นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri – Map) ของจ.สิงห์บุรี พบมีพื้นที่เหมาะสม (S1/S2) ปลูกข้าว 287,652 ไร่ จากการผลิตข้าวนาปีผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 1,166.22 บาท/ไร่ ข้าวนาปรัง ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 1,072.11 บาท/ไร่ ซึ่งปัจจุบัน พบว่า เกษตรกรปรับเปลี่ยนการทำเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าหลากหลายช่วงหลังหมดฤดูทำนาหรือทดแทนการทำนาปรัง โดยนิยมปลูกพืชหลังนาที่มีอายุสั้น ใช้น้ำน้อย เป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้ง สร้างรายได้เสริมให้เกษตรกรเป็นอย่างดี
จากการศึกษาของสศท.ที่ 7 จังหวัดชัยนาท ถึงพืชทางเลือกหลังนา ที่น่าสนใจของจ.สิงห์บุรีมีหลายชนิด อาทิ
ถั่วลิสงฝักสด แตงโม ข้าวโพดข้าวเหนียว ถั่วเหลืองฝักสด ซึ่งเกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดในอำเภออินทร์บุรี อีกทั้ง ตลาดยังต้องการต่อเนื่อง โดยการซื้อขายผลผลิตจะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อจากเกษตรกรถึงแหล่งผลิต รวมถึงเกษตรกรบางรายนำไปจำหน่ายที่ตลาดสำคัญในจังหวัด เช่น ตลาดเกษตรกร และตลาดประชารัฐ เป็นต้น หากพิจารณาการผลิตสินค้าแต่ละชนิด พบว่า
ถั่วลิสงฝักสด ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 15,000 บาท/ไร่/รอบการผลิตระยะเวลาเก็บเกี่ยว 85-90 วัน ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 9,000 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคารับซื้ออยู่ที่ 20 บาท/กก. แตงโม ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 6,560 บาท/ไร่/รอบการผลิต ปลูกได้เกือบตลอดทั้งปี ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการปลูกคือกันยายนถึงมกราคมของปีถัดไป ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 90-100 วัน ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 8,440 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคารับซื้ออยู่ที่ 10 บาท/กก.
ข้าวโพดข้าวเหนียว มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 7,060 บาท/ไร่/รอบการผลิต ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 55 - 65 วัน ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 2,940 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคารับซื้ออยู่ที่ 10 บาท/กก. ถั่วเหลืองฝักสด มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 6,070 บาท/ไร่/รอบการผลิต ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 62-65 วัน ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 6,530 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคารับซื้ออยู่ที่ 18 บาท/กก.
ด้านนายชีวิต เม่งเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 จังหวัดชัยนาท (สศท.7)กล่าวเสริมว่า นอกจากนี้ เกษตรกรยังทำการเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรายได้และให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ ซึ่งยังมีสินค้าทางเลือกอีกหลายชนิดที่น่าสนใจและตลาดต้องการ เช่น ด้านปศุสัตว์ การเลี้ยงแพะเนื้อ (ขุน) มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 85-90 บาท/กก. ระยะเวลาเลี้ยง 6 เดือน ซึ่งจะได้น้ำหนักที่ 30-35 กก. เกษตรกรจับขายในราคา 120-125 บาท/กก. ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 35 บาท/กก. จะส่งขายให้เครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะแกะแห่งประเทศไทย ปัจจุบันเป็นที่ต้องการ
ของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านประมง เลี้ยงปลาช่อน มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 126,000 บาท/รอบการผลิต ระยะเวลาเลี้ยง 6-8 เดือน (ปลาช่อน 10,000 ตัว/รอบการผลิต) ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 58,000 บาท/รอบการผลิต จำหน่ายทั้งปลาสดและแปรรูป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี