1.เมื่อครั้งที่มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 ขึ้นใช้บังคับโดยมาตรา 91 บัญญัติความว่า เมื่อคณะกรรมการป.ป.ช.ไต่สวนแล้วมีมติวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือความผิดที่เกี่ยวข้องกันให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ถ้ามีมูลความผิดทางอาญาให้คณะกรรมการป.ป.ช.ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สำเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคำวินิจฉัยไปยังอัยการสูงสุดภายในสามสิบวัน เพื่อให้อัยการสูงสุดยื่นฟ้องคดีต่อไป
(2) ถ้ามีมูลความผิดทางวินัย ให้คณะกรรมการป.ป.ช.ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐานและคำวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนภายในสามสิบวัน เพื่อให้ดำเนินการทางวินัยต่อไป
2.จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวทำให้เห็นว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีความชัดเจนในหน้าที่และอำนาจแล้ว การที่คณะกรรมการป.ป.ช.ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณานั้นจึงไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยอีกต่อไป และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี (คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 51/2561)
3.คณะกรรมการป.ป.ช.เองก็ยังคงมีความเห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของตนอีก เช่น ศาลปกครองวินิจฉัยว่าคณะกรรมการป.ป.ช.ไม่มีอำนาจไต่สวน
ข้อเท็จจริงและชี้มูลความผิดทางวินัยฐานอื่น หรือผู้บังคับบัญชาบางรายไม่ดำเนินการลงโทษทางวินัยภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับเรื่อง โดยอ้างว่าคณะกรรมการป.ป.ช.ไม่มีอำนาจ หรือผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากราชการแล้วเกิน 180 วัน หรือเกิน 1 ปี แล้วไม่อาจลงโทษได้ คณะกรรมการป.ป.ช.จึงขอหารือศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้ง
4.ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วมีความเห็นโดยสรุปว่า ประเด็นแรก ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 210 วรรคหนึ่ง(2) หรือไม่นั้นเห็นว่า หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการป.ป.ช.ตามมาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) ดังกล่าวนั้นจะต้องใช้อำนาจและหน้าที่ในการไต่สวน วินิจฉัยชี้มูลความผิดที่เกี่ยวข้องกันได้นั้น จะต้องเป็นกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิดฐานความผิดหลักก่อนคณะกรรมการป.ป.ช.จึงจะมีหน้าที่และอำนาจชี้มูลความผิดวินัยฐานที่เกี่ยวข้องกันได้ นอกจากนั้นประเด็นที่ร้องขอให้วินิจฉัยนั้น ก็เป็นประเด็นเกี่ยวกับที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยพิจารณาวินิจฉัยไว้แล้วตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 51/2561 จึงมีความชัดเจนในประเด็นดังกล่าวแล้วจึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการป.ป.ช.ที่จะพิจารณาอีกจึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย (คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 41/2563ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2563)
5.เมื่อร้องขอมาพิจารณาทบทวนให้และได้ความชัดเจนมากขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในกรอบขอบเขตเดิม อธิบายได้อย่างชัดเจนว่าจะต้องมีความผิดวินัยฐานหลักตามที่กฎหมายระบุก่อนจึงจะไปถึงความผิดฐานอื่นที่เกี่ยวข้องได้ ไม่อาจจะชี้ความผิดฐานอื่นแต่เพียงอย่างเดียวนะ ตามหาคำวินิจฉัยฉบับเต็มมาศึกษาให้ละเอียดนะครับ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี