วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : การศึกษาไทยเหลื่อมล้ำ  ทางออกในมุมฝ่ายการเมือง

รายงานพิเศษ : การศึกษาไทยเหลื่อมล้ำ ทางออกในมุมฝ่ายการเมือง

วันพฤหัสบดี ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 02.00 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

“เราแบ่งสมรรถนะตามเกณฑ์ของ PISA สีแดงคือระดับที่ 1 - 3 คะแนน จะไม่ค่อยดีเท่าไร สีเขียวนี่คะแนนค่อนข้างดี 4 - 6 สิ่งที่อยากให้เห็นอันแรก สีเขียวเราก็มีพอสมควร แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นและจริงๆ ไม่ค่อยดีเลยคือสีแดงเราเยอะมาก เด็กที่เราสอบแล้วอยู่ในสมรรถนะระดับ 1 สูงมาก เราคงต้องคุยกันมากขึ้น คุยกันมากกว่าเรามีเด็กที่เก่งมาก – น้อยแค่ไหนด้วยซ้ำ คุยกันมากกว่าเรามีเด็กที่ไปสอบโอลิมปิกแล้วได้กี่คน แต่ต้องคุยกันว่าเด็กเหล่านี้เรามีมาก นโยบายที่ผมอยากเห็นมากขึ้น เราจะลดเปอร์เซ็นต์เหล่านี้อย่างไร

ยังไม่ต้องพูดถึงคะแนนเฉลี่ยจะเพิ่มหรือลด แต่ถ้าท่านลดตรงนี้ได้สถิติบอกเราทันทีว่าคะแนนเฉลี่ยเราจะเพิ่มขึ้นและเป็นความท้าทายและอนาคตของชาติเพราะคนเหล่านี้เขาจะเติบโตขึ้นมาแน่นอนแล้วสมรรถนะที่อยู่ที่ระดับที่ 1 เขาจะไปอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วย AI (ปัญญาประดิษฐ์) ได้อย่างไร? เขาจะแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและไม่คุ้นชินได้อย่างไร? ในเมื่อสมรรถนะเขาไม่มี ฉะนั้นเป้าหมายที่ถูกต้องและผมอยากเชิญชวนทุกท่านมองก็คือเด็กกลุ่มที่ 1 - 2 กลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือ เด็กกลุ่ม 5 - 6 ท่านให้กำลังใจเขาเพียงพอ”


รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) กล่าวในงาน Equity Forum 2025 จัดโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เมื่อช่วงต้นเดือน ก.พ. 2568 ฉายภาพความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อวิเคราะห์ผลคะแนนสอบรายการที่เป็นมาตรฐานสากลอย่าง PISA ระหว่างนักเรียนที่มีโอกาสทางการศึกษาแตกต่างกัน

โดย PISA จะแบ่งคะแนนออกเป็น 6 ระดับ (Level) ไล่ตั้งแต่ระดับ 1 ซึ่งเป็นระดับพื้นฐานที่ทุกคนควรทำได้ แล้วไล่ระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ สิ่งที่อยากให้สังเกต คือเกณฑ์ PISA ในระดับสูง จะเน้น 3 คำ คือ “ซับซ้อน – นามธรรม – ไม่คุ้นชิน” นี่คือทักษะขั้นสูง หมายถึงคนที่สามารถแก้ปัญหาซับซ้อนได้ คิดและเข้าใจปัญหาที่เป็นนามธรรมได้ และเมื่อเห็นอะไรใหม่ๆ ก็สามารถทำได้ซึ่ง PISA ไม่ได้สนใจเพียงการนำไปใช้ แต่สนใจการคิดวิเคราะห์

ขณะที่เสียงสะท้อนจากตัวแทนฝ่ายการเมือง อาทิ เทอดชาติ ชัยพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เชียงราย พรรคเพื่อไทย ตั้งข้อสังเกตเรื่องการจัดสรรงบประมาณระหว่างโรงเรียนประเภทต่างๆ โครงสร้างพื้นฐานที่หยิบยื่นให้ไม่เท่ากัน เช่น โรงเรียนในเมือง โรงเรียนในชนบท โรงเรียนพิเศษ ได้ไม่เท่ากัน อย่างโรงเรียนพิเศษได้ทั้งงบประมาณ อาคารสถานที่ ครู สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยีไม่เท่ากับโรงเรียนในชนบท อย่างตนเคยเป็นครูใหญ่ ผ่านมาแล้วในยุคที่โรงเรียนในชนบทมีเพียงครูใหญ่ 1 คน กับครูอีก 2 คน และอาคารไม้อีก 1 หลัง

สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า แม้กระทรวงศึกษาธิการจะถูกมองว่าเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด แต่งบเหล่านี้ร้อยละ 85 ใช้จ่ายในฐานะเป็นงบบุคลากร ทำให้เหลืองบพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพียงร้อยละ 15 และแม้กระทั่งร้อยละ 85 ที่ว่านั้นก็ยอมรับว่ายังไม่สามารถดูแลบุคลากรทางการศึกษาได้ดีอย่างที่ตั้งใจ

แม้กระทั่งการซ่อมแซมบูรณะอาคารเก่าอายุหลายสิบปีหรืออาคารที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติก็ยังมีปัญหาการจัดหางบประมาณ แต่การจะไปลดงบบุคลากรคงลำบาก อย่างวิธีประหยัดงบประมาณด้วยการเปลี่ยนวิธีการจ้างบุคลากรจากลูกจ้างประจำเป็นจ้างเหมาบริการก็รับม็อบไม่ไหวแล้ว ดังนั้นหากสามารถปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มสัดส่วนงบลงทุนให้กับกระทรวงฯ ได้ก็จะเป็นประโยชน์

พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาชน กล่าวว่า ความท้าทายคือการเผชิญปัญหาเชิงระบบ 1.งบประมาณซึ่งลงไปถึงผู้เรียนไม่เพียงพอและที่งบประมาณไปอยู่กับบุคลากรก็ไม่ได้หมายความว่ามีครูอยู่จำนวนมาก จึงต้องมาทบทวนว่าโครงสร้างมีอะไรที่เทอะทะ
ซ้ำซ้อนหรือไม่ ส่วนงบนโยบายที่แปรผันไปตามรัฐบาลแต่ละชุดข้อสังเกตคือหลายโครงการจากส่วนกลางที่ลงไปไม่ได้เกิดประโยชน์เท่าที่ควรกับทั้งครูและผู้เรียน นอกจากนั้นยังใช้ระบบการกระจายงบประมาณแบบรายหัวเป็นหลักซึ่งทำให้โรงเรียนขนาดเล็กเสียเปรียบ

2.คนอยู่ใกล้ชิดกับปัญหาไม่มีอำนาจตัดสินใจ จริงอยู่ที่ส่วนกลางมีมาตรฐานต้องกำกับดูแล แต่ควรกระจายอำนาจเพื่อให้กำหนดการตัดสินใจได้มากขึ้นหรือไม่ เช่น ได้งบประมาณมาอาจนำไปใช้ทำให้อาคารเรียนดีขึ้น ใช้ปรับปรุงห้องน้ำ ลงทุนอุปกรณ์กีฬา ลงทุนเทคโนโลยี 3.การลดความเหลื่อมล้ำไม่เฉพาะแต่เพียงการเข้าถึง แต่ต้องเป็นการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพด้วย และ 4.ลดเหลื่อมล้ำไม่ได้สวนทางกับการโอบรับความหลากหลาย การศึกษาที่ดีสำหรับแต่ละคนอาจไม่ได้มีหน้าตาเหมือนกันเสียทีเดียว การปลดล็อกการศึกษานอกระบบจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอแนะ 5 ข้อแก้ปัญหา 1.ตั้งเป้าหมาย เช่น กสศ.ตั้งเป้าหมาย 5 ปี จะลดจำนวนเด็กหลุดจากระบบการศึกษาลงเท่าใด เพราะไม่ว่าจะเป็นบุคคล องค์กรหรือประเทศ หากไม่ตั้งเป้าหมายก็ไม่มีทางเดินไปถึง 2.ใช้ AI หาวิธีแก้ได้ตรงกับลักษณะเฉพาะของเป้าหมาย AI ที่ดังๆ อย่าง ChatGPT หรือ Deepseek ใช้ Large Language Model (LLM) นับล้านตัวแปร แต่เด็กยากจนหรือยากจนพิเศษตามข้อมูลของ กสศ. น่าจะอยู่ที่ 100 - 1,000 ตัวแปร เช่น พื้นที่นี้ ผู้ปกครองแบบนี้ สถานการณ์แบบนี้ ควรใช้ครูแบบใด

3.ใช้ AI ติดตามในระดับบุคคลแล้วระดมเงินอุดหนุนจากทุกภาคส่วน ไม่เฉพาะงบประมาณภาครัฐแต่รวมถึงคนอื่นๆ ที่ต้องการบริจาคช่วยเหลือด้วย 4.ให้ความสำคัญกับปัจจัยแวดล้อม เช่น พ่อแม่ ชุมชน ฯลฯ เพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น และ 5.ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพ เพราะแม้จะทำให้เด็กเข้าถึงระบบการศึกษาได้มากขึ้น แต่คุณภาพอาจยังอยู่เพียงระดับ 1 - 2 ก็ได้!!!

SCOOP.NAEWNA@HOTMAIL.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา
  • รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม
  • รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ
  • รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง
  • รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า
  • รายงานพิเศษ : กางแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน. รายงานพิเศษ : กางแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน.
  •  

Breaking News

หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

จ่ายครบ280ล้าน! 'มาดามแป้ง'เคลียร์เงินสโมสรจบทุกลีก

'สรวงศ์'ขออย่าโยงการเมือง กับการลงโทษ 3 หมอปม 'ทักษิณ' ย้ำไม่เกี่ยว'รัฐบาลอิ๊งค์'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved