วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
เกษตรกรชาวอีสาน พลิกมิตินำวิถีเกษตรกรรมคาร์บอนต่ำ ยกระดับแปลงปลูก ลดต้นทุนการผลิต

เกษตรกรชาวอีสาน พลิกมิตินำวิถีเกษตรกรรมคาร์บอนต่ำ ยกระดับแปลงปลูก ลดต้นทุนการผลิต

วันพฤหัสบดี ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 14.11 น.
Tag :
  •  

ภาคเกษตรเร่งปรับตัวเพื่อความยั่งยืน พร้อมสร้างการเติบโตในยุคความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ “ไบเออร์” ดึงไอเดียดัดแปลงถาดหลุมเพาะกล้าเป็นวัสดุใหม่ ลดขยะ-ลดโรคพืช ขยายสู่แปลงปลูกเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรเครือข่าย พร้อมส่งเสริมปลูกพืชแบบ “High Land” รับมือวิกฤติน้ำท่วมในอนาคต

แนวคิดการเกษตรแบบคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Agriculture) กำลังถูกนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมในวงการเกษตร เพื่อส่งเสริมความยั่งยืน ลดผลกระทบต่อดิน น้ำ และระบบนิเวศ โดยมีหลายแนวคิดปลูกพืชคาร์บอนต่ำที่กำลังเป็นที่สนใจ หนึ่งในนั้นคือ “การชุบชีวิตถาดหลุมพลาสติกเพาะกล้า” ด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดขยะพลาสติกและป้องกันโรคพืชไปพร้อมกัน


โครงการนี้เกิดจากไอเดียของทีมเพาะกล้าและทีมงานการผลิตในแปลงปลูก บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ที่มีภารกิจส่งเสริมประสิทธิภาพการเพาะปลูกให้เกษตรกร ซึ่งการลงแปลงอย่างสม่ำเสมอทำให้พบว่ามีถาดหลุมพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งเป็นขยะมากกว่า 100,000 ถาดต่อปี นอกจากเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างสูญเปล่า และเป็นต้นทุนของเกษตรกร

นำมาสู่การดัดแปลงถาดหลุมเป็นบัฟเฟอร์ (buffer) หรือฐานรองระหว่างถุงวัสดุและพื้นดิน โดยนำมาทดสอบการใช้งานแล้วในแปลงปลูกพืชในวงศ์แตง (Cucurbit) และพืชในวงศ์พริก และมะเขือ (Solanum) ของเกษตรกรในเครือข่ายพื้นที่การผลิตเขตขอนแก่นและสกลนคร พบว่า การนำถาดหลุมเพาะกล้าใช้แล้วมาเป็นบัฟเฟอร์รองต้นพืชช่วยลดความเสี่ยงของถุงวัสดุที่อาจเกิดความเสียหาย เช่น เปื่อยขาด หรือแตก จากการแช่น้ำท่วมขังที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในพืช ไม่ว่าจะเป็นโรคจากเชื้อรา หรือแบคทีเรียในดิน ที่สำคัญลดต้นทุนให้เกษตรกร การนำถาดหลุมพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาใช้อีก ช่วยให้สามารถใช้ซ้ำได้ถึง 2-3 รอบการเก็บเกี่ยว โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อใหม่ ที่สำคัญช่วยลดปริมาณการทิ้งขยะในพื้นที่ฝังกลบลงมากกว่า 90 ตันต่อปี

โดยระหว่างปี 2566-2567 ทีมงานเพาะกล้าได้มอบถาดหลุมเพาะกล้าจำนวน 166,000 แผ่น ให้กับทีมการผลิตในแปลงปลูก สามารถนำไปใช้รองถุงวัสดุได้ถึง 664,000 ถุง โดย 1 ถาดหลุมสามารถใช้รองถุงวัสดุ 4 ถุง นับเป็นการช่วยลดการใช้พลาสติกและปริมาณขยะพลาสติกลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญยังเป็นการป้องกันโรคจากน้ำท่วมและเชื้อโรคในดิน เกษตรกรหลายคนได้ทำตามแนวคิดนี้แล้ว พบว่าได้ผลดี นอกจากลดขยะ ช่วยลดต้นทุนการผลิต ยังเพิ่มผลผลิตด้วย เนื่องจากลดความเสี่ยงที่อาจถูกรบกวนจากโรคพืช ทำให้มีรายได้เพิ่ม คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้นตามไปด้วย

“ทองแดง ทิพมาตย์” เกษตรกรผู้ปลูกเมล็ดพันธุ์พริก อ.พังโคน สกลนคร “ผมให้ความสำคัญกับการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน ด้วยการนำระบบ automation ในการให้น้ำและปุ๋ยมาใช้ในแปลง เพื่อควบคุมบริหารจัดการการให้น้ำและปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม และในช่วงเวลาที่ถูกต้อง ทำให้ลดปัญหาการใช้แรงงาน ควบคุมการใช้ปริมาณปุ๋ยได้อย่างแม่นยำ ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ผมคิดว่า เกษตรกรยุคใหม่ควรให้ความสำคัญในการทำเกษตรแบบยั่งยืน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยี หรือศึกษาหาความรู้ และรับคำแนะนำจากบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญกับการทำการเกษตรแบบยั่งยืน”

ส่วน “สุปราณี วงค์มา” เกษตรกรผู้ปลูกเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ อ.อากาศอำนวย สกลนคร อีกคนหนึ่งที่ใช้ฐานรองที่ดัดแปลงจากถาดหลุมใช้แล้ว เล่าว่า “ตั้งแต่ไบเออร์แนะนำวิธีการปลูกด้วยการรองด้วยถาดหลุมซึ่งได้มาจากแปลงเพาะกล้า และนำกลับมาให้เกษตรกรใช้ ซึ่งสามารถใช้ได้ถึง 2-3 รอบการเก็บเกี่ยว โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อใหม่ ช่วยลดต้นทุนในการผลิต อีกทั้งสามารถป้องกันโรคพืช รวมถึงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย”

“อรชร ไชยปัญหา” เกษตรกรแปลงปลูกเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ อ.พรรณานิคม สกลนคร อีกคนที่เปิดรับแนวคิดใหม่ๆ เสมอ บอกว่า “เกษตรกรยุคใหม่ต้องปรับตัวและเรียนรู้วิธีการใหม่เพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ตั้งเป้าไว้ รวมถึงคุณภาพของผลผลิต วิธีการต่างๆ ที่ไบเออร์ได้คิดค้นและร่วมมือกับเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นการหาวัสดุอุปกรณ์ มาใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทำให้การดูแลง่ายขึ้น ลดต้นทุนแรงงานรวมถึงการป้องกันโรคพืชต่างๆ ทำให้มีรายได้สำหรับครอบครัว ไม่ต้องย้ายถิ่นฐานและการปลูกเมล็ดพันธุ์สร้างรายได้มากกว่าการปลูกข้าว”

อีกแนวทางในการทำเกษตรที่ยั่งยืนที่ไบเออร์ส่งเสริมเกษตรกร เรียกว่า “High Land” ซึ่งเป็นการออกแบบพื้นที่ปลูกพืชในที่สูง ที่มีการจัดการความลาดเอียง และการระบายน้ำที่เหมาะสม ซึ่งมาช่วยรองรับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ทางหนึ่ง โดยเฉพาะการเกิดน้ำท่วมที่มีความรุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น ซึ่งเกษตรกรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นอีกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่ผ่านๆ มา สร้างความเสียหายไม่น้อย โดยเฉพาะในช่วงการผสมเกสรและการเก็บเกี่ยวที่เป็นช่วงสำคัญของผลผลิต หากเกิดฝนตกหนักหรือน้ำท่วมในช่วงนี้ จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตโดยตรง จึงต้องหาทางรับมือโดยบริหารจัดการพื้นที่การเกษตรอย่างรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นการระบายน้ำออกจากแปลงหรือการเก็บเกี่ยวพืชที่เสียหาย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจากเชื้อโรคในดิน การขาดแคลนสารอาหารในดิน และการระบาดของโรคที่อาจเกิดจากน้ำท่วม

“High Land” เป็นอีกแนวทางที่มาช่วยได้ โดยในปี 2566 ทีมงานจากจังหวัดสกลนครของ ไบเออร์ ได้ร่วมมือกับเกษตรกร เพื่อนำแนวคิด “High Land” มาใช้อย่างจริงจัง ในแปลงเกษตรในกลุ่มที่อำเภออากาศอำนวย พังโคน และวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร 18 ราย พบว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมได้อย่างมีนัยสำคัญ ผลผลิตเพิ่มขึ้น และลดความกังวลของเกษตรกรที่มีเกี่ยวกับความเสี่ยงจากฝนหรือมรสุมที่จะมาถึง นอกจากใช้งานในการปลูกพืชตระกูลพริกและมะเขือเทศในเขตพื้นที่เดิม ยังขยายไปยัง อำเภอพรรณานิคมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการมากขึ้นรวมแล้ว 34 ราย

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ที่พบว่าแปลงปลูกนำแนวคิด “High Land” ไปใช้ไม่มีความเสียหายจากน้ำท่วมแม้แต่ครั้งเดียว หรือลดลงถึง 11% เมื่อเทียบกับพื้นที่เพาะปลูกในแปลงนาข้าวที่ได้รับผลกระทบจากมรสุมและฝน ทำให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการแปลงปลูกได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะในช่วงการย้ายกล้าพืช สามารถบรรลุเป้าหมายการผลิตที่ตั้งไว้ แนวทาง High Land ถูกขยายไปในวงกว้าง เพราะมาช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้เครื่องจักร เพิ่มผลผลิต และทำให้ภาคเกษตรมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างชัดเจน ทำให้ดินมีความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนดีขึ้นจากการที่ถูกรบกวนจากการไถพรวนน้อยลง รักษาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

เช่นเดียวกับ “สมัย ไฮดำ” เกษตรกรวัย 57 ปี อ.บ้านฝาง ขอนแก่น ซึ่งมีประสบการณ์เพาะปลูกเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศมากกว่า 20 ปี เป็นคนหนึ่งที่เผชิญปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เพาะปลูกและเข้าร่วมโครงการ ปลูกพืชบนพื้นที่สูงบอกว่า

“ผมเป็นเกษตรกรผู้ปลูกเมล็ดพันธุ์มามากกว่า 20 ปี ประสบปัญหาต่างๆ เช่น น้ำท่วม โรคพืช แมลงต่างๆ ซึ่งคิดว่าการทำการเกษตรแบบที่เคยทำมาอาจจะต้องมีการพัฒนา เพื่อการทำเกษตรอย่างยั่งยืน จึงจัดพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่สูง ขณะเดียวกันก็ใช้ถาดหลุมพลาสติกเพาะกล้าที่นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดขยะพลาสติกที่เกิดจากการใช้ครั้งเดียวและทิ้ง ทำให้ลดต้นทุนในการผลิต ลดความเสี่ยงการเกิดโรคพืช ทำให้รายได้เพิ่มมากขึ้นจากเดิม”

เกษตรกรต้นแบบที่ปรับตนเองอย่างยืดหยุ่น “สุเทพ อุ่นแก้ว” กับประสบการณ์ 30 ปีในการปลูกเมล็ดพันธุ์แตงโม ที่เชียงยืน มหาสารคาม ซึ่งได้แบ่งพื้นที่เป็นแปลงปลูกเมล็ดพันธุ์ 6 ไร่ เล่าอย่างภาคภูมิใจว่า “ทุกวันนี้มีรายได้จากการปลูกเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเป็นรายได้หลักของครอบครัว ซึ่งมีภรรยาและลูก 3 คน ปัจจุบันลูกเริ่มเข้ามาช่วยทำเกษตร ผมรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นเกษตรกรต้นแบบของไบเออร์ ผมเป็นคนเปิดรับ และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ เพื่อการทำการเกษตรที่ดีขึ้น และยั่งยืน พร้อมทั้งมีโอกาสได้ให้คำแนะนำกับเพื่อนเกษตรกรในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพื้นที่ ให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงเทคนิคและวิธีการในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธี ผมมีความสุขกับชีวิตเกษตรกรที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการปลูกเมล็ดพันธุ์เพื่อการส่งออก นำรายได้เข้าประเทศ”

ไม่แตกต่างจาก “บรรเจิด ต่อกำไร” เกษตรกรผู้ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด เมล่อน และมะระ เขตคอนสาร ชัยภูมิ บนพื้นที่กว่า 15 ไร่ บอกว่า “ผมได้รับการแต่งตั้งเป็นเกษตรกรต้นแบบของไบเออร์ ด้วยประสบการณ์มากกว่า 5 ปีในการปลูกเมล็ดพันธุ์เพื่อการส่งออกภายใต้คำแนะนำกำกับดูแลการปลูกอย่างใกล้ชิดจากไบเออร์ที่นำวิธีการดูแล ช่วยแก้ปัญหาระหว่างการปลูกด้วยการเข้าเยี่ยมแปลงอย่างสม่ำเสมอ มีการอบรมให้ความรู้ในเรื่องของการจัดการดิน การผสมเกสรและในทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้มาตรฐานการส่งออก การเป็นเกษตรกรต้นแบบ ทำให้ผมมีความมุ่งมั่นมากขึ้นในการดูแลใส่ใจในทุกขั้นตอนการปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีและเพิ่มขึ้นทุกปี”

เกษตรกรเหล่านี้ที่ยึดอาชีพปลูกเมล็ดพันธุ์หาเลี้ยงครอบครัว ยังคงเดินหน้าทำอาชีพนี้ต่อไปภายใต้การส่งเสริมสนับสนุนจากไบเออร์ที่นำแนวทางการปลูกพืชด้วยวิธีใหม่ๆ มาถ่ายทอดสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพสำหรับทั่วโลก พร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรภายใต้ความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และภัยพิบัติรุนแรง และนี่คือตัวอย่างของเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ไม่เพียงทำให้เขาอยู่รอดได้เท่านั้น แต่ยังเพิ่มคุณภาพชีวิตด้วย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการส่งออกเมล็ดพันธุ์มูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาทต่อปีตามเป้าหมายของรัฐ

-(016)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ชาวกาฬสินธุ์‘ปลูกเห็ดฟาง’ลงทุนหลักพันฟันกำไรหลักหมื่น ชาวกาฬสินธุ์‘ปลูกเห็ดฟาง’ลงทุนหลักพันฟันกำไรหลักหมื่น
  • ก.เกษตรฯขับเคลื่อนคลินิกเกษตรฯต่อเนื่อง ก.เกษตรฯขับเคลื่อนคลินิกเกษตรฯต่อเนื่อง
  • \'ปอเทือง\'พืชมหัศจรรย์ ปรับปรุงดินที่เคยเสื่อม สู่การฟื้นฟูดินอย่างยั่งยืน 'ปอเทือง'พืชมหัศจรรย์ ปรับปรุงดินที่เคยเสื่อม สู่การฟื้นฟูดินอย่างยั่งยืน
  • \'พด.อุทัย\'ขับเคลื่อนหมอดินอาสา จัดฝึกอบรมหมอดินหลักสูตรที่ 3 \'การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาฯ\' 'พด.อุทัย'ขับเคลื่อนหมอดินอาสา จัดฝึกอบรมหมอดินหลักสูตรที่ 3 'การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาฯ'
  • กรมชลฯ มั่นใจน้ำในเขื่อนลำตะคอง เพียงพอใช้อุปโภคบริโภค กรมชลฯ มั่นใจน้ำในเขื่อนลำตะคอง เพียงพอใช้อุปโภคบริโภค
  • ยกระดับชีวิตเกษตรกร! กยท.–ส.ป.ก. เตรียมจัด Kick Off ใหญ่ \'โฉนดต้นไม้–ต้นยางพารา\' ปลุกพลังเศรษฐกิจสีเขียว ยกระดับชีวิตเกษตรกร! กยท.–ส.ป.ก. เตรียมจัด Kick Off ใหญ่ 'โฉนดต้นไม้–ต้นยางพารา' ปลุกพลังเศรษฐกิจสีเขียว
  •  

Breaking News

ปิดดีล! ‘สหรัฐฯ-อังกฤษ’บรรลุข้อตกลงสำคัญด้านการค้า

‘มาเลเซีย’อ่วม! สงคราม‘อินเดีย-ปากีสถาน’กระทบจัดหา‘ข้าว’

'ศธ.'ปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อเพิ่มคุณภาพ-เท่าเทียม

'ตร.ภาค 9'คุมเข้มพืชกระท่อม-ยาเสพติดใต้ ร่วม 3 ฝ่าย แถลงผลการปฏิบัติ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved