วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘สุรศักดิ์’ มอบนโยบายผู้บริหารสพฐ. และตรวจเยี่ยมทำความคุ้นเคย

‘สุรศักดิ์’ มอบนโยบายผู้บริหารสพฐ. และตรวจเยี่ยมทำความคุ้นเคย

วันศุกร์ ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566, 18.37 น.
Tag :
  •  

วันที่ 22 กันยายน 2566  นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เดินทางไปมอบนโยบายแก่ผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) พร้อมตรวจเยี่ยม โดยมี นายอัมพร พินะสา เลขาธิกาาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เลขาธิการ กพฐ.) พร้อม ผู้บริหาร สพฐ.รับมอบนโยบาย

นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า สพฐ. เป็นองค์กรที่สำคัญในการดูแลจัดการศึกษา เป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุด เพราะมีบุคลากรในสังกัดมากถึง 5 กว่าแสนคน การดำเนินงานภายใต้นโยบายของพล.ต.อ.เพิ่มพูน  ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นสิ่งที่ตนตระหนัก และหลายนโยบายมีความเกี่ยวข้องกับสพฐ.โดยตรง ทั้ง นโยบาย 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ  นโยบายเรื่องการแนะแนว การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ครูคืนถิ่น ก็เกี่ยวข้องกับ สพฐ. ในการพิจารณาโยกย้ายครูกลับไปอยู่ในภูมิลำเนาของตัวเอง 


“นโยบายหลัก ๆ จะเกี่ยวข้องกับการลดภาระครู และบุคลากรทางการศึกษา แลการลดภาระนักเรียน การสร้างอาชีพระหว่างเรียน การแก้หนี้ครู ทั้งหมดนี้ เป็นนโยบายที่ รมว.ศธ. มอบหมาย ผมตระหนักว่า จะต้องทำงานอย่างเต็มที่เพื่อให้ประสบความสำเร็จ ผมรู้ว่า ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการศธ. เป็นตำแหน่งที่สำคัญ จะต้องทำงานให้ประสบความสำเร็จ ทำงานอย่างเต็มที่ และจะเข้ามาทำให้กลไกส่งเสริมการทำงานของข้าราชการทำงานได้ง่ายขึ้น จะไม่เข้ามาเป็นตัวถ่วง เป็นภาระ หรือขัดขวางการทำงาน  และขอเน้นย้ำตามแนวทางของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ในเรื่องความเรียบง่าย การลงพื้นที่ตรวจราชการต่าง ๆใครที่ไม่เกี่ยวข้องก็ขอให้ทำงานตามหน้าที่ไป ไม่อยากให้ มาเป็นขบวนใหญ่ ๆ ซึ่งส่วนตัวผมเองก็ไม่อยากให้ทุกคนเสียเวลาทำงาน แต่ใครที่เกี่ยวข้องก็ขอให้มา เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีคุณภาพ” รัฐมนตรีช่วยว่าการศธ. กล่าว

รมว.ศธ. กล่าวต่อว่า สำหรับปัญหาที่ได้รับฟังข้อมูลมา ทั้งอัตราการเกิดลดลง โรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มขึ้น ครูไม่ครบชั้น ขาดนักการภารโรง ทั้งหมดนี้  จะต้องมีวิธีที่จะทำให้ดีขึ้น เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน การยุบหรือควบรวมโรงเรียน เป็นแนวทางที่ทำกันมานาน แต่ก็เชื่อว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งหวังว่า นโยบาย 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ จะไปช่วยตอบโจทย์เรื่องดังกล่าว ช่วยแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก หากสามารถดำเนินการสร้างคุณภาพให้ชุมชนไว้ใจ ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน  อย่างไรก็ตาม อาจจะต้องตั้งคณะทำงานในเรื่องต่าง ๆเพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ ส่วนการเดินหน้านโยบายแจกแท็บเล็ตนักเรียนและครูนั้น ได้ให้คณะทำงานศึกษาระยะแรกจะทำอย่างไรมจะซื้อหรือจะเช่า ก็จะดูว่าอันไหนคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดและดีที่สุด และดูว่าเบื้องต้นจะแจกจ่ายให้เด็กในระดับชั้นใด เพื่อเป็นการเริ่มต้น  ซึ่งขณะนี้แต่ละหน่วยงานอยู่ระหว่างการปรับคำของบประมาณ 2567 ให้สอดคล้องกับนโยบาย  

ด้านนายอัมพร กล่าวรายงานว่า สพฐ.มีนักเรียนที่ต้องดูแลตั้งแต่อนุบาล จนถึงมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งสิ้นกว่า 6.5 ล้านคน  มีโรงเรียนในสังกัด 29,315 โรงเรียน จำแนกเป็นระดับก่อนประถมศึกษา จำนวน 8 แสนกว่าคน ประถมฯกว่า 2 ล้านคน มัธยมต้นกว่า  1 ล้านคน ชั้นมัธยมปลายประมาณ 1 ล้านคน  ซึ่ง สพฐ.มีเด็กที่ต้องดูแล 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือกลุ่มเด็กด้อยโอกาส และพิการ กลุ่มที่มีความสามารถพิเศษ และเด็กกลุ่มปกติ โดย สพฐ.มีโรงเรียนอยู่ทั้งหมด 29,315 โรงเรียน จำแนกเป็นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) 183 เขต มีจำนวน 10,000 กว่าโรงเรียน, สังกัด สพม.62 เขต มี 2,000 กว่าโรงเรียน  และมีโรงเรียนด้อยโอกาสและพิการอยู่ 3 ประเภท คือโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 53 แห่ง และโรงเรียนเฉพาะความพิการ 53 แห่ง และมีศูนย์การศึกษาพิเศษที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ 77 ศูนย์

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมของบุคลากร สพฐ.มีบุคลากรอยู่ 3 ส่วน คือบุคลากรที่อยู่ส่วนกลาง คือ สพฐ. จำนวน 1,286 คน   บุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษา(สพป.,สพม.) จำนวน 14,000 กว่าคน  บุคลากรที่อยู่ในโรงเรียนตั้งแต่ ผอ.โรงเรียน และครูลงไป มีประมาณ 5 แสนกว่าคน  สำหรับปัญหาที่อยากให้คิดร่วมกัน คือใน 10 ปีที่ผ่านมา อัตราเด็กเกิดน้อยลง ขณะที่การคมนาคมสะดวกมากขึ้น ประกอบกับผู้ปกครองให้ความสำคัญกับมิติด้านคุณภาพการจัดการศึกษามากขึ้น ทำให้มีสภาวะเด็กเกิดน้อยและมาเรียนในเมืองมากขึ้น  ทำให้โรงเรียนขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ที่อยู่ในชนบท ในหมู่บ้าน กลายเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ทำให้เกิดปัญหาครูไม่ครบชั้น ครูไม่ครบวิชา ขณะที่ คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบาย กำลังคนภาครัฐ (คปร.) ยกเลิกตำแหน่งนักการภารโรง ที่เป็นลูกจ้างประจำของทุกโรงเรียน หากเสียชีวิต หรือลาออกให้ตำแหน่งจะยุบตามตัว ทำให้ขณะนี้บางโรงเรียนไม่มีภารโรง  ครูและเด็กในบางโรงเรียน ต้องมาทำหน้าที่แทนภารโรงไปด้วย รวมถึงกระทบเรื่องอาหารกลางวัน ทำให้ครูมีภารงานที่ไม่ใช่งานสอนเพิ่มมากขึ้น 

“อีกปัญหาหนึ่งคือ การขับเคลื่อนมติด้านคุณภาพ ที่ยังไม่สามารถทำได้มาตรฐาน ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว ส่งผลให้คะแนนการทดสอบต่าง ๆ ทั้งการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต คะแนนประเมินตาม โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ยังค่อนข้างมีปัญหา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นความท้าทายที่จะต้องเกิดความเปลี่ยนแปลง และจากปัญหาดังกล่าว ผมจึงได้มีนโยบายเดิม อาทิ  ต้องการเห็นโรงเรียนมีความปลอดภัย และเป็นโรงเรียนแห่งความสุข  ลดความเหลื่อมล้ำ และความด้อยโอกาสของนักเรียน การยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยมุ่งปรับหลักสูตรให้เป็นฐานสมรรถนะ ปรับการเรียนการสอนแบบ Active Learning เปลี่ยนขบวนการวัดและประเมินผล โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย รวมถึงได้มีการแยกวิชาประวัติศาสตร์ออกมาต่างหากเป็น 8+1  และในปีที่ผ่านมา สพฐ.ได้พัฒนาครูหมดแล้ว เป็นต้น”นายอัมพร กล่าว 

นายอัมพร กล่าวอีกว่า สพฐ.ได้มีการเพิ่มคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ได้ยุบ ให้กระจายไปยู่ในตำบลต่าง ๆ และจะปรับจูนให้ตรงกับนโยบาย 1 โรงเรียนคุณภาพ  1 อำเภอต่อไป และให้มีโรงเรียนราชประชานะเคราะห์เพิ่มขึ้น และมีโรงเรียนเฉพาะความพิการเพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างในปีการศึกษาหน้าก็จะสามารถรับนักเรียนได้สำหรับโรงเรียนที่เกิดขึ้นใหม่นี้ 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ผลเสี่ยงทาย! \'พระโคพอ-พระโคเพียง\'เลือกกินอะไร ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ2568 ผลเสี่ยงทาย! 'พระโคพอ-พระโคเพียง'เลือกกินอะไร ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ2568
  • ชี้ชัด! \'ปราสาทตาเมือนธม\' มิใช่ข้อพิพาท \'กรมศิลปากร\'ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานของไทยเมื่อ 90 ปีที่แล้ว ชี้ชัด! 'ปราสาทตาเมือนธม' มิใช่ข้อพิพาท 'กรมศิลปากร'ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานของไทยเมื่อ 90 ปีที่แล้ว
  • \'ศธ.\'ปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อเพิ่มคุณภาพ-เท่าเทียม 'ศธ.'ปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อเพิ่มคุณภาพ-เท่าเทียม
  • \'สกร.\'เสิร์ฟห้องสมุดมีชีวิต 468 แห่ง เปลี่ยนเวลาบริการประชาชน 'สกร.'เสิร์ฟห้องสมุดมีชีวิต 468 แห่ง เปลี่ยนเวลาบริการประชาชน
  • เสมา 1 ซัพพอร์ต อาชีวะ จับมือแบรนด์ S&P  MK และ KFC  พัฒนารูปแบบการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เสมา 1 ซัพพอร์ต อาชีวะ จับมือแบรนด์ S&P MK และ KFC พัฒนารูปแบบการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
  • ม.สวนดุสิต เปิดสถาบันศิโรจน์ผลพันธิน ปาฐกถาพิเศษฯ ครั้งที่ 1 \'บทบาทอุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ\' (คลิป) ม.สวนดุสิต เปิดสถาบันศิโรจน์ผลพันธิน ปาฐกถาพิเศษฯ ครั้งที่ 1 'บทบาทอุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ' (คลิป)
  •  

Breaking News

'ไพศาล'ชี้แพทย์ 3 รายเอื้อรักษา 'ทักษิณ' เสี่ยงคดี 157 ละเมิดอำนาจศาล

เซ็กซี่ขยี้ใจ! 'จันจิ จันจิรา'อวดหุ่นสวยแซ่บในชุดบิกินีริมหาด

เปิดเนื้อหาฉบับเต็ม! 'กกต.-DSI'ออกหมายเรียก 53 สว. แจงคดีฮั้ว

มท. ชี้ DSI สอบ สว. ต้องมีหลักฐานชัดเจน ย้ำเดินหมากคุ้มครองสิทธิประชาชน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved