วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
มองข่าวพิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ‘แรงงานข้ามชาติ’มุมนี้น่าคิด

มองข่าวพิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ‘แรงงานข้ามชาติ’มุมนี้น่าคิด

วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : พิพาทไทยกัมพูชา แรงงานข้ามชาติ แรงงานเขมร
  •  

“จริงๆ แรงงานกัมพูชาเข้ามาในไทยนานแล้ว ด้วยความที่ชายแดนของเราติดกับเขาแล้วก็มีการข้ามไป – มาในเชิงประวัติศาสตร์มานานมากแล้ว ณ ตอนนี้ถ้าดูตามรายงานที่จดทะเบียนก็จะอยู่ที่ประมาณ 6 แสนคน อันนี้คือข้อมูลปรากฏในการจดทะเบียน แต่ในความเป็นก็อาจจะมีที่อยู่ในประเทศไทยมาก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนใหญ่แรงงานกัมพูชาที่เข้ามาก็จะอยู่ในภาคส่วนที่เป็นประมง ก่อสร้าง อาจอยู่ในภาคบริการบ้าง แล้วก็ส่วนหนึ่งอยู่ในภาคเกษตร”

รศ.ดร.ธีรนงค์ สกุลศรี อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในรายการ “นับเราด้วยคน” ตอน “เมื่อแรงงานกัมพูชาเป็นศูนย์ : ไทยจะรอดหรือร่วง?” ถ่ายทอดผ่านเพจเฟซบุ๊ก “นับเราด้วยคน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และทางวิทยุ คลื่น FM105.0MHz เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2568 ที่ผ่านมา ฉายภาพการมีอยู่ของ “แรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชา” ในประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย


อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดสถานการณ์ตึงเครียดจากเหตุพิพาทชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ในเบื้องต้นยังไม่กระทบมากนักกับแรงงานชาวกัมพูชา เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ทำสัญญาจ้างและเดินทางเข้ามาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ในอนาคตสิ่งที่อาจกระทบคือเมื่อถึงเวลาต้องต่ออายุสัญญาการทำงาน ส่วนประเด็นที่ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภาและอดีตนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ประกาศให้ชาวกัมพูชาที่ทำงานในประเทศไทยเดินทางกลับ เชื่อว่าหากเป็นชาวกัมพูชาที่ทำงานในไทยนานแล้วก็คงไม่กลับเพราะมีลักษณะลงหลักปักฐาน เช่น ซื้อรถ มีที่พักระยะยาว หรือแม้แต่แต่งงานมีครอบครัวในไทย ไม่ต่างจากคนไทยที่ไปทำงานอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานาน

ส่วนที่ ฮุน เซน อ้างว่าหากชาวกัมพูชาไม่เดินทางออกจากประเทศไทย อาจถูกทางการไทยขับไล่ รวมถึงถูกกระทำความรุนแรงจากคนไทยหัวรุนแรงบางกลุ่ม เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจว่าปัญหาเรื่องพรมแดนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคอาณานิคม เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาปกครองกัมพูชา และมีการทำสนธิสัญญาสยาม – ฝรั่งเศสขึ้น ก็ทำให้ไทยกับกัมพูชามีมุมมองไม่เหมือนกันในเรื่องดินแดน

อย่างไรก็ตาม คงไม่ใช่ชาวไทยหรือชาวกัมพูชาทั้งหมดที่จะมองว่าอีกฝ่ายเป็นศัตรู อาจมีเป็นบางส่วน และประวัติศาสตร์เองก็มีหลายเรื่องเล่าหรือชุดความคิด ขึ้นอยู่กับว่าใครรับรู้ชุดความคิดไหน อนึ่ง “ในทุกประเด็นที่เกิดขึ้นล้วนมีวาระ (Agenda) ซ่อนอยู่เสมอ” ไม่ว่าจากใครก็ตามที่ต้องการให้เกิดอะไรสักอย่างขึ้น และชุดข้อมูลต่างๆ ที่เผยแพร่โดยสื่อหรือแม้แต่โดยคนทั่วไปก็มีส่วนในการทำให้ประเด็นนั้นร้อนแรงขึ้นหรือไม่ด้วยเช่นกัน

“ในความเป็นจริงเชื่อว่าลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในบริษัทหรือร้านค้าของไทยก็คงไม่มีใครอยากจะลุกขึ้นมารบกับนายจ้างตัวเอง เพราะเป็นประเด็นที่เขาเองก็เสียผลประโยชน์ แล้วตัวนายจ้างเองก็คงไม่มีใครที่รู้สึกว่าจะต้องแบกรับประเด็นทางการเมืองเอาไว้ในครัวเรือนหรือบริษัทตัวเอง เพราะมันจะส่งผลกระทบทั้งสิ้นไม่ว่าประเด็นอะไรก็ตาม” รศ.ดร.ธีรนงค์ กล่าว

ถึงกระนั้น ในส่วนของชาวกัมพูชาที่ยังไม่ได้ข้ามแดนมาทำงานในไทย เท่าที่ทราบคือทางฝั่งกัมพูชาพยายามปลุกกระแสชาตินิยม ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับเรื่องคะแนนเสียงหรือความเชื่อมั่น ในขณะที่ฝั่งไทยยังเป็นประเทศที่ได้ประโยชน์จากการมีแรงงานข้ามชาติ เพราะไทยยังสามารถดึงดูดแรงงานข้ามชาติเข้ามาได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเมื่อหลายประเทศเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัย ประชากรสูงอายุมีมากขึ้น การแย่งชิงแรงงานก็รุนแรงขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ไทยเองก็ต้องประคับประคองให้ดี หากไปตามกระแสมากเข้าก็อาจสูญเสียกำลังแรงงานซึ่งเป็นกำลังสำคัญทางเศรษฐกิจได้

ทั้งนี้ “งานที่แรงงานข้ามชาติทำ..มักเป็นงานที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมทำอยู่แล้ว” เนื่องจากเมื่อคนไทยมีการศึกษาสูงขึ้นก็ทำให้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น ดังนั้นหากสถานการณ์ขัดแย้งรุนแรงมากเข้าจนแรงงานในงานกลุ่มนี้หายไปก็ย่อมกระทบต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย สิ่งที่ฝ่ายไทยต้องตั้งรับให้ดีจึงเป็นเรื่องของข่าว อคติ รวมถึงการรักษาไว้ซึ่งนโยบายที่ทำให้แรงงานเหล่านี้อยู่ได้ “คนไทยเราเองต้องมองแรงงานข้ามชาติเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจ” หากไปมองเป็นศัตรูไม่ว่าชาติใดก็อยู่ไม่ได้ จึงต้องประคับประคองข้อได้เปรียบนี้ไว้  

ส่วนคำถามที่ว่า “หากแรงงานชาวกัมพูชาเดินทางกลับประเทศจริงๆ จะนำแรงงานจากชาติอื่น เช่น เมียนมา ลาว เข้ามาทดแทนได้หรือไม่?” ซึ่งเมื่อดูจำนวนแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในไทย พบเป็นชาวเมียนมามากที่สุด อาจคิดเป็นถึงครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 50 ของแรงงานข้ามชาติทั้งหมดในไทย ดังนั้น “เป็นไปได้..แต่ต้องมีการเตรียมการ” ซึ่งการจ้างแรงงานข้ามชาติ 4 ประเทศ (เมียนมา ลาว กัมพูชาและเวียดนาม) นโยบายของไทยคือดำเนินการผ่านกลไกบันทึกความเข้าใจร่วม (MOU) ระหว่างไทยกับประเทศต้นทางของแรงงาน รวมถึงนโยบายต่ออายุการทำงาน

“แรงงานกัมพูชาทำงานในภาคส่วนใดบ้าง” พบ 3 อันดับแรกดังนี้ 1.งานก่อสร้าง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ สมุทรปราการและชลบุรี 2.ภาคเกษตรและปศุสัตว์ เช่น งานเก็บผลไม้ในพื้นที่จันทบุรี ระยอง สระแก้ว ลพบุรี 3.ภาคประมงและโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ เช่น ลูกเรือประมง แกะกุ้ง แพ็คปลาหมึก ในพื้นที่สมุทรสาคร ระนอง สงขลา ตลาด นอกจากนั้นยังมีในส่วนของภาคบริการ เช่น ลูกจ้างทำงานบ้าน ดูแลเด็ก – ผู้สูงอายุ พนักงานร้านอาหาร – ร้านค้า และภาคอุตสาหกรรม ตามโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม เช่น ในพื้นที่พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ชลบุรี

“แต่ถามว่าจะทดแทนในปริมาณที่เขาหายไปสัก 6 – 7 แสนคน ก็เป็นจำนวนที่มากอยู่ แต่ก็เข้าใจว่าเขาคงจะไม่ทำกันทีเดียวทั้งหมด ถึงบอกว่าเราต้องมีนโยบายในการตั้งรับที่ดีพอสมควร ต้องวางแผนระยะยาวและต้องไม่ประมาทในหลายๆ ส่วน แต่ถามว่ามีโอกาสไหมที่แรงงานอีก 2 กลุ่ม (เมียนมา ลาว) จะมาทดแทนได้? ก็มีโอกาส อาจจะเป็นในส่วนของเมียนมามากกว่า” รศ.ดร.ธีรนงค์ ระบุ   

รศ.ดร.ธีรนงค์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า แต่การตัดสินใจเข้ามาทำงานในไทย หรือเดินทางออกจากไทยกลับประเทศบ้านเกิดของแรงงานข้ามชาติไม่ใช่เรื่องง่าย เท่าที่เคยทำการศึกษา พบว่าแรงงานต้องเป็นหนี้สินเพื่อหาเงินมาใช้เป็นค่าดำเนินการเพื่อให้ได้เดินทางมาทำงาน การรีบเดินทางกลับอาจเท่ากับว่าหนี้นั้นยังคงอยู่ นอกจากนั้นประเทศไทยยังมีระบบประกันสังคมหรือประกันสุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ บวกกับการรักษาพยาบาลที่คุณภาพดีกว่าและเข้าถึงได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับประเทศบ้านเกิด เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยดึงแรงงานข้ามชาติไว้ให้ยังคงอยู่ในไทย

                                                                                                SCOOP.NAEWNA@HOTMAIL.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘ภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์’ ส่องปมขัดแย้ง‘ไทย-กัมพูชา’ ‘ภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์’ ส่องปมขัดแย้ง‘ไทย-กัมพูชา’
  • \'ปัญหาครูต่างชาติผิดกฎหมาย: ผลกระทบทางการศึกษา และความมั่นคงของประเทศ\' 'ปัญหาครูต่างชาติผิดกฎหมาย: ผลกระทบทางการศึกษา และความมั่นคงของประเทศ'
  •  

Breaking News

สภาสูงขยับ! ถกดันโครงการถนน 5.2 กม. บนเกาะกูด หนุนกำลังพล-ยุทโธปกรณ์ ป้องอธิปไตยชายแดนไทย-กัมพูชา

ไทยเตรียมเข้าร่วมประชุม‘รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน’ ครั้งที่ 58

ผ่าตัดปอด! เหตุ'โชต้า'เปลี่ยนแผนกลับแอนฟิลด์ก่อนเสียชีวิต

'เจิมศักดิ์'ขุดคลิปประจาน'ทักษิณ' ตีแสกหน้า'ค่านิยมจอมปลอม'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved