นจุดวิกฤตของอุตสาหกรรมยาสูบไทยก็ว่าได้ จุดวิกฤตของอุตสาหกรรมยาสูบนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแค่ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเท่านั้น หากแต่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศไทยในภาพรวมอย่างมาก โดยการยาสูบแห่งประเทศไทยได้ให้ข้อมูลไว้ว่าจากสัดส่วนนี้ รัฐไทยต้องสูญเสียรายได้โดยรวมกว่า 23,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าและห้ามจำหน่าย จึงไม่มีการเก็บสถิติอย่างเป็นระบบ ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้
เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ได้คาดการณ์ตัวเลขผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบันว่าไม่ต่ำกว่า 7xx,xxx คน ซึ่งหากภาครัฐจะเข้มงวดกับบุหรี่เถื่อน ก็ต้องเข้มงวดกับบุหรี่ไฟฟ้าที่ลักลอบนำเข้าเช่นเดียวกัน
จุดวิกฤตในครั้งนี้คงเป็นเครื่องยืนยันที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมที่สุดที่จะชี้ชัดว่ามาตรการที่ผ่านมาในการจัดการกับ “บุหรี่มวน” และ “บุหรี่ไฟฟ้า” นั้นส่งผลตรงกันข้ามกับที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคาดหวัง เพราะการขึ้นภาษีสูงไปหรือการแบนบุหรี่ไฟฟ้าได้ก่อให้เกิดธุรกิจใต้ดินมูลค่ามหาศาลและยังมีผลอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น การใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเยาวชน แต่ก็ยังไม่สายเกินไปที่หน่วยงานต่างๆ ทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร จะหันหน้าเข้าคุยกันเพื่อหาจุดสมดุลและทางออกร่วมกันที่ดีไปกว่าในปัจจุบัน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี