วันนี้ (6 สิงหาคม 2567) เวลา 10.00 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง - บางแค ในท้องที่เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง – บางแค ในท้องที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางชื่อ - ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด และเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... รวม 4 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการตามที่ กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง - บางแค ในท้องที่เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....
2. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง – บางแค ในท้องที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....
3. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....
4. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางชื่อ - ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัดและเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .....
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ รวม 4 ฉบับ สรุปได้ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง - บางแค ในท้องที่เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง - บางแค ในท้องที่เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร โดยให้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ และให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนภายในระยะเวลา 4 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
2. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง – บางแค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี และเขตบางกอกใหญ่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง - บางแค ในท้องที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ภาระในอสังหาริมทรัพย์มีการแสดงสิทธิในที่ดินให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายต้องยอมรับภาระว่าไม่สามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ตามปกติแต่ไม่ได้สร้างภาระจนถึงขนาดที่ รฟม. จะต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น
3. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางชื่อ - ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยให้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่ เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ และให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ภายในระยะเวลา 4 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
4. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางชื่อ - ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด และเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด และเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ภาระในอสังหาริมทรัพย์มีการแสดงสิทธิในที่ดินให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายต้องยอมรับภาระว่าไม่สามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ ตามปกติแต่ไม่ได้สร้างภาระจนถึงขนาด ที่ รฟม. จะต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น
โดยร่างพระราชบัญญัติรวม 4 ฉบับดังกล่าว สืบเนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจัดการกรรมสิทธิที่ดินในโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ แบ่งออกเป็น 2 กรณี
(1) กรณีเวนคืนเป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง - บางแค ในท้องที่เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยให้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ และให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนภายในระยะเวลา 4 ปี ทั้งนี้ แม้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ส่งมอบที่ดินที่ถูกเขตทางทั้งหมดในโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล เพื่อใช้ในการก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว แต่มีเจ้าของที่ดินช่วงหัวลำโพง - บางแคฯ จำนวน 23 แปลง (จาก 374 แปลง) และช่วงบางชื่อ - ท่าพระฯ จำนวน 24 แปลง (จาก 298 แปลง) ไม่ตกลงซื้อขายการรถไฟฟ้ามวลชนแห่งประเทศไทย จึงวางเงินทดแทนให้กับเจ้าของที่ดินดังกล่าวแต่กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ยังเป็นของเจ้าของที่ดิน โดยจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฟ้ามวลชนแห่งประเทศไทยก็ต่อเมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และพระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับ การรถไฟฟ้ามวลชนแห่งประเทศไทย จึงมีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 รวม 2 ฉบับ เพื่อให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของการรถไฟฟ้ามวลชนแห่งประเทศไทยโดยเร็วต่อไป
(2) กรณีกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้ภาระในอสังหาริมทรัพย์มีการแสดงสิทธิ์ในที่ดินให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายต้องยอมรับภาระว่าไม่สามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ตามปกติแต่ไม่ได้สร้างภาระจนถึงขนาดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจะต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น เช่น ทางวิ่งรถไฟฟ้าในอุโมงค์ (ใต้ดิน) ทางวิ่งของรถไฟฟ้าพาดผ่านบริเวณเหนือที่ดิน เป็นต้น ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยยังไม่ได้จดทะเบียนกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์ ในโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง - บางแค ในท้องที่เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร และช่วงบางชื่อ - ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกกำหนดลักษณะภาระนั้นจะตกอยู่ภายใต้ภาระอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ แม้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้วางเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินดังกล่าว แต่เจ้าของที่ดินไม่มาตกลงทำสัญญากำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์ ช่วงหัวลำโพง - บางแคฯ จำนวน 114 แปลง (จาก 329 แปลง) และช่วงบางชื่อ - ท่าพระฯ จำนวน 37 แปลง (จาก 170 แปลง) ดังนั้น เพื่อให้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกกำหนดลักษณะภาระนั้นจะตกอยู่ภายใต้ภาระอสังหาริมทรัพย์ก็ต่อเมื่อได้มีตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนและพระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับ การรถไฟฟ้ามวลชนแห่งประเทศไทย จึงมีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 รวม 2 ฉบับ เพื่อกำหนดภาระอสังหาริมทรัพย์ให้อยู่ภายใต้ภาระอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชนในการดำเนินกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่เสนอในครั้งนี้เป็นการดำเนินการตามมาตรา 28 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนและการได้มาอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 มาตรา 35 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 และมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ควรให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเร่งเจรจากับเจ้าของที่ดินได้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการรถไฟฟ้าดังกล่าว
ให้ได้ยุติภายในกรอบระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวต่อไป
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงสัมปทานหมายเลข 31 สายทางยกระดับดินแดง – อนุสรณ์สถาน ตามประเภทของยานพาหนะ ดังนี้
1.1 รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ปัจจุบัน ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน
60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
1.2 รถขณะที่ลากจูงรถอื่น หรือรถยนต์สี่ล้อเล็ก ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน
65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ปัจจุบัน ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
1.3 รถโรงเรียนหรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ปัจจุบัน ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
1.4 รถอื่นนอกจากข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.3 ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ปัจจุบัน ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
2. กำหนดให้รถที่อยู่ในช่องเดินรถช่องขวาสุด ต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นแต่กรณีช่องเดินรถนั้นมีข้อจำกัดด้านการจราจรหรือทัศนวิสัย มีสิ่งกีดขวาง หรือมีเหตุขัดข้องอื่น (ปัจจุบัน ไม่มีกำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถ พ.ศ. 2564)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการ โดยสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีความเห็นเพิ่มเติมบางประการว่า กรมทางหลวงควรประสานผู้ได้รับสัมปทานจัดให้มีเครื่องหมายจราจรการติดตั้งป้ายสัญญาณเตือนในเส้นทางช่วงที่กำหนดความเร็วตามร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. .... และกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยควรติดตามและประเมินผลการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถ
พ.ศ. 2564 ในส่วนของเส้นทางนำร่องด้วย
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์
สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. .... ตามที่ กระทรวงการคมนาคมเสนอ โดยสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ
และบริการขนส่งเพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556 ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 และสภาพการณ์ในปัจจุบัน
ร่างกฎกระทรวง ฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก
หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
พ.ศ. 2556
2 กำหนดบทนิยามเพิ่มเติมจากกฎกระทรวงเดิม ได้แก่ “ท่าเทียบเรือ” “เรือโดยสาร” “บริการขนส่ง” และ “พื้นที่หลบภัย”
3 กำหนดให้การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับคนพิการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
4 กำหนดให้ยานพาหนะ เช่น รถไฟตามกฎหมายว่าด้วยการจัดวางการรถไฟ และทางหลวง รถไฟฟ้ากฎหมายว่าด้วยการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยอากาศยานขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ ฯลฯ ต้องจัดให้มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการ เพื่อให้การบริการที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและการปฏิบัติ
5 กำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทางและไม่ประจำทาง ให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ เช่น ประตูรถ อุปกรณ์นำพาคนพิการหรืออุปกรณ์ยกรถเข็นคนพิการขึ้นและลงจากรถ โดยลักษณะของอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการให้เป็นไปตามรายการอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่กำหนดในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้
6 กำหนดให้รถไฟตามกฎหมายว่าด้วยการจัดวางการรถไฟและทางหลวง ให้มีห้องส้วมและห้องนอนสำหรับคนพิการ ที่นั่งสำหรับคนพิการ การประกาศแจ้งชื่อสถานีถัดไป สัญญาณเสียง สัญญาณไฟ
7 กำหนดให้เรือโดยสารตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย ให้มีห้องนอนสำหรับคนพิการสำหรับเรือโดยสารที่มีห้องนอน บันได ที่นั่งสำหรับคนพิการ เจ้าหน้าที่ประจำเรือซึ่งผ่านการฝึกอบรมและมีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของคนพิการแต่ละประเภทอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อให้บริการในการขึ้นและลงเรือ
8 กำหนดให้สถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานีรถไฟและสถานีรถไฟฟ้าท่าเทียบเรือและท่าอากาศยาน ให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการเพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ เช่น ประตู พื้นผิวต่างสัมผัสสำหรับคนพิการทางการเห็นที่นั่งสำหรับคนพิการหรือพื้นที่สำหรับจอดรถเข็นสำหรับคนพิการ แผนผังที่ตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานี บันไดและราวจับ
9 กำหนดให้มีบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวงฯ เพื่อกำหนดลักษณะของอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการ เช่น ป้ายแสดงอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก เรื่อง มาตรฐานป้ายสัญลักษณ์ในระบบขนส่งสาธารณะ คู่มือแปลภาษาหรือป้ายสัญลักษณ์ภาษาสำหรับเจ้าหน้าที่ประจำรถเพื่อใช้สื่อสารกับคนพิการให้เป็นไปตามคู่มือฯ ของสำนักงานนโยบายและแผนการจนส่งและจราจร ช่องขายตั๋วโดยสารที่มีพื้นที่และความสูงสำหรับรถเข็นคนพิการ
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวจะส่งผลให้กลุ่มคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในบริการขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวก มีความเหมาะสม ปลอดภัยและเสมอภาคเท่าเทียม โดยเป็นการพัฒนาคุณภาพและบริการขนส่งสาธารณะของประเทศ ส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนเคลือบสังกะสี โดยกรรมวิธีทางไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนเคลือบสังกะสี โดยกรรมวิธีทางไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยเป็นการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีไฟฟ้า เนื่องจากปัจจุบัน
มีการใช้เหล็กกล้าทรงแบนเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีทางไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย โดยเอกสารที่ใช้อ้างอิงมีการแก้ไขปรับปรุงเป็นฉบับใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีการและการใช้งานในปัจจุบัน
ร่างกฎกระทรวง ฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบน เคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีทางไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2223-2565 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2275 (พ.ศ. 2566) ออกตามความในพระราชบัญญัติ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เหล็กกล้าคาร์บอนทรงแบนรีดเย็นเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีไฟฟ้า คุณภาพทางการค้าและคุณภาพสําหรับการขึ้นรูป และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนเคลือบสังกะสี โดยกรรมวิธีทางไฟฟ้า ลงวันที่
17 ตุลาคม พ.ศ. 2566
2. กําหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ประโยชน์และผลกระทบ
1. กําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนเคลือบสังกะสี โดยกรรมวิธีทางไฟฟ้า มีความครอบคลุมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนและรีดเย็นเคลือบสังกะสีด้านเดียว หรือทั้งสองด้านโดยกรรมวิธีทางไฟฟ้า ซึ่งทั่วไปใช้ทําเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ ฯลฯ โดยได้นําเหล็กกล้าทรงแบนไปเคลือบด้วยสารที่มีองค์ประกอบหลักเป็นสังกะสี เพื่อเป็นการปรับปรุง คุณสมบัติการป้องกันสนิม เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย จึงต้องมีการควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความปลอดภัยในการ
ใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นการป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแก่ กิจการอุตสาหกรรม
และเศรษฐกิจของประเทศ
2. ผู้ทํา ผู้นําเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีทางไฟฟ้า จะต้องขอรับใบอนุญาตทําหรือนําเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และผู้จําหน่าย ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวที่ได้รับอนุญาต
และเป็นไปตามมาตรฐาน
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลวดชุบแข็งและอบคืนตัวสําหรับคอนกรีตอัดแรงต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลวดชุบแข็งและอบคืนตัวสําหรับคอนกรีต อัดแรงต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ โดยเป็นการกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลวดชุบแข็ง และอบคืนตัวสําหรับคอนกรีตอัดแรงต้องเป็นไปตามมาตรฐาน โดยเป็นการกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบังคับขึ้นใหม่ เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลวดชุบแข็ง และอบคืนตัวสําหรับคอนกรีตอัดแรงอย่างแพร่หลาย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์กล่าวมีคุณภาพ และเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมประเภทนี้
ร่างกฎกระทรวง ฯ มีสาระสําคัญ ดังนี้
1. กําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลวดชุบแข็งและอบคืบตัว สําหรับคอนกรีตอัดแรงต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 3286 – 2564 ตามประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6991 (พ.ศ. 2566) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลวดชุบแข็ง และอบกับตัวสําหรับคอนกรีตอัดแรง ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
2. กําหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประโยชน์และผลกระทบ
1. การกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลวดชุบแข็งและอบคืบตัวสําหรับคอนกรีตอัดแรงต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 3286 – 2564 เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวมีคุณภาพดี และเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมประเภทนี้ รวมทั้งเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว
2. ผู้ทํา หรือ ผู้นําเข้า ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จะต้องได้รับใบอนุญาตทําหรือนําเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว ตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และผู้จําหน่ายจะต้องจําหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวที่ได้รับใบอนุญาต และเป็นไปตามมาตรฐาน
6. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2567 ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
โดยที่พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2565 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับหลังวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป) ปัจจุบัน ยธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) มีกฎหมายลำดับรองที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จและยังไม่มีผลบังคับใช้ รวมจำนวน 4 ฉบับ โดยเป็นกฎหมายลำดับรองในระดับกฎกระทรวง จำนวน 2 ฉบับ
และกฎหมายลำดับรองในระดับประกาศ จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม ลด และยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาต พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตนำเข้า ใบอนุญาตส่งออก การออกใบแทนใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต รวมทั้งลดและยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม
2. ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้า หรือส่งออกใบกระท่อม ซึ่งจะเป็นมาตรการในการกำกับ ดูแลการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม
3. ร่างประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565 พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565 และกำหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามประกาศกำหนด
4. ร่างประกาศสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่อง การแสดงความจำนงเป็นผู้รับใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตตาย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเมื่อผู้รับใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมตายแล้วทายาทที่ประสงค์จะขอประกอบกิจการต่อให้ยื่นคำขอแสดงความจำนงตามแบบและหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนด
ปัจจุบันร่างกฎกระทรวงตามข้อ 1 และข้อ 2 รวม 2 ฉบับ อยู่ระหว่างเสนอบรรจุเข้าวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี และสำหรับกฎหมายลำดับรองในระดับประกาศซึ่งเป็นกฎหมายลูกบท อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำร่างประกาศและยังคงไม่มีผลใช้บังคับ เนื่องจากในการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขต่าง ๆ จะต้องบัญญัติให้สอดคล้องภายใต้หลักการตามร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการออกใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม ยธ. จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง ตามข้อ 3 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2567
7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้พะยูงเป็นสินค้าที่ต้องห้าม ให้ไม้ท่อนไม้แปรรูป และไม้ล้อมบางชนิด เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้และถ่านไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง ในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้พะยูงเป็นสินค้าที่ต้องห้าม ให้ไม้ท่อนไม้แปรรูป และไม้ล้อมบางชนิด เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้และถ่านไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง ในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อได้
สาระสำคัญ
เป็นการปรับปรุงประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้พะยูงเป็นสินค้าที่ต้องห้าม ให้ไม้ท่อน ไม้แปรรูป และไม้ล้อมบางชนิด เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้และถ่านไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2566 เพื่อยกเลิกมาตรการควบคุมการส่งออกสิ่งประดิษฐ์ของไม้ (ที่ไม่ใช่ไม้พะยูง) ไปนอกราชอาณาจักร ลดภาระและอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพของประชาชน สรุปได้ดังนี้
ประเด็น |
ประกาศ พณ. ฯ ปี 2566 |
ร่างประกาศ พณ. ฯ |
หมายเหตุ |
1. มาตรการควบคุมการส่งออก |
· ให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้และถ่านไม้ตามบัญชีท้ายประกาศนี้ เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองเพื่อการค้าหรือการส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ประกอบการปฏิบัติพิธีการศุลกากรส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ข้อ 6)
· ให้ไม้พะยูงท่อน ไม้พะยูงแปรรูป ไม้พะยูงล้อม และสิ่งประดิษฐ์ของไม้ที่ทำจากไม้พะยูงเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ข้อ 7)
|
· ให้ถ่านไม้ตามบัญชีท้ายประกาศ พณ. ฯ ปี 2566 เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองเพื่อการค้าหรือการส่งออกตามกฎหมายว่าด้วย ป่าไม้ประกอบการปฏิบัติพิธีการศุลกากรการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ข้อ 6)
· ให้ไม้พะยูงท่อน ไม้พะยูงแปรรูป ไม้พะยูงล้อม และสิ่งประดิษฐ์ของไม้ที่ทำจากไม้พะยูง ตามบัญชีท้ายประกาศนี้ เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ร่างข้อ 7)
|
· ยกเลิกการควบคุมการส่งออกสิ่งประดิษฐ์ของไม้ เช่น ตู้ เตียง เก้าอี้ และบานหน้าต่าง (ที่ไม่ใช่ไม้พะยูง) โดยไม่ต้องมีหนังสือรับรองฯ ประกอบการส่งออก เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้สะดวกรวดเร็ว ลดระยะเวลาและต้นทุนในการดำเนินการ (เดิมสิ่งประดิษฐ์ของไม้ ต้องมีหนังสือรับรองฯ ประกอบการปฏิบัติพิธีการศุลกากรการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร) · เพิ่มเติมถ้อยคำ “ตามบัญชีท้ายประกาศนี้” เพื่อเป็นประโยชน์ต่อกรมศุลกากรซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ปฏิบัติ เนื่องจากทำให้เกิดความชัดเจนว่าห้ามส่งออกไม้พะยูงท่อน ไม้พะยูงแปรรูป ไม้พะยูงล้อมและสิ่งประดิษฐ์ของไม้พะยูงภายใต้พิกัดศุลกากรที่ปรากฏในบัญชีแนบท้ายประกาศ พณ. ฯ พ.ศ. 2566 เท่านั้น |
2. วันที่มีผลใช้บังคับ |
· ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ข้อ 2) |
· ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ร่างข้อ 2) |
|
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติได้มีมติเห็นชอบให้มีการปรับปรุงประกาศดังกล่าวด้วยแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม กรมศุลกากรยังคงตรวจสอบสินค้าที่จะส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตามระเบียบข้อกำหนด และเงื่อนไขตามกฎหมายการปฏิบัติพิธีการศุลกากรเพื่อส่งออกประเทศปลายทาง นอกจากนี้ หากผู้ประกอบการค้าไม้มีความประสงค์จะขอหนังสือรับรองเพื่อการค้าหรือส่งออกสินค้าไปนอกราชอาณาจักร ตามข้อกำหนดของประเทศปลายทาง สามารถยื่นคำขอต่อกรมป่าไม้ในการออกหนังสือรับรองได้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
8. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566
คณะรัฐมนตรีรับทราบ รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และเห็นชอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และสำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการในระยะต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า
1. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2565
โดยมาตรา 165 บัญญัติให้ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ภายในวันที่ 16 ตุลาคม 2567) ให้ประธาน ก.พ.ร. เชิญผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาร่วมกันพิจารณา เพื่อดำเนินการให้หน่วยงานดังกล่าวรับผิดชอบในการป้องกันและปราบปราม การสืบสวน และการสอบสวนการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายนั้น ๆ ทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่จะได้ตกลงกัน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและการบูรณาการในการปฏิบัติหน้าที่และการแบ่งเบาภารกิจของ ตช.
โดยให้สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานความคืบหน้าต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบทุกสามเดือน
2. การดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566 มีความคืบหน้าการดำเนินการ คือ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดการหารือร่วมกันระหว่าง ทส. กรมประมง กษ. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ อก. ตช. และ สคก. เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการและความพร้อมในการรับโอนภารกิจการป้องกันและการปราบปราม
การสืบสวน และการสอบสวน การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีผลการหารือ ดังนี้
2.1 ภารกิจที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมรับโอนจาก ตช. เพิ่มเติม
2.1.1 กฎหมายว่าด้วยการประมง ภายใต้กรอบกฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ. 2482 และพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ของ กษ. เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กรมประมงพิจารณาแล้วเห็นว่า มีความพร้อมในการรับโอนภารกิจในการป้องกัน
การปราบปราม การสืบสวน (ก่อนการจับกุม) และการจับกุมได้ซึ่งเป็นหน้าที่และอำนาจภายใต้ความรับผิดชอบของกรมประมงที่ปฏิบัติเดิมอยู่แล้ว ทั้งนี้ เห็นควรยังคงให้ตำรวจช่วยดำเนินการในกรณีปฏิบัติการในภารกิจฉุกเฉิน เร่งด่วน หรือปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง
2.1.2 กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่น คือ พระราชบัญญัติแร่
พ.ศ. 2560 ที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ของ อก. เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่พิจารณาแล้วเห็นว่า มีความพร้อมในการรับโอนภารกิจในการป้องกัน การปราบปราม การสืบสวน (ก่อนการจับกุม) และการจับกุมได้ ซึ่งเป็นหน้าที่และอำนาจภายใต้ความรับผิดชอบของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ที่ปฏิบัติเดิมอยู่แล้ว ทั้งนี้ เห็นควรยังคงให้ตำรวจช่วยดำเนินการในกรณีปฏิบัติการในภารกิจฉุกเฉิน เร่งด่วน หรือปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง
2.2 ภารกิจที่ควรคงไว้ที่ ตช.
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2515 (กิจการประปาสัมปทาน) ที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบในสถานประกอบกิจการ ยึดหรืออายัดเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไว้เพื่อประกอบการดำเนินคดีได้
ทส. พิจารณาแล้วเห็นว่า ภารกิจดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา จึงเห็นควรคงภารกิจการป้องกัน การปราบปรามการสืบสวน และการสอบสวนการกระทำความผิดให้ตำรวจปฏิบัติต่อไป
3. การดำเนินการในระยะต่อไป
เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ. 2565 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เห็นควรดำเนินการ ดังนี้
3.1 ให้ ตช. เร่งรัดดำเนินการปรับโครงสร้างและอัตรากำลังของ บก.ปทส. ให้สอดคล้องกับภารกิจที่ลดลง และเกลี่ยอัตรากำลังพลไปปฏิบัติงานในภารกิจที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นเร่งด่วน รวมทั้งให้ ตช. ยกร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อยุบหรือเปลี่ยนแปลง บก.ปทส. ให้สอดคล้องกันให้แล้วเสร็จเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีภายในเดือนเมษายน 2567 ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกำหนดเวลาตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565
3.2 ให้ กษ. และ อก. จัดทำแนวปฏิบัติการทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานภายใต้กรอบกฎหมายว่าด้วยการประมง และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ที่รับโอนจาก ตช. เพิ่มเติมภายในเดือนเมษายน 2567 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ และให้สำนักงาน ก.พ.ร. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
3.3 ให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมร่วมกันระหว่างประธาน ก.พ.ร. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดขั้นตอนการถ่ายโอนการป้องกัน การปราบปราม การสืบสวน (ก่อนการจับกุม) และการจับกุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ ทส. กษ. และ อก. ภายใต้กรอบกฎหมายตามที่ได้ข้อยุติร่วมกัน
เศรษฐกิจ-สังคม
9. เรื่อง ขอจำหน่ายหนี้สูญตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรด้วยการจำหน่ายหนี้เป็นสูญในกองทุนหรือเงินทุนในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ของสหกรณ์ประมงเกาะลันตา จำกัด
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจำหน่ายหนี้เป็นสูญของสหกรณ์ประมงเกาะลันตา จำกัด จังหวัดกระบี่ (สหกรณ์ฯ) ในกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 5.93 ล้านบาท แยกเป็นต้นเงิน จำนวน 2.5 ล้านบาท และดอกเบี้ยค้างชำระ จำนวน 3.43 ล้านบาท โดยไม่ขอรับเงินชดเชยจากรัฐบาล ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรด้วยการจำหน่ายหนี้เป็นสูญในกองทุนหรือเงินทุนในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) สาเหตุการจำหน่ายหนี้เป็นสูญข้อ (9) ลูกหนี้ผู้กู้ยืมเงินมีรายได้น้อยหรือไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ตามที่กรมส่งเสริมสหกรณ์เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กค. รายงานว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ (กษ.) เสนอขอจำหน่ายหนี้สูญสหกรณ์ฯ (หนี้ระหว่างสหกรณ์ฯ กับกรมส่งเสริมสหกรณ์) จำนวน 5.93 ล้านบาท แยกเป็นต้นเงิน จำนวน 2.50 ล้านบาท และดอกเบี้ยค้างชำระ จำนวน 3.43 ล้านบาท ภายใต้โครงการฯ โดยไม่ต้องขอรับเงินชดเชยจากรัฐบาล สาเหตุการจำหน่ายหนี้เป็นสูญข้อ (9) ลูกหนี้ผู้กู้ยืมเงินมีรายได้น้อยหรือไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้เป็นสูญตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาตามขั้นตอนการจำหน่ายหนี้สูญแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2538 สหกรณ์ฯ ได้กู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 2.5 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนในการดำเนินธุรกิจการซื้ออาหารกุ้ง น้ำมันและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเลี้ยงกุ้งมาบริการสมาชิก โดยใช้คณะการดำเนินการสหกรณ์ฯ ทั้งคณะ จำนวน 10 ราย ค้ำประกันเงินกู้ โดยมีกำหนดชำระเงินกู้ในวันวันที่ 9 สิงหาคม 2539 (ระยะเวลาขอกู้ 1 ปี) และมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี อย่างไรก็ตามในระหว่างปี 2539 ได้เกิดโรคระบาดในกุ้งอย่างรุนแรง (โรคตัวแดง) ทำให้กุ้งตายทั้งบ่อสมาชิกจึงไม่สามารถส่งชำระหนี้แก่สหกรณ์ฯ ได้ สหกรณ์ฯ จึงมีผลการดำเนินการขาดทุนและไม่มีเงินชำระหนี้ให้แก่กองทุนพัฒนาสหกรณ์
กรมส่งเสริมสหกรณ์ และส่งผลให้สหกรณ์ฯ ต้องหยุดดำเนินการ
1.2 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ได้ติดตามเร่งรัดหนี้และฟ้องคดีและโดยศาลจังหวัดกระบี่มีคำพากษาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2551 ให้สหกรณ์ฯ (จำเลยที่ 1) และผู้ค้ำประกัน (จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 11) ชำระเงินจำนวน 2.5 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี ของเงินต้นดังกล่าว นับแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2538 ถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2539 และในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันที่ 10 สิงหาคม 2539 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แก่กรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยให้นำเงินที่ส่งชำระมาแล้วจำนวน 125,000 บาท มาหักชำระเป็นค่าดอกเบี้ย ซึ่งหลังจากศาลจังหวัดกระบี่มีคำพิพากษาแล้ว สหกรณ์ฯ ก็ไม่ได้มีการส่งชำระหนี้แต่อย่างใด
1.3 ปัจจุบันสหกรณ์ฯ ได้หยุดดำเนินการแล้วตั้งแต่ปี 2541 ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ คงเหลือ
ไม่มีผลประกอบการ ไม่มีข้อมูลทางการเงินและบัญชี และไม่มีข้อมูลอยู่ในสารบบของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์กระบี่ ประกอบกับการลงพื้นที่และสัมภาษณ์ ผู้ค้ำประกันทั้ง 10 ราย พบว่า มีผู้ค้ำประกันเสียชีวิต 1 ราย โดยผู้ค้ำประกันส่วนใหญ่ชราภาพมีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพและครอบครัว ทั้งนี้ จากการสืบทรัพย์ผู้ค้ำประกันพบว่า (1) การถือครองที่ดินยึดได้ 3 แปลง บังคับได้ 1 แปลง ราคา 256,000 บาท ขายทอดตลาดได้ 180,000 บาท
(2) การถือครองเงินฝากธนาคาร 2 ราย รวม 1,104.47 บาท (3) การถือครองยานพาหนะ 9 ราย บังคับคดีได้
1 ราย ขายทอดตลาดได้ 11,000 บาท
2. คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นประธาน) ในการประชุมครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2558 และคณะกรรมการบริหารสินเชื่อแห่งชาติ [รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) เป็นประธานกรรมการ] ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วและมีมติเห็นในหลักการให้จำหน่ายหนี้สูญสหกรณ์ฯ จำนวน 5.93 ล้านบาทดังกล่าวแล้ว (ยอดหนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2557) ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายหนี้เป็นสูญตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558
10. เรื่อง ข้อเสนอแผนงาน/โครงการของจังหวัดสืบเนื่องจากการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรี (จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดราชบุรี)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการโครงการของจังหวัดกาฬสินธุ์และราชบุรี จำนวน 7 โครงการกรอบวงเงินรวม 170,924,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการของจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน
3 โครงการภายในวงเงิน 135,024,000 บาท และราชบุรี จำนวน 4 โครงการ ภายในวงเงิน 35,900,000 บาท โดยให้ขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ทั้งนี้ ขอให้จังหวัดจัดทำโครงการและรายละเอียดต่างๆ เพื่อขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
พ.ศ. 2562 ตามขั้นตอนต่อไป โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ รวมทั้งให้จังหวัดนำโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) รายงานว่า สืบเนื่องจากการเดินทางไปตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ (2 มีนาคม 2567) และราชบุรี (12 พฤษภาคม 2567) ทั้งสองจังหวัดได้จัดทำข้อเสนอแผนงาน/โครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ จำนวน 7 โครงการ โดยโครงการดังกล่าวยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณและไม่อยู่ระหว่างการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งงบประมาณอื่น และได้ผ่านการพิจารณากลั่นกรองและเห็นชอบจากคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัด (กรอ. จังหวัด) ของแต่ละจังหวัดแล้วสรุปได้ ดังนี้
แผนงาน/โครงการ |
(1) จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 3 โครงการ แบ่งเป็น โครงการเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ (โครงการแก้มลิง) (1.1) โครงการแก้มลิงหนองเลิงไก่โอกพร้อมอาคารประกอบ ตำบลโนนศิลาเลิง อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในพื้นที่การเกษตร การอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศของลำน้ำ พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 241 ครัวเรือน (748 คน) ปริมาณน้ำเก็บกักที่เพิ่มขึ้น 1.60 ล้านลูกบาศก์เมตร หน่วยดำเนินการ โครงการชลประทานกาฬสินธุ์ (1.2) โครงการแก้มลิงหนองบึงแวงพร้อมอาคารประกอบ ตำบลโนนศิลาเลิง อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในพื้นที่การเกษตร การอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศของลำน้ำ พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 278 ครัวเรือน (910 คน) ปริมาณน้ำเก็บกักที่เพิ่มขึ้น 0.60 ล้านลูกบาศก์เมตร หน่วยดำเนินการ โครงการชลประทานกาฬสินธุ์ (1.3) โครงการจัดหาครุภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการ (เช่น กล้องจุลทรรศน์สำหรับผ่าตัดจุลศัลยศาสตร์แบบขั้นสูง พร้อมกล้องผู้ช่วยและระบบบันทึกภาพ กล้องส่องตรวจและผ่าตัดภายในช่องท้องและลำไส้ใหญ่) สำหรับโรงพยาบาลจังหวัดและโรงพยาบาลชุมชน ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2567 จำนวน 8 แห่ง (โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลสมเด็จ โรงพยาบาลยางตลาด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ โรงพยาบาลกมลาไสย โรงพยาบาลร่องคำ โรงพยาบาลนามน และโรงพยาบาลฆ้องชัย) ประชาชนได้รับประโยชน์ 1,947 ครัวเรือน (5,811 คน) หน่วยดำเนินการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ |
(2) จังหวัดราชบุรี จำนวน 4 โครงการ เพื่อปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีความปลอดภัย แบ่งเป็นโครงการเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทาง (ถนน) ที่เป็นจุดเสี่ยงบริเวณทางโค้ง 3 โครงการและโครงการปรับปรุงผิวจราจรทางถนน 1 โครงการ โดยโครงการดังกล่าวมีความสอดคลองกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี) และแผนพัฒนาจังหวัดราชบุรีประกอบด้วย (2.1) โครงการงานปรับปรุงจุดเสี่ยงที่บริเวณทางโค้ง โดยการติดตั้ง Guard rail Rolling Barrier พร้อมอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยต่าง ๆ ทางหลวงหมายเลข 3238 ตอนควบคุม 0100 ตอน เจ็ดเสมียน-โคกหม้อ ที่โค้ง กม.6+000 ตำบลท่าราบ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ผู้ใช้ทางได้รับประโยชน์ประมาณ 10,452 คันต่อวัน หน่วยดำเนินการ แขวงทางหลวงราชบุรี (2.2) โครงการงานปรับปรุงจุดเสี่ยงที่บริเวณทางโค้งโดยการติดตั้ง Guard rail Rolling Barrier พร้อมอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยต่าง ๆ ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนควบคุม 0302 ตอน คลองอีจาง-หลุมดิน ที่โค้ง กม.87+390 เป็นช่วง ๆ ตำบลดอนทราย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ผู้ใช้ทางได้รับประโยชน์ประมาณ 60,247 คันต่อวัน หน่วยดำเนินการ แขวงทางหลวงราชบุรี (2.3) โครงการงานปรับปรุงจุดเสี่ยงที่บริเวณทางโค้ง โดยการติดตั้ง Guard rail Rolling Barrier พร้อมอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยต่าง ๆ ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนควบคุม 0303 ตอน หลุมดิน-ห้วยชินสีห์ ที่ กม.106+400 ตำบลดอนตะโก อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ผู้ใช้ทางได้รับประโยชน์ประมาณ 31,162 คันต่อวัน หน่วยดำเนินการ แขวงทางหลวงราชบุรี (2.4) โครงการปรับปรุงเสริมผิวจราจรถนนสายดอนเข้ารีต-อ้อมปิ่นพาทย์ หมู่ที่ 8 ตำบลดอนใหญ่ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ขนาดกว้าง 4-6 เมตร ยาว 2,520 เมตร หนา 0.05 เมตร รวมพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1,4678 ตารางเมตร หน่วยดำเนินการ แขวงทางหลวงราชบุรี |
11. เรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567
คณะรัฐมนตรีรับทราบภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
ข้อวิเคราะห์/ความเห็น
สศช. ได้เสนอรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1.1 ด้านแรงงาน
ประเด็น |
สรุปสถานการณ์ |
การจ้างงาน |
ภาพรวมการจ้างงานปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยผู้มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 39.6 ล้านคน ลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ร้อยละ 0.1 ซึ่งเป็นผลจากการจ้างงาน ภาคเกษตรกรรมที่ลดลงกว่าร้อยละ 5.7 ในช่วงนอกฤดูการทำเกษตรกรรม |
ชั่วโมงการทำงาน |
ปรับตัวลงเล็กน้อยตามการทำงานล่วงเวลาที่ลดลง โดยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยลดลงทั้งในภาพรวมและของภาคเอกชนที่ร้อยละ 0.9 และ 0.7 (โดยอยู่ที่ 41.0 และ 44.0 ชั่วโมง/สัปดาห์ตามลำดับ) เนื่องจากสถานประกอบการลดการทำงานล่วงเวลาลงโดยผู้ที่ทำงานล่วงเวลา1 ลดลงกว่าร้อยละ 3.6 |
ค่าจ้างแรงงาน |
ปรับเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.5 โดยค่าจ้างภาคเอกชนเฉลี่ยอยู่ที่ 13,789 บาท/คน/เดือน (เป็นผลจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา) ส่วนค่าจ้างเฉลี่ยในภาพรวมลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.4 หรืออยู่ที่ 15,052 บาท/คน/เดือน |
อัตราการว่างงาน |
อัตราการว่างงานในไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 1.01 โดยมีผู้ว่างงานจำนวน |
ประเด็นด้านแรงงานที่ควรให้ความสำคัญ |
เช่น (1) การขาดทักษะของแรงงานไทยที่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว เนื่องจากเยาวชนและกลุ่มวัยแรงงานของไทยจำนวนมากมีทักษะต่ำกว่าเกณฑ์ (ทักษะการรู้หนังสือ ทักษะดิจิทัล และทักษะด้านอารมณ์และสังคม) และ (2) การพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อให้ได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น ค่าจ้างแรงงานกลุ่มทักษะปานกลางปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำเนื่องจากส่วนใหญ่ทำงานประจำจึงไม่ได้มีการพัฒนาทักษะมากนัก รวมถึงบางส่วนยังถูกทดแทนด้วยเครื่องจักร หุ่นยนต์ และเทคโนโลยี ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้แรงงานไทยมีการยกระดับอย่างต่อเนื่องและเร่งรัดการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมควบคู่กันไปด้วย |
1.2 ด้านหนี้สินครัวเรือน
หนี้สินครัวเรือนชะลอตัวต่อเนื่อง โดยไตรมาสสี่ปี 2566 และภาพรวมปี 2566 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 16.36 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.0 ลดลงจากร้อยละ 3.4 ของไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอยู่ที่ร้อยละ 91.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 91.0 ของไตรมาสที่ผ่านมา
ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ (1) แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในสินเชื่อที่อยู่อาศัย วงเงินน้อยกว่า 3 ล้านบาท และ (2) การเร่งรัดสถาบันการเงินประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มลูกหนี้เรื้อรัง2 เข้าร่วมมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
1.3 ด้านสุขภาพและการเจ็บป่วย
ไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 80.1 หรือเพิ่มจาก 144,187 ราย เป็น 259,672 ราย ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของโรคที่ระบาดต่อเนื่องจากไตรมาสสี่ ปี 2566 ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 195.2 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า
จากไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา และโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 106.8 หรือเพิ่มขึ้น 2.1 เท่า เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นทำให้เอื้อต่อการเพิ่มประชากรของยุง ซึ่งส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น ในส่วนของด้านสุขภาพจิตของคนไทยพบว่า มีผู้ที่เสี่ยงซึมเศร้าสูงร้อยละ 8.9 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีสัดส่วน ร้อยละ 8.4
ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น โรคที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดการระบาดในปี 2567 ได้แก่ (1) โรค COVID-19 ซึ่งเป็นโรคที่ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 พบผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 652,868 ราย เสียชีวิต 848 ราย (2) โรคไข้หวัดใหญ่ ที่ยังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 มีผู้ป่วย 460,325 ราย เสียชีวิต 29 ราย และ (3) โรคไข้เลือดออกในปี 2566 พบผู้ป่วย 156,097 ราย เสียชีวิต 187 ราย
1.4 ด้านการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่
ในไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.5 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการบริโภคแอลกอฮอล์ ร้อยละ 7.7 เนื่องจากประชาชนมีการเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา ขณะที่การบริโภคบุหรี่ลดลงร้อยละ 1.0
ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ (1) ผลกระทบของควันบุหรี่มือสอง3 จากข้อมูลการเสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสองที่วิเคราะห์โดย Institute for Health Metrics and Evaluation พบว่า มีคนไทยเสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสองจำนวน 9,433 ราย/ปี สูงกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีผู้เสียชีวิตจำนวน 7,300 ราย/ปี ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ อาทิ ป้ายรถเมล์ สวนสาธารณะ ชายหาด รวมทั้งกวดขันในการบังคับใช้กฎหมายและการสร้างพื้นที่สูบบุทรี่ที่เฉพาะเจาะจง
เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากควันบุหรี่มือสอง (2) การเกิดโรคมะเร็งที่มีสาเหตุมาจากบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
โดยข้อมูลจากกรมการแพทย์พบว่า คนไทยป่วยด้วยโรคมะเร็งตับมากที่สุดในกลุ่มโรคมะเร็ง โดยปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคแอลกอฮอล์เป็นประจำ
1.5 ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
คดีอาญาไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 มีการรับแจ้ง จำนวนทั้งสิ้น 112,094 คดี เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 7.9 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของคดียาเสพติด คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ และคดีชีวิต ร่างกาย และเพศ ในส่วนการรับแจ้งอุบัติเหตุทางถนนพบว่า มีการรับแจ้งผู้ประสานภัยสะสมเพิ่มขึ้นขึ้นร้อยละ 6.8
ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น การหลอกลวงทางโทรศัพท์ที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงต้องเฝ้าระวังและป้องกันมีให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อ เนื่องจากมิจฉาชีพอาจมีเทคนิคกลยุทธ์รูปแบบ
ใหม่ ๆ ที่สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
1.6 ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
ไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียน จำนวน 5,786 เรื่อง ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 54.2 โดยประเด็นที่มีการร้องเรียนสูงสุด คือ ด้านโฆษณา ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าและบริการที่ได้รับร้องเรียนสูงสุด คือ สินค้าออนไลน์ 2,162 เรื่อง ส่วนใหญ่มาจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากร้านค้า ขณะที่การร้องเรียนในกิจการโทรคมนาคมของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มีการร้องเรียนทั้งสิ้น 414 เรื่อง ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 12.7 โดยด้านที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดยังคงเป็นด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ปัญหาคุณภาพสัญญาณ ปัญหาการให้บริการ)
ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น ปัญหาบริการทัวร์ท่องเที่ยวไม่ตรงปกหรือผิดกฎหมาย ปัจจุบันพบการร้องเรียนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมากขึ้นจากข้อมูลของสภาองค์กรของผู้บริโภค (ตุลาคม 2565 - มกราคม 2567) พบว่า ร้อยละ 85.9 ของเรื่องร้องเรียนเป็นปัญหาเกี่ยวกับการนำเที่ยว อาทิ การยกเลิกการเดินทางท่องเที่ยวหรือบริการในโปรแกรมท่องเที่ยวโดยไม่แจ้งล่วงหน้า การโฆษณาเสนอขายโปรแกรมการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด/ไม่เป็นไปตามที่โฆษณา โดยมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 67 ล้านบาท
สถานการณ์ |
รายละเอียด |
Mental Health ปัญหาสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง |
ปัญหาสุขภาพจิตยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในสังคมไทย โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต พบว่า มีผู้ป่วยจิตเวชเข้ารับบริการเพิ่มขึ้น จาก 1.3 ล้านคน ในปี 2558 เป็น 2.9 ล้านคน ในปี 2566 หากพิจารณาตามช่วงวัยพบว่า (1) วัยเด็กและเยาวชนมีปัญหาสุขภาพจิตที่น่ากังวลหลายเรื่อง โดยเฉพาะความเครียด ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการเรียนและความคาดหวังด้านการทำงานในอนาคต และสถานะทางการเงินของครอบครัว รวมถึงการกลั่นแกล้งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า (2) วัยทำงาน ความรับผิดชอบสูง และหลายปัญหารุมเร้า โดยข้อมูลจากสายด่วน 1323 ของกรมสุขภาพภาพจิต พบว่า ปี 2566 วัยแรงงานขอรับบริการเรื่องความเครียด วิตกกังวล ไม่มีความสุขในการทำงานถึง 5,989 สายจากทั้งหมด 8,009 สาย และ (3) ผู้สูงวัยต้องอยู่กับความเหงาและโดดเดี่ยวสูญเสียคุณค่าในตนเอง โดยในปี 2566 พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 84.93 มีความสุขในระดับที่ดี แต่จะลดน้อยลงตามวัยที่สูงขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดกิจกรรมและบทบาททางสังคม อีกทั้ง ยังพบผู้สูงอายุที่ต้องอยู่คนเดียวเพิ่มมากขึ้น สถานการณ์ข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาสุขภาพจิตต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ดังนี้ (1) การป้องกัน โดยสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันทางสังคมโดยเฉพาะสถาบันครอบครัว (2) การรักษา เร่งเพิ่มบุคลากรด้านสุขภาพจิตให้เพียงพอ และขยายบริการการรักษาผู้ป่วยจิตเวชในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด (3) การติดตามและฟื้นฟูเยียวยา โดยจัดทำฐานข้อมูลกลางด้านสุขภาพจิตที่ครอบคลุม เร่งติดตามผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงก่อความรุนแรงให้ได้รับการรักษาต่อเนื่อง |
ทำอย่างไรเมื่อประเทศไทยเป็นสังคมคนโสด? |
ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2566 พบว่า คนไทยครองตัวเป็นโสดมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 23.9 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นคนโสด แบ่งได้เป็น 4 ด้าน คือ (1) ค่านิยมทางสังคมของการเป็นโสคยุคไหม่ อาทิ “SINK (Single Income, No Kids)” หรือคนโสดที่มีรายได้และไม่มีลูก” เน้นใช้จ่ายเพื่อตนเอง (2) ปัญหาความต้องการ/ความคาดหวังที่ไม่สอดคล้องกัน เป็นผลจากความคาดหวังทางสังคมและทัศนคติต่อการมองหาคู่ของคนที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ผู้หญิงไทยร้อยละ 83 ไม่ยอมคบผู้ชายที่มีส่วนสูงน้อยกว่า และมีผู้หญิงไทยมากกว่าร้อยละ 76 จะไม่เดทกับผู้ชายที่มีรายได้น้อยกว่า (3) โอกาสในการพบปะผู้คน โดยในปี 2566 คนโสดมีชั่วโมงการทำงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ อีกทั้ง กรุงเทพมหานครยังจัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของเมืองที่แรงงานทำงานหนักที่สุดในโลก ทำให้คนโสดไม่มีโอกาสในการมองหาคู่ และ (4) นโยบายส่งเสริมการมีคู่ของภาครัฐมีการดำเนินการไม่ต่อเนื่อง โดยในช่วงที่ผ่านมาจะเน้นที่กลุ่มคนโสดที่มีความพร้อม ขณะที่ต่างประเทศมีแนวทางการส่งเสริมการมีคู่ที่ครอบคลุมไปถึงการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย และการสร้างโอกาสในการมีคู่ ทั้งนี้ มีแนวทางสนับสนุนให้คนมีคู่ ดังนี้ (1) การสนับสนุนเครื่องมือการ Matching คนโสด โดยภาครัฐอาจร่วมมือกับ ผู้ให้บริการ/พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมให้คนโสดเข้าถึงได้มากขึ้น (2) การส่งเสริมการมี Work-life Balance ทั้งในภาครัฐและเอกชน ทำให้คนโสดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพิ่มโอกาสให้คนโสดมีเวลาทำกิจกรรมที่ชอบและพบเจอคนที่น่าสนใจมากขึ้น (3) การยกระดับทักษะที่จำเป็นในการทำงาน เพิ่มโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพการงานและรายได้ และ (4) การส่งเสริมกิจกรรมและการมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนโสดมีโอกาสพบปะและสร้างความสัมพันธ์ ใหม่ ๆ ได้ |
Sandwich Generation กับการดูแลคนหลายรุ่น |
แซนด์วิช เจเนอเรชั่น โดยทั่วไปมักใช้เรียกคนที่อยู่ตรงกลางที่ต้องรับผิดชอบดูแลทั้งพ่อแม่สูงอายุและลูกของตนเอง ทั้งทางการเงิน ร่างกาย และทรัพยากรด้านอื่น ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากประชากรสูงวัยทั่วโลกเพิ่มขึ้น ขณะที่วัยแรงงานมีจำนวนลดลงหรือเท่าเดิม ทำให้ประชากรของหลายประเทศตกอยู่ในกลุ่มนี้ โดยในส่วนของประเทศไทย การศึกษาถึงคนกลุ่มนี้ปัจจุบันยังมีไม่มากนัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสำรวจในระดับพื้นที่และไม่ครอบคลุมทั้งประเทศแต่จากบริบทสังคมไทยที่ให้ความสำคัญกับครอบครัวในฐานะสถาบันหลักที่ทำหน้าที่ดูแลคุ้มครองสมาชิกในครัวเรือนและมีการดูแลระหว่างรุ่นที่หลากหลายทำให้ประเทศไทยอาจมีกลุ่ม Sandwich Generation เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงต้องมีแนวทางในการลดภาระที่จะเกิดขึ้น เช่น (1) การส่งเสริมทักษะทางการเงิน ตั้งแต่ก่อนวัยเกษียณ ทั้งการมีทักษะความรู้และการบริหารจัดการทางการเงิน รวมถึงการป้องกันความเสี่ยง เช่น การออมเงินเพื่อยามเกษียณที่ควรเริ่มเก็บออมตั้งแต่เนิ่น ๆ และในทุกช่วงวัย (2) การใช้บริการผู้ช่วยดูแลและเทคโนโลยีในการดูแลสมาชิกในครัวเรือนสำหรับครัวเรือนที่ไม่มีปัญหาทางการเงิน อาจใช้บริการจ้างผู้ช่วยดูแล ทั้งผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมและผู้ดูแลทั่วไปมาช่วยดูแลบางหน้าที่ เช่น ดูแลเรื่องอาหารและยาช่วยพาไปหาหมอตามเวลานัด เป็นต้น |
จากผลการสำรวจและศึกษาทัศนคติของประชาชนต่อหน้าที่การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (การยื่นแบบฯ) และการจ่ายภาษี ในกลุ่ม ประชาชนอายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 3,846 คนใน 14 จังหวัด ทุกภูมิภาค โดยพบประเด็นที่น่าสนใจ เช่น คนไทยส่วนใหญ่มองว่าระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบันมีความเป็นธรรมในระดับปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ เนื่องจากระบบการตรวจสอบยังไม่ครอบคลุมทำให้มีผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ไม่ต้องยื่นแบบฯ และเสียภาษี ขณะที่ผู้มีรายได้สูงบางกลุ่มมีการหลบเลี่ยงภาษี โดยอาศัยช่องโหว่ทางกฎหมาย เพื่อให้มีภาระในการใช้จ่ายน้อยลงรวมถึงบางส่วนเห็นว่าเกณฑ์เงินได้ขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษีต่ำเกินไป
ไม่สอดคล้องกับในปัจจุบัน
ทั้งนี้ แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจดำเนินการได้ ดังนี้ (1) การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประชาชน
(2) การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการนำภาษีไปใช้ของรัฐ รวมถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการเสียภาษี (3) การมีแนวทางส่งเสริมการเข้าระบบภาษีโดยสมัครใจ (4) การตรวจสอบและลงโทษผู้ที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องอย่างเข้มงวด
และ (5) การอำนวยความสะดวกให้ผู้ยื่นแบบฯ
นอกจากนี้ ภาครัฐอาจต้องให้ความสำคัญกับการสร้างและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงดำเนินการต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้ที่เพียงพอเพื่อให้กลุ่มที่มีรายได้ใกล้เคียงกับรายจ่าย เกิดความพร้อมและความรู้สึกสบายใจในการยื่นแบบฯ เสียภาษี อีกทั้งยังเป็นการขยายฐานภาษีจากการยกระดับรายได้ของคนที่ปัจจุบันยังมีรายได้ ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ต้องยื่นแบบฯ ซึ่งจะเป็นผลดีในระยะยาวในการออกแบบนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในอนาคตจากการมีฐานข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้น
_______________
1 ผู้ทำงานล่วงเวลา คือ ผู้มีงานทำที่ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง/สัปดาห์
2ลูกหนี้เรื้อรังได้แก่ 1. ลูกหนี้เริ่มเรื้อรัง คือ ลูกหนี้สินเชื่อที่จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมมาแล้ว 3 ปี แต่ไม่ถึง 5 ปี โดยจะได้รับการแจ้งเตือน ซึ่งสามารถติดต่อเจ้าหนี้หากประสงค์จะปิดจบหนี้เร็วขึ้นได้ โดยสถาบันการเงินต้องให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี และ 2. ลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง คือ ลูกหนี้มีการจ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมนานถึง 5 ปี และเป็นกลุ่มเปราะบาง คือ
มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 20,000 บาท กรณีลูกหนี้สถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือน้อยกว่า 10,000 บาท กรณีลูกหนี้ กon-bank โดยนอกจากการแจ้งเดือนแล้วจะได้รับข้อเสนอแนวทางปิดจบหนี้ ซึ่งลูกหนี้สามารถพิจารณาว่าจะสมัครเข้าร่วมโครงการหรือไม่
3ควันบุหรี่มือสอง หมายถึง ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำยาสูบอยู่ อาทิ บุหรี่ ซิการ์ บุหรี่ไฟฟ้าซึ่งยังตกค้างในอากาศและส่งผลต่อบุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้สูบบุหรี่
12. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2566
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2566 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติได้จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2566 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 23 ประเด็น
37 เป้าหมาย และเป้าหมายระดับแผนแม่บทย่อย 140 เป้าหมาย สรุปได้
1.1 การประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติในภาพรวมทั้ง 6 มิติ
กรอบการประเมิน |
สรุปผลการประเมิน |
มิติที่ 1 ความอยู่ดีมีสุข ของคนไทย และสังคมไทย |
มีพัฒนาการที่ดีขึ้น เนื่องจากประเทศไทยสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นใปในทิศทางเดียวกับความอยู่ดีมีสุขของนานาชาติที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยในปี 2566 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับประเทศที่มีความสุขอยู่ในอันดับที่ 60 ดีขึ้นจากอันดับที่ 61 ในปี 2565 |
มิติที่ 2 ขีดความสามารถ ในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ ของประเทศไทย |
มีการพัฒนาที่ดีขึ้น โดย (1) อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยในปี 2566 อยู่ในอันดับที่ 30 ดีขึ้นจากอันดับที่ 33 (2) การพัฒนาเศรษฐกิจสะท้อนจากอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในปี 2565 มีมูลค่ารวม 17,370.2 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากปี 2564และ (3) การกระจายรายได้สะท้อนจากรายได้ประชาชาติต่อหัว เท่ากับ 223,715 บาท/คน/ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากปี 2565 |
มิติที่ 3 การพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ |
มีแนวโน้มดีขึ้น โดยสะท้อนจากดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2565 มีระดับการพัฒนาคนเท่ากับ 0.6445 คะแนน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 0.6376 คะแนนคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 ในปี 2564 |
มิติที่ 4 ความเท่าเทียม และความเสมอภาค ของสังคม |
ภาพรวมปรับตัวดีขึ้น โดยสะท้อนจากดัชนีความก้าวหน้าทางสังคมในปี 2566 ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 58 จาก 170 ประเทศทั่วโลก ดีขึ้นจากอันดับ 71 จาก 169 ประเทศทั่วโลกจากปี 2565 |
มิติที่ 5 ความหลากหลาย ทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน ของทรัพยากรธรรมชาติ |
ภาพรวมปรับตัวลดลง เนื่องจากการบรรลุเป้าหมายในมิติที่ 14 (ระบบนิเวศทางทะเล) และมิติที่ 15 (ระบบนิเวศบก) ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติของประเทศไทย มีสถานะอยู่ในระดับวิกฤติ ประกอบกับดัชนีชี้วัดสถานการณ์สีเขียวแห่งอนาคต ปี 2566 ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 55 จาก 76 ประเทศ ลดลงจากอันดับที่ 48 ในปี 2565 |
มิติที่ 6 ประสิทธิภาพการบริหาร จัดการและการเข้าถึง การให้บริการของภาครัฐ
|
ภาพรวมปรับตัวดีขึ้น โดยอันดับประสิทธิภาพของภาครัฐของประเทศไทยปี 2566 อยู่ในอันดับที่ 24 ดีขึ้น 7 อันดับ จากปี 2565 อย่างไรก็ตามอันดับเสรีภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ปี 2566 อยู่ในอันดับที่ 80 ลดลง 10 อันดับ |
2. การประเมินผลรายยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน
กรอบการประเมิน |
สรุปผลการประเมิน |
ด้านความมั่นคง |
มีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสถานการณ์ความมั่นคงภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นจากระบบการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีและระดับความมั่นคงปลอดภัยทางสังคมและระดับของกำลังทหารดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสถานการณ์สันติภาพในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในภูมิภาคแปซิฟิก สอดคล้องกับความสุขของประชากรไทยที่อยู่ดีมีความสุขเพิ่มขึ้นจากดัชนีชี้วัดความสุขโลกในปี 2566 |
ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน |
ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสามารถสะท้อนได้จากรายได้ประชาชาติที่มีมูลค่า 16,878,222 ล้านบาท ขยายตัวจาก 15,626,316 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 8 จากปี 2565 และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากปี 2565 ที่มีมูลค่า 17,370.2 พันล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ |
ด้านการพัฒนาและเสริมศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ |
ภาพรวมค่อนข้างคงที่ เป็นผลมาจากการพัฒนาของปัจจัยในด้านต่าง ๆ ที่มีทั้งการปรับตัวดีขึ้นและปรับตัวลดลง เช่น - สถานการณ์คุณธรรมของคนในสังคมไทยในแต่ละช่วงวัย ปี 2566 ปรับตัวดีขึ้น - การประเมินผลทางการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปี 2565 ปรับตัวดีขึ้น - การประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) ปี 2565 นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยทุกวิชาลดลง - อัตราการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ 4 โรคหลัก (โรคมะเร็ง โรคหัวใจ หลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง) มีการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย - สภาวะโรคซึมเศร้ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นและอัตราการฆ่าตัวตายคงที่ |
ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม |
ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยดีขึ้น ซึ่งมีความก้าวหน้าในการลดสัดส่วนความยากจน โดยสามารถลดช่องว่างด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคระหว่างกลุ่มประชากรที่ยากจนที่สุดและกลุ่มประชากรที่รวยที่สุด |
ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
มีการดำเนินการเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดลง สะท้อนจากพื้นที่ป่าธรรมชาติของไทย ปี 2565 มี 102.14 ล้านไร่ ลดลงร้อยละ 0.068 จากปี 2564 รวมทั้งคุณภาพของน้ำที่มีแนวโน้มลดลง |
ด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ |
ในภาพรวมปรับตัวดีขึ้นโดยส่วนใหญ่สะท้อนจาก (1) ภาครัฐมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม (2) ภาครัฐมีขนาดที่เล็กลงพร้อมปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และ (3) ภาครัฐมีความโปร่งใสปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ |
4. การประเมินสถานะการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนแม่บทฯ) สรุปได้ ดังนี้
เป้าหมาย |
สถานะการบรรลุเป้าหมาย |
|||||||||||||||
แผนแม่บทระดับประเด็น (Y2) (37 เป้าหมาย) |
|
|||||||||||||||
ระดับ แผนแม่บทย่อย (Y1) (140 เป้าหมาย) |
|
2. ประเด็นท้าทายที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินการในระยะต่อไป เช่น
ด้าน |
ประเด็นท้าทาย |
ข้อเสนอแนะ |
การวางแผน (Plan) |
- หน่วยงานของรัฐบางแห่งยังขาดความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และความสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 ซึ่งเป็นแผนระดับชาติที่ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินการร่วมกัน - กระบวนการจัดสรรงบประมาณอาจยังไม่สะท้อนการพุ่งเป้าการบรรลุเป้าหมายของแผนระดับที่ 2 และยุทธศาสตร์ชาติ |
- สร้างความตระหนักรู้ให้กับบุคลากรทุกระดับของหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เห็นความสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติ แผนระดับที่ 2 และนโยบายรัฐบาล ยึดเป้าหมายของแผนระดับชาติเป็นหลัก ในการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ - บูรณาการและพัฒนากระบวนการงบประมาณเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณมีความสอดคล้องกับสถานการณ์พัฒนาประเทศ พุ่งเป้าการบรรลุเป้าหมายของนโยบายรัฐบาล แผนระดับที่ 2 และยุทธศาสตร์ชาติ โดยให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อปิดช่องว่างและตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ |
การปฏิบัติ (Do) |
- การดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ บางส่วนยังคงต่างคนต่างทำ อาจขาดการบูรณาการในการทำงานร่วมกันโดยคำนึงถึงภารกิจของตนเองเป็นหลักทำให้โครงการ/การดำเนินงานระหว่างหน่วยงานโดยส่วนใหญ่ มีความซ้ำซ้อน ขาดความเชื่อมโยงส่งผลให้เกิดช่องว่างการพัฒนาและไม่สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้ |
- หน่วยงานของรัฐต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีการพัฒนาอื่น ๆ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับพื้นพื้นที่โดยอาจประยุกต์ใช้การดำเนินงานในลักษณะของการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตามบริบท และความต้องการในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
การติดตามตรวจสอบและประเมินผล (Check) |
- หน่วยงานบางส่วนยังไม่มีการนำเข้าข้อมูลแผน ระดับที่ 3 และข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานในระบบ eMENSCR ส่งผลให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติยังไม่มีความครอบคลุมและครบถ้วนทุกการดำเนินงานของรัฐ
|
- ทุกหน่วยงานของรัฐต้องให้ความสำคัญในการนำเข้าทุกข้อมูลของแผนระดับที่ 3 โครงการ/การดำเนินงานในระบบ eMENSCR ให้ครบถ้วน พร้อมทั้งการรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนระดับที่ 3 และผลการดำเนินโครงการ/การดำเนินงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้หน่วยงานและภาคี การพัฒนาที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลที่ครอบคลุมทุกการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติของหน่วยงานของรัฐไปใช้ประกอบการวิเคราะห์การดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป |
|
- การกำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ ยังไม่สะท้อนผลลัพธ์ จากการดำเนินงานของหน่วยงานที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้องเท่าที่ควร |
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการต้องพิจารณากำหนดตัวชี้วัดของหน่วยงานของรัฐที่สามารถสะท้อนการถ่ายระดับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับที่ 2 รวมถึงนโยบายรัฐบาล โดยไม่ได้เป็นการนำตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ชาติ แผนระดับที่ 2 รวมถึงนโยบายรัฐบาลไปเป็นตัวชี้วัดของหน่วยงานโดยตรง |
การปรับปรุงการดำเนินงาน(Act) |
- หน่วยงานของรัฐอาจยังไม่ได้นำผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลเช่น รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ รายงานผลสัมฤทธิ์ ของแผนระดับที่ 3 ไปใช้ประกอบการปรับปรุงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน ทำให้ในกระบวนการจัดสรรงบประมาณอาจยังไม่สอดคล้อง กับช่องว่างในการพัฒนาประเทศและส่งผลให้การบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในห้วงที่ 2 (2566-2567) ยังคงมีความเสี่ยงในการไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ |
- สำนักงบประมาณต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดสรรงบประมาณที่ต้องสอดคล้องและปิดช่องว่างการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะต้องเป็นการดำเนินการที่มีความเชื่อมโยงและบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐในการมุ่งเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาประเทศ - หน่วยงานของรัฐนำหลักการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ไปประยุกต์ใช้ในระดับหน่วยงาน โดยจะต้องประยุกต์ใช้ข้อมูลจากรายงานผลการดำเนินการต่าง ๆ ที่ได้มีการจัดทำและเผยแพร่ ไปประกอบการปรับปรุงการดำเนินการ ตั้งแต่การพุ่งเป้า เพื่อแปลงเป้าหมายของแผนระดับชาติและนโยบายรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติผ่านแผนระดับที่ 3 พร้อมทั้งติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินการตามแผนให้สามารถบรรลุเป้าหมายของโครงการและแผนระดับที่ 3 ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของแผนระดับชาติและนโยบายรัฐบาลได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้การดำเนินการปรับปรุงการดำเนินการเป็นไปอย่างครบวงจร |
13. เรื่อง มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวระยะเร่งด่วน (Quick Win)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวระยะเร่งด่วน (Quick Win) และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินรวมทั้งสิ้น จำนวน 433,199,300 บาท และโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดด้วยการจัดกิจกรรมบนอัตลักษณ์ถิ่น “มหกรรม เสน่ห์ไทย” ตามที่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
สาระสำคัญ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ดำเนินมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวระยะเร่งด่วน (Quick Win) โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 433,199,300 บาท (สี่ร้อยสามสิบสามล้านหนึ่งแสนเก้าหมื่นเก้าพันสามร้อยบาทถ้วน) ประกอบด้วย 2 โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(1) โครงการการทำตลาดการท่องเที่ยวแพลตฟอร์มออนไลน์ 280,000,000 บาท
(2) โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดด้วยการจัดกิจกรรมบนอัตลักษณ์ถิ่น “มหกรรมเสน่ห์ไทย” (5 กิจกรรม) 153,199,300 บาท
- งานมหกรรมเสน่ห์ไทย@เชียงใหม่ : Chiang Mai Art and Music Festival
- งานมหกรรมสายน้ำแห่งกาญจน์เวลา (The River of Time)
- เทศกาลดนตรี Chonburi International Music Festival in the Rain
- งานเสน่ห์เมืองนคร : Khanom Mindfulness Territory
- งานเสน่ห์อีสานม่วนชื่น ณ ขอนแก่น
รวมทั้งสิ้น 433,199,300 บาท
ประโยชน์และผลกระทบ
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2567 โดยคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยมากกว่า 350,000 คน และนักท่องเที่ยวที่ร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นทั้ง 5 ภูมิภาค มากกว่า 250,000 คน จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวระยะเร่งด่วน (Quick Win)
14. เรื่อง การพิจารณาบำเหน็จความชอบพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567
คณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้าน
ยาเสพติดปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวนไม่เกิน 13,047 อัตรา โดยแบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
1. บำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567 ในอัตราไม่เกินร้อยละ 2.5 ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง จำนวน 372,658 อัตรา
คิดเป็นอัตราไม่เกิน 9,316 อัตรา
2. บำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567 ในอัตราไม่เกินร้อยละ 1.5 ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 248,715 อัตรา คิดเป็นอัตราไม่เกิน 3,731 อัตรา
สาระสำคัญของเรื่อง
ยธ. รายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (21 กุมภาพันธ์ 2566) เห็นชอบนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งระบบและมุ่งเน้นการลดระดับความรุนแรงของปัญหายาเสพติดจนไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทย โดยบูรณาการนโยบายและแผนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มุ่งไปสู่การแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมาทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง โดยมีผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
2. ยธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ในฐานะหน่วยงานกลางที่มีหน้าที่รับผิดชอบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดมาแล้วตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 – ล่าสุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ยธ. (สำนักงาน ป.ป.ส.) เห็นควรเสนอให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดในจำนวนไม่เกิน 13,047 อัตรา จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนทั้งสิ้น 85,718,790 บาท ของส่วนราชการต้นสังกัดในโอกาสแรกก่อน หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้เบิกจ่ายจากงบกลาง รายการเงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการเป็นลำดับต่อไปรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
2.1 จำนวนกำลังพล/อัตราของส่วนราชการที่ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
หน่วย : อัตรา (คน)
หน่วยงาน |
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 |
||
โดยตรง |
เกื้อกูล |
รวม |
|
กระทรวงมหาดไทย (มท.) |
29,857 |
24,747 |
54,604 |
กรุงเทพมหานคร/เขต |
1,761 |
4,747 |
6,508 |
ยธ. |
13,884 |
3,238 |
17,122 |
กระทรวงสาธารณสุข |
56,302 |
57,543 |
113,845 |
กระทรวงศึกษาธิการ |
83,797 |
45,226 |
129,023 |
กระทรวงการคลัง (กค.) |
2,622 |
213 |
2,835 |
กระทรวงแรงงาน |
2,655 |
2,920 |
5,757 |
สำนักงานอัยการสูงสุด |
- |
5,966 |
5,966 |
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) |
134,935 |
59,051 |
193,986 |
กองบัญชาการกองทัพไทย |
8,322 |
4,970 |
13,293 |
กองทัพบก |
16,823 |
12,643 |
29,466 |
กองทัพเรือ |
7,766 |
287 |
8,053 |
กองทัพอากาศ |
9,309 |
20,904 |
30,213 |
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร |
4,067 |
5,409 |
9,476 |
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ |
203 |
391 |
594 |
กระทรวงกลาโหม (กห.) |
250 |
156 |
406 |
หน่วยงานอื่น ๆ |
105 |
304 |
409 |
รวม |
372,658 |
248,715 |
621,373 |
2.2 การจัดสรรโควตา: การคำนวณกรอบโควตาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ใช้วิธีการคำนวณจากกำลังพลเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดประเภทโดยตรงในอัตราร้อยละ 2.5 คิดเป็นอัตราไม่เกิน 9,316 อัตรา และประเภทเกื้อกูลในอัตราร้อยละ 1.5 คิดเป็นอัตราในเกิน 3,731 อัตรา รวมทั้งสิ้น 13,047 อัตรา ซึ่ง ยธ. ได้จัดสรรโควตาตามต่าง ๆ ดังนี้
การจัดสรรโควตา |
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 |
|
ร้อยละ1 |
จำนวน (อัตรา) |
|
กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดในระดับภูมิภาค |
75 |
9,785 |
1.1 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดในพื้นที่ชายแดน (ร้อยละ 35 จากจำนวน 9,785 อัตรา) |
3,425 |
|
1.2 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดในพื้นที่ตอนใน (ร้อยละ 65 จากจำนวน 9,785 อัตรา) |
6,360 |
|
กลุ่มที่ 2 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดหน่วยงานส่วนกลาง |
15 |
1,957 |
กลุ่มที่ 3 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดที่สำนักงาน ป.ป.ส. เป็นผู้พิจารณาทั้งจากส่วนกลาง ภูมิภาค สำนักงาน ป.ป.ส. และกรณีทุพพลภาพ |
10 |
1,305 |
รวมทั้งสิ้น |
100 |
13,047 |
2.3 ประมาณการรายจ่าย: ใช้ฐานในการคำนวณเฉลี่ยเจ้าหน้าที่ที่จะได้รับความดีความชอบพิเศษในระดับชำนาญการ จากค่ากลางฐานบนของเงินเดือนจำนวน 36,470 บาท x ร้อยละ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 (36,470 x ร้อยละ 1 = 365 บาท/คน/เดือน) ซึ่งเป็นประมาณการเฉลี่ย/คน/เดือน
และนำมา x จำนวนเดือนที่จะได้รับการปรับเลื่อนเงินเดือนทั้ง 2 รอบการประเมิน
วิธีคิด 365 บาท x 12 เดือน = 4,380 บาท (ประเมินรอบที่ 1)
365 บาท x 6 เดือนหลัง = 2,190 บาท (ประเมินรอบที่ 2)
รวม = 6,570 บาท/อัตรา
ดังนั้น ประมาณการในการจัดสรรบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เท่ากับจำนวนอัตรา 31,047 x 6,570 บาท = 85,718,790 บาท
3. ยธ. แจ้งว่า การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่การดำเนินงานด้านยาเสพติดของประเทศไทย เนื่องจากเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ทุ่มเทและเสียสละในการปฏิบัติงานทั่วประเทศ โดยจะเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดมีแรงจูงใจและตั้งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังและความสามารถในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพและจะส่งผลให้สังคมไทยปลอดภัยจากภัยคุกคามจากยาเสพติด
15. เรื่อง รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 และรายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 และรายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
สาระสำคัญ
1. รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 มีสาขาสิ่งแวดล้อม จำนวนทั้งสิ้น
11 สาขา โดยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.1 สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมรายสาขาที่มีแนวโน้มดีขึ้นหรือทรงตัว เช่น
สาขาสิ่งแวดล้อม |
สาระสำคัญ |
(1) ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า |
- ป่าไม้ พบว่าพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีการปราบปรามการบุกรุกพื้นที่ป่า โดยจำนวนคดีและพื้นที่ที่ถูกบุกรุกมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ดีสถานการณ์ไฟป่ายังคงเป็นที่น่ากังวลโดยเฉพาะในภาคเหนือ - สัตว์ป่า พบว่าประชากรเสือโคร่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ต้องมีการปราบปรามการลักลอบล่าสัตว์ต่อไป |
(2) ทรัพยากรน้ำ |
พบว่ามีปริมาณฝนเฉลี่ยทั่วประเทศสูงกว่าค่าปกติ และปริมาณน้ำใช้การสำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี พื้นที่เกษตรกรรมบางแห่งยังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ จึงต้องมีการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อเพิ่มศักยภาพการเก็บกักน้ำในฤดูฝนต่อไป |
(3) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง |
- พืชและปะการัง พบว่าพื้นที่ป่าชายเลนคงสภาพมีปริมาณเพิ่มขึ้น แหล่งหญ้าทะเลมีสถานภาพสมบูรณ์ปานกลาง และสถานการณ์ปะการังฟอกขาวมีความรุนแรงในระดับต่ำ - สัตว์ทะเล พบการวางไข่ของเต่าทะเลเพิ่มขึ้นและการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายากลดลง อย่างไรก็ดีปริมาณสัตว์น้ำเค็มที่ได้จากการจับจากธรรมชาติมีแนวโน้มลดลง |
(4) ความหลากหลายทางชีวภาพ |
พบพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกในไทย 30 ชนิด พบสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดใหม่ของโลกในไทย 11 ชนิด และพบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดใหม่ของโลกในไทย 31 ชนิด อย่างไรก็ดี มีพรรณไม้และสัตว์มีกระดูกสันหลัง (โดยเฉพาะนก) ที่ถูกคุกคามเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องมีการกำหนดมาตรการในการดูแลและอนุรักษ์ต่อไป |
(5) สถานการณ์มลพิษ |
- อากาศ ภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้นเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ โดยปริมาณฝุ่นละออง PM10 และ PM2.5 มีค่าเฉลี่ยรายปีทั้งประเทศไม่เกินมาตรฐาน ยกเว้นสระบุรี (หน้าพระลาน) ส่วนสารมลพิษชนิดอื่นได้แก่ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่างไรก็ดี ก๊าซโอโซนมีแนวโน้มลดลง - ขยะมูลฝอย/ของเสียอันตราย/มูลฝอยติดเชื้อ/วัตถุอันตราย พบว่าขยะมูลฝอยได้มีการนำไปกำจัดอย่างถูกต้องและนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่เพิ่มขึ้น และการนำเข้าวัตถุอันตรายทั้งภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมลดลง อย่างไรก็ดี พบว่าของเสียอันตรายจากชุมชน กากของเสียอุตสาหกรรมและมูลฝอยติดเชื้อมีปริมาณเพิ่มขึ้น |
(6) สิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน |
พื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อประชากรของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เมืองพัทยา และเทศบาลนคร มีค่าสูงกว่าเป้าหมายของประเทศระยะแรก (ไม่น้อยกว่า |
(7) สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม |
- สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ พบว่าแหล่งธรรมชาติ ประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา (ภูเขา น้ำตก และถ้ำ) ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติในระดับดี - ศิลปกรรม พบว่าแหล่งสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมีหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นดำเนินงานตามภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่ามาอย่างต่อเนื่อง |
1.2 สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมรายสาขาที่ควรเฝ้าติดตาม เช่น
สาขาสิ่งแวดล้อม |
สาระสำคัญ |
(1) ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน |
พบการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม โดยมีการปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมและไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินประมาณ 11.36 ล้านไร่ ส่งผลให้ดินเกิดความเสื่อมโทรม เกิดการการชะล้างพังทลายของดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินมีแนวโน้มลดลง |
(2) ทรัพยากรแร่ |
พบว่าปริมาณการผลิตแร่ การใช้แร่ การนำเข้าแร่ และการส่งออกแร่ลดลงทั้งหมด รวมทั้งต้องมีการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรแร่ เนื่องจากฐานข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนบริหารจัดการแร่ของประเทศยังไม่สมบูรณ์และไม่เชื่อมโยงกัน |
(3) พลังงาน |
พบว่าไทยผลิตพลังงานได้ลดลง แต่มีการนำเข้าพลังงานและใช้พลังงานเพิ่มขึ้น (แม้ว่าจะมีการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นก็ตาม) รวมทั้งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน |
(4) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง |
คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งโดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทยค่อนข้างเสื่อมโทรม จึงต้องมีการสนับสนุนให้มีระบบบำบัดน้ำเสียหรือมีการรวบรวมน้ำเสียของชุมชนชายฝั่งเข้าสู่ระบบบำบัดให้ครอบคลุมพื้นที่ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ |
(5) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ |
เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธรณีพิบัติภัย (ดินถล่ม) ซึ่งต้องมีการเตรียมพร้อม รับมือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป |
2. สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ที่ให้ ทส. รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมในปีก่อนหน้า รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ดังนั้น ในครั้งนี้ ทส. จึงได้รายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564 ซึ่งมีข้อเสนอแนะทั้งสิ้น จำนวน 47 ข้อเสนอแนะ
และได้ดำเนินโครงการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายตั้งแต่ พ.ศ. 2565 - 2566 โดยมีข้อเสนอแนะผลการดำเนินงาน และปัญหา อุปสรรค ที่สำคัญ เช่น
สาขาสิ่งแวดล้อม |
ตัวอย่างข้อเสนอแนะ ผลการดำเนินงาน และปัญหา อุปสรรค ที่สำคัญ |
(1) ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน |
ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างอาชีพแก่ประชาชนที่คืนถิ่นกลับสู่ภาคเกษตรกรรมอันเกิดจาก วิกฤตโรคโควิด-19 และปฏิรูประบบเกษตรกรรมที่ส่วนใหญ่เน้นการผลิตเชิงเดี่ยวเพื่อผลิตวัตถุดิบราคาถูกไปสู่ระบบเกษตรผสมผสานที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น เพื่อลดปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระยะยาว และเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงรับมือยุคหลังโรคโควิด-19 ผลการดำเนินงาน ได้มีการจัดทำ (1) แผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2566 - 2570 และ (2) แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2566 - 2570 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาการเกษตรของไทย ปัญหา อุปสรรค เกษตรกรยังขาดความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และปัจจัยการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์และไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดการผลิตพืชอินทรีย์ได้ครบถ้วน |
(2) ทรัพยากรแร่ |
ข้อเสนอแนะ ให้มีการศึกษาหาแนวทางกำหนดหรือพิจารณาการบริหารจัดการแร่อย่างชัดเจนและเป็นระบบเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแร่อย่างคุ้มค่ากับการสงวนรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยส่งผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพน้อยที่สุดตลอดจนลดความขัดแย้งระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน ผลการดำเนินงาน ได้มีการส่งเสริมและต่อยอดเทคโนโลยีรีไซเคิลเพื่อพัฒนาของเสียเป็นแหล่งทรัพยากรทดแทน พัฒนาและยกระดับสถานประกอบการด้านเทคโนโลยี ปัญหา อุปสรรค การร้องเรียนโครงการด้านเหมืองแร่ เป็นประเด็นปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบกรณีเป็นผู้ครอบครองสารพิษอันตรายปล่อยให้รั่วไหลออกสู่ภายนอก และการประกอบกิจการทำเหมืองโพแทชและเกลือหิน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง |
(3) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง |
ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมองค์ความรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาการ ผลการดำเนินงาน ได้มีการก่อสร้างเขื่อนป้องกันและแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ปัญหา อุปสรรค ปัจจุบันมีคำขอโครงการให้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม/รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นตามข้อกำหนดของกฎหมาย มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและนำมาใช้ประกอบกับการดำเนินโครงการเพื่อลดความขัดแย้งและลดข้อห่วงกังวล แต่การที่มีความเห็น ต่างกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และความคิดไม่สอดคล้องกัน ทำให้หลายโครงการต้องถูกชะลอหรือให้กลับไปทบทวนและให้นำกลับมาพิจารณาอีกครั้งในปีงบประมาณถัดไป ทำให้ไม่ทันต่อความเดือดร้อน |
(4) สถานการณ์มลพิษ |
ข้อเสนอแนะ จัดทำระบบฐานข้อมูลการจัดการมูลฝอยติดเชื้อให้ครอบคลุมทุกแหล่งกำเนิด เพื่อให้มีระบบการติดตาม และเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่ควบคุมกำกับแหล่งกำเนิดมูลฝอยติดเชื้อ ผลการดำเนินงาน กรมอนามัยได้ออกประกาศ เรื่อง แบบบันทึกข้อมูลปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ ปัญหา อุปสรรค ควรขับเคลื่อนและยกระดับมาตรฐานการจัดการมูลฝอยในสถานบริการการสาธารณสุขและมาตรฐานกิจการให้บริการเก็บขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ |
(5) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ |
ข้อเสนอแนะ สร้างแรงจูงใจในการลดก๊าซเรือนกระจก สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับคาร์บอนเครดิตและพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ผลการดำเนินงาน ได้มีการจัดทำ (1) ร่างแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต ปัญหา อุปสรรค สิทธิประโยชน์หรือผลตอบแทนให้แก่ผู้พัฒนาโครงการ/กิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกควรได้รับการสนับสนุนให้เพียงพอ รวมถึงการดำเนินโครงการ/กิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน ยังไม่สามารถดำเนินการได้ในวงกว้าง เนื่องจากยังเป็นการดำเนินงานแบบสมัครใจ |
16. เรื่อง การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF1 และ FIDF3
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้โอนเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฯ) เข้าบัญชีสะสมเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (บัญชีสะสมฯ) ในปีงบประมาณ 2567 เพิ่มเติมจํานวน 7,242 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลให้มีเงินนําส่งจากกองทุนฯ
เข้าบัญชีสะสมฯ เพื่อชําระต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF1 และ FIDF3 ในปีงบประมาณ 2567 รวมจํานวนทั้งสิ้น 9,242 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กค. รายงานว่า
1. ในคราวการประชุมคณะกรรมการจัดการกองทุนฯ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 คณะกรรมการจัดการกองทุนฯ เห็นควรให้นําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา อนุมัติให้โอนเงินที่กองทุนฯ จะได้รับเงินปันผลจากธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) เพื่อชําระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF1 และ FIDF3 สําหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพิ่มเติมทั้งจํานวน ซึ่งต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2567 กองทุนฯ ได้รับเงินปันผล รวมจํานวน 7,242 ล้านบาท จึงได้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เพื่อพิจารณานําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้กองทุนฯ โอนเงินดังกล่าวเข้าบัญชีสะสมฯ เพิ่มเติม
2. ยอดหนี้ต้นเงินกู้ ณ วันที่ 30 เมษายน 2567 มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายงาน |
จำนวนเงิน |
ยอดรวมต้นเงินกู้ที่รับมาดําเนินการตามพระราชกําหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 |
1,138,305.89 |
ยอดชําระหนี้สะสมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 - เมษายน 2567 (เงินต้น จํานวน 547,436.89 ล้านบาท ดอกเบี้ย จํานวน 373,260.92 ล้านบาท และค่าบริหารจัดการ จํานวน 13.60 ล้านบาท) |
920,711.41 |
ยอดหนี้คงค้าง (เฉพาะเงินต้น) ณ สิ้นเดือนเมษายน 2567 |
590,869.00 |
ที่มา : รายงานการบริหารหนี้ตามพระราชกําหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เริ่มดําเนินการ ถึง ณ วันที่ 30 เมษายน 2567
17. เรื่อง การจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 5/2567
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 5/2567 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และติดตามการตรวจราชการกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน (ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง) ระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2567 โดยมีบัญชามอบหมายภารกิจ ดังนี้
1. ประเด็นการตรวจราชการสำคัญ ประกอบด้วย (1) การสร้างฐานการผลิตสินค้าเกษตรอาหารเพื่อสุขภาพมูลค่าสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (2) การยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
บนพื้นฐานของการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (3) การเพิ่มมูลค่าห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมและบริการในอนาคต
(4) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงานแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน (5) การส่งเสริมการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ และ (6) การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง
2. มอบหมายคณะรัฐมนตรีลงพื้นที่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน เพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวบรวมข้อมูลการลงพื้นที่ของคณะรัฐมนตรี
3. มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรววาท วงษ์สุวรรณ) ซึ่งกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน เป็นประธานประชุมบูรณาการการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ร่วมกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอประเด็นและวาระการพัฒนากลุ่มจังหวัดต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ และกระทรวงมหาดไทย เป็นฝ่ายเลขานุการ
4. การจัดประชุมคณะรัฐมนตรีและวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี มอบหมายสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเตรียมสถานที่จัดการประชุมคณะรัฐมนตรี ดำเนินการจัดประชุม ตลอดจนรวบรวม กลั่นกรองข้อเสนอโครงการ/แผนงานสำหรับวาระกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ที่จะนำเสนอในการประชุมคณะรัฐมนตรี
5.การตรวจราชการของนายกรัฐมนตรี มอบหมายสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกับกระทรวงมหาดไทย จัดกำหนดการตรวจราชการในภาพรวมของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 19 - 20 สิงหาคม 2567
6. การอำนวยความสะดวก มอบหมายสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีประสานจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมการและอำนวยความสะดวกด้านที่พักของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี การเดินทาง และกำหนดการในภาพรวมของนายกรัฐมนตรี
7. การรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน มอบหมายสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรีประสานกับศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทยในการดูแลการรับเรื่องร้องเรียนและปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
8. การประชาสัมพันธ์ มอบหมายกรมประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก และโฆษกกระทรวงดำเนินการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้แก่ประชาชน
9. การรักษาความปลอดภัย มอบหมายกองทัพภาคที่ 1 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลัก วางแผนและรักษาความปลอดภัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
18. เรื่อง ยุทธศาสตร์การปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบระยะ 10 ปี
คณะรัฐมนตรีรับทราบยุทธศาสตร์การปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบระยะ 10 ปี (ยุทธศาสตร์ฯ) และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤติเร่งด่วนของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาล ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
สาระสำคัญ
คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (4 กุมภาพันธ์ 2563) ให้ สธ. ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเร่งดําเนินการจัดทํายุทธศาสตร์การปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้สามารถวางระบบการบริหารอัตรากําลังให้สอดคล้องกับภารกิจบริการสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศและการลงทุนในยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ สถาบันทางการแพทย์ และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในภาพรวมทั้งประเทศในระยะยาว (5 - 10 ปี) และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (9 กรกฎาคม 2567) ให้ สธ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัด ดําเนินการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขเพิ่มเติมให้มีจํานวน เพียงพอ เหมาะสม สอดรับกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขและสถานการณ์ ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยให้ สธ. นําเสนอแนวทางการดําเนินการ ตลอดจนปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 2 สัปดาห์ สธ. จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ และแนวทางการดําเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤติเร่งด่วนของการขาดแคลนกําลังคนทางการพยาบาล โดยมีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิสัยทัศน์ |
ประเทศไทยมีกําลังคนและบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรม มีความมั่นคงทางสุขภาพและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืน |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พันธกิจ |
มุ่งปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบ โดยเน้นคุณค่าประชาชนเป็นศูนย์กลาง สามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ และบริการรูปแบบใหม่รองรับอนาคต ด้วยการอภิบาลระบบที่เข้มแข็ง สร้างความมั่นคงทางสุขภาพ เสริมศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป้าหมายและตัวชี้วัด |
เป้าหมายที่ 1 : คนไทยมีสุขภาวะที่ดีเพิ่มขึ้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(1) คาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life Expectancy at Birth, LE) ไม่น้อยกว่า 85 ปี |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(2) อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี (Health Adjusted Life Expectancy, HALE) ไม่น้อยกว่า 75 ปี |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(3) อัตราตายในโรคที่สําคัญลดลง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองทารกแรกเกิด โรคมะเร็ง อุบัติเหตุและฉุกเฉิน และจิตเวชและยาเสพติด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป้าหมายที่ 2 : เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด
(2) การกระจายบุคลากรที่เหมาะสมตามเกณฑ์ศักยภาพของหน่วยบริการ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป้าหมายที่ 3 : เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการสุขภาพต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มเป็นร้อยละ 1.7 (จํานวน 3.81 แสนล้านบาท) ในปี 2570 ทั้งนี้ บริการทางการแพทย์ที่เน้นสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ (1) เวชศาสตร์ ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (2) การป้องกันดูแลเส้นเลือดหัวใจ (3) การรักษากระดูกข้อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ (4) ทันตกรรม (5) การรักษาผู้มีบุตรยาก (6) การรักษาโรคมะเร็ง (7) การปลูกถ่ายอวัยวะ (8) การผ่าตัดหัวใจ และการผ่าตัดทําบอลลูน (9) ศัลยกรรมตกแต่งและการแปลงเพศ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยุทธศาสตร์ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : เร่งผลิตและพัฒนากําลังคนให้เพียงพอต่อการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะโรคสำคัญ จําเป็นเร่งด่วนต่อภาระทางสุขภาพและทิศทางของประเทศ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(1) เป้าหมาย/ตัวชี้วัด (1.1) ความเพียงพอของกําลังคนด้านสุขภาพในโรคสําคัญจําเป็นเร่งด่วน ภาวะโรคซับซ้อนเฉพาะทาง (1.2) ความพร้อมของกําลังคนด้านสุขภาพในการรองรับทิศทางการพัฒนาประเทศ (2) มาตรการ (2.1) ผลิตและพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพให้เพียงพอและมีคุณภาพสอดคล้องกับความจําเป็นเร่งด่วน ตามบริบทและทิศทางของประเทศ (2.2) ส่งเสริม สนับสนุน กํากับ ดูแลแผนและมาตรฐานการผลิตและพัฒนาบุคลากร ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทีพึงประสงค์ (outcome based) (3) สาขาแพทย์เฉพาะทางที่เร่งรัดการผลิตเพื่อตอบสนองเป้าหมายต่าง ๆ มีดังนี้ (2.1) เป้าหมายที่ 1 : เช่น จิตเวชศาสตร์ ประสาทวิทยา รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ศัลยศาสตร์ทรวงอก (2.2) เป้าหมายที่ 3 : เช่น เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ทันตกรรม การรักษาผู้มีบุตรยาก การปลูกถ่ายอวัยวะ การผ่าตัดหัวใจและทําบอลลูน ศัลยกรรมตกแต่งและการแปลงเพศ (4) แผนการผลิตกําลังคนสาธารณสุขภายใต้ยุทธศาสตร์ฯ โดยแจกแจงรายละเอียดสําคัญตามวิชาชีพ เช่น เป้าหมาย บุคลากรต่อประชากร อัตราส่วนปัจจุบัน จํานวนที่ควรต้องมีภายใน 10 ปี จํานวนที่ต้องผลิตเพิ่มและค่าใช้จ่าย มีดังนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โดยสาขาต่อยอด มีค่าใช้จ่ายในการผลิตแพทย์เฉพาะทาง 100,000 บาทต่อคนต่อปี |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเชิงพื้นที่เป็นหนึ่งเดียว |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(1) เป้าหมาย/ตัวชี้วัด (1.1) ผลสัมฤทธิ์ของโครงการหรือกิจกรรมการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหรือองค์กรในการพัฒนา ระบบบริการสาธารณสุขเชิงพื้นที่เป็นหนึ่งเดียว เพื่อส่งมอบบริการที่มีคุณค่าโดยประชาชนเป็นศูนย์กลาง (1.2) อัตราส่วนบุคลากรต่อภาระงาน และความยากง่ายของบริการ (1.3) อัตราการสูญเสียกําลังคนด้านสุขภาพในวิชาชีพหลัก ได้แก่ แพทย์ พยาบาล) 2) มาตรการ (2.1) สร้างความร่วมมือของภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชนมุ่งเป้าจัดระบบบริการสาธารณสุขโดยเน้นคุณค่า ประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างเชื่อมโยงไร้รอยต่อทั้งแนวราบและแนวดิ่ง (2.2) บริหารจัดการกําลังคนและบริการสาธารณสุขรูปแบบใหม่ที่ยืดหยุ่น คล่องตัว ภายใต้กฎหมาย และระเบียบเฉพาะ (2.3) ยกระดับคุณภาพชีวิตกําลังคนด้านสุขภาพ ธํารงรักษาให้อยู่ในระบบและมีการกระจายที่เหมาะสม
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สนับสนุนส่งเสริมบริการสุขภาพที่มีศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
(1) เป้าหมาย/ตัวชี้วัด (1.1) สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการสุขภาพต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (1.2) ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ด้าน Wellness and Medical Hub ในปี ค.ศ. 2025 (2) มาตรการ (2.1) ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ได้มาตรฐานสากล สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับเศรษฐกิจของประเทศ (2.2) ส่งเสริมการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สร้างเสริมระบบและกลไกการอภิบาลกําลังคนด้านสุขภาพให้เข้มแข็ง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(1) เป้าหมาย/ตัวชี้วัด (1.1) มีระบบและกลไกการอภิบาลกําลังคนด้านสุขภาพที่มีเอกภาพ (1.2) มีฐานข้อมูลกลางกําลังคนด้านสุขภาพของประเทศที่ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ใช้ประโยชน์ ในการบริหารจัดการกําลังคนด้านสุขภาพของประเทศได้ (2) มาตรการ (2.1) สร้างกลไกกําหนดนโยบาย กํากับดูแลกําลังคนด้านสุขภาพในภาพรวมทั้งระบบอย่างเป็นเอกภาพทั้งระดับประเทศและระดับพื้นที่ (2.2) จัดทําฐานข้อมูลกลางกําลังคนด้านสุขภาพของประเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน ใช้ขับเคลื่อนระบบสุขภาพได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การขับเคลื่อน |
แต่งตั้งคณะกรรมการการปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบ (คณะกรรมการฯ) เพื่อทําหน้าที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อย่างบูรณาการ กํากับ ติดตาม ให้เกิดประสิทธิผล ทบทวนยุทธศาสตร์ เป็นระยะทุก 1- 3 ปี |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ค่าใช้จ่าย |
เป็นไปตามแผนการผลิตกําลังคนสาธารณสุขในยุทธศาสตร์ฯ โดยใช้งบประมาณของหน่วยงานที่ขอผลิต ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการฯ |
สธ. ได้นําข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ เรียบร้อยแล้ว
2. แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤติเร่งด่วนของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาล มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
2.1 ปัจจุบันประเทศไทยมีพยาบาล จํานวน 209,187 คน คิดเป็นสัดส่วนพยาบาลต่อประชากร 1 : 316 ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ฯ ได้กําหนดเป้าหมายในระยะ 10 ปี ให้มีสัดส่วนพยาบาลต่อประชากรที่ควรเป็นอยู่ที่ 1 : 200 หรือควรมีพยาบาลอย่างน้อย 333,745 คน เมื่อเทียบกับจํานวนพยาบาลในปัจจุบันพบว่ายังขาดพยาบาลอีกจํานวน 124,558 คน หรือขาดอีกร้อยละ 37.32
2.2 การขาดอัตรากําลังทางการพยาบาลตามเหตุผลข้างต้น ทําให้พยาบาลต้องปฏิบัติงานมากกกว่าจํานวนชั่วโมงการปฏิบัติงานในหนึ่งสัปดาห์ซึ่งสูงเกินกว่ามาตรฐานความปลอดภัยในการทํางาน จึงจําเป็นต้องเร่งเสนอพิจารณาแผนผลิตกําลังคนทางการพยาบาล ระยะ 10 ปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดําเนินการต่อไป โดยมีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
||||||||
ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย |
(1) เพิ่มการผลิตกําลังคนทางการพยาบาลให้มีสัดส่วนพยาบาลต่อประชากร 1:200 ภายใน 10 ปี (ต้องการเพิ่มอีก 124,558 คน) (2) อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านสุขภาพของประเทศ ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 20 (3) ค่าดัชนีความครอบคลุมของการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากกว่าร้อยละ 90 |
||||||||
แนวทางการดำเนินการประกอบด้วย 3 แนวทางได้แก่ |
|
||||||||
การจัดทำคำของบประมาณ |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการจัดทําแผนการผลิตกําลังคนและคําของบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ฯ โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ |
||||||||
การขับเคลื่อน |
สธ. กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ และทําความตกลงกับสํานักงาน ก.พ. ในการเร่งรัดดําเนินการ มหาวิกฤติเร่งด่วนของการขาดแคลนกําลังคนทางการพยาบาลแผนพยาบาล |
3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) ยกระดับระบบสุขภาพของประเทศ ประชาชนเข้าถึงบริการ ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพได้เพิ่มขึ้น มีสุขภาวะที่ดี ลดการเจ็บป่วยลดการเสียชีวิต
2) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ
19. เรื่อง รายงานงบการเงินของกองทุนพัฒนายางพารา สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 ของการยางแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานรายงบการเงินของกองทุนพัฒนายางพารา สำหรับปีสิ้นสุดวันที่
30 กันยายน 2566 (งบการเงินฯ) ของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญ
กษ. รายงานว่า
1. พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 มาตรา 46 บัญญัติให้ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ให้คณะกรรมการ กยท. เสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนพัฒนายางพาราในปีที่ล่วงมา ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบรับรองแล้วเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
2. สำหรับปีงบประมาณ 2566 คณะกรรมการ กยท. ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 ได้มีมติรับทราบรายงานงบการเงินฯ ของ กยท. รวมทั้งได้ผ่านการตรวจสอบรับรองจาก สตง. แล้ว ซึ่ง สตง. เห็นว่ารายงานงบการเงินฯ ดังกล่าว ถูกต้องตามที่สมควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานรายงานทางการเงินและมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด สรุปได้ ดังนี้
รายการ |
ปี 2566 |
ปี 2565 |
เพิ่ม/(ลด) |
สินทรัพย์ |
|||
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน |
28,497.68 |
27,391.95 |
1,105.73 |
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน |
804.70 |
554.25 |
250.45 |
รวมสินทรัพย์ |
29,302.38 |
27,946.20 |
1,356.18 |
หนี้สิน |
|||
รวมหนี้สินหมุนเวียน |
880.91 |
602.20 |
278.71 |
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน |
787.89 |
169.69 |
618.20 |
รวมหนี้สิน |
1,668.80 |
771.89 |
896.91 |
ส่วนของทุน |
27,633.58 |
27,174.30 |
459.28 |
หน่วย : ล้านบาท
(2) งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
ปี 2566 |
ปี 2565 |
เพิ่ม/ (ลด) |
รวมรายได้ |
10,987.19 |
9,666.32 |
1,302.34 |
รวมค่าใช้จ่าย |
10,169.99 |
8,627.90 |
1,523.56 |
กำไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี |
817.20 |
(1,038.42) |
1,850.62 |
20. เรื่อง รายงานงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของการยางแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานงบประมาณรายจ่ายประจำปึงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในส่วนงบทำการ จำนวนทั้งสิ้น 14,081.8540 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญ
กษ. รายงานว่า
1. พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 มาตรา 55 บัญญัติให้ กยท. จัดทำงบประมาณประจำปีโดยจำแนกเงินที่จะได้รับในปีหนึ่ง ๆ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการให้แยกเป็นงบลงทุนและงบทำการสำหรับงบลงทุนให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
2. กยท. ได้จัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปึงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวนทั้งสิ้น 14,285.0196 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการ กยท. ในคราวประชุมกรณีพิเศษ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 มีมติอนุมัติงประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และในคราวประชุม ครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 มีมติรับทราบงบประมาณ ดังกล่าว ตามที่ กยท. เสนอแล้ว โดยรายได้และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567 ในส่วนของงบทำการ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
(1) รายได้ จำนวน 14,285.0196 ล้านบาท จำแนกตามแหล่งที่มา
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
จำนวน (ล้านบาท) |
ทุน กยท. |
|
เงินคงเหลือยกมา |
813.4056 |
กำไรจากการดำเนินธุรกิจ/รายได้อื่น |
257.7627 |
รวม |
1,071.1683 |
กองทุนพัฒนายางพารา |
|
เงินคงเหลือยกมา |
4,448.3907 |
เงินรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมส่งยางพาราออกนอกราชอาณาจักร ปี 2567 |
8,452.0000 |
รวม |
12,300.3907 |
งานตามนโยบาย เงินอุดหนุนรัฐบาล |
|
งบประมาณแผ่นดินคงเหลือผูกพัน |
210.1113 |
งบประมาณแผ่นดินประจำปี |
103.3493 |
รวม |
313.4606 |
หมายเหตุ : ประกอบด้วย
(1) งบทำการ 14,081.8540 ล้านบาท และ (2) งบลงทุน 203.1656 ล้านบาท
(2) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในส่วนงบทำการ จำนวน 14,081.8540 ล้านบาท
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
จำนวน (ล้านบาท) |
ทุน กยท. |
|
ผลผลิตส่งเสริม สนับสนุนและบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ |
1,012.8535 |
กองทุนพัฒนายางพารา |
|
ผลผลิตส่งเสริม สนับสนุนและบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ |
12,755.5399 |
งานตามนโยบาย เงินอุดหนุนรัฐบาล |
|
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรเพื่อรวบรวมยาง |
1.9093 |
โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง |
0.9120 |
โครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยในการแก้ไขปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราในพื้นที่ระบาดรุนแรง |
207.2900 |
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ |
7.6941 |
โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) เพื่อรับชื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง |
95.6552 |
รวม |
313.4606 |
21. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย - เชียงราย -เชียงของ และโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทยในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ ในเขตปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่รวมประมาณ 1,537-3-04 ไร่ และโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม เนื้อที่รวมประมาณ 1,917-3-75 ไร่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อให้ รฟท. สามารถดำเนินงานโครงการก่อสร้างได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) จะได้พิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
คปก. รายงานว่า
1. การดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของและโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกหาร – นครพนม ของ รฟท. ทั้ง 2 โครงการ เป็นโครงการของรัฐที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติให้ดำเนินการแล้ว ซึ่งเป็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ และมีความจำเป็นต้องของความยินยอมหรือขออนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อดำเนินการก่อสร้าง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
รายละเอียดโครงการ |
พื้นที่ของโครงการที่ต้องขอความยินยอมหรือขออนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน |
(1) โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ เป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายใหม่ ซึ่งครอบคลุมที่ 4 จังหวัด 17 อำเภอ 59 ตำบล ประกอบด้วยจังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย โดยมีจุดเริ่มต้นที่สถานีเด่นชัย จังหวัดแพร่ และสิ้นสุดที่สถานีเชียงของของจังหวัดเชียงราย แบ่งเป็นทางรถไฟระยะทาง 323.10 กิโลเมตร อุโมงค์รถไฟ จำนวน 4 แห่ง คือ อำเภอสอง 2 แห่ง มหาวิทยาลัยพะเยาและดอยหลวง รวม 14.415 กิโลเมตร คันทางคู่สูงเฉลี่ย 4 เมตร ป้ายหยุดรถไฟ จำนวน 13 แห่ง สถานีรถไฟขนาดเล็ก จำนวน 9 แห่ง และสถานีรถไฟขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง รวมทั้งสิ้น 26 สถานี ลานบรรทุกตู้สินค้า จำนวน 5 แห่ง ถนนยกข้ามทางรถไฟ (Overpass) จำนวน 39 แห่ง ถนนลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) จำนวน 103 แห่ง พร้อมการติดตั้งระบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมและสร้างรั้วสองแนวข้างทางตลอดเส้นแนวทางรถไฟ ซึ่งต่อมา รฟท. ได้ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการดังกล่าว จำนวน 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย - งาว สัญญาที่ 2 ช่วงงาว เชียงราย และสัญญาที่ 3 เชียงราย - เชียงของ |
1,537-3-04 ไร่
|
(2) โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม เป็นโครงการก่อสร้างทางรถใหม่ จำนวน 2 เส้นทาง ซึ่งครอบคลุมที่ 6 จังหวัด 19 อำเภอ 70 ตำบล ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และนครพนม โดยมีจุดเริ่มต้นที่สถานีบ้านหนองแวงไร่ จังหวัดขอนแก่น และสิ้นสุดที่สถานีสะพานมิตรภาพ 3 จังหวัดนครพนม โดยแบ่งเป็น (1) ทางรถไฟระดับดินระยะทาง 346 กิโลเมตร คันทางรถไฟสูงเฉลี่ย 4 เมตร และ (2) เป็นโครงสร้างทางรถไฟยกระดับ 9 กิโลมเตร ก่อสร้างป้ายหยุดรถไฟ จำนวน 12 แห่ง สถานีรถไฟขนาดเล็ก จำนวน 9 แห่ง สถานีรถไฟขนาดกลาง จำนวน 5 แห่ง และสถานีรถไฟขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง รวมทั้งสิ้น |
1,917-3-75 ไร่ |
รวมทั้งสิ้น |
3,455-2-79 ไร่ |
2. การดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟของ รฟท. ทั้ง 2 เส้นทาง จะต้องเข้าดำเนินการในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เนื้อที่รวมประมาณ 3,455-2-79 ไร่ โดย รฟท. ซึ่งเป็นผู้ประสงค์จะใช้ที่ดินจะต้องยื่นคำขอรับความยินยอมหรือขออนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินต่อ คปก. ก่อนส่งมอบพื้นที่ให้แก่ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการก่อสร้าง ทั้งนี้ ก่อนที่ คปก. จะพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จะต้องดำเนินการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติอนุมัติให้ใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวก่อน เพื่อให้ คปก. สามารถพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ รฟท. ใช้ที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดให้ดำเนินโครงการดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลและเป็นไปตามแนวนโยบายของรัฐต่อไป
3. จากการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลให้รัฐต้องสูญเสียที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมบางส่วน และส่งผลต่อเกษตรกรผู้ได้รับการจัดที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แต่ในขณะเดียวกัน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จะให้ รฟท. ซึ่งเป็นผู้ขอใช้ประโยชน์ที่ดิน เยียวยาหรือจ่ายค่าชดเชยการสูญเสียโอกาสจากการใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้างทางรถไฟให้แก่เกษตรกรที่ได้รับการจัดที่ดินจาก ส.ป.ก. ตามข้อตกลงระหว่าง รฟท. กับเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งกำหนดเป็นจำนวนเงิน หรือประโยชน์อย่างอื่นเพื่อค่าทดแทนความเสียหายจากการรอนสิทธิเกษตรกร หรือการสูญเสียโอกาสในการใช้ที่ดินของเกษตรกรบรรดาผู้มีสิทธิในที่ดินนั้น
และเมื่อได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินตามกฎหมายแล้ว รฟท. จะต้องนำส่งค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้กับ ส.ป.ก.
เพื่อนำเข้ากองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ตามระเบียบ คปก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข ในการใช้และค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ตามข้อ 5.3 และ 5.4) โดย ส.ป.ก. จะนำค่าตอบแทนดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและประชาชนในเขตปฏิรูปที่ดินต่อไป
ต่างประเทศ
22. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 16
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee GBC) ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 16 ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. กห. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กัมพูชา (พลเอก เตีย เซ็ยฮา) เป็นประธานร่วมการประชุม GBC ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 21 - 22 มีนาคม 2567 โดยที่ประชุมได้หารือและทบทวนผลการปฏิบัติร่วมตามบันทึกการประชุม GBC ครั้งที่ 15 ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายมีความยินดีที่ความสัมพันธ์และความร่วมมือของทั้งสองประเทศได้ก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความมั่นคงตามชายแดนของทั้งสองประเทศทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีความสงบเรียบร้อย รวมทั้งพิจารณาประเด็นหารือ 2 ด้านที่สำคัญ ได้แก่
(1) ด้านความมั่นคงและการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ชายแดน เช่น |
|
ประเด็น |
รายละเอียด |
จุดผ่านแดนและการสัญจรข้ามแดน เช่น |
1) สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศดำเนินการร่วมกันในการเปิดจุดผ่านแดนถาวร 3 จุด ได้แก่ (1) ช่องสายตะกู จังหวัดบุรีรัมย์ ไทย – บ้านจุ๊บโกกี จังหวัดอุดรมีชัย กัมพูชา (2) ช่องอานม้า จังหวัดอุบลราชธานี ไทย – ช่องอานเซะ จังหวัดพระวิหาร กัมพูชา (3) บ้านท่าเส้น จังหวัดตราด ไทย – บ้านทมอดา จังหวัดโพธิสัต กัมพูชา 2) ยินดีกับพิธีเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย - กัมพูชา 3) สนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยดำเนินการติดตามเร่งรัดการก่อสร้างถนน บริเวณเส้นทางข้ามแดน บ้านมะม่วง จังหวัดตราด ไทย - บ้านฉอระกา จังหวัด 4) การสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการก่อสร้างสะพาน บริเวณจุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด จังหวัดจันทบุรี ไทย - บ้านปรม จังหวัดไพลิน กัมพูชา 5) เห็นชอบมิให้มีการปิดจุดผ่านแดนโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การปิดจุดผ่านแดนใด ๆ |
ด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ายาเสพติด เช่น |
1) สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสริมสร้างกลไกที่มีอยู่ทั้งในพื้นที่ ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศของทั้งสองประเทศ ให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมากขึ้น 2) ไทยแสดงความพร้อมในการดำเนินโครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้า |
ด้านการป้องกันและปราบปรามการก่ออาญชญากรรมอื่น ๆ ในพื้นที่ชายแดน เช่น
|
1) สนับสนุนให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ เช่น การลักลอบการค้าอาวุธ การลักลอบขนยาเสพติดข้ามแดน การค้ามนุษย์ และการลักลอบตัดไม้ และการค้าสัตว์ป่าข้ามพรมแดน รวมทั้งการป้องกันและดูแลเหยื่อในภาคแรงงาน 2) ส่งเสริมความร่วมมือในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการป้องกันและปราบปราม การลักลอบหลีกเลี่ยง ตลอดจนวิธีการอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายศุลกากรเป็นไปอย่างเหมาะสม การปลอมแปลงธนบัตร หรือนำมาใช้ ซึ่งธนบัตรปลอมไม่ว่าสกุลใด ๆ รวมทั้งการลักลอบค้าวัตถุโบราณ 3) เห็นชอบร่วมกันว่าปัญหาการข้ามแดนโดยผิดกฎหมายของแต่ละประเทศต้องได้รับการแก้ไขด้วยความเข้าใจในหลักมนุษยธรรมเป็นที่ยอมรับของสากลและอยู่บนพื้นฐานของการเคารพกฎหมาย และระเบียบของแต่ละประเทศ 4) ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา Call Center และเห็นพ้องที่จะแก้ไขปัญหาเครือข่ายการหลอกลวงทางไซเบอร์ โดยเพิ่มการเฝ้าระวังตามแนวชายแดน ทั้งการป้องกันการลักลอบค้ายาเสพติด สินค้าเถื่อน และการกระทำผิดกฎหมายอื่น ๆ และจะร่วมกันกวาดล้างผู้กระทำผิด พร้อมแสวงหาความร่วมมือที่ใกล้ชิดเพิ่มเติมระหว่างตำรวจไทยและกัมพูชาในการจับกุมผู้กระทำความผิด |
ด้านการเก็บกู้ทุ่นระเบิด เช่น
|
1) รับทราบว่าการระบุพื้นที่เก็บกู้ทุ่นระเบิดไม่เกี่ยวข้องกับเขตประเทศและไม่สามารถนำมาใช้ในการเจรจาเพื่อสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนหรืออ้างสิทธิทาง 2) รับทราบว่าพื้นที่เร่งด่วนในการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมที่ทั้งสองฝ่ายจะเสนอในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ไทย และจังหวัดบันเตียเมียนเจย กัมพูชา เพื่อเป็นการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมตามพันธกรณีของทั้งสองประเทศภายใต้อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล รวมทั้งจัดตั้งกลไกความร่วมมือโดยมีการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบที่ชัดเจน เพื่อดำเนินการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมอย่างเป็นรูปธรรมบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานเก็บกู้ทุ่นระเบิดดังกล่าว ทั้งนี้ จะต้องรายงานความคืบหน้าการปฏิบัติงานหรือประเด็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ให้คณะกรรมการชายแดนทั่วไปของแต่ละฝ่ายเพื่อให้พิจารณาและตัดสินใจ |
ด้านการส่งเสริมความปลอดภัยทางทะเล เช่น
|
รับทราบและสนับสนุนกรอบความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือและกองทัพเรือกัมพูชาในการเสริมสร้างมาตรการรักษาความมั่นคงทางทะเล การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางทะเล ในการสกัดกั้นและปราบปรามการกระทำผิดทางทะเล และความร่วมมือในการค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล รวมทั้งการเยี่ยมเยือนเมืองท่า และการประชุมหารือในระดับต่าง ๆ ระหว่างหน่วยทหารเรือของทั้งสองฝ่าย |
ด้านการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยกับหน่วยทหารและตำรวจของกัมพูชาในพื้นที่ชายแดน เช่น |
1) สนับสนุนการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ประสานงาน (HOTLINE) ระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนให้ครอบคลุมตลอดแนวชายแดนเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาตามแนวชายแดนในทุกระดับได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ 2) สนับสนุนความร่วมมือด้านการแพทย์ทหารระหว่างกองทัพ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและกัมพูชาไปหารือร่วมกันให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป 3) ส่งเสริมโครงการหมู่บ้านเข้มแข็งคู่ขนานตามแนวชายแดนไทย- กัมพูชา ให้ครอบคลุมตลอดแนวชายแดน โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและกัมพูชานำไปหารือร่วมกันเพื่อดำเนินการต่อไป |
(2) ความร่วมมือด้านอื่น ๆ |
|
ด้านการค้าบริเวณชายแดน
|
1) สนับสนุนการกำหนดมาตรการเชื่อมโยงเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของไทยกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของกัมพูชา บริเวณจังหวัดสระแก้ว ไทย กับจังหวัดบันเตียเมียนเจย กัมพูชา และจังหวัดตราด ไทย กับจังหวัดเกาะกง กัมพูชา 2) สนับสนุนให้ทั้งสองฝ่ายปรับปรุงกฎระเบียบทางด้านการค้าชายแดนให้เอื้ออำนวยและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน |
ด้านการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
|
เสริมสร้างความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน โดยฝ่ายไทยได้เชิญฝ่ายกัมพูชาเข้าร่วมแผนปฏิบัติการยุทธการฟ้าใส (CLEAR Sky Strategy) ซึ่งแผนปฏิบัติการร่วมไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) - สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนที่เกิดขึ้นต่อเนื่องรุนแรงส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชนใน |
ด้านการบรรเทาสาธารณภัย
|
สนับสนุนให้มีการฝึกการบรรเทาสาธารณภัยร่วมในพื้นที่ชายแดน รวมถึงให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามแนวชายแดน |
ความร่วมมือแก้ไขปัญหาที่อาจเป็นข้อขัดแย้งซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ไทย – กัมพูชา
|
ระหว่างสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไม่แล้วเสร็จ ทั้งสองฝ่ายยืนยันในเจตนารมณ์ที่จะไม่นำเอาปัญหาเขตแดนมากระทบกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ และงดเว้นการกระทำใด ๆ ที่จะละเมิดเขตแดนที่มีอยู่แล้ว หากมีปัญหาเกิดขึ้นตามแนวชายแดน ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อยุติปัญหาลงให้ได้ในระดับพื้นที่อย่างสันติวิธีโดยเร็ว เพื่อป้องกันการขยายตัวลุกลามของปัญหา หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ให้แต่ละฝ่ายรายงานไปยังหน่วยเหนือของตน นอกจากนั้นที่ประชุมยังเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายมีการพบปะกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มพูนความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
|
ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกการประชุม GBC ไทย – กัมพูชา ครั้งที่ 16 และฝ่ายไทยรับเป็นเจ้าจัดการประชุม GBC ครั้งที่ 17 โดยกองบัญชาการกองทัพไทยเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะได้นำผลการประชุมไปดำเนินการตามความรับผิดชอบต่อไป
2. ประโยชน์ที่ไทยได้รับ: ไทยจะได้รับประโยชน์จากการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือทางทหารระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา สามารถแก้ไขปัญหากรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นตามบริเวณดังกล่าวให้ยุติลงในระดับพื้นที่ได้ โดยมิให้ลุกลามเป็นกรณีพิพาทระหว่างประเทศ
23. เรื่อง การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน AHA Centre
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน AHA Centre ในปี 2567-2568 เป็นจำนวน 90,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ประมาณ 3.3 ล้านบาท) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ประเทศไทยลงนามในความตกลง AADMER ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2552 ได้มีการจัดตั้ง AHA Centre โดยเป็นการดำเนินการตามความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ในการจัดการภัยพิบัติ (Agreement on the Establishment of the Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on Disaster Management : AHA Centre Agreement) (ความตกลง AHA Centre) ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในที่ประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน ครั้งที่ 19 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2554 ณ เมืองบาหลี อินโดนีเซีย
2. AHA Centre มีหนังสือแจ้งขอรับการสนับสนุนจากประเทศไทย ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน AHA Centre พ.ศ. 2567-2568 โดยคงอัตราเดิม คือ 90,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งเป็นไปตามการหารือในการประชุมคณะกรรมการบริหารของ AHA Centre ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ณ เวียดนาม
3. มท. เห็นว่า การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน AHA Centre เป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติของอาเซียนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยนําไปสู่ความสําเร็จในการเป็นประชาคมอาเซียนและการบรรลุวิสัยทัศน์ One ASEAN, One Response โดยที่ผ่านมาการปฏิบัติงานของ AHA Centre ปรากฏผลเป็นรูปธรรมในการเป็นหน่วยอํานวยความสะดวกและสนับสนุนทางวิชาการในการดําเนินโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกและหน่วยงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องภายใต้แผนงานความตกลง AADMER เช่น การรับ – ส่งข้อมูลในการให้และรับความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศสมาชิก และหน่วยงานระหว่างประเทศในสถานการณ์ภัยพิบัติ การจัดส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์จากคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียนไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในประเทศสมาชิก
แต่งตั้ง
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1. นางสาวทัศลาภา แดงสุวรรณ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม)
กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์ ภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์
ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2566
2. นายวิทยา พลสีลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์)
สูง] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2566
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ แต่งตั้ง นายอภิรัต กตัญญุตานนท์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลระยอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่
28 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์และมีคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่ง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประประเภททบริหาระดับสูง(กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง อธิบดีกรมการปกครองให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นายศุภชัย ปทุมนากุล ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
28. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านบริหารและการจัดการ) ในคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น แทน นายธวัชชัย ฟักอังกูร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากลาออก เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป
29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กระทรวงพลังงาน)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 7 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ดังนี้
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน |
|
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิม ตามมติคณะรัฐมนตรี ในข้อ 2 |
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เสนอแต่งตั้งในครั้งนี้ |
1. นายพรายพล คุ้มทรัพย์ |
1. นายสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน |
2. นายสกนธ์ วรัญญูวัฒนา |
2. นายบุญส่ง เกิดกลาง |
3. นายกฤษฎา บุญราช |
3. นายณอคุณ สิทธิพงศ์ |
4. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล |
4. นางฉวีวรรณ สินธวณรงค์ |
5. นายแนบบุญ หุนเจริญ |
5. นายอธึก อัศวานันท์ |
6. นายธีร เจียศิริพงษ์กุล |
6. นายสุเวทย์ ธีรวชิรกุล |
- |
7. นายบุนยรัชต์ กิติยานันท์ |
ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป
30. เรื่อง ขอความเห็นชอบการต่อสัญญาจ้างผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ แต่งตั้ง นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ เป็นผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติต่อไปอีกวาระหนึ่ง โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในอัตราเดือนละ 400,000 บาท ตลอดอายุสัญญาจ้าง รวมทั้งค่าตอบแทนพิเศษประจำปีและสิทธิประโยชน์อื่นที่ผู้รับจ้างจะได้รับตามมติคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 29พฤษภาคม 2567 และครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 ซึ่งกระทรวงการคลัง (กค.) ให้ความเห็นชอบแล้ว
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป และไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ
พ.ศ. 2546 มาตรา 4 (6) แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 4
(6) จำนวน 5 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 4 (6) |
|
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิม ตามมติคณะรัฐมนตรี ในข้อ 2 |
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เสนอแต่งตั้งในครั้งนี้ |
1.1 นางวิพรรณ ประจวบเหมาะ |
1.1 นางสาวธัญลักษ์ เจริญปรุ |
1.2 นางเนตรนภิส สุชนวนิช แทน นายอภิชัย จันทรเสน |
1.2 นายศุภชัย ศรีสุชาติ
|
1.3 นางศศิพัฒน์ ยอดเพชร |
1.3 นางศศิพัฒน์ ยอดเพชร* |
1.4 นางสุวณี รักธรรม |
1.4 นายสง่า ดามาพงษ์ |
1.5 นายวรเวศม์ สุวรรณระดา |
1.5 นางอุบล หลิมสกุล |
หมายเหตุ : * กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ได้รับการเสนอแต่งตั้งเป็นวาระที่สองติดต่อกัน |
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี