นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ รับพระราชทานรางวัล “เทพทอง“ ประเภทองค์กรดีเด่น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ มุ่งเน้นลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมของประชาชนเพื่อประโยชน์โดยรวมของชาติ ส่งทนายความนั่งให้คำปรึกษาอก่ปชช.ตามสถานีตำรวจรวม 434 สถานีทั่วประเทศ
วันที่ 26 มีนาคม 68 ผู้สื่อข่าวรายเมื่อวันที่ 25 มีนาคม เวลา 14.30 น. ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ มอบรางวัล “เทพทอง” ให้แก่ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เป็นผู้รับมอบรางวัลพระราชทาน “เทพทอง” ครั้งที่ 23 ประจำปี 2567 ประเภทองค์กรดีเด่น และทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ ซึ่งสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้นำชื่อองค์กรสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้ารับรางวัลพระราชทานในครั้งนี้
ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ได้รับพระราชทานรางวัลเทพทองในครั้งนี้และเป็นครั้งแรกของสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ได้รับพระราชทานรางวัลอันทรงเกียรติเช่นนี้
นอกจากนี้ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ยังให้ความสำคัญและมีความห่วงใยผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ โดยจะเดินหน้าพัฒนาเสริมสร้างวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบวิชาชีพทางด้านกฎหมาย และจัดหาสวัสดิการต่างๆให้แก่ทนายความอย่างทั่วถึง ตลอดจนจัดให้ทนายความได้มีรายได้จากการนั่งให้คำปรึกษาประจำส่วนราชการ และสถานีตำรวจทั่วประเทศอย่างทั่วถึงต่อไป
สำหรับเกณฑ์การพิจารณารางวัลเทพทอง พระราชทาน ประเภทองค์กรดีเด่น มีเกณฑ์การพิจารณาที่เข้มงวด โดยองค์กรที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นองค์กร หน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน สมาคม มูลนิธิ ฯลฯ ที่ส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ อันก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สังคมและสิ่งที่ดีต่อประเทศ
2. เป็นองค์กรที่ไม่ประกอบกิจการที่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมืองและจารีตประเพณีของไทย
3. เป็นองค์กรที่สนับสนุนกิจการด้านวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ สนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสาร หรือเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
การได้รับรางวัลพระราชทานเทพทองในครั้งนี้ จึงถือเป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจของสมาชิกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นกำลังใจสำคัญในการดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและอำนวยความยุติธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ด้อยโอกาส
สืบต่อไป
อีกทั้งดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ยังให้ความสำคัญในการประกอบวิชาชีพทนายความโดยเน้นในการที่จะพัฒนาองค์กรเพื่อเพิ่มศักยภาพ ด้วยการเติมเต็มทางวิชาการ การมีจริยธรรม มรรยาททนายความ และด้านการจัดสวัสดิการให้แก่ทนายความอย่างทั่วถึง รวมทั้งการจัดหารายได้สำหรับทนายความที่มีความประสงค์จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นทนายความอาสาของสภาทนายความ ซึ่งได้เสนอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้แก่สภาทนายความ เพื่อให้คำปรึกษา และช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมาย โดยเพิ่มงานให้ทนายความอาสา ในการนั่งให้คำปรึกษาประจำส่วนราชการ และสถานีตำรวจ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2569 ได้ขอเพิ่มสถานีตำรวจ ให้ทนายความอาสาได้ไปนั่งให้คำปรึกษาอีกจำนวน 90 สถานีตำรวจ ซึ่งมีอยู่เดิมจำนวน 344 สถานีตำรวจ รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 434 สถานีตำรวจทั่วประเทศ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี