วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘ยากไร้’ใจกลางกรุง เด็กครัวเรือนชุมชนแออัด

สกู๊ปแนวหน้า : ‘ยากไร้’ใจกลางกรุง เด็กครัวเรือนชุมชนแออัด

วันเสาร์ ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2567, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

หลังจากที่สัปดาห์ก่อน วันเสาร์ที่ 15 มิ.ย. 2567 ได้นำเสนอ “โอกาสที่จำกัดของเด็กและเยาวชนในครัวเรือนยากจนในชนบท” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานเสวนาสาธารณะ “เด็กและครอบครัวไทยที่ไม่ถูกมองเห็น : รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี 2024” จัดโดย “คิด for คิดส์” ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กับ 101 PUB ในสัปดาห์นี้ จะเป็นเรื่องของ “เด็กและเยาวชนในครัวเรือนยากจนในเมือง” ที่มีปัญหาไม่แตกต่างกัน

“กรุงเทพฯ เป็นแหล่งรวมโอกาสของหลายๆ อย่าง มหาวิทยาลัย 21% ตั้งอยู่ที่นี่ เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรดีที่สุดในประเทศ ขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ถึง 1 ใน 3 ของประเทศนี้ งานทักษะสูงอยู่ในเมืองหลวงถึง 19.6% แต่ว่าเด็กและเยาวชนคนจนเมืองกลับเข้าไม่ถึงโอกาสเหล่านี้ เพราะมีต้นทุนแฝงบางอย่างที่ทำให้เขาไม่สามารถเข้าถึงโอกาสนี้”


สรัช สินธุประมา ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว (คิด for คิดส์) ฉายภาพ “ความเหลื่อมล้ำ” ในเมืองหลวงของไทยอย่างกรุงเทพฯ ที่แม้จะมีความเจริญมากที่สุด แต่ก็มีคนอีกไม่น้อยไม่มีโอกาสเข้าถึงประโยชน์จากความเจริญนั้น ซึ่งคนจนเมืองก็มีอยู่หลายกลุ่ม อาทิ เด็กและเยาวชนในที่พักแรงงานก่อสร้าง เด็กเร่ร่อนในครัวเรือนคนไร้บ้าน แต่ที่มากที่สุดคือเด็กและเยาวชนในชุมชนแออัด ราว 1.7 แสนคน โดยในกรุงเทพฯ มีชุมชนแออัด 633 แห่ง หรือจำนวน 1.4 แสนครัวเรือน

ในจำนวนนี้ ร้อยละ 63 อยู่ในบ้านที่มีสภาพทรุดโทรมไม่แข็งแรง ร้อยละ 70 มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย (รายได้น้อยกว่า 5,000 บาท/เดือน/ครัวเรือน) และร้อยละ 52 ของสมาชิกในครัวเรือนในชุมชนแออัดไม่มีงานทำนั่นหมายถึงครัวเรือนเหล่านี้มีอัตราพึ่งพิงสูง ขณะที่เมื่อดู “เส้นทางชีวิตของเด็กและเยาวชนในครัวเรือนชุมชนแออัด” ต้องบอกว่า “ถูกจำกัดโอกาสตั้งแต่เริ่มต้น” อาทิ ข้อมูลจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบเด็กและเยาวชนอายุ 3-18 ปี ในกรุงเทพฯ เกือบ 1.4 แสนคน ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษา

และแม้กรุงเทพฯ จะมีความพร้อมด้านบริการทางการแพทย์มากที่สุดในประเทศ แต่กลับพบเด็กในครัวเรือนยากจน (อายุ 6-12 ปี) เข้าถึงบริการทันตกรรมเพียงร้อยละ 7.8 น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 18.1 เสียอีก นอกจากนั้นยังพบว่า แม้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่เป็นแหล่งงานทักษะสูง แต่ครัวเรือนยากจนที่อยู่ในย่านใจกลางเมือง คนรุ่นลูกกลับมีโอกาสเลื่อนฐานะให้ดีขึ้นกว่ารุ่นพ่อแม่ ได้น้อยกว่าครัวเรือนยากจนที่อยู่ในย่านชานเมือง

“เรื่องการศึกษาของเด็กคนจนเมือง ก็มีอีกหลายเรื่องที่มีค่าเข้าถึงโอกาสที่มีราคาแพงเมื่อเทียบกับเด็กคนอื่นๆ โดยทั่วไป ความแพงของการศึกษาแบ่งเป็น 2 แบบ คือในแง่ค่าใช้จ่ายกับในแง่ค่าเสียโอกาส ค่าใช้จ่าย เช่น ชุดนักเรียน แม้ปัจจุบันจะมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปี มีการอุดหนุนค่าใช้จ่ายทางการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน แต่ 90% ของเด็กและเยาวชนในชุมชนคนจนเมืองไม่มีเงินออมทำให้เขาไม่มีกระแสเงินสดสำรองพอที่จะสำรองจ่ายค่าชุดนักเรียนได้ ไม่สามารถซื้อชุดนักเรียนก่อนเพื่อเอาใบเสร็จไปเบิกกับโรงเรียน” สรัช ระบุ

ประการต่อมา แม้เด็กในเมืองอย่างกรุงเทพฯ จะไม่ต้องเดินทางไกลไปเรียนแบบเด็กในชนบทหรือต่างจังหวัด แต่ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ ก็เป็นอุปสรรคสำคัญในเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 30-100 บาทต่อวัน ถือว่าสูงมากสำหรับครัวเรือนยากจน ซึ่ง สรัช ยกตัวอย่างเด็กยากจนคนหนึ่งที่พบระหว่างการลงพื้นที่สำรวจ แม้บ้านของเด็กคนนี้จะอยู่ที่เขตราชเทวี เป็นเด็กเรียนดีได้ทุนการศึกษาไปเรียนที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตดินแดงระยะทางที่ดูไม่ไกลนี้ อุปสรรคด้านค่าเดินทางก็ยังทำให้เด็กคนนี้ต้องถอดใจยอมแพ้

และไม่ต่างจากเด็กยากจนในชนบท “ความยากจนทำให้หลายคนเลือกทิ้งโอกาสในการเรียนสูงๆ เพราะต้องการหางานทำมีรายได้เฉพาะหน้า” เช่น เด็กคนหนึ่งฝันอยากเป็นวิศวกร แต่เลือกเรียนสายอาชีพเพราะเป็นหลักประกันรายได้ให้ครอบครัว “ปัญหานี้จะยิ่งรุนแรงหากครอบครัวนั้นมีความเปราะบางซ้ำซ้อน”หมายถึงมีสมาชิกในครอบครัวเป็นกลุ่มพึ่งพิง เช่นคนพิการ คนชรา ผู้ป่วยติดเตียง ทั้งนี้ มีข้อค้นพบว่า กลุ่มครัวเรือนยากจนที่สุดและกลุ่มครัวเรือนร่ำรวยที่สุด มีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาต่างกันถึง 12 เท่า

เมื่อดูในแง่ของ “ความเป็นชุมชน” ยังพบว่า “ภายในชุมชนแออัดมีการแบ่งพรรคแบ่งพวก ความยากจนกดดันให้ต้องแก่งแย่งเพื่อแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอก” แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในครัวเรือนในชุมชนด้วย เช่น ไม่ได้ลงชื่อรับความช่วยเหลือสิ่งของต่างๆ เพราะพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ถูกกัน อนึ่ง นอกจากปัจจัยดั้งเดิมที่มีอยู่แล้ว “นโยบายการพัฒนาเมืองยังซ้ำเติม” เช่น ชุมชนที่เผชิญปัญหาถูกไล่รื้อ ครูไม่สามารถลงพื้นที่ไปเยี่ยมบ้านนักเรียนได้ เพราะไม่ได้รับความไว้วางใจจากชุมชน ทำให้ครูไม่ทราบปัญหาของนักเรียน

“เรื่องของอาชีพคนจนเมือง อาชีพหาบเร่เป็นอาชีพหลักของคนจนเมือง แต่ว่าผู้ประกอบการอาชีพหาบเร่แผงลอยลดจำนวนลงอย่างมาก จากที่มี 1.4 แสนราย ช่วงก่อนโควิด ปัจจุบันเหลืออยู่ราว 1.9 หมื่นรายเท่านั้น สาเหตุก็มีหลายอย่าง ต้นทุนสูงขึ้นจากนโยบายจัดระเบียบเมือง คนเมืองหันไปใช้บริการ Food Delivery (สั่งอาหาร) มากขึ้นสิ่งที่กระทบมากกับคนจนเมืองคือผู้สูงอายุที่ทำอาชีพนี้มานาน แล้วก็ไม่สามารถหาอาชีพใหม่ได้

ผู้สูงอายุเหล่านี้ตั้งถิ่นฐาน อพยพเข้ามาในกรุงเทพฯ เป็นเวลายาวนานมากกว่า 40-50 ปีแล้ว แต่การพัฒนาเมืองในระยะหลัง ที่เราเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาที่มองไม่เห็นคนจนสักเท่าไร เปลี่ยนสถานะของพวกเขาจากผู้บุกเบิก คนที่เข้ามาบุกเบิก ตั้งบ้านเรือนแทรกตัวเข้ามาอยู่ในเมืองเพื่อหาโอกาสต่างๆ ในกรุงเทพฯ ถูกเปลี่ยนให้เป็นผู้บุกรุก ถูกดำเนินคดี” สรัช ยกตัวอย่าง

ท้ายที่สุดแล้ว “ปัญหาเด็กยากจนในเมืองไม่ใช่แค่เรื่องในเมือง” อาทิ การเก็บข้อมูลในย่านหัวลำโพง กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นย่านของคนเร่ร่อน เด็กและเยาวชนถูกกดดันให้ต้องเข้าสู่เส้นทางการขายบริการทางเพศหรือไม่ก็ค้ายาเสพติด โดยปัจจัยหนึ่งคือ ย้อนไปหลายปีก่อน ในช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายรถไฟฟรี ทำให้เด็กและเยาวชนที่มีปัญหากับทางบ้าน ตัดสินใจหนีออกจากบ้านนั่งรถไฟจากต่างจังหวัดเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และแม้ต่อมาารถไฟจะย้ายไปจอดที่อื่น (เช่น สถานีกลางบางซื่อ) แต่ชุมชนแออัดย่านหัวลำโพงก็ยังดำรงอยู่

สรัช ฝากทิ้งท้ายว่า การที่มีปัญหารอบกรุงเทพฯ เข้ามาอยู่ในเมืองหลวง ทำให้ขนาดของปัญหาใหญ่มากขึ้น และแม้กรุงเทพฯ จะมีบริการหลายอย่างที่ดี แต่บางเรื่อง เช่น กลไกคุ้มครองเด็ก ไม่ได้สัดส่วนกับปัญหา โดยมีบ้านพักเด็กและครอบครัวเพียง 1 แห่ง ไม่สามารถดูแลเด็กได้ทั่วถึง ซึ่งปัจจุบันการดูแลเด็กมักเป็นบทบาทขององค์กรนอกชุมชนหรือมูลนิธิต่างๆ อนึ่ง หลายเมืองนอกจากกรุงเทพฯ ก็กำลังมีโครงการพัฒนาเมือง ซึ่งอีกมุมหนึ่งก็หมายถึงผลกระทบที่เกิดกับเด็กและเยาวชนในครัวเรือนยากจนเช่นกัน

ดังนั้นแล้ว “รัฐต้องเข้าใจเงื่อนไขชีวิตของคนจนให้มากขึ้น” และลดต้นทุนโอกาสเพื่อให้คนเหล่านี้ได้เข้าใกล้ความฝันได้มากขึ้น!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  • สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน  อุตสาหกรรมการบินของไทย สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน อุตสาหกรรมการบินของไทย
  •  

Breaking News

ไอจีไฟลุก! 'เป้ย ปานวาด'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง! ‘นายก-สท.เทศบาลเมืองมุกดาหาร’ ออกหาเสียงกันเข้มข้น

'สพฐ.' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ 'โควิด' ย้ำไม่ประมาท

(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved