วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
ให้โอกาส‘คนเคยพลาด’ รัฐเป็นตัวอย่างก่อนดีไหม?

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อไม่กี่วันก่อน “ที่นี่แนวหน้า” ได้พูดคุยกับ ป้อมลายดอกไม้สด แกนนำกลุ่มเรียกร้องทวงคืนการเล่นสาดน้ำวันสงกรานต์บนถนนเลียบคลองทวีวัฒนา ที่ถูกห้ามตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา หลังจากเห็นเรื่องที่คุณป้อมลายโพสต์ระบายความคับข้องใจลงในเฟซบุ๊คแฟนเพจของกลุ่มเป็นกรณีลูกเพจคนหนึ่งมาเล่าให้ฟังว่า ได้เข้าทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวที่หน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่ง ด้วยความหวังว่าวันหนึ่งจะได้บรรจุเข้าเป็นลูกจ้างประจำ

แต่แล้วความฝันนั้นก็สลายไป เมื่อหน่วยงานต้นสังกัดบอกว่าไม่สามารถรับเข้าเป็นลูกจ้างประจำได้เพราะลูกเพจคนดังกล่าวเคยถูกจำคุก แม้ว่าที่ผ่านมาตลอด 3 ปีในการเป็นลูกจ้างชั่วคราวจะปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขันไม่ก่อเรื่องก่อราวใดๆ ให้เพื่อนร่วมงานปวดหัวเลยก็ตาม ทำให้ที่สุดแล้วก็ต้องออกจากงานไปหลังสิ้นสุดสัญญาจ้าง คุณป้อมลายตั้งคำถามถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกเพจรายนี้ว่า “ตกลงแล้วคำว่า “คืนคนดีสู่สังคม” มันไม่มีอยู่จริงใช่หรือไม่?” คนคนหนึ่งพยายามแสดงออกว่าอยากเริ่มต้นใหม่แต่เพราะกฎระเบียบที่ตั้งไว้ไม่เปิดโอกาสให้


เรื่องราวข้างต้นนี้ เอาเข้าจริงๆ ก็มีสื่อมวลชนนำเสนอไปแล้วมากมาย กรณีความเห็นจากอดีตผู้ต้องขังบ้าง ผู้คุม-ผู้บริหารเรือนจำบ้าง นักวิชาการที่ทำงานร่วมกับกรมราชทัณฑ์บ้าง ในทำนองว่า “สิ่งที่น่ากังวลสำหรับผู้ต้องคดีอาจไม่ใช่ช่วงที่อยู่ในเรือนจำ แต่เป็นวันที่พ้นโทษ เพราะออกไปแล้วมักหางานทำไม่ได้และไม่มีทุนเริ่มต้นกิจการนำไปสู่การหวนกลับไปกระทำผิดซ้ำ” ต้องกลับเข้าไปใช้ชีวิตในเรือนจำอีกครั้ง

แต่เมื่อมีการนำเสนอข่าวดังกล่าวออกไป เสียงสะท้อนจากสังคมผ่านการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์จำนวนไม่น้อยย้อนถามกลับมาว่า “ภาครัฐเอาแต่เรียกร้องให้ภาคเอกชนให้โอกาสคน..แล้วทำไมภาครัฐไม่ทำให้เป็นแบบอย่างบ้าง?” เพราะหากไปดูระเบียบการรับบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ล้วนระบุในส่วนของ “ลักษณะต้องห้าม” ของผู้ที่ประสงค์สมัครเข้ารับการคัดเลือกว่า “เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ” ทั้งสิ้น

โดยมีข้อสังเกต 1.เป็นข้อห้ามที่ไม่ได้จำกัดระยะเวลาไว้ หรือก็คือการห้ามตลอดชีวิต ซึ่งหนักเสียยิ่งกว่าการถูกจำคุก เพราะอยู่ในเรือนจำยังมีวันได้พ้นโทษกับ 2.เป็นข้อห้ามแบบไม่แยกแยะประเภทความผิด ความผิดที่เรียกว่า “ลหุโทษ” ถูกระบุไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 102 หมายถึง “ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไมเกิน 1 เดือน หรือปรับไมเกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” แต่ในความเป็นจริง มีกฎหมายมากมายที่ระบุโทษจำคุกไว้สูงกว่า1 เดือน แม้พฤติการณ์แห่งการกระทำผิดนั้นจะดูแล้วไม่ใช่อาชญากรรมร้ายแรงเลยก็ตาม

อาทิ “หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา” ความผิดนี้อาจจะเกิดกันง่ายๆ ในยุคที่ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ได้อย่างสะดวก ซึ่งใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ระบุว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท, “เล่นการพนัน” เป็นเพียงผู้เล่นไม่ใช่เจ้ามือหรือเจ้าของบ่อน พ.ร.บ.การพนันพ.ศ.2478 มาตรา 4 ประกอบมาตรา 12 ระบุว่าต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน-3 ปี และปรับตั้งแต่ 500-5,000 บาท,

“ดื่มแล้วขับ” แม้ว่าจะยังไม่ได้ไปเกิดอุบัติเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายก็ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2) ประกอบมาตรา 160 ตรีระบุว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ “ชุมนุมประท้วงนโยบายของภาครัฐ” หากเป็นการชุมนุมที่ไม่ได้รับการรับรองตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558ในหมวดบทกำหนดโทษ (มาตรา 27-35) ระบุโทษไว้ โทษจำคุกขั้นต่ำคือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ส่วนโทษปรับขั้นต่ำคือปรับไม่เกิน 10,000 บาท เป็นต้น

เมื่อต้นเดือนก.ย. 2562 ที่ผ่านมา มีการจัดเสวนาเรื่อง “มาตรการด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อการลดการลงโทษทางอาญา” ในงานสัมมนา “การลงโทษทางอาญากับหลักสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2” ซึ่งรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ธวัชชัย ไทยเขียว กล่าวถึงจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำทั่วประเทศ ณ วันที่ 26 ส.ค. 2562 ว่ามีถึง373,097 คน ที่เป็นเช่นนี้เพราะ “เป็นความเคยชินของคนเขียนกฎหมายในเมืองไทย ที่ต้องใส่โทษจำคุกเข้าไปด้วยเสมอไม่ว่าจะเป็นคดีเล็กหรือใหญ่ก็ตาม” จนเป็นที่มาของปัญหาคนล้นคุก และเพิ่มจำนวนผู้กระทำผิดซ้ำที่ออกจากคุกไปแล้วถูกสังคมตีตรากีดกัน

เช่นเดียวกับรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ที่กล่าวว่า “แค่หน่วยงานรัฐทั้งหลายจะจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย-พนักงานทำความสะอาดจากบริษัทภายนอก ยังต้องขอตรวจประวัติอาชญากรรม” รวมทั้งตั้งข้อสังเกตถึง “นโยบายว่าด้วยยาเสพติดที่ผลักให้ผู้เสพกลายเป็นผู้ค้า” เพราะเน้นการปราบปรามทำให้ราคายาเสพติดแพงขึ้นหลายเท่าตัวซึ่งไทยไปเดินตามรอย สหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีปัญหาผู้ต้องขังแออัดในเรือนจำเช่นกัน โดยผู้ต้องขังในประเทศไทยเกือบร้อยละ 80 มาจากคดียาเสพติด

ข้อห้ามเรื่องเคยมีประวัติถูกจำคุกในการสมัครเข้าเป็นบุคลากรของภาครัฐ ลามไปสู่อาชีพอื่นๆ ที่อ้างถึง “เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ” แม้ไม่ได้ทำงานในภาครัฐ เช่น “ทนายความ” ตามกฎหมาย พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 35 (6) ว่าด้วยผู้ที่สามารถยื่นขอใบอนุญาตทนายความ , “ครู” ตามกฎหมาย ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2559 ข้อ 6 (ข) (3) ว่าด้วยผู้ที่สามารถยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นต้น

ไปจนถึง “นวดแผนไทย” ที่กฎหมาย พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 ระบุห้ามคนมีประวัติเคยถูกจำคุกเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านตลอดชีวิต เหล่านี้อาจทำให้เกิด “วัฒนธรรมการเอาอย่าง”เพราะอาชีพนั้น บริษัทนี้ ต่างก็พากันตั้งกฎขึ้นมาจะไม่รับผู้เคยต้องคดี ไม่ว่าจะเป็นคดีอะไร และไม่ว่าจะพ้นโทษมานานเท่าใดแล้วก็ตาม หรือบางแห่งไปไกลถึงขั้นไม่รับคนเคยขึ้นโรงขึ้นศาลโดยไม่ถามว่าไปศาลในฐานะอะไรเสียด้วยซ้ำไป

ปัจจุบันทราบว่ามีเพียง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่แก้ไขระเบียบการรับพนักงานราชการให้ก้าวหน้าขึ้น โดยกำหนดเพิ่มเติมไปว่า “หรือพ้นโทษมาแล้วเกิน 5 ปี โดยให้ยื่นหนังสือรับรองความประพฤติว่าไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่น่ารังเกียจของสังคม ตามแบบที่ กสม. กำหนดเพื่อประกอบการพิจารณา” ซึ่งก็หวังว่าหน่วยงานอื่นๆ จะปรับปรุงแบบนี้บ้าง การห้ามนั้นอาจทำได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เห็นและเชื่อได้ว่าคนคนนั้นน่าจะไม่กลับไปทำผิดอีก แต่ไม่ควรห้ามแบบปิดตายไปตลอดชีวิต

จะได้เป็นแบบอย่างแก่องค์กรนอกภาครัฐ “สร้างบรรทัดฐานใหม่” ลดการตีตรากีดกันลง เปิดช่องทางให้โอกาสมากขึ้น เพื่อให้คำว่า “คืนคนดีสู่สังคม” เกิดขึ้นจริง!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
11:55 น. 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ
11:55 น. กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง
11:49 น. โรงเรียนปิยมาส สืบสานพระราชปณิธาน'ในหลวงรัชกาลที่ ๙' ชวนนักเรียนลงแขกดำนา
11:42 น. ‘ชูศักดิ์’รับหารืออำนาจ‘รักษาการนายกฯ’จริง โยนถามเลขากฤษฎีกาปมยุบสภา-ตั้งรมต.ใหม่
11:41 น. 'อิ๊งค์'ยิ้มแย้ม เข้าทำเนียบ ร่วมประชุมคกก.จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะ รมว.วธ.
ดูทั้งหมด
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
หมอดังเผยเคยไม่เข้าใจ 'เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์' ทรงงานแม้พระอาการประชวร ก่อนป่วยมะเร็งเองจึงซึ้งพระทัย
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
ชวนให้คิด! 'หมอพรทิพย์'โพสต์ 'นายกฯตระกูลชิน'กับระบบการเมืองไทย
ดูทั้งหมด
นักการเมิอง มนุษย์ประเภทไหน
ทางออกที่ไม่มีใครได้อะไรเต็ม 100% แต่ประเทศชาติไม่ตกหุบเหววิกฤต
บุคคลแนวหน้า : 7 กรกฎาคม 2568
บทบรรณาธิการ 7 กรกฎาคม 2568
งกครองโลก (2)
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง

80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ

‘ชูศักดิ์’รับหารืออำนาจ‘รักษาการนายกฯ’จริง โยนถามเลขากฤษฎีกาปมยุบสภา-ตั้งรมต.ใหม่

'อิ๊งค์'ยิ้มแย้ม เข้าทำเนียบ ร่วมประชุมคกก.จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะ รมว.วธ.

ศาลฎีกาสั่งคุกตลอดชีวิต! มือวางระเบิดใกล้ศาลทวดสะบ้าย้อย ปี63

โดนแน่! 'ทรัมป์'ขู่ฟาดภาษีอีก10%ชาติที่เข้าร่วม'กลุ่มบริกส์' พันธมิตรอย่าหวังจะรอด

  • Breaking News
  • 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ 80แต่ยังไหว! ‘มูเซเวนี’ลั่นพร้อมลงชิงเก้าอี้ปธน.‘ยูกันดา’อีกสมัย หากชนะจะครองอำนาจยาว4ทศวรรษ
  • กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง กระตุก‘รมว.วัฒนธรรม’ ปมคืนโบราณวัตถุให้เขมร อย่าโยงประเด็นการเมือง
  • โรงเรียนปิยมาส สืบสานพระราชปณิธาน\'ในหลวงรัชกาลที่ ๙\' ชวนนักเรียนลงแขกดำนา โรงเรียนปิยมาส สืบสานพระราชปณิธาน'ในหลวงรัชกาลที่ ๙' ชวนนักเรียนลงแขกดำนา
  • ‘ชูศักดิ์’รับหารืออำนาจ‘รักษาการนายกฯ’จริง โยนถามเลขากฤษฎีกาปมยุบสภา-ตั้งรมต.ใหม่ ‘ชูศักดิ์’รับหารืออำนาจ‘รักษาการนายกฯ’จริง โยนถามเลขากฤษฎีกาปมยุบสภา-ตั้งรมต.ใหม่
  • \'อิ๊งค์\'ยิ้มแย้ม เข้าทำเนียบ ร่วมประชุมคกก.จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะ รมว.วธ. 'อิ๊งค์'ยิ้มแย้ม เข้าทำเนียบ ร่วมประชุมคกก.จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะ รมว.วธ.
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved