วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
ฐาน‘แก๊งคอลฯ’ล้อมไทย เรื่องใหญ่โลกต้องช่วยปราบ

ฐาน‘แก๊งคอลฯ’ล้อมไทย เรื่องใหญ่โลกต้องช่วยปราบ

วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 07.03 น.
Tag : แก๊งคอลเซ็นเตอร์ มิจฉาชีพออนไลน์
  •  

“อาคารเหล่านี้แบ่งออกอย่างกว้างๆ ได้ 2 แบบ คือแบบที่นำอาคารเก่ามาปรับใช้ ดังนั้นอาคารดังกล่าวจะเคยเป็นอย่างอื่นมาก่อนที่จะกลายเป็นศูนย์สแกมเมอร์ และถูกนำมาปรับโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น ลวดหนาม กล้องวงจรปิด และกลุ่มอาคารอีกแบบหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์บางอย่างที่ไม่ชัดเจนว่าข้างในใช้ทำอะไร แต่ที่แน่ๆ คือมีไว้กักขังคน”

ส่วนหนึ่งจากรายงาน “ฉันคือทรัพย์สินของคนอื่น: การเป็นทาส การค้ามนุษย์ และการทรมานในศูนย์สแกมเมอร์ของกัมพูชา (I Was Someone Else’s Property: Slavery, Human Trafficking and Torture in Cambodia’s Scamming Compounds)” ที่ทาง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) หรือองค์กรนิรโทษกรรมสากล เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2568 ซึ่งตรงกับวันต่อต้านการทรมานสากล (International Day in Support of Victims of Torture) หลังเก็บข้อมูลยาวนานกว่า 18 เดือน


คณะผู้จัดทำงานรายได้สัมภาษณ์ผู้รอดชีวิตจากฐานปฏิบัติการมิจฉาชีพฉ้อโกงทางโทรคมนาคม (สแกมเมอร์ หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์) จำนวน 58 คน ประกอบด้วยชาวไทย 24 คน ชาวจีน 20 คน และประเทศอื่น เช่น มาเลเซีย บังกลาเทศ เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน และเอธิโอเปีย ซึ่งเป็นผู้ที่หลบหนีออกมา ได้รับการช่วยเหลือ หรือครอบครัวจ่ายค่าไถ่ให้ปล่อยตัว และเข้าถึงเอกสารกว่า 300 ฉบับ เกี่ยวกับผู้ที่ถูกกักขังในฐานเหล่านี้และหนีออกมาเพื่อขอความช่วยเหลือ

รวมถึงได้รับความร่วมมือจากองค์กรท้องถิ่นและองค์กรระหว่างประเทศ 20 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นองค์กรที่ทำงานด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ ตลอดจนพูดคุยกับพยานที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ใกล้ฐานดังกล่าว ก่อนจะตีพิมพ์เป็นรายงานความยาว 240 หน้า  ข้อค้นพบนี้หมายถึงการ “ปักหมุด” สถานที่ตั้งของฐานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และลักษณะของฐานเหล่านี้ ซึ่งมีองค์ประกอบที่เห็นได้ชัด 2 ประการ ได้แก่

1.การเป็นสถานที่ที่ผู้คนมารวมตัวกันเพื่อทำงานออนไลน์สแกมมิง และ 2.มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนปรากฏในสถานที่ดังกล่าว ทั้งแรงงานทาส การค้ามนุษย์เพื่อเป็นทาส การใช้แรงงานเด็ก การทรมาน และอื่นๆ โดยนักวิจัยของแอมเนสตี้ได้ลงพื้นที่ศูนย์สแกมเมอร์ทั้งหมด 53 แห่งใน 16 เมือง ทั่วประเทศกัมพูชา รวมทั้งตรวจสอบสถานที่คล้ายกันอีก 45 แห่งที่ต้องสงสัยว่าเป็นฐานของกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้

มอนต์เซ เฟอร์เรอร์ ผู้อำนวยการภูมิภาคฝ่ายวิจัย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า ที่ตั้งของศูนย์สแกมเมอร์ที่ทีมวิจัยสามารถระบุได้มักจะเป็นที่ตั้งที่เห็นได้อย่างเด่นชัด ตัวอาคารประกอบไปด้วยรูปแบบที่เรียกว่า “ลักษณะของความปลอดภัยในเชิงกายภาพและเชิงองค์กร” กล่าวคือ ฐานแก๊งคอลฯ เกือบทุกแห่งจะปรากฏลักษณะด้านความปลอดภัยทางกายภาพที่ชี้ให้เห็นถึงเจตนาในการกักขังผู้คน ไม่ว่าจะเป็นกำแพง ลวดหนาม ลวดไฟฟ้า และกล้องวงจรปิดที่หันเข้าด้านใน รวมทั้งลูกกรงที่สูงกว่าระดับถนน

นอกจากนี้ยังมีหอสังเกตการณ์ที่ออกแบบมาให้เหมือนกับโครงสร้างของเรือนจำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันคนข้างในหนีออกมา รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือ “ผู้คุม” ประจำการอยู่ที่ประตูใหญ่ และในจุดอื่นๆ แน่นอนว่า ไม่ใช่เพื่อคอยระวังผู้บุกรุกจากภายนอก แต่ดูเหมือนว่าจะทำหน้าที่ควบคุมและสอดส่องผู้ที่อยู่ข้างในมากกว่า

ผู้เสียหาย 40 คนจาก 58 คน ให้ข้อมูลว่าเคยถูกการทรมานด้วยวิธีการที่โหดร้าย ซึ่งเกือบทั้งหมดกระทำโดยผู้จัดการศูนย์ บางคนถูกตีด้วยดัมเบล บางคนถูกตีด้วยกระบองไฟฟ้า ดังตัวอย่างของ ลิซา (นามสมมติ) หนึ่งในผู้เสียหายชาวไทย เล่าว่าเธอเคยพยายามหนีถึง 2 ครั้ง และครั้งที่ 2 ที่เธอถูกจับได้ เธอถูกนำตัวเข้าไปในห้องมืด และถูกทุบส้นเท้าด้วยแท่งเหล็กเป็นเวลานานหลายชั่วโมง เธอขยับตัวไม่ได้ และต้องนอนติดเตียงนานถึง 3 สัปดาห์

ผู้เสียหายจำนวนมากถูกล่อลวงจากโฆษณารับสมัครงาน ซึ่งระบุว่าเป็นงานที่ค่าตอบแทนสูง มีตำแหน่งว่างที่ต้องการรับคนด่วน หรือเป็นงานที่ทำในต่างประเทศ ที่โพสต์ในแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Telegram, Facebook, Tiktok เป็นต้น คำโฆษณาเหล่านี้ดึงดูดผู้คนที่ต้องการหารายได้มาจุนเจือครอบครัว หรือมองหาโอกาสในการทำงานที่ดีกว่าในชุมชนหรือในเมืองของตนเอง

ลิซาก็เป็นผู้หนึ่งที่ถูกล่อลวงมาทำงาน เธอเล่าว่า ผู้ค้ามนุษย์เหล่านี้บอกว่าเธอจะได้ทำงานธุรการ เงินเดือนสูง และส่งรูปโรงแรมที่มีสระว่ายน้ำมาให้ ทว่าเมื่อมาทำงานจริง เธอกลับไม่เคยเห็นสระว่ายน้ำที่ว่า เธอถูกลักลอบพาข้ามแดนในตอนกลางคืน พาสปอร์ตถูกยึด จากนั้นเธอถูกกักขังนาน 11 เดือน และถูกบังคับให้ร่วมหลอกลวงทางออนไลน์ รวมทั้งถูกบังคับส่งตัวไปยังฐานแก๊งคอลฯ แห่งอื่นๆ อีก 7 แห่ง ก่อนที่จะถูกนำมาทิ้งไว้กลางทุ่งนา

รายงานของแอมเนสตี้ฯ ยังชี้ให้เห็นถึง “ความล้มเหลวของทางการกัมพูชาในการยุติอาชญากรรมนี้” โดย มอนต์เซ กล่าวว่า หลายครั้งที่ผู้ที่ถูกกักขังพยายามขอความช่วยเหลือจากบุคคลหรือองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสถานกงสุล ทว่าเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจนำกำลังไปยังศูนย์สแกมเมอร์เพื่อช่วยเหลือ กลับไม่ได้เข้าไปภายในศูนย์ มีเพียงการบอกให้ผู้จัดการศูนย์นำตัวผู้เสียหายออกมาส่งให้เจ้าหน้าที่เท่านั้น ผู้รอดชีวิตบางราย ระบุว่า ถูกลงโทษและถูกซ้อมหลังผู้จัดการรู้ว่าพวกเขาพยายามติดต่อตำรวจเพื่อขอความช่วยเหลือ

สอดคล้องกับ จารุวัฒน์ จิณห์มรรคา ตัวแทนจากองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิอิมมานูเอล ที่มุ่งช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ที่เล่าว่า มูลนิธิเคยประสานงานกับเจ้าหน้าที่กัมพูชา ทว่าเจ้าหน้าที่ทำได้เพียงติดต่อผู้จัดการศูนย์สแกมเมอร์ให้พาตัวผู้เสียหายออกมา เมื่อผู้จัดการนำตัวผู้เสียหายมาส่งให้เจ้าหน้าที่ และถ่ายวิดีโอขณะผู้เสียหายออกจากตึกและส่งตัวให้ตำรวจ จากนั้นผู้จัดการก็นำตัวผู้เสียหายกลับเข้าไปในศูนย์ เพื่อทำร้ายร่างกายในห้องมืด

ข้างต้นคือรายงานของแอมเนสตี้ฯ ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ โดยมีการจัดทำเป็น 3 ภาษา คืออังกฤษ ไทยและจีน ทาง Link นี้ https://www.amnesty.org/en/documents/asa23/9447/2025/en/ อย่างไรก็ตาม “ฐานปฏิบัติการมิจฉาชีพออนไลน์ – แก๊งคอลเซ็นเตอร์ – สแกมเมอร์ ต้องบอกว่าแทบจะล้อมรอบไทย” เพราะนอกจากกัมพูชา ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากในช่วง 1-2 เดือนมานี้ เนื่องจากกำลังมีปัญหาข้อพิพาทชายแดนกับไทย หากย้อนไปเมื่อช่วงต้นปี 2568 เมียนมา ก็เป็นอีกประเทศที่ถูกจับตาจากทั่วโลกในเรื่องเดียวกัน

ในเดือน ม.ค. 2568 เมื่อนักแสดงหนุ่มชาวจีน หวัง ซิง ถูกล่อลวงมายังประเทศไทย อ้างว่ามีงานถ่ายทำละครซีรีส์ แต่เมื่อมาถึงกลับถูกพาตัวจากกรุงเทพฯ ข้ามชายแดน อ.แม่สอด จ.ตาก ไปยังเมืองเมียวดีของเมียนมา ก่อนได้รับการช่วยเหลือให้กลับมายังไทยและกลับไปจีนได้อย่างปลอดภัย แต่เรื่องนี้ได้ทำให้ชาวจีนเรียกร้องรัฐบาลของตนให้ช่วยเหลือญาติพี่น้องที่ถูกหลอกไปร่วมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมียนมา เฉกเช่นเดียวกับที่ช่วยเหลือดาราดัง นำมาสู่ปฏิบัติการร่วมระหว่างจีนกับไทย กดดันตัดไฟฟ้า อินเตอร์เน็ตและน้ำมัน จนได้พบว่า อาคารในพื้นที่ “ชเวก๊กโก - เคเค ปาร์ค” ในเมียวดี ถูกใช้เป็นฐานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และมีคนนับพันจากทั่วโลกถูกล่อลวงมาเป็นแรงงานค้ามนุษย์

รายงาน “จุดเปลี่ยน: ผลกระทบระดับโลกของศูนย์หลอกลวง ธนาคารใต้ดิน และตลาดออนไลน์ผิดกฎหมายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Inflection Point: Global Implications of Scam Centres, Underground Banking and Illicit Online Marketplaces in Southeast Asia)” โดยสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ที่เผยแพร่ในเดือน เม.ย. 2568 ระบุพื้นที่ใน 3 ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ที่เป็นแหล่งรวมของการกระทำผิดกฎหมายหลากหลายรูปแบบ รวมถึงฐานปฏิบัติการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ดังนี้

“สปป.ลาว” ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ (GTSEZ) เมืองบ่อแก้ว , “กัมพูชา”   ในพื้นที่กรุงพนมเปญ และอีกหลายเมือง เช่น ปอยเปต สีหนุวิลล์ บาเวต โพธิสัตว์ เกาะกง , “เมียนมา”  เมืองเมียวดี (ชเวก๊กโก , เคเคปาร์ก) ท่าขี้เหล็ก , เล้าก่าย โดยผู้สนใจสามารถเข้าไปอ่านรายงานฉบับเต็ม (มีเฉพาะภาษาอังกฤษ) ได้ที่ https://www.unodc.org/roseaphttps://static.naewna.com/uploads/documents/Publications/2025/Inflection_Point_2025.pdf

แม้แหล่งรวมของอาชญากรรมฉ้อโกงทางโทรคมนาคม (ซึ่งบวกการค้ามนุษย์ไปด้วย) จะรายล้อมอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านของไทย แต่ไม่ได้มีเพียงคนไทยที่ได้รับผลกระทบ (ทั้งการถูกหลอกให้โอนเงินและถูกหลอกให้ข้ามชายแดนไปบังคับเป็นแรงงานทาส) หากเป็นพลเมืองจากทั่วโลกไม่ว่าประเทศพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา..จึงมีคำถามว่า “ประชาคมโลกไม่ร่วมมือกัยทำอะไรบ้างหรือ?” ในเมื่อรายงานจากแหล่งต่างๆ ระบุชัดขนาดนี้!!!

SCOOP.NAEWNA@HOTMAIL.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เปิดเส้นทางสีเทา‘ก๊ก อาน’ คนใกล้ชิด‘ฮุน เซน’ เศรษฐีเขมร-เจ้าพ่อแก๊งคอลฯ-กาสิโนปอยเปต เปิดเส้นทางสีเทา‘ก๊ก อาน’ คนใกล้ชิด‘ฮุน เซน’ เศรษฐีเขมร-เจ้าพ่อแก๊งคอลฯ-กาสิโนปอยเปต
  • ‘นักวิชาการ’มองปัญหา‘แก๊งคอลฯ’ สะท้อนความเชื่อมั่นต่อรัฐและกฎหมาย ‘นักวิชาการ’มองปัญหา‘แก๊งคอลฯ’ สะท้อนความเชื่อมั่นต่อรัฐและกฎหมาย
  • เปิดปูม‘หม่องชิตตู’ผู้คุมกำลังBGF ร่วมเนรมิต‘ชเวโก๊กโก่’นิคมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เปิดปูม‘หม่องชิตตู’ผู้คุมกำลังBGF ร่วมเนรมิต‘ชเวโก๊กโก่’นิคมแก๊งคอลเซ็นเตอร์
  • เพจเมียนมาเปิดให้ดูเต็มตาค่ำคืน\'ท่าขี้เหล็ก\'ยังสว่างไสว หลังเสียบปลั๊กใช้ไฟจากลาว เพจเมียนมาเปิดให้ดูเต็มตาค่ำคืน'ท่าขี้เหล็ก'ยังสว่างไสว หลังเสียบปลั๊กใช้ไฟจากลาว
  • ปลอมทั้งนั้น! ห่วงปชช.ถูกหลอกซ้ำซ้อน ตร.ย้ำไม่มีนโยบายเปิดเพจเฟซบุ๊กรับแจ้งความมิจฉาชีพออนไลน์ ปลอมทั้งนั้น! ห่วงปชช.ถูกหลอกซ้ำซ้อน ตร.ย้ำไม่มีนโยบายเปิดเพจเฟซบุ๊กรับแจ้งความมิจฉาชีพออนไลน์
  •  

Breaking News

'นัสเมียโชค'ทัวร์ลงหนัก ปมแซะ'นิ้ง โสภิดา' สุดท้ายต้องรัวคำขอโทษ!

'ดร.ดิเรกฤทธิ์'คาดหวัง'ศาลฎีกา-ศาล รธน.' ชี้ชะตาประเทศ 'สันติสุขหรือลุกเป็นไฟ'

วิจารณ์ยับ! 'วิรังรอง'ฟันธง 'พ่อออกโรง'ช่วยลูกตกกระป๋อง โผล่บ้านพิษณุโลกแค่ปั่นกระแส

’วันนอร์‘เตรียมลงพื้นที่ยะลาเปิดโครงการรัฐสภาพบประชาชนครั้งที่ 2 14 ก.ค.นี้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved