นายพรชัย อินทร์ฉาย รักษาการผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่าที่ผ่านมา สถาบันมีผลงานด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ได้แก่ การขยายฐานการทำงานของนักวิทย์ทุนรัฐบาลสู่ภาคอุตสาหกรรม มีการพัฒนาการทำวิจัยร่วมกับภาคเอกชนเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศได้ตรงจุด ให้นักวิจัยได้รับการสนับสนุนในด้านเทคโนโลยีและทรัพยากรที่เหมาะสมทันสมัยจากภาคเอกชน ในส่วนของนักเรียนทุนพัฒนา สสวท.ได้ปลูกฝังและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.) ทำกิจกรรมเพื่อสังคมและได้วางระบบการพัฒนานักเรียนโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ด้วยการส่งเสริม กระตุ้นความถนัด และความเป็นเลิศผ่านกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ รวมทั้งอบรมครูศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้นำกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาไปจัดกิจกรรมแก่นักเรียนโรงเรียนศูนย์และโรงเรียนเครือข่าย เพื่อขยายผลแนวทางการพัฒนาอัจฉริยภาพไปสู่นักเรียนทั่วไป และต่อยอดไปถึงการจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ที่สามารถรองรับการคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยฯ และการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศในรูปแบบออนไลน์ได้ทัดเทียมนานาชาติ
นายพรชัย กล่าวต่อไปว่า สสวท. มีแผนเชื่อมโยงต่อไปยังปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยจะเน้นพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ พัฒนาระบบการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ปลูกฝังสมรรถนะการคิดขั้นสูง บูรณาการจัดกิจกรรมออนไลน์ผ่านการปฏิบัติการทดลองจริงเป็นรายบุคคล ให้ทุนใหม่แก่นักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 290 ทุน ได้แก่ ทุน พสวท. 130 ทุน โครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (ทุน สควค.) 150 ทุน และทุนโอลิมปิกวิชาการ 10 ทุนพัฒนาระบบบริหารจัดการทุน พัฒนาครู สควค. และสร้างเครือข่ายวิชาการครู สควค. ตามแผนโครงการ สควค.ระยะที่ 4 พ.ศ. 2564-2567 ที่อนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี และพัฒนานักเรียนในโครงการจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ และจัดส่งผู้แทนประเทศไทยฯ ไปแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศกับนานาชาติ
“จุดเน้นต่อไปของ สสวท. ในการพัฒนา คือ การขยายผล และปรับแนวทางการพัฒนาผู้มีความสามารถดังกล่าว ให้มีสมรรถนะที่จำเป็นและมีศักยภาพสอดรับกับความต้องการในปัจจุบันและอนาคต โดยจะนำเทคโนโลยีมาใช้วางระบบงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นความท้าทายที่ สสวท. จะต้องสรรหาผู้รับทุนด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อค้นหาผู้ที่สนใจเข้าสู่วิชาชีพอย่างแท้จริง โดยปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษา ทุน พสวท. เป็นนักวิทยาศาสตร์กว่า 1,700 คน กระจายการทำงานทั่วประเทศ และสร้างผลงานนวัตกรรมและงานวิจัยจำนวนมาก ผู้สำเร็จการศึกษาทุน สควค. กว่า 5,000 คน เป็นครูศักยภาพสูง ที่เป็นผู้นำทางวิชาการ ช่วยยกระดับการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และผู้สำเร็จการศึกษาทุนโอลิมปิกวิชาการกว่า 150 คน ได้ไปพัฒนางานหลายวิชาชีพ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ” นายพรชัย กล่าวทิ้งท้าย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี