วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : สถานการณ์แรงงานไทย (จบ) ปรับการศึกษาให้คนสร้างอาชีพ

สกู๊ปแนวหน้า : สถานการณ์แรงงานไทย (จบ) ปรับการศึกษาให้คนสร้างอาชีพ

วันอาทิตย์ ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

ยังคงอยู่กับวงเสวนา “ถอดรหัสอนาคตแรงงานไทย” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ 101 PUB ซึ่งในตอนที่แล้ว (หน้า 5 ฉบับวันเสาร์ที่ 13 เม.ย. 2567) วิทยากร 3 ท่าน ได้ฉายภาพความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีซึ่งกระทบการมีงานทำของคนและการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศไทย โดยด้านหนึ่งคนก็ต้องปรับตัวรับมือ แต่การปรับตัวก็ไม่ง่ายเพราะใช้ต้นทุนสูง ส่งผลปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ดำรงอยู่แล้วยิ่งมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ส่วนในฉบับนี้ยังมีวิทยากรอีก 2 ท่าน

โดย รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี ประธานบริหารโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉายภาพ “ประวัติศาสตร์การศึกษาไทย” การออกแบบหลักสูตรตั้งอยู่บนฐานว่าต้องการกำลังแรงงานแบบใด-เท่าไร นำมาสู่หลักสูตรที่กำหนดว่าต้องเรียนขั้นพื้นฐานกี่ปีแล้วจึงขึ้นไประดับอุดมศึกษาได้รวมถึงอัดแน่นด้วยเนื้อหาเพื่อให้จบมาอย่างมีคุณภาพ ซึ่งความจริงการทำแบบนี้ไม่ผิด แต่ที่ผิดคือหลักสูตรหยุดนิ่งมาตั้งแต่ปี 2540 แม้จะมีปรับปรุงบ้างแต่ก็เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในขณะที่นำหลักสูตรที่ว่านี้มาใช้กับเด็กในปี 2567ที่พูดกันถึงเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล


ขณะที่ส่วนสิ่งที่จะเห็นมากขึ้น เช่น พ่อแม่จะพยายามมากขึ้นเพื่อให้ลูกได้เรียนโรงเรียนนานาชาติ ซึ่งเป็นธุรกิจมูลค่าแสนล้านบาทต่อปี เพราะเชื่อว่าจะเป็นตราประทับบางอย่างให้กับลูก และยังจะมีโรงเรียนแบบกึ่งกวดวิชา คือจะเน้นเรียนเฉพาะวิชาที่ใช้สอบเข้าคณะที่ต้องการโดยเฉพาะ เช่น อยากเป็นแพทย์ต้องเรียนที่นี่ โดยทิ้งวิชาอื่นให้หมดแต่การันตีเข้าคณะแพทยศาสตร์ได้แน่นอน ซึ่งในมุมของนักการศึกษาเรามองอย่างนี้ตระหนักได้ว่าโลกมีความซับซ้อนสูงมาก และขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแน่นอน

แต่โจทย์ที่พบมากไปกว่านั้นแล้วพยายามอธิบายในมุมของนักการศึกษาจำนวนหนึ่ง อย่างโดยเฉพาะที่ตนทำโรงเรียน สิ่งที่เราตั้งหลักคือไม่ยึดอาชีพเป็นตัวตั้ง เพราะเชื่อว่าโลกแห่งอาชีพในอนาคตมันเป็นอะไรที่เรามองไม่เห็น แต่ในมุมของการสร้างคน เชื่อว่า“การเปลี่ยนระบบการศึกษาที่ดีคือเปลี่ยนบนโจทย์ว่าให้เด็กไปสร้างอาชีพได้เอง” แน่นอนมันจะมีทักษะอาชีพแบบเดิมๆ จำนวนหนึ่งดำรงอยู่ บวกทักษะใหม่เพิ่มเติม แต่จะดีกว่าไม่น้อยหากสร้างเด็กให้มีอะไรบางอย่าง หมายถึงสามารถออกไปเป็นมนุษย์ที่เขาไปสร้างอาชีพเองได้

“อันนี้เป็นโจทย์ที่นักการศึกษาทั่วโลกเผชิญอยู่เช่นเดียวกัน เราพบว่าการออกแบบหลักสูตร กว่าจะปรับตัวได้แต่ละทีครั้งละ 20 ปี แต่เด็กรุ่นใหม่ที่เขาโตขึ้นมาทุกๆ วัน ผมพูดเล่นๆ เวลาเจอเด็ก ม.1 เข้ามา เราก็คุยกับพ่อแม่ เด็กไม่ได้คาบช้อนเงินช้อนทองอย่างที่พวกเราพูดในอดีต มันคาบสมาร์ทโฟนออกมา ดังนั้นวิธีการเรียนรู้มันไม่เหมือนคนยุคอนาล็อกแบบพวกผม ทีนี้หน้าที่ของนักการศึกษา จำเป็นต้องออกแบบการศึกษาที่เชื่อมและตอบโจทย์วิธีการเรียนรู้ของเขาให้ได้” รศ.ดร.อนุชาติ กล่าว

ด้าน รศ.ดร.ศศิวิมล วรุณศิริ ปวีณวัฒน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชวนมองการทำงานในประเทศไทยช่วงปี 2528-2563 ซึ่งพบว่า “เมื่อเวลาผ่านไป 35 ปี ในกลุ่มแรงงานทักษะสูงและทักษะต่ำแนวโน้มค่าจ้างเพิ่มขึ้น แต่กลุ่มแรงงานทักษะปานกลางกลับมีแนวโน้มคงที่” โดยงานทักษะปานกลางอาจเป็นงานที่ถูกเทคโนโลยีทดแทนได้ง่าย จึงทำให้ค่าจ้างไม่ค่อยเพิ่มขึ้น ทำให้เห็นภาพช่องว่างรายได้ที่แตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างแรงงานทักษะสูงกับทักษะปานกลาง

นอกจากนั้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างงานใช้สมอง (Brain) กับใช้กำลัง (Brawn) พบว่า ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมางานที่ใช้สมองมีผลตอบแทนสูงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งหากเป็นงานที่ไปเสริมกับเทคโนโลยีได้ดีก็ยิ่งค่าตอบแทนมาก สวนทางกับงานที่ใช้กำลังที่ผลตอบแทนมีแนวโน้มต่ำลงเรื่อยๆ รวมถึงยังมีปัญหา “การทำงานต่ำกว่าวุฒิการศึกษา (Overeducated)” หมายถึงประเทศไทยผลิตคนจบปริญญาตรีออกมาเป็นจำนวนมากเกินไป ทำให้หลายคนต้องยอมทำงานต่ำกว่าวุฒิที่จบมา แน่นอนว่าย่อมได้ค่าจ้างน้อยกว่าด้วย

รวมถึง“การทำงานไม่ตรงสายในกลุ่มคนจบด้าน STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์)” ในแต่ละปีประเทศไทยผลิตปริญญาตรี
ด้านนี้ออกมาไม่น้อย แต่ก็มีมากพอสมควรที่ไปทำงานอื่นที่ไม่ใช่งานสาย STEM ซึ่งอาจเป็นเพราะประเทศไทยยังไม่มีตำแหน่งงานเพียงพอรองรับ ดังนั้น รัฐก็ต้องทบทวนเช่นกัน ว่าด้านหนึ่งในขณะที่ต้องการส่งเสริมการผลิตแรงงานด้าน STEM แต่อีกด้านรัฐมีการเตรียมตำแหน่งงานไว้รองรับเพียงพอแล้วหรือยัง?

ทั้งนี้ ในการมองกำลังแรงงาน อาจแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ 1.แรงงานในอนาคต ที่กำลังผลิตออกมาผ่านระบบการศึกษา โจทย์คือจะทำอย่างไรให้มีทักษะตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้ 2.แรงงานในปัจจุบัน โจทย์คือจะพัฒนาคนกลุ่มนี้อย่างไรให้เพิ่มขึ้นเท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่งานนี้รัฐทำโดยลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน เช่น รัฐมีนโยบายลดหย่อนภาษีกับสถานประกอบการที่จัดฝึกอบรมต่างๆ แต่ถามว่าเคยไปดูเนื้อหาของการฝึกอบรมหรือไม่? ว่าสามารถยกระดับทักษะแรงงานได้มาก-น้อยเพียงใด?

“ที่สำคัญเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมันสูงมาก ทักษะที่ต้องฝึกอบรมรัฐอาจต้องมี Guideline (คู่มือแนะนำ) ด้วยหรือเปล่า? ว่าตอนนี้ตลาดแรงงานมันไปตรงนี้เอกชนควรฝึกอบรมด้านไหน? คุณอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ทักษะด้านไหนที่แรงงานควรมี มันจะยกระดับทักษะอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น Upskill-Reskill ที่คนพูดกันเยอะ รัฐบอกว่ามีนโยบายอยู่แล้ว แต่เราได้ดูหรือเปล่าว่าเนื้อหาที่เราฝึกอบรมจริงๆมันสามารถที่จะยกระดับทักษะแรงงานได้หรือเปล่า?” รศ.ดร.ศศิวิมล กล่าว

รศ.ดร.ศศิวิมล ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า กระทรวงแรงงานอาจต้องปรับปรุงคู่มือแนะนำการฝึกอบรมแบบรายปีเสียด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ปรับปรุงทุกๆ 5 หรือ 10 ปี เพราะโลก
ยุคนี้เปลี่ยนเร็วมาก!!!


SCOOP@NAEWNA.COM
 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  • สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน  อุตสาหกรรมการบินของไทย สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน อุตสาหกรรมการบินของไทย
  •  

Breaking News

'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย

'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน

หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved