วันที่ 19 มีนาคม 2567 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญา
โดยที่อาชญากรรมที่ใช้วิธีการทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีรูปแบบการกระทําความผิดที่ซับซ้อนตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และพยานหลักฐานในคดีส่วนมากอยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับการใช้มาตรการตามกฎหมายในบางกรณี เพื่อป้องกันหรือรับมืออาชญากรรมประเภทนี้ และภัยคุกคามทางไซเบอร์ ต้องอาศัยคําสั่งศาล
ดังนั้น เพื่อให้คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญา และคําร้องขอใช้มาตรการตามกฎหมายได้รับการพิจารณา โดยผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและทันท่วงที อันจะทําให้การพิจารณาพิพากษาคดี และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจําเป็นต้องจัดตั้งแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขึ้นในศาลอาญา
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๗ และมาตรา ๑๐ แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลอาญา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การ แผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญา”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี” หมายความว่า คดีอาญาที่ฟ้องขอให้ลงโทษบุคคลที่กระทําความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และคดีดังต่อไปนี้ไม่ว่าจะมีข้อหาอื่นหรือ ความผิดอื่นที่เกี่ยวข้องกันรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม
(๑) คดีอาญาที่ฟ้องขอให้ลงโทษบุคคลที่กระทําความผิดฐานฉ้อโกง กรรโชก หรือรีดเอาทรัพย์ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
(๒) คดีอาญาที่ฟ้องขอให้ลงโทษบุคคล ที่กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
(๓) คดีอาญาที่ฟ้องขอให้ลงโทษบุคคล ที่กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ ๔ ให้จัดตั้งแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญา โดยให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาพิพากษาคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่อยู่ในเขตอํานาจ และที่โอนมาตามกฎหมาย เว้นแต่คดีที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของแผนกคดียาเสพติดและแผนกคดีค้ามนุษย์
(๒) พิจารณาและมีคําสั่งเกี่ยวกับคําร้องของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ กฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ข้อ ๕ ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญาเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจัดให้ผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจํานวนตามที่เห็นสมควร เป็นผู้พิพากษาประจําแผนก มีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาพิพากษาคดี และงานของแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญา ตลอดจนช่วยเหลือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในการบริหารและดําเนินงานต่าง ๆ ของแผนกให้เป็นไปโดยเรียบร้อย
ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาอื่น นอกจากวรรคหนึ่ง เป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีก็ได้
ข้อ ๖ แผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญา จะเริ่มทําการเมื่อใด ให้เป็นไปตามประกาศ ของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
ข้อ ๗ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญารักษาการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
อโนชา ชีวิตโสภณ
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี