น.ส.นฤมล สงวนวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้อนรับสมาคมผู้ค้ายางแห่งประเทศญี่ปุ่น (The Rubber Trade Association of Japan: RTAJ) ในโอกาสศึกษาดูงานด้านความยั่งยืนของอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทย โดยลงพื้นที่ จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง ซึ่งการยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว ในการศึกษาดูงาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประเทศญี่ปุ่นถึงกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทย ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ อีกทั้งยังเป็นการรักษาตลาดเดิม ควบคู่กับการขยายโอกาสทางการค้าของสินค้ายางพารา
ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่น นำเข้ายางแผ่นรมควันและยางแท่งจากประเทศไทยจำนวนมากต่อปี เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกัน บริษัทผู้ผลิตยางล้อรถยนต์ของญี่ปุ่นหลายแห่งยังสร้างฐานการผลิตในประเทศไทย มีการใช้ยางพาราในประเทศไทยเป็นวัตถุดิบด้วย
ปัจจุบันประเทศไทยครองส่วนแบ่งตลาดยางพาราในประเทศญี่ปุ่นประมาณร้อยละ 30 มากเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 70 อย่างไรก็ดี
การศึกษาดูงานครั้งนี้ เป็นก้าวแรกในการพลิกโอกาสให้อุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยสามารถกลับมาทวงแชมป์การส่งออกยางพาราไปตลาดญี่ปุ่น ในรอบ 15 ปี เนื่องจากประเทศญี่ปุ่น ให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ผู้บริโภคญี่ปุ่นตื่นตัวและให้ความสนใจกับสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ผลิตหลายรายหันมาใส่ใจต่อเป้าหมายดังกล่าวจนมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นมาตรฐานในการจำหน่ายสินค้าในอนาคต ทั้งนี้ ในปี 2565 ญี่ปุ่นนำเข้ายางพารา รวม 769,065 ตัน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี