‘มท.1’นำผู้บริหารมหาดไทยร่วมคณะ‘ราชเลขานุการในพระองค์’ลงพื้นที่ตรวจติดตามการพัฒนาพื้นที่บึงบอระเพ็ด เตรียมดันแผนแม่บท 6 ด้าน ดึง‘7 องค์กรภาคีเครือข่าย’ร่วมพลิกฟื้นแหล่งน้ำทั้งระบบคืนประโยชน์ประชาชน
เมื่อวันที่ 10 ก.พ.2568 พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรวจติดตามการพัฒนาพื้นที่บึงบอระเพ็ด ณ บริเวณสันฝายดินเดิมบึงบอระเพ็ด ต.แควใหญ่ อ.เมืองนครสวรรค์ และจุดชมวิวบ้านรางจิก ม.1 ต.พระนอน อ.เมืองนครสวรรค์ โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย พร้อมด้วยนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และคณะผู้บริหารกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ อาทินายพงษ์นรา เย็นยิ่ง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจังหวัดนครสวรรค์ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านโดยน.ส.ชุติพร เสชัง ผู้ว่าราชการ จ.นครสวรรค์ รายงานสถานการณ์น้ำ และภาพรวมการพัฒนาพื้นที่
ด้านน.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า บึงบอระเพ็ดมีเนื้อที่ประมาณ 132,737 ไร่ เป็นบึงน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด จ.นครสวรรค์ ได้รายงานสถานการณ์น้ำในบึงบอระเพ็ด ณ ปัจจุบัน มีปริมาณ 122 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 52 โดยมีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำบึงบอระเพ็ด ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรผู้ใช้น้ำ 9 องค์กร รอบพื้นที่บึงบอระเพ็ด ครอบคลุมการใช้ประโยชน์ทั้งการอุปโภคบริโภค การเกษตรกรรม และการรักษาระบบนิเวศน์ ทั้งนี้ หากปริมาณน้ำเข้าสู่ภาวะวิกฤตที่ปริมาณ 22 ล้านลูกบาศก์เมตร จะทำการสูบน้ำจากแม่น้ำน่านเข้ามาในบึงบอระเพ็ดเพื่อการบริหารจัดการน้ำที่เพียงพอ
น.ส.ไตรศุลี กล่าวต่อว่า สำหรับการพัฒนาพื้นที่บึงบอระเพ็ด ได้มีการจัดทำร่างแผนแม่บทครอบคลุม 6 เรื่อง เพื่อพลิกฟื้นคืนสภาพบึงบอระเพ็ด เป็นการสืบสาน ต่อยอด ตามพระราชดำรัสของล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงปรารถนาให้บึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ 1. เรื่องการจัดการน้ำดี-น้ำเสีย 2. การดำเนินการไม่ให้มีการรุกล้ำพื้นที่ 1.3 แสนไร่ 3. จัดการระบบนิเวศวิทยาทั้งพืชน้ำ สัตว์น้ำ 4. การทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวนิเวศวิทยา เส้นทางจักรยาน แหล่งเรียนรู้ สันทนาการ 5. บริหารจัดการด้านอาชีพ ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นอาทิ การปลูกนาปราณีตใช้น้ำน้อย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และ 6. การสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และองค์กรภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคี ได้แก่ ภาษาราชการ ภาคเอกชน ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อสารมวลชน เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี