วันที่ 5 ตุลาคม 2563 ที่หน้าองค์การสหประชาชาติ หรือ UN เครือข่ายสลัม 4 ภาค ได้ยื่นข้อเรียกร้องการปฏิรูประบบการศึกษาไทย ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมี นายสุภัทร จำปาทอง รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) เดินทางไปรับเรื่องร้องเรียนแทน
โดยนายสุภัทร กล่าวว่า เนื่องจากวันที่ 5 ต.ต. เป็นวันที่อยู่อาศัยโลก ทางเครือข่ายสลัม 4 ภาค จึงได้ออกมาพูดถึงสิทธิที่อยูอาศัย และสิทธิมนุษยชน สิทธิภาคประชาชน และต้องสนับสนุนข้อเรียกร้องของนักเรียนที่ต้องการปฏิรูปการศึกษา ต้องการความปลอดภัย และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยมีหน่วยงานภาครัฐมารับข้อเรียกร้องเรียก อาทิ ตัวแทน UN, ตัวแทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.), ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เป็นตัวแทนรัฐบาล มารับเรื่องร้องเรียน
นายสุภัทร กล่าวว่า เครือข่ายสลัม 4 ภาค ได้มีข้อเรียกร้องกับกระทรวงศึกษาธิการ 2 ข้อ โดยข้อเรียกร้องที่ 1 ให้หยุดขู่คุกคามนักเรียน นักศึกษา ที่ออกมาเคลื่อนไหว แสดงความคิดเห็นทางการเมือง รูปแบบต่าง ๆทั้งในและนอกสถานศึกษา โดยให้นักเรียน นักศึกษาแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ ซึ่งในข้อนี้ ตนก็เรียนทางสมัชชาไปว่า เห็นด้วย 100% ว่าในการแสดงความคิดเห็นนั้น ทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นได้ แต่ก็ให้ระมัดระวังเรื่องการละเมิดสิทธิผู้อื่นที่ต้องมีข้อจำกัด ส่วนข้อ 2. ให้รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการตามข้อเรียกร้องของกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่มีคำถามและมีข้อเสนอมาหลายครั้งต่อกระทรวงศึกษาธิการ และให้ดำเนินการเป็นรูปธรรม นั้น ซึ่งในข้อนี้ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาฯได้ดำเนินการหลายอย่าง แต่อาจจะตอบสนองช้าไป และการสื่อสารที่จะต้องเป็นระบบมากกว่าเดิม ดังนั้น ศธ.จะตั้งคณะทำงานชุดใหญ่ขึ้นมา และมีคณะทำงานชุดย่อยแยกไปดูแลทุก ๆเรื่อง เพื่อให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ๆที่เด็ก ๆเสนอมา โดยเฉพาะเมื่อวันศุกร์ที่ 2 ต.ค.ที่กลุ่มนักเรียนได้มาเรียกร้องทั้งเรื่องระเบียบทรงผม เรื่องการทำโทษรุนแรง เรื่องเครื่องแบบนักเรียน ซึ่งทางคณะทำงานก็ต้องไปดีไซน์แบบ เช่น เครื่องแบบนักเรียนเหมือนกันทั่วประเทศ แต่งเครื่องแบบบางวัน หรือฟรีฟอร์ม แต่ต้องเป็นชุดสุภาพ ไม่ใส่กางเกงบอลรองเท้าแตะมาเรียน ทั้งนี้ ต้องดูถึงความเหมาะสมด้วย ส่วนเรื่องไม่ให้เกิดความรุนแรงในสถานศึกษา ซึ่งเรื่องนี้ทางผู้บริหารโรงเรียนทุกแห่งจะต้องตรวจสอบมอร์นิเตอร์อย่างเข้มงวดในทุกระดับชั้นเพื่อป้องกันการเกิดความรุนแรงในสถานศึกษา
“ซึ่งทุกเรื่องที่กล่าวมานี้สามารถทำได้เร็วขึ้นในระยะสั้นนี้ แต่สิ่งสำคัญเมื่อทำแล้วจะต้องสื่อสารให้สังคมได้รับรู้ว่า ศธ.ได้ทำอะไรไปบ้างจากข้อเรียกร้องนั้น และทำได้แค่ไหนจากที่มีข้อเสนอมา และต้องอธิบายได้หากบางเรื่องที่ทำไม่ได้เพราะอะไร ที่สำคัญคณะทำงานจะต้องทำงานด้วยความโปร่งใส เพื่อให้ทุกคนมองเห็นได้” นายสุภัทร กล่าว
ปลัดศธ. กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่อง การปรับหลักสูตร และการปรับระเบียบกฏเกณฑ์ต่าง ๆที่อาจจะล้าสมัยนั้นนั้น อาจจะต้องใช้ระยะเวลาศึกษายาวหน่อย
ปลัด ศธ. กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ จะประสารกับเลขาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.)ว่าเรื่องใดที่ตรวจสอบไปแล้วบ้าง และเรื่องใดตรวจสอบแล้วเป็นเรื่องจริงหรือไม่อย่างไร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนจากโรงเรียน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี