วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
รมว.เกษตรฯเร่งแก้ปัญหา  สถานการณ์ภัยแล้งที่สุรินทร์

รมว.เกษตรฯเร่งแก้ปัญหา สถานการณ์ภัยแล้งที่สุรินทร์

วันพุธ ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 10.59 น.
Tag : นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ภัยแล้ง รมว.เกษตรฯ
  •  

รัฐมนตรีเกษตรฯ เร่งแก้ปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดสุรินทร์ซึ่งปีนี้อ่างเก็บน้ำที่เก็บน้ำต้นทุนสำหรับผลิตน้ำประปาของอำเภอเมืองแห้งขอด ด้านกรมชลประทานแก้ปัญหาโดยการขุดร่องชักน้ำมาเติม ส่วนกรมฝนหลวงฯ ปฎิบัติการทำฝนต่อเนื่องเพื่อเติมน้ำในอ่าง

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำคณะผู้บริหารของกระทรวงเกษตรฯ ไปยังอ่างเก็บน้ำลำพอก อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์เพื่อติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเร่งแก้ปัญหา โดยกล่าวว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรมชลประทาน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และกรมการข้าวบูรณาการช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชน ทั้งนี้เรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนที่สุดคือ การจัดหาแหล่งน้ำเสริมให้แก่อ่างเก็บน้ำหลายแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีน้ำไหลลงอ่างฯ น้อย เนื่องจากฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 29% ซึ่งกรมชลประทานรายงานว่า แผนบริหารจัดการน้ำฤดูฝนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ปริมาตรน้ำเก็บกัก 1 พฤษภาคมถึง 30 กรกฎาคม 62 มีทั้งสิ้น 2,565 ล้านลบ.ม. เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 1,394 ล้านลบ.ม. ความต้องการใช้น้ำตลอดฤดูฝนปี 62 รวม 4,106 ล้านลบ.ม. เป็นน้ำชลประทาน 2,258 ล้านลบ.ม. และน้ำฝน 1,848 ล้านลบ.ม. จัดสรรไปแล้ว 914 ล้าน​ลูกบาศก์​เมตร​ คิด​เป็น​ 22% คงเหลือปริมาตรน้ำที่ต้องจัดสรรจากแผน 3,192 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 78% เป็นน้ำชลประทาน 1,436 ล้านลบ.ม. และน้ำฝน 1,756 ล้านลบ.ม. สำหรับแผนเพาะปลูกข้าวฤดูฝนกำหนดไว้​ 3.41 ล้าน​ไร่ เพาะปลูกไปแล้ว 3.14 ล้านไร่ คิดเป็น 92% ซึ่งการบริหารจัดการตามแผนที่วางไว้คือ การปลูกพืชให้ใช้น้ำฝนเป็นหลัก ใช้น้ำชลประทานเสริมเพื่อให้น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำมีเพียงพอใช้ตลอดฤดูฝนและเก็บกักไว้ใช้ในฤดูแล้งที่จะมาถึง โดยพื้นที่เฝ้าระวังภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัดได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม และสุรินทร์


  ทางด้านทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า สำหรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบัน​(30 ก.ค.62) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 12 แห่ง มีปริมาตรน้ำเก็บกัก 2,565 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 218 แห่ง มีปริมาตรน้ำเก็บกัก 549 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 246 แห่ง มีปริมาตรน้ำเก็บกัก 44 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 1,394 ล้าน ลบ.ม 

สำหรับจังหวัดสุรินทร์ (ข้อมูลวันที่ 30 ก.ค.62) มีปริมาณน้ำเก็บกักจากอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและแหล่ง​น้ำอื่นๆ​ รวม 26 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 346 แห่งรวมกัน 66 ล้าน ลบ.ม. เป็นน้ำใช้การได้ 25 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมกัน 1.067 ล้าน ลบ.ม. ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 0.806 ล้าย ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 4  ของความจุอ่าง และอ่างเก็บน้ำห้วยอำปึล ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำ 0.261 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 0.94  ซึ่งสาเหตุการเกิดภัยแล้งสืบเนื่องจากมีปริมาณฝนน้อยในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่ปี 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งมีปริมาณฝนตกเพียง 1,158 มิลลิเมตร​ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ 17 แห่ง มีเพียง 131 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของค่าเฉลี่ย จนถึงปัจจุบันมีปริมาณฝนสะสม 399 มิลลิเมตร​ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเพียง 13 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 2 ของค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือ โดยทำการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำอำปึล ปริมาณ 0.50 ล้าน ลบ.ม. พร้อมขุดร่องชักน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยเสนงเข้าสู่จุดสูบน้ำการประปาและสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำราชมงคลลงห้วยเสนง ปริมาณ 0.25 ล้าน ลบ.ม. รวมทั้งผันน้ำจากบ่อหิน ปริมาณ 20 ล้าน ลบ.ม. รวมปริมาณน้ำช่วยเหลือได้ 21 ล้าน ลบ.ม. ทั้ง 2 อ่างเป็นอ่างเก็บน้ำสำหรับผลิตน้ำประปาเลี้ยงอำเภอเมืองสุรินทร์ นอกจากนี้ยังประสานกรมทรัพยากรน้ำบาดลเพื่อเจาะน้ำบาดาลเติมน้ำสู่อ่างฯ รวมถึงจะขุดลอกแก้มลิงเกาะแก้วและป่าเวย อำเภอสำโรงทาบเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักของจังหวัดสุรินทร์อีกทางหนึ่งด้วย แม้ว่าบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีปริมาณฝนเพิ่มแล้วก็ตาม แต่ขอให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด และขอความร่วมมือเกษตรงดทำการเพาะปลูกต่อเนื่อง หรือทำการเพาะปลูกตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตร  สำหรับพื้นที่ที่เพาะปลูกแล้ว ขอให้เกษตรในพื้นที่ใช้น้ำตามรอบเวรตัวเองอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ผู้ใช้น้ำร่วมกันได้มีน้ำใช้อย่างทั่วถึง

ส่วนนายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตรกล่าว พื้นที่เกษตรส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่เกษตรน้ำฝนรอรับน้ำฝน ที่ผ่านมาการทำฝนมีอุปสรรคเพราะมีปัญหาลมแรง ความชื้นอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อปฏิบัติการฝนหลวง  ทั้งนี้ได้บินปฏิบัติการทำฝนให้ตกลงสู่อ่างฯ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปแล้ว 19 เขื่อน จากจำนวนอ่างทั้งขนาดใหญ๋และขนาดกลางที่มีน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุเก็บกัก 100 กว่าแห่ง แต่จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนซึ่งจะส่งผลให้วันที่ 1 – 2 สิงหาคมนี้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือนั้น คาดว่า ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศจะสูงขึ้นและดัชนีค่าการยกตัวของเมฆดีขึ้น มีโอกาสให้การบินปฏิบัติการทำให้ฝนตกลงในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือได้ผลดีขึ้นตามไปด้วยเพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้อย่างเพียงพอจนถึงฤดูแล้งหน้า กรมฝนหลวงฯ จะเร่งปฏิบัติการฝนหลวงตามที่กรมชลประทานขอรับการสนับสนุนมา สำหรับในจังหวัดสุรินทร์จะทำฝนเพื่อเติมน้ำในอ่างห้วยเสนองและอ่างอำปึลเพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการอุปโภค-บริโภค

ในวันนี้รัฐมนตรีเกษตรฯ ได้ปล่อยขบวนคราวานรถบรรทุกน้ำขนาด 6,000 ลิตร 17 คัน รถบรรทุกน้ำขนาด 12,000 ลิตร อีก 3 คัน พร้อมรถขุดจำนวน 1 คัน เครื่องสูบน้ำอีกจำนวน 13 เครื่องเพื่อใช้ในการช่วยเหลือประชาชนที่ขาดแคลนน้ำ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ต้นแบบ\'สระสะดือ\' โครงการบริหารจัดการดินและน้ำบนดินและใต้ดินฯ ปี 2567 จังหวัดกำแพงเพชร แก้ปัญหาภัยแล้งได้จริง ต้นแบบ'สระสะดือ' โครงการบริหารจัดการดินและน้ำบนดินและใต้ดินฯ ปี 2567 จังหวัดกำแพงเพชร แก้ปัญหาภัยแล้งได้จริง
  • รมว.เกษตรฯมุ่งมั่น  ช่วยยกระดับรายได้  ทำเกษตรมูลค่าสูง  หาช่องทางจำหน่าย รมว.เกษตรฯมุ่งมั่น ช่วยยกระดับรายได้ ทำเกษตรมูลค่าสูง หาช่องทางจำหน่าย
  • รมว.เกษตรฯหารือเอกชน  ตรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รมว.เกษตรฯหารือเอกชน ตรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
  • รมว.เกษตรฯพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ รมว.เกษตรฯพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ
  • รมว.เกษตรฯพัฒนางานบัญชีสหกรณ์ รมว.เกษตรฯพัฒนางานบัญชีสหกรณ์
  • รมว.เกษตรฯร่วมเพิ่มมูลค่า ข้าว-กาแฟไทยช่วยเกษตรกร รมว.เกษตรฯร่วมเพิ่มมูลค่า ข้าว-กาแฟไทยช่วยเกษตรกร
  •  

Breaking News

(คลิป) 'อ.วิษณุ'ยัน! 'ลูกน้องนำลูกพี่'เข้าถวายสัตย์ฯตำแหน่ง วธ.1 ได้!

รวบนางนกต่อหนีคดีนาน14ปีร่วมกับพวกอุ้มรีดเงินเหยื่อ

(คลิป) แนวหน้าTAlk : ผ่าแผนผลประโยชน์ทับซ้อน 'ทักษิณ-ฮุนเซน'?

‘ทรัมป์’ร้องศาลฎีกา‘สหรัฐฯ’ ยันมีอำนาจปลด3กก.ความปลอดภัยผู้บริโภค

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved