เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2568 ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก ระบุว่า จากที่ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน มีอำนาจเพียงวินิจฉัยว่า การกระทำใดของบุคคลหรือองค์กรขัดต่อรัฐธรรมนูญ
แต่ไม่มีอำนาจตัดสิทธิ์ ยุบ หรือถอดถอน โดยอำนาจดังกล่าวนี้เป็นของรัฐสภาหรือองค์กรอื่นใด
คุณอดิสาร สาระรักษ์ จึงถามผมมาว่า พอจะมีกรณีที่เสียงข้างมากในรัฐสภาเยอรมันไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลไหม ?
และหลังจากนั้นแล้วเกิดอะไรขึ้น ?
…….
หลังจากที่ผมค้นแล้ว ได้คำตอบดังนี้ครับ
ไม่มีเลยครับ !
รัฐสภาเยอรมันไม่เคยปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคําตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน
รัฐสภาเยอรมันมีหน้าที่เคารพและดําเนินการตามคําตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐ
เนื่องจากศาลทําหน้าที่เป็น "ผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ"
ในขณะที่อาจมีความขัดแย้งทางการเมืองหรือความพยายามที่จะมีอิทธิพลต่อคําตัดสินของศาล
แต่ท้ายที่สุดแล้ว รัฐสภาก็ผูกพันตามคําตัดสินของศาล ครับ
———
น่าคิดว่า รัฐสภาไทยจะเป็นอย่างไร ? หากเราตามแบบเยอรมัน
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี