วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ท้องถิ่น ในกระแสเปลี่ยนผ่าน  (1)นโยบายกับความเป็นธรรม

สกู๊ปแนวหน้า : ท้องถิ่น ในกระแสเปลี่ยนผ่าน (1)นโยบายกับความเป็นธรรม

วันเสาร์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ 101 PUB เปิดวงเสวนา “คน ชุมชน ท้องถิ่น ในกระแสเปลี่ยนผ่าน” เมื่อเร็วๆ นี้ ชวนวิทยากรรวม 5 ท่าน มาบอกเล่าสถานการณ์ชุมชนท้องถิ่น ทั้งปัญหาเดิมที่มีอยู่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากแนวคิดการพัฒนากระแสหลัก แต่การเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center ทีมงานคลังสมองของพรรคก้าวไกล และอดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกเล่าประสบการณ์การทำงานกับท้องถิ่น ทั้งในฐานะนักวิชาการและนักการเมือง ซึ่งมีข้อค้นพบ 1.โจทย์ที่ประชาชนเป็นห่วงคือโจทย์เดียวกับในทางการเมืองและทางวิชาการ เช่น ปัญหาที่ดินทำกิน ปัญหาหนี้สิน ปัญหาแหล่งน้ำ ซึ่งพบได้เสมอเมื่อไปพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่


2.การหาทางออกไม่สามารถนำเสนอตัวเลือกได้กว้างขวางพอ ด้านหนึ่งมาจาก 2.1 ประชาชนคุ้นเคยกับทางเลือกเพียงบางอย่างเท่านั้น ไม่ได้เริ่มต้นจากจุดที่ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีทางออกกี่ทาง? อะไรบ้าง? เช่น เมื่อพูดถึงปัญหาหนี้สินประชาชนมักถามเสมอว่าแล้วพรรคการเมืองจะมีนโยบายพักชำระหนี้หรือไม่? ซึ่งแม้ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรแต่ก็ไม่มีทางออกอื่นๆถูกนำเสนอมาด้วย และจากที่เคยตั้งคำถามชวนคิดต่อไป อาทิ พักชำระหนี้ให้เวลา 3 ปี แล้วหลังจากนั้นจะทำอย่างไรต่อ? ก็มักไม่มีคำตอบหรือข้อเสนอแนะมาจากประชาชน

หรือปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตร จากการลงพื้นที่ก็มักจะมีคำถามจากเกษตรกรเสมอว่าแล้วจะมีนโยบายทำนองจำนำข้าวหรือประกันราคาสินค้าเกษตรหรือไม่? แน่นอนว่าสำหรับจุดยืนของพรรคก้าวไกลคือไม่มีนโยบายแบบนี้ ซึ่งก็จะมีคำถามจากเกษตรกรกลับมาว่าแล้วทำไมจึงไม่มี? เป็นต้น คือเป็นความรู้สึกของประชาชนว่าพรรคการเมืองต้องมีนโยบายแบบนี้เป็นหลัก

กับ 2.2 แนวคิดบางอย่างถูกมองว่าเป็นข้อห้ามซึ่งไม่ควรนำเสนอ เช่น ที่ดิน ส.ป.ก. ในกรณีที่ถือครองมาเป็นเวลานาน บางรายสืบทอดข้ามรุ่นแล้วเสียด้วยซ้ำ สมควรเปลี่ยนให้เป็นกรรมสิทธิ์หรือไม่? เพราะหากใครเสนอแนวคิดนี้ขึ้นมาก็มักถูกมองว่าเอื้อให้ที่ดินหลุดมือจากเกษตรกรไปสู่นายทุน หรือเรื่องหนี้สิน ที่นโยบายช่วยเหลือประชาชนเรื่องนี้ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม คนบางกลุ่มจะมองว่าเป็นนโยบายประชานิยมเสมอโดยไม่ตั้งคำถาม

“จริงๆ ที่ชำระหนี้ไปแล้วแต่ละปีๆ มันอาจจะเกินต้นไปแล้วแต่มันไม่สามารถจะปิดจบหนี้ได้ในคราวเดียว แต่ถ้าเกิดเราชวนเขาคุยต่อว่าแล้วถ้าเขาจ่ายไปขนาดนี้ เกินเงินต้นไปเยอะแล้ว มันถึงเวลาปิดจบให้เขาได้หรือยัง? เขาอายุ 70 ปี แล้วมันเป็นเรื่องที่ชอบธรรมไหม? ที่พรรคการเมืองจะมีนโยบายที่จะแก้หนี้สำหรับคนอายุ 70 ปี เรื่องแบบนี้ก็อาจจะค่อยๆ ทำให้เขาคลี่คลายแล้วก็มาคุยต่อได้” เดชรัต ยกตัวอย่าง

3.ภาควิชาการไม่สามารถอธิบายให้ประชาชนเข้าใจได้เช่น เรื่องการแก้ปัญหาหนี้สินที่หลายคนจ่ายเงินคืนจนเกินจำนวนเงินต้นที่กู้ยืมมาแล้วแต่ก็ยังเป็นหนี้อยู่ สมควรตัดจบเพียงเท่านั้นหรือไม่? หรือเรื่องราคาผลผลิตทางการเกษตร ก็ไม่สามารถทำให้เกษตรกรเข้าใจได้ว่านโยบายจำนำข้าวหรือประกันราคานั้นไม่ยั่งยืนอย่างไร? 4.งานวิจัยที่ทำกับท้องถิ่น มีเรื่องระบบการเงินของเกษตรกรหรือประชาชนในชนบทน้อยมาก นั่นหมายถึงวงวิชาการมีเรื่องที่ตามไม่ทัน จึงไม่สามารถตอบคำถามทั้งผู้เรียกร้องนโยบาย (ประชาชน) และผู้จัดทำนโยบาย (พรรคการเมือง) ได้

5.มีข้อมูลละเอียดเพียงพอหรือไม่? เช่น เรื่องที่ดิน ส.ป.ก. ที่มีทั้งคนที่บอกว่าไปอยู่กับนายทุนหมดแล้ว และคนที่บอกว่าไม่ได้หลุดไปไหนยังอยู่กับเกษตรกรแถมข้ามรุ่นแล้วอีกต่างหาก คำถามคือมีข้อมูลหรือไม่ว่าที่ดินหลุดไปแล้วเท่าไร? หลุดไปได้อย่างไร? ยังเหลืออยู่เท่าไร? ซึ่งเท่าที่เคยลงพื้นที่ก็เจอทั้ง 2 แบบ คือบางชุมชนที่ดินหลุดมือไปเกือบหมดแล้ว แต่บางชุมชนที่ดินก็แทบไม่หลุดไปไหนเลย ข้อค้นพบเหล่านี้ควรถูกนำเสนอออกมา

เดชรัต อธิบายเพิ่มเติมในส่วนของที่ดิน ส.ป.ก. กับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ว่า เมื่อที่ดิน ส.ป.ก. ไม่สามารถโอนได้ เกษตรกรก็ไม่สามารถกู้เงินได้ หรือมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งทุน แต่หากนำที่ดินไปขายก็จะได้ราคาถูกกว่าปกติ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งเกษตรกรแบกรับภาระไม่ไหวก็จะต้องยอมให้ที่ดินเปลี่ยนมือ แต่เป็นการเปลี่ยนมือในราคาถูก แต่เรื่องนี้ก็เป็นข้อห้ามที่สังคมไม่อยากพูดถึง

ทั้งนี้ จุดยืนของพรรคก้าวไกล คือหากใครจะอยู่ในอาชีพเกษตรกรก็ต้องอยู่แล้วดีด้วย คืออยู่รอดและเปลี่ยนแปลงได้ แต่หากอยู่แล้วไม่ดีก็ควรออกไปอยู่ในภาคเศรษฐกิจอื่นแต่ในความเป็นจริงหลายคนออกจากภาคกษตรไม่ได้เพราะมีพันธะเรื่องหนี้สิน อีกทั้งเกษตรกรเป็นอาชีพที่ไม่มีสวัสดิการที่ดีรองรับ จึงทนทำต่อไปโดยหวังว่าจะโชคดีในสักวันหนึ่ง แต่ในสังคมไทยก็ยังมีแนวคิดอีกว่าไม่อยากให้เกษตรกรต้องละทิ้งอาชีพดังกล่าว

“ในทางเศรษฐศาสตร์เขามีหลักการข้อหนึ่ง คือการตกลงกันในระบบเศรษฐกิจมันจะมีความเป็นธรรม มีลักษณะเป็นกลไกตลาดที่ไม่เอาเปรียบกันก็ต้องไม่มีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด อันนี้คนพูดเยอะ แต่อีกคำที่คนไม่ได้พูดก็คือไม่มีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดและออกจากตลาด ออกจากตลาดแปลว่าอะไร? ถ้าคุณอยู่ในตลาดที่มันไม่ดี มันเอาเปรียบไม่เป็นธรรม คุณก็ต้องออกจากตลาดได้ แต่ถ้าเกษตรกรออกจากตลาดไม่ได้ แปลว่าเขาก็ต้องทนอยู่กับระบบแบบเดิมต่อไป”เดชรัต กล่าว

พชร คำชำนาญ เจ้าหน้าที่รณรงค์สื่อสาร มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ กล่าวถึงมุมมองของรัฐต่อชุมชนท้องถิ่นว่า ฐานคิดที่รัฐยึดถือมาตลอดคืออำนาจในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรต้องอยู่ที่รัฐ และรัฐก็ยังมีลักษณะเป็นแบบราชการรวมศูนย์ ซึ่งแม้ระยะหลังๆ จะเห็นความพยายามแก้ไขกฎหมาย เช่น แต่เดิมไม่ต้องการให้คนอยู่ในพื้นที่ป่าโดยเด็ดขาดต่อมาได้แก้ไขกฎหมายให้ประชาชนอยู่อาศัยหรือทำกินในพื้นที่ป่าได้ แต่มีเงื่อนไขต้องพิสูจน์สิทธิ์ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับประชาชนเพราะรัฐจะยึดหลักฐานของทางราชการเป็นหลัก

ซึ่งผลกระทบของชุมชนต่อวิธีคิดดังกล่าวของรัฐ เช่น ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง บ้านแม่ส้าน ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง เป็นพื้นที่เตรียมประกาศอุทยาน จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการใช้ทรัพยากรในรอบ 1 ปี ของคนในชุมชน แบ่งเป็น 4 หมวด คือ 1.ไม้และพืช 2.ผัก 3.ผลไม้ และ 4.สัตว์นำข้อมูลมาตีมูลค่าเป็นราคาตลาด พบว่า มีมูลค่ารวมถึงราว 7 ล้านบาท ข้อมูลนี้ถูกนำไปใช้ต่อสู้กับรัฐ ว่าหากจะประกาศพื้นที่อุทยาน เท่ากับรัฐต้องจ่ายเยียวยาชุมชนปีละ 7 ล้านบาท เพื่อให้ยังดำรงชีวิตอยู่ได้ และนี่คือตัวอย่างของศักยภาพชุมชนที่รัฐมองไม่เห็น

“เราจะแยกมนุษย์ออกจากระบบนิเวศได้อย่างไร? ในเมื่อพื้นที่ที่พวกเราอยู่ อย่างเช่นตัวเลขที่มันบอก คุณจะเอาประชาชน 10 ล้านคนออกจากพื้นที่ป่า 102 ล้านไร่ ในตอนนี้มันเป็นไปไม่ได้แล้วหลายพื้นที่พิสูจน์ตัวมาหลายชั่วอายุคนซึ่งไม่รู้จะพิสูจน์ไปทำไม? พิสูจน์กับใคร? ก็เพราะว่าเราอยู่ในพื้นที่แบบนี้ได้อย่างยั่งยืนมันถึงมีพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ขนาดนี้ให้คุณมาไล่ประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวน ประกาศเป็นอุทยาน มาทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เพราะว่ามีประชาชนอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่มาก่อน” พชร กล่าว

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสะบ้าย้อย จ.สงขลา กล่าวว่า การต่อสู้ของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ในการแสดงจุดยืนไม่เอาการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้นตลอดมาหลายยุคสมัยและผ่านการถูกกดปราบโดยรัฐมาแล้ว เช่น ท่อก๊าซจะนะ ท่าเรือน้ำลึกปากบารา โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ขณะที่รูปแบบการต่อสู้จากเดิมเป็นแบบป้อมค่าย ชาวบ้านรวมตัวปิดพื้นที่เป้าหมายโครงการ สู่การใช้กระแสสังคมผ่านการสื่อสาร เช่น จากเดิมที่มากรุงเทพฯ จะมุ่งมาแต่ที่ทำเนียบรัฐบาล ก็ต้องไปที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร

รวมถึงหมั่นสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อแสดงภาพพื้นที่ที่มีทรัพยากรทางทะเลอันอุดมสมบูรณ์ โดยปัจจุบัน ภาคใต้อยู่ระหว่างการศึกษาการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) แล้วจึงมาตัดสินใจกันอีกครั้งว่าจะมีแนวทางพัฒนาต่อไปอย่างไร แต่สถานการณ์แบบนี้ก็เกิดขึ้นทั่วประเทศภายใต้ระบบรัฐราชการรวมศูนย์ โดยประชาชนทำได้เพียงต่อสู้เพื่อยืนยันการรักษาพื้นที่ไว้เท่านั้น ชุมชนใดที่เข้มแข็งก็รักษาพื้นที่ไว้ได้ แต่หากชุมชนใดไม่เข้มแข็งโครงการเหล่านั้นก็จะเกิดขึ้น

“คำถามหนึ่งที่น่าสนใจคือ Social Media ช่วยเราได้แค่ไหน? โดยประสบการณ์พื้นที่ ผมคิดว่า Social Media ก็เป็น Air War (สงครามทางอากาศ) เครื่องบินทิ้งระเบิด ก็น่าสนใจ แต่ว่ามันต้องมี Ground War (สงครามภาคพื้นดิน)คือชาวบ้าน-ชุมชนต้องรวมกัน ต้องเข้มแข็งในการยันโครงการ หรือในการปิดจ๊อบด้วยในการปฏิเสธโครงการที่มันทำลายทรัพยากร ที่มันทำลายวิถีชีวิตเขาด้วย” นพ.สุภัทร กล่าว

(อ่านต่อหน้า 5 ฉบับวันที่ 19 พ.ค. 2567)

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย

ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’

ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย'ตำรวจ'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา

เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved