วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
หมองานหนัก  1คนต้องดูแลผู้ป่วย2พันคน  9รพ.ทำงาน64ชม./สัปดาห์

หมองานหนัก 1คนต้องดูแลผู้ป่วย2พันคน 9รพ.ทำงาน64ชม./สัปดาห์

วันพุธ ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 06.45 น.
Tag :
  •  

หมองานหนัก

1คนต้องดูแลผู้ป่วย2พันคน

9รพ.ทำงาน64ชม./สัปดาห์

สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานโลก

สธ.ขอผลิตเพิ่ม1.1หมื่นคน

รองปลัด สธ.แถลงแจงปมบุคลากรแพทย์ลาออกจนขาดแคลน โดยรับว่าจำนวนแพทย์ไม่พอกับภาระงาน เผยแพทย์สังกัด สธ.มีประมาณ 2.4 หมื่นคน ดูแล 45 ล้านคน ในระบบหลักประกันสุขภาพคิดเป็นสัดส่วนหมอ1คนต่อ2พันคน ต้องทำงานเกิน64ชม./สัปดาห์ 9รพ.ชี้สาเหตุผลิตไม่พอ-จัดสรรไม่ครบ เป็นปัญหาสะสมมากว่า10ปี ขอผลิตเติมในระบบอีก11,000 คนภายในปี 69

เมื่อวันที่ 6มิถุนายน ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมให้สัมภาษณ์หลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กรณีแพทย์จบใหม่ลาออกทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแพทย์ในระบบสาธารณสุขว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข รายงานเรื่องนี้แล้ว ซึ่งมีปัญหาเรื่องงบประมาณจำกัดในการบรรจุข้าราชการ ทั้งนี้ รัฐบาลให้งบประมาณบรรจุไปแล้วประมาณ 4 หมื่นคน แต่ยังไม่พอ ไม่ใช่เฉพาะแพทย์ ต้องติดตามดู กระทรวงสาธารณสุขรับเรื่องไปแล้ว


ด้านนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ในเรื่องเดียวกันโดยตอบคำถามสื่อมวลชนที่ระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนโยบายไม่รับหมอจบใหม่ และบุคลากรเพิ่มว่า มีด้วยหรือ นโยบายที่จะไม่รับหมอ มีแต่ต้องการรับจำนวนมาก อยากรับเพิ่ม แต่คนที่จะอนุมัติคือ สำนักงานข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)และรัฐบาล ต้องยอมรับว่าความต้องการรับบริการของประชาชนมีสูง โดยเฉพาะหลังสถานการณ์โควิด-19 ที่พยายามยกระดับทำงาน แต่มีข้อจำกัดเรื่องบุคลากร นอกจากนั้น มีปัญหางบประมาณ ที่ได้รับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ที่เหมาจ่ายรายหัว ซึ่งเราหวังว่าจะได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นเท่ากับที่ต้องบริการประชาชน

ผู้สื่อข่าวถามว่า งบประมาณ เป็นปัญหาหลักทำให้บุคลากรลาออกหรือไม่ ปลัด สธ.ยอมรับว่า เป็นส่วนหนึ่ง มีทั้งเรื่องบุคลากร เราใช้ทรัพยากรทั้งคนและเงินที่มีอยู่อย่างจำกัดมาบริการประชาชนให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ได้กำชับเรื่องสวัสดิการและภาระงานไม่ให้เกินไป ที่ดูจากตัวเลขภาระงานค่อยๆลดลงและดีขึ้น แต่ไม่ได้แปลว่าหมดไป บางจุดเป็นปัญหาก็แก้เป็นจุดไป ปัจจุบันประชาชนที่อยู่ในชนบทตอนนี้มาอยู่ในเมืองมากกว่า ทำให้ภาระงานในโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไปมีมากกว่าโรงพยาบาลอำเภอ ซึ่งสธ.ปรับโดยยึดถือนโยบายว่าจังหวัดหนึ่งให้เป็นโรงพยาบาลเดียวกัน จะอยู่โรงพยาบาลไหนสามารถเคลื่อนย้ายบุคลากรกันได้ ไม่ให้เกิดภาระงานที่หนักเกินไป

สำหรับการป้องกันปัญหาสมองไหลในวงการแพทย์นั้น นพ.โอภาสเผยว่า ต้องใช้หลายมาตรการ บุคลากรจะอยู่ได้ เช่น เรื่องค่าตอบแทนต้องเทียบกับภาคเอกชนที่ดึงดูดใจ เรื่องสวัสดิการที่กระทรวงเพิ่มค่าตอบแทนและการทำงานล่วงเวลา ดูแลเรื่องบ้านพัก กำชับให้สร้างบ้านพักสำหรับหมอพยาบาลให้เพียงพอ และความก้าวหน้าในวิชาชีพ เรื่องภาระงานยอมรับว่าแก้ยาก เพราะความต้องการของประชาชนมีมาก แต่ถ้ามีบุคลากรและงบประมาณเพิ่มจะจัดการได้ดีขึ้น

วันเดียวกัน นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงชี้แจงปัญหาแคลนแพทย์ในระบบสาธารณสุขว่า ปัญหาขาดแคลนกำลังคนไม่ใช่แค่แพทย์ที่ขาดแคลน แต่รวมถึงพยาบาล ทันตแพทย์ นักรังสีการแพทย์ และวิชาชีพอื่นที่ สธ. ยังขาดแคลน จากข้อมูลที่สรุปออกมาพบว่า ขณะนี้มีแพทย์ในระบบที่ขึ้นทะเบียนกับแพทยสภา อัตรากำลัง 50,000-60,000 คน อยู่ในสังกัด สธ. 24,600 คน คิดเป็น 48% แต่ดูแลคนในระบบหลักประกันสุขภาพ 45 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 75-85 ของประชากรทั้งประเทศ สะท้อนภาระงานสัดส่วนแพทย์ 1 คนต่อ 2,000 คน แต่มาตรฐานโลกระบุไว้ ต้องอยู่ที่ประมาณ 3 ต่อ 1,000 คน ซึ่งประเทศไทยยังขาดแคลนอยู่มาก ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษที่มีประชากรเท่ากับไทย และมีระบบหลักประกันสุขภาพเหมือนกัน แต่มีแพทย์หลักแสนคน และมีระบบคัดกรองผู้ป่วยก่อนพบแพทย์

รองปลัด สธ.กล่าวต่อว่า การกระจายกำลังแพทย์แบ่งเป็น 12 เขตสุขภาพ แต่ละพื้นที่มีประชากรเขตละประมาณ 3-5 ล้านคน มีแพทย์เขตละประมาณ 1,000-3,000 คน และเขตสุขภาพที่ 13 คือ กรุงเทพมหานครมีแพทย์สูงสุด 10,595 คน ยกตัวอย่างเขตสุขภาพที่ 7-10 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบปัญหาเรื่องจำนวนแพทย์มากที่สุด ภาระงานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80-90 อยู่ที่สธ. มีภาคเอกชนมาแบ่งเบาภาระงานประมาณร้อยละ 6-7 เป็นการใช้สิทธิเบิกจ่ายอื่นๆ เช่น ประกันสุขภาพส่วนตัว

นพ.ทวีศิลป์ยังชี้แจงถึงแผนผลิตแพทย์ก่อนปริญญาตั้งแต่ปี 2561-2570 แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) วางเป้าหมายผลิตแพทย์ปีละ 3,000 คน ถ้าเป็นไปตามแผนคือ ในปี 2570 จะมีแพทย์ประมาณ 33,780 คน และ2.สธ.ร่วมผลิตแพทย์ปีละ 11,000 คน ดังนั้น สธ.ไม่ได้ใช้แรงงานแพทย์อย่างเดียว แต่ยังร่วมผลิตด้วย 1 ใน 3

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นจัดสรรนักศึกษาแพทย์ ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์ จะมีคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ฯที่เรียนจบแต่ละปี กระจายไปหน่วยงานอื่น เช่น สธ. กระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร (กทม.) และมหาวิทยาลัย 23 แห่ง มีสูตรกระจายปรับกันมาทุกปี อย่างปี 2566 มีแพทย์เรียนจบ 2,759 คน จัดสรรไปโรงเรียนแพทย์เปิดใหม่ อาจารย์แพทย์ในสาขาปรีคลินิก เหลือโควต้ามาที่ สธ. 1,960 คน จากการขอรับจัดสรร 2,061 คน และกระทรวงกลาโหม 74 คน แต่สธ.เคยศึกษาว่า การขอรับจัดสรรแพทย์มาที่ สธ.ควรอยู่ปีละ 2,055 คน แต่ที่ผ่านมาได้รับจัดสรรเพียงปีละ 1,800-2,000 คน จึงเป็นที่มาของปัญหาคนน้อย แต่ภาระงานมาก

“จบ 6 ปี ต่อมาปีที่ 7 คือ ปีแพทย์ใช้ทุนปีแรก หรือเรียกว่า อินเทิร์น ที่แพทยสภากำหนดว่า ต้องเพิ่มพูนทักษะอย่างน้อย 1 ปี เป็นการทำงานในโรงพยาบาล (รพ.)สังกัด สธ.รวม 117 แห่ง ที่ผ่านมา สธ. จัดสรรที่นั่งศักยภาพ เปิดตำแหน่งไว้ แต่ส่งมาจริงไม่ถึง ดังนั้น ทุกที่จะขาดกำลังพล แม้รับส่วนอื่นเข้ามาเพิ่ม แต่ก็ไม่ถึงจำนวนที่นั่งศักยภาพที่เปิดไว้”นพ.ทวีศิลป์ระบุ และว่า ภาระงานของแพทย์หลักๆคือ ดูแลผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เปิดให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ตลอด ไม่เหมือนต่างประเทศที่ต้องทำนัด เข้าถึงยาก การส่งต่อรักษามีขั้นตอนมาก หากจะเข้าถึงแพทย์ในอาการป่วยเล็กน้อยต้องจ่ายเงินเอง แต่ไทยให้บริการตลอด ส่วนนี้ทำให้เกิดภาระงานหนักของแพทย์สังกัด สธ.ทั่วประเทศ ที่มีเพียง 20,000 คน

รองปลัด สธ.กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ สธ.ได้สำรวจเวลาปฏิบัติงานของแพทย์ พบแพทย์ทำงานเกิน 64 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ถึง 9แห่ง จาก 117 แห่ง ซึ่งได้แก้ไขการอยู่เวรก็ลดลงเหลือ 4 แห่ง ทำงานเกิน 59 ชั่วโมง 4 แห่ง เกิน 52 ชั่วโมง 11 แห่ง เกิน 46 ชั่วโมง 18 แห่ง และเกิน 40 ชั่วโมง 23 แห่ง ซึ่งมาตรฐานประเทศพัฒนาแล้วระบุว่าแพทย์ต้องทำงานต่ำกว่า 40 ชั่วโมง แต่ประเทศเหล่านั้นมีแพทย์มากกว่าแสนคน เราพยายามทำก็ต้องเติมแพทย์เข้าไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อแพทย์อินเทิร์นทำงานเพิ่มพูนทักษะครบ 1 ปี ได้ใบเพิ่มพูนแล้ว แพทยสภาให้สิทธิลาออกไปเรียนเฉพาะทางได้ จึงออกจากระบบรพ.สังกัดสธ.ปีละประมาณ 4,000 คน ทำให้เหลือแพทย์ที่ดำรงตำแหน่งจาก 24,000 คน เหลือ 20,000 คน ดังนั้น เฉลี่ยแพทย์ 1 คนเรียนแพทย์ 6 ปี เพิ่มพูนทักษะ 1 ปี และเรียนเฉพาะทางอีก 3 ปี รวม 10 ปี แต่ประคับประคองกันมา

นพ.ทวีศิลป์เปิดเผยข้อมูลการลาออกของแพทย์ 10 ปีย้อนหลัง พบว่า แพทย์บรรจุรวม 19,355 คน เป็นแพทย์ใช้ทุน 3 ปี ในจำนวนนี้มีแพทย์ใช้ทุนปีแรกลาออก 226 คน คิดเป็นร้อยละ 1.2 เฉลี่ยปีละ 23 คน ซึ่งถือว่าน้อย เพราะต้องอยู่ในครบระยะเวลาเพิ่มพูนทักษะที่แพทยสภากำหนดก่อน ต่อมาแพทย์ใช้ทุนปีที่ 2 ลาออก 1,875 คน คิดเป็นร้อยละ 9.6 เฉลี่ยปีละ 188 คน จะมากขึ้นมา เพราะอยู่ครบกำหนดแล้ว สามารถออกไปเรียนเป็นแพทย์เฉพาะทางได้ ส่วนหนึ่งที่ไม่ต้องใช้ทุนของสธ.แล้ว ก็ออกไปเป็นฟรีเทรนนิ่งในมหาวิทยาลัยต่างๆ ส่วนแพทย์ใช้ทุนปีที่ 3 ลาออก 858 คน และหลังใช้ทุนครบ 3 ปี ก็มีลาออกอีก เพราะไม่มีภาระผูกพันธ์แล้ว ประมาณ 1,578 คน ยังไม่รวมอัตราเกษียณปีละ 150-200 คน รวมลาออก 655 คน ตัวเลขที่ออกมาเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะยังมีโควตาในมหาวิทยาลัย แต่ที่ลาออกทั้งหมดของ สธ. 655 คน ทั้งลาออก 3 ปี 455 และอัตราเกษียณ 200 คน

สำหรับแนวทางแก้ปัญหา นพ.ทวีศิลป์เปิดเผยว่า ปลัด สธ.ให้ 4 แนวทางคือ เพิ่มค่าตอบแทน ดูแลสวัสดิการ เช่น ที่พัก สภาพแวดล้อม ให้เอาเงินบำรุงที่เหลือจากสถานการณ์โควิด-19 ไปปรับปรุงส่วนนี้ เรื่องความก้าวหน้า ได้หารือกับก.พ.ที่กำหนดเรื่องนี้เพื่อแก้ไข ส่วนการลาออกไปเรียนไม่ห้าม ขณะเดียวกัน จะเพิ่มที่นั่งเรียนในสธ.เข้าไปด้วย และจัดภาระงานให้เหมาะสม ให้มีเวิร์ก ไลฟ์ บาลานซ์ รวมถึงปรับกรอบอัตรากำลังใหม่ในปี 2565-2569 เพิ่มจาก 24,000 เป็น 35,000 คนในปี 2569 เท่ากับเพิ่มขึ้น 11,000 คน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'สมศักดิ์\'เผยยังไม่พบผู้ป่วย\'โรคแอนแทรกซ์\'เพิ่ม เตือนปชช.ในพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังใกล้ชิด 'สมศักดิ์'เผยยังไม่พบผู้ป่วย'โรคแอนแทรกซ์'เพิ่ม เตือนปชช.ในพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังใกล้ชิด
  • ป่วยคงที่4ราย! \'สมศักดิ์\'เผยไม่พบผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์เพิ่ม เตือนประชาชนพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวัง ป่วยคงที่4ราย! 'สมศักดิ์'เผยไม่พบผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์เพิ่ม เตือนประชาชนพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวัง
  • รัฐบาลยันคุม‘โควิด’อยู่ ย้ำเคร่งครัด 5 มาตรการป้องกัน สกัดแพร่เชื้อ รัฐบาลยันคุม‘โควิด’อยู่ ย้ำเคร่งครัด 5 มาตรการป้องกัน สกัดแพร่เชื้อ
  • \'โฆษก​ มท.\'แจงแล้ว! ​ปมเรียก​สรรพนาม\'คุณลูกค้า\'แทน\'คุณลุง​-​คุณป้า\' 'โฆษก​ มท.'แจงแล้ว! ​ปมเรียก​สรรพนาม'คุณลูกค้า'แทน'คุณลุง​-​คุณป้า'
  • ‘โควิด’รีเทิร์น เริ่มระบาดหนัก ยอดนอนรพ.พุ่ง 5พันคน/สัปดาห์ ‘โควิด’รีเทิร์น เริ่มระบาดหนัก ยอดนอนรพ.พุ่ง 5พันคน/สัปดาห์
  • \'รมว.ยุติธรรม\'เป็น ปธ.มอบเงินเยียวยาให้เหยื่อตึก สตง.ถล่ม 'รมว.ยุติธรรม'เป็น ปธ.มอบเงินเยียวยาให้เหยื่อตึก สตง.ถล่ม
  •  

Breaking News

คาดปมหึงหวง! หนุ่มยิงเมีย-ลูก 5 ขวบดับก่อนจบชีวิตตัวเอง

ใหญ่คับพื้นที่!! สจ.กร่างสั่งลูกน้อง 7 คนรุมตื้บ ตร.หน่วยเลือกตั้ง หลังถูกเตือนถ่ายภาพในคูหา

มีแค่ 2 เส้นทาง! 'อดีตบิ๊ก ศรภ.'วิเคราะห์'ฮั้วสว.' สีน้ำเงิน...กับการพลิกล็อค

(คลิป) 'เจ๊ปอง'เผยพิกัด'เมียน้อย'อยู่เกาะฮ่องกง ให้'เมียหลวง'สิงคโปร์ภรรยานายทุน'กาสิโน'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved