วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : ‘ความปลอดภัยและสุขภาพ’ เรื่องสำคัญต้องดูแล‘แรงงาน’

รายงานพิเศษ : ‘ความปลอดภัยและสุขภาพ’ เรื่องสำคัญต้องดูแล‘แรงงาน’

วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 08.05 น.
Tag : สุขภาพ ความปลอดภัย แรงงาน
  •  

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กำหนดให้วันที่ 28 เมษายน ของทุกปี เป็น “วันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสากล (World Day for Safety and Health at Work)” โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2546 เพื่อเน้นย้ำให้ประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมการทำงานที่ปลอดภัยและตระหนักถึงผลที่ตามมาของอุบัติเหตุและโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

ขณะที่ประเทศไทย กำหนดให้วันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น “วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ” ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 26 ส.ค. 2540 โดยถือเอาเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2536 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 188 ราย เป็นหมุดหมายสำคัญในการย้ำเตือนถึงความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย


อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS) บริษัทระดับโลกด้านบริการสุขภาพและความปลอดภัย เรียกร้องให้องค์กรทั่วโลกแสดงความมุ่งมั่นในการดูแลสุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน เพราะการล้มป่วยและบาดเจ็บจากการทำงานยังคงเป็นประเด็นที่น่ากังวลในระดับสากล ขณะที่ข้อมูลล่าสุดชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยทุกๆ ปีมีพนักงานราว 2.93 ล้านคนเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (89%) รวมทั้งจากอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการปฏิบัติงาน (11%)

อัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการทำงานมากกว่า 75% มีสาเหตุมาจากโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนโลหิต เนื้องอก และโรคระบบทางเดินหายใจ1 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานและการสัมผัสมลพิษถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน1 ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการบังคับใช้มาตรการด้านสุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงานอย่างเคร่งครัด ข้อมูลยังชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่น่ากังวลเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจ โดยในปี 2567 มีการยื่นคำร้องขอความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นถึง 10% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

รายงานฉบับใหม่ล่าสุดของมูลนิธิ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS Foundation) ชี้ว่า แม้พนักงานและองค์กรต่างมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายในที่ทำงาน แต่พนักงานทั่วโลกส่วนใหญ่กลับไม่เคยได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (62%) อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีหลายภาคส่วนที่จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง แต่องค์กรจำนวนมากก็แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการส่งเสริมสุขภาพจิตของพนักงาน องค์กรมากกว่า 70% ได้รวมมาตรการส่งเสริมสุขภาพจิตไว้ในนโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ทำงานแล้ว

ดร.โอลิวิเยร์ โล (Dr. Olivier LO) ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ ฝ่ายบริการอาชีวอนามัย บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ อันตรายที่เกิดขึ้นในที่ทำงานซึ่งเกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจของพนักงานนั้น มักมีสาเหตุมาจากข้อจำกัดด้านการกำกับดูแลองค์กรและการจัดสรรทรัพยากร ทั้งนี้ หน้าที่ในการดูแลพนักงานเป็นเรื่องที่ไม่สามารถต่อรองได้ การละเลยเรื่องเหล่านี้อาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงทั้งต่อบุคลากรและเศรษฐกิจโดยรวม

ขณะที่การรับมือกับปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องใช้วิธีการแบบองค์รวมที่มีแบบแผน โดยคำนึงว่าสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานทั่วโลกเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกันและไม่สามารถแยกจากกรอบการดำเนินงานในภาพรวมขององค์กรได้ นอกจากนี้ การบูรณาการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลอย่างรวดเร็วในที่ทำงาน ยิ่งเป็นเครื่องตอกย้ำว่าเราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานและอาจจะทำให้เกิดอันตรายในรูปแบบใหม่ได้

“แนวทางปฏิบัติด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่ปลูกฝังภายในองค์กร ซึ่งครอบคลุมถึงการให้ความรู้และการฝึกอบรม ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการบรรเทาความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ส่วนประกอบเท่านั้น แต่เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการเฝ้าระวังเชิงรุกและป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากบุคลากร เมื่อสุขภาพและความปลอดภัยถูกหลอมรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรอย่างแล้ว ทั้งพนักงานและผู้บริหารจะมีความพร้อมมากขึ้นในการบ่งชี้และรับมือกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เพื่อปกป้องพนักงานและสร้างความมั่นใจในเรื่องการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน" ดร.โอลิวิเยร์ กล่าว

ทั้งนี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ได้แนะนำวิธีการดูแลที่ทำงานให้อยู่ในสภาพที่ดีต่อสุขภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 1.ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยอย่างละเอียด ด้วยการบ่งชี้และประเมินอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในที่ทำงาน ครอบคลุมความเสี่ยงทั้งทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์ และจิตสังคม 2.ส่งเสริมวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพและสุขภาวะในที่ทำงาน ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ให้ความสำคัญและส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพนักงาน ซึ่งรวมถึงการเปิดโอกาสให้พนักงานเข้ารับบริการด้านสุขภาพ เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะ และเข้ารับการสนับสนุนด้านสุขภาพจิต

3.จัดให้มีการฝึกอบรมอย่างครอบคลุม เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นให้แก่พนักงานในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย โดยครอบคลุมถึงการบ่งชี้อันตราย แนวปฏิบัติในการทำงานอย่างปลอดภัย ตลอดจนมาตรการรับมือในกรณีฉุกเฉิน 4.พัฒนาแผนการจัดการภาวะวิกฤตที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุในสถานที่ทำงาน ภัยธรรมชาติ หรือโรคระบาด โดยมีเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบที่มีต่อสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานให้เหลือน้อยที่สุด

5.ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพจิต ด้วยโปรแกรมสนับสนุนสุขภาวะทางจิตของพนักงาน รวมถึงลดการตีตราทางสังคม และเปิดโอกาสให้พนักงานเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิต 6.บรรเทาความเสี่ยงจากชั่วโมงการทำงานที่มากจนเกินไป ด้วยการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำงานล่วงเวลามากเกินไป โดยครอบคลุมถึงการวางกลยุทธ์ในการบริหารปริมาณงาน และการดูแลให้พนักงานมีวันลาหยุดตามความเหมาะสม

และ 7.ทบทวนและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ โดยตรวจสอบและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงตามความจำเป็น เพื่อสร้างความมั่นใจว่าโปรแกรมดังกล่าวได้รับการพัฒนาอยู่เสมอ

                                                                  SCOOP.NAEWNA@HOTMAIL.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘สปสช.’ร่วมดูแลเด็กไทย  ให้มี‘สุขภาพกายและใจที่ดี’ ‘สปสช.’ร่วมดูแลเด็กไทย ให้มี‘สุขภาพกายและใจที่ดี’
  • สมองเสื่อม: ความท้าทายด้านสุขภาพที่ไทยกำลังเผชิญ พร้อมข้อเสนอนโยบาย เชิงรุกเพื่อการเปลี่ยนแปลง สมองเสื่อม: ความท้าทายด้านสุขภาพที่ไทยกำลังเผชิญ พร้อมข้อเสนอนโยบาย เชิงรุกเพื่อการเปลี่ยนแปลง
  • สัญญาณเตือนภัย! ภาวะสมองเสื่อมพุ่งสูงเกินคาด เสี่ยงเป็นวิกฤตชาติ ภายในปี 2580 สัญญาณเตือนภัย! ภาวะสมองเสื่อมพุ่งสูงเกินคาด เสี่ยงเป็นวิกฤตชาติ ภายในปี 2580
  • แนะข้อปฏิบัติ!!! ‘สจล.’ห่วงแห่ผุด‘สกายวอล์กพื้นกระจก’โปรโมทท่องเที่ยว แนะข้อปฏิบัติ!!! ‘สจล.’ห่วงแห่ผุด‘สกายวอล์กพื้นกระจก’โปรโมทท่องเที่ยว
  •  

Breaking News

‘ดุสิตโพล’เผยคนไทยกังวลค่าครองชีพ-ปัญหาเศรษฐกิจ อึ้งมีเงินสำรองฉุกเฉินต่ำกว่า 1 เดือน

ฝนถล่มไม่กระทบ‘เลือกตั้งเทศบาล68’ กกต.เร่งสอบซื้อเสียง‘กาฬสินธุ์’หัวละ 3 พันบาท

‘รพ.ราชทัณฑ์’ร่อนหนังสือแจง ยังไม่ได้ฟ้องศาลเพิกถอนมติ‘แพทยสภา’

ตกใจเจอตำรวจ! กลุ่มวัยรุ่นขี่จยย.กลับรถกระทันหัน กระบะทางตรงพุ่งชนซ้ำดับ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved