วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
'จาตุรนต์' เล็งชงสภาฯ ตั้งกรรมาธิการติดตามงานคณะเจรจาคุยสันติสุข-ปรับแก้ กม.เอื้อสร้างสันติภาพ

'จาตุรนต์' เล็งชงสภาฯ ตั้งกรรมาธิการติดตามงานคณะเจรจาคุยสันติสุข-ปรับแก้ กม.เอื้อสร้างสันติภาพ

วันพุธ ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2566, 14.44 น.
Tag : แนวหน้าออนไลน์ จาตุรนต์ สันติสุข 3จังหวัดชายแดนใต้ รัฐสภา
  •  

‘ปธ.กมธ.ฯสันติภาพชายแดนใต้’ ยันรับฟังทุกความเห็นของกระบวนการ เตรียมสรุปรอบแรกกลางมกราคม ปี 67 เล็งชงสภาฯตั้งกรรมาธิการติดตามงาน ‘คณะเจรจาคุยสันติสุข -ปรับแก้กฎหมาย’ แจงข้อเสนอ ‘ก้าวไกล’ ยุบ ‘กอ.รมน.’ ต้องมีการศึกษาปัญหา

เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.2566 ที่รัฐสภา นายจาตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาการสร้างสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้  สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการประชุมสัมมนา “การสร้างความเข้าใจรากเหง้าความขัดแย้ง และกระบวนการสร้างสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี” ว่า หลังจากที่คณะกรรมาธิการฯ ได้ทำงานมาระยะหนึ่งมีประเด็นสำคัญที่กำลังพิจารณาศึกษา และศึกษาต่อไป ถึงบทบาทของรัฐสภาต่อกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ที่มองว่าควรจะมีคณะกรรมการของสภาและควรจะมีกฎหมายอะไรที่เอื้อต่อการพูดคุยสันติภาพ และทำให้การพูดคุยสันติภาพสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ โดยปรับการทำงานของฝ่ายบริหาร เพื่อให้เกิดการทำงานที่เป็นเอกภาพ และมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ทำงานเต็มเวลา เพราะคณะกรรมาธิการฯ เห็นปัญหาที่ยังไม่เป็นเอกภาพ ยังไม่มีความชัดเจน ในการจัดระบบการทำงาน และคงต้องศึกษาต่อไปว่าระบบการทำงานที่จะเป็นประโยชน์ควรจะเป็นอย่างไร 


รวมทั้งขจัดอุปสรรคต่อการเดินหน้าคุยสันติภาพที่ปราศจากความหวาดกลัว และนำขึ้นสู่ความเป็นสากล เพราะเห็นว่า ยังมีอุปสรรคในเรื่องนี้ และมีความเห็นที่แตกต่างกัน เช่นควรจะมีการลงนามหรือไม่ ควรจะทำให้การพูดคุยเป็นทางการหรือไม่ ทั้งนี้เป็นเรื่องน่ายินดี ที่รัฐบาลตั้งคณะทำงานพูดคุยสันติสุขขึ้นมาแล้ว แต่เป็นข้าราชการทั้งหมด และหัวหน้าคณะเป็นพลเรือน ซึ่งเราคงแลกเปลี่ยนกับคณะนี้ และเห็นว่าควรจะมีองค์กรหรือคณะกรรมาธิการเฉพาะ ที่จะช่วยส่งเสริมผลักดัน ติดตามการทำงานการพูดคุยสันติภาพเป็นการเฉพาะ เพราะที่ผ่านมาบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติจะจำกัด แม้แต่การรับรู้ความคืบหน้าต่างๆ ก็มีน้อย

นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า คณะกรรมาธิการชุดนี้จะร่างเป็นข้อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอไปยังรัฐบาลต่อไป คาดว่ากลางเดือนมกราคมปีหน้าน่าจะมีข้อสรุปบางส่วนออกมารวมถึงข้อสรุปในข้อบัญญัติและการแก้ไขกฎหมายที่เอื้อต่อการสร้างสันติภาพโดยรวม ซึ่งมีข้อเสนอเรื่องการออกกฎหมายใหม่ การแก้กฎหมายเดิมที่มีอยู่ รวมทั้งการทบทวนการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ ทั้งกฎอัยการศึก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ. ความมั่นคง โดยจะมีการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างสันติภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการทำให้เกิดความสงบ การอยู่ร่วมกันของประชาชนในพื้นที่ อย่างมีสันติสุข

นายจาตุรนต์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ยังต้องศึกษาถึงการปรับงบประมาณ ให้สอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี และสอดคล้องกับแนวทางทางการเมือง เพราะที่ผ่านมาจะได้ยินตัวเลขการใช้งบประมาณไปในหลายปีเป็นจำนวนสูงถึง 5 แสนล้านบาท รวมทั้งการจัดงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาความมั่นคง ในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี และแสวงหาทางออกทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องการความมีส่วนร่วมของประชาชน และที่สำคัญงบประมาณที่เกี่ยวกับการพัฒนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรจะสอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ เพื่อเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการทำงานของคณะกรรมาธิการคาดหวังการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และคาดหวังว่าเราจะสามารถทำข้อเสนอ ที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

เมื่อถามถึงกรอบการทำงานของคณะกรรมาธิการฯ นั้น ประธานกมธ.ฯ ศึกษาการสร้างสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ กล่าวว่า สภาฯ มอบหมายให้ทำงาน 90 วัน แต่จากที่ฟังผู้เชี่ยวชาญ มีแนวโน้มว่าอาจจะต้องขยายเวลา และจากนี้จะทำ 2 ส่วนคือตั้งหัวข้อในการศึกษาพิจารณาที่ชัดเจน และจะมีการรับฟังลงพื้นที่ โดยต้นเดือนหน้าจะลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2-3 ครั้ง และให้อนุกรรมาธิการไปรับฟัง และคาดว่าจะทยอยมีข้อสรุป ที่เป็นข้อเสนอในประเด็นใหญ่ๆ ได้ ซึ่งระหว่างนี้อยู่ระหว่างการเตรียมทีมงานร่างข้อเสนอ

นายจาตุรนต์ กล่าวด้วยว่า การตั้งคณะพูดคุยขึ้น เป็นส่วนหนึ่งที่คงจะศึกษาดูว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร โดยจะเชิญผู้มีประสบการณ์จากการพูดคุยทุกชุดมาให้ความเห็นในสัปดาห์หน้า และอีกส่วนคือการจัดการบริหารความรับผิดชอบการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้รับผลกระทบจากคำสั่งคสช.ส่วนหนึ่ง และหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบบัญชาการโดยนายกรัฐมนตรี แต่ไม่มีระบบในการประสานเชื่อมโยงองค์กรเหล่านี้เข้าด้วยกัน ทำให้แต่ละหน่วยงานหรือกฎหมายคนละฉบับ ศอบต.ก็ฉบับหนึ่ง กอ.รมน.ก็ฉบับหนึ่งสภาความมั่นคงก็อีกฉบับหนึ่ง ขณะที่กองทัพก็มีกฎอัยการศึก และยังเป็นหัวหน้ากอ.รมนในภาคใต้ด้วย จึงเห็นปัญหาการลักลั่นไม่มีการประสานงาน

เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคก้าวไกลเสนอยุบกอ.รมน. นายจาตุรนต์ กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ ก็ได้ยินเรื่องนี้มาแล้ว และมาเห็นปัญหาความลักลั่น ความไม่เป็นเอกภาพหรือไม่มีระบบประสานงานก็จะเป็นประเด็นหนึ่งที่จะศึกษาถึงระบบประสานงานที่ดีองค์กรเหมาะสมที่จะรับผิดชอบ กฎหมายที่จะใช้ควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งเชื่อว่าข้อเสนอเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และใช้นโยบายในการแก้ไขปัญหา

เมื่อถามถึงข้อเสนอพื้นที่ปกครองพิเศษ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ประเด็นเหล่านี้ การกระจายอำนาจรูปแบบการบริหารการปกครองพื้นที่ที่เหมาะสม กฎหมายที่เอื้อต่อกระบวนการสร้างสันติภาพ และการพูดคุย จะต้องมีการศึกษาหาข้อมูลแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาข้อสรุปของคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งเป็นเรื่องของทั้งประเทศอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องการกระจายอำนาจในปัจจุบัน ที่ดูเหมือนจะถอยหลัง ซึ่งรูปแบบการปกครองพิเศษของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเป็นอย่างไร แต่ต้องแตกต่างจากกรุงเทพฯ หรือพัทยา ที่จะต้องหาสมดุลที่เกิดการกระจายอำนาจที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ควรจะได้รับ เช่นเดียวกันกับหลายจังหวัดที่ควรจะมีการกระจายอำนาจมากขึ้นอยู่แล้ว ซึ่งการกระจายอำนาจพิเศษเป็นเรื่องที่จะต้องมีการศึกษา โดยที่สังคมควรจะต้องรับรู้ปัญหาความขัดแย้ง กระบวนการสร้างสันติภาพจึงต้องมีการดำเนินการในหลายเรื่อง รวมถึงเรื่องของการมีกฎหมายที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เรื่องกระบวนการยุติธรรมในระยะประเด็นทางที่เหมาะสมกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ---017

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘พรรคปวงชนไทย’จัดเวทีเสวนาระดมกึ๋น หาทางรอด ‘สงครามกำแพงภาษีทรัมป์‘ ‘พรรคปวงชนไทย’จัดเวทีเสวนาระดมกึ๋น หาทางรอด ‘สงครามกำแพงภาษีทรัมป์‘
  • \'อสส.\'ตั้งคณะทำงานพิจารณาคำร้อง\'ณฐพร\' ชงส่งศาลรธน.ใช้ม.49 วินิจฉัยฮั้วเลือก สว. 'อสส.'ตั้งคณะทำงานพิจารณาคำร้อง'ณฐพร' ชงส่งศาลรธน.ใช้ม.49 วินิจฉัยฮั้วเลือก สว.
  • \'ชูศักดิ์\'ย้ำ ประชุมครม.อังคารหน้ารู้ใครคุม\'ดีเอสไอ\'แทน\'ทวี\' 'ชูศักดิ์'ย้ำ ประชุมครม.อังคารหน้ารู้ใครคุม'ดีเอสไอ'แทน'ทวี'
  • เช็กเลย!! \'กกต.\'สรุปข้อมูลเลือกตั้งนายกเทศมนตรี-เทศบาล ทั่วประเทศ เช็กเลย!! 'กกต.'สรุปข้อมูลเลือกตั้งนายกเทศมนตรี-เทศบาล ทั่วประเทศ
  • เก่าไป ใหม่มา!! \'ไพบูลย์\'เผย\'ลุงป้อม\'ลงนามแต่งตั้ง\'ทีมเศรษฐกิจ\'ดึง\'คนรุ่นใหม่\'ร่วม เก่าไป ใหม่มา!! 'ไพบูลย์'เผย'ลุงป้อม'ลงนามแต่งตั้ง'ทีมเศรษฐกิจ'ดึง'คนรุ่นใหม่'ร่วม
  • \'นายกฯไทย-เวียดนาม\'เป็นพยานเอ็มโอยู 8 ฉบับ เห็นพ้องร่วมมือมั่นคงยกระดับเศรษฐกิจ 'นายกฯไทย-เวียดนาม'เป็นพยานเอ็มโอยู 8 ฉบับ เห็นพ้องร่วมมือมั่นคงยกระดับเศรษฐกิจ
  •  

Breaking News

แยกขัง ‘เปรมชัย-พิมล’ ยังไม่ส่งรักษานอกเรือนจำ 14 ผู้ต้องหาตึกสตง.นอนคุกคืนแรกไม่เครียด

เตรียมรีเมกหลานม่า! ปิดดีลขายลิขสิทธิ์ให้สตูดิโอระดับโลก ต่างชาติชมหนังเรื่องนี้เหมือนเพชร

'คุณหญิงสุดารัตน์'ประกาศยืนหยัดขอเป็นฝ่ายค้าน! มุ่งสร้างการเมืองสุจริต

สลด!หญิงวัย 35 ปีคว้าไม้ทุบชาย 61 ปีดับหน้าบ้านอ้างถูกขู่ยิงปัญญาปมที่ดิน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved