วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 02.00 น.
‘ดิจิทัลศึกษา’ อะไรบ้างที่ควรคำนึงถึง

ดูทั้งหมด

  •  

“ปัจจุบันใครไม่มีตัวตนบนโลกออนไลน์คงถือว่าแปลก”ด้วยราคาโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนและอินเตอร์เนตความเร็วสูงไร้สายที่ถูกลง แต่การที่ผู้คนเข้ามาใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์แทบจะทุกลมหายใจในแต่ละวัน ปัญหาต่างๆ ก็ตามมามากมาย ดังเช่น “ข่าวปลอม (Fake News)” ที่หลายประเทศจัดให้เป็นหนึ่งในภัยคุกคามสำคัญ หรือ “การรังแกทางออนไลน์ (Cyber Bullying)” ที่ผู้ถูกกระทำได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าการรังแกกันแบบเดิมๆ รวมทั้ง “สังคมอุดมดราม่า” ที่ผู้คนขัดแย้งแบ่งขั้วทะเลาะกันได้ทุกเรื่องตั้งแต่การเมืองยันการมุ้ง


ในขณะที่เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยอินเตอร์เนตก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและเข้าถึงผู้คนอย่างกว้างขวาง แต่องค์ความรู้ในเชิง “การรู้เท่าทัน (Literacy)” ยังมีจำกัด ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ มีการจัดเสวนา “ดิจิทัลศึกษากับอนาคตสังคมไทย” ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เชิญวิทยากรที่มีความรู้แต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง มาให้มุมมองว่า อะไรบ้างเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญในการศึกษาเพื่ออยู่ร่วมกับเทคโนโลยีและสื่อใหม่นี้

ผศ.ดร.จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เทคโนโลยีก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว คือ “E-Commerce” หรือการค้าออนไลน์ นักเทคโนโลยีจึงพยายามออกแบบช่องทาง (Platform) หรือผลิตภัณฑ์ (Product) เพื่อให้ตอบโจทย์ (Serve) กับคนมากที่สุด “เกิดบริษัทประเภทหิวกระหายข้อมูล (data-hungry tech companies)” โดยสิ่งที่บริษัทเหล่านี้ทำ คือการออกแบบเพื่อดึงให้ผู้ใช้อยู่กับหน้าจอโทรศัพท์นานๆ จนเกิดเป็น “เศรษฐกิจเชิงเรียกร้องความสนใจ (Attention Economy)” ขึ้นมา

“ดิจิทัลและอินเตอร์เนต ในแง่ของเทคนิคจะทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สิ่งที่สร้างส่วนใหญ่ของการสร้างมักตอบสนองการใช้งานในเชิงสร้างสรรค์ แต่ปัจจุบันเมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางที่ผิดมากขึ้น โดยเฉพาะข่าวปลอมซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของโลกอินเตอร์เนต จึงจำเป็นต้องพิจารณาในด้านจริยธรรม ความเป็นกลาง อคติ หรือความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ โดยให้ความสนใจเพิ่มขึ้นจากเดิม” ผศ.ดร.จิตร์ทัศน์ กล่าว

มุมมองจากนักรัฐศาสตร์ ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันเรื่องของ “ดิจิทัลศึกษา” ยังคลุมเครือเพราะแต่ละฝ่ายยังเข้าใจไม่ชัดเจน เช่น หลายคนมองว่าเป็น“สื่อดิจิทัล (Digital Media)” แต่หากมองแบบนี้ในเชิงรัฐศาสตร์จะมีความหมายว่า “สื่อมีจุดมุ่งหมายในการนำไปใช้ที่เปลี่ยนแปลงไป” ในอดีตสื่ออาจเป็นแค่เครื่องมือในการสร้างประเทศ แต่ปัจจุบันถูกนำมาใช้ในเชิงการเมือง เห็นได้จากการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เพราะประชาชนข้าถึงสื่อออนไลน์มากขึ้นและได้รับความนิยมยิ่งขึ้น

“ดิจิทัลไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่ดิจิทัลได้กลายเป็นตัวตน (Being) ของคนทุกคนไปแล้ว เมื่อพูดคำว่าดิจิทัล หลายฝ่ายยังให้น้ำหนักไปในเรื่องเชิงนโยบายมากกว่า ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วดิจิทัลได้เข้ามามีส่วนสำคัญกับชีวิตถึงในระดับของเวลาและพื้นที่ (time and space) เลยก็ว่าได้ ซึ่งปัจจุบันตัวเรากับโลเกชั่นกลายเป็นตัวตนที่เป็นเนื้อเดียวกันไปแล้วตัวตนของคุณต้องมีทั้ง time and space และ time andspace ซึ่ง being มันเปลี่ยน space มัน matter ขึ้นในความหมายใหม่ๆ ด้วย และสุดท้ายมันจะไปมีผลต่อความเปราะบางของประชาชน” ผศ.ดร.พิชญ์ ให้ความเห็น

ด้านนักกฎหมาย ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงประเด็นใกล้ตัวแต่หลายคนอาจลืมนึกถึงคือ “การกดยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน (Accept All)” ในการลงทะเบียนออนไลน์ โดยส่วนใหญ่จะกดเพื่อที่จะเข้าสู่ระบบในหน้าเว็บไซต์ หรือการใช้โปรแกรมแอพพลิเคชั่นให้เร็วที่สุด ซึ่งในมุมกฎหมายเองก็มีการพูดถึงว่า สัญญาลักษณะนี้เป็นสัญญาสำเร็จรูปที่ไม่น่าจะมีผลกับตัวผู้ใช้งานได้

ขณะที่ประเด็น “รอยเท้าดิจิทัล (Digital Footprint)”หรือการทำกิจกรรมบนโลกออนไลน์แล้วทิ้งร่องรอยบางอย่าง ไว้ไม่มากก็น้อย สำหรับคนรุ่นใหม่ไม่น่าเป็นห่วงมากนักเมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อนหน้าที่มักจะกรอกทุกอย่างตามที่เว็บไซต์นั้นต้องการ เช่น เรียนจบที่ไหน เพศอะไร อาชีพอะไร เป็นต้น รวมถึงประเด็น “ทรัพย์สินบนโลกออนไลน์” ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ “อุปกรณ์ (Item) ต่างๆ ในเกมออนไลน์” ที่มีการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนด้วยเงินในโลกจริง บางครั้งถึงหลักหมื่นหลักแสนบาทแต่กฎหมายที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมไปถึงจุดนั้น

ปิดท้ายด้วยมุมมองด้านสื่อ ศ.ดร.พิรงรอง รามสูตร อาจารย์ภาควิชาวารสารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในอดีตทุกคนมองว่าอินเตอร์เนตเป็นเพียงสื่ออีกช่องทางหนึ่งในการส่งสาร แต่ในปัจจุบันได้เข้ามาควบคุมเนื้อหาด้วยในระดับที่ไม่เคยพบมาก่อน จากเดิมผู้ส่งสารหรือนักวิชาชีพสื่อจะมีบทบาทควบคุม แต่ปัจจุบันนักวิชาชีพสื่อแทบไม่มีบทบาท สังเกตได้จากการอ่านหรือหรือประกาศข่าวในแต่ละรายการจะต้องโยงเนื้อหาจากสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เช่น เฟซบุ๊ค (Facebook) หรือยูทูบ (Youtube)

นักนิเทศศาสตร์และนักวิชาชีพสื่อจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจถึงคุณลักษณะของเทคโนโลยีของอินเตอร์เนต เนื่องจากเป็นเครือข่ายไม่ใช่เครื่องมือหรือเครื่องจักร จึงมีความแตกต่างจากเทคโนโลยีอื่นๆ เป็นเพราะว่าไม่มีบทสรุป (Closure) หรือไม่มีแบบแผนโดยสมบูรณ์ จะมีการเปลี่ยนแปลงและการประยุกต์ใช้ตลอดเวลา แต่ขณะเดียวกันต้องทำความเข้าใจถึงปัจจัยเชิงสถาบัน และการควบคุมผ่านองค์กรต่างๆ ที่มีอำนาจต่อรองเครือข่ายและเนื้อหาที่แพร่กระจายและแลกเปลี่ยนกับอินเตอร์เนต ตลอดจนกิจกรรมของผู้ใช้ในภาคส่วนต่างๆ

รวมถึงต้องมีความร่วมมือกับผู้รู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อตอบสนองและรับใช้สังคมได้อย่างเหมาะสม!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

12 ก.ค. 2568

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved