วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 02.00 น.
ใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ จากรักษาโรคสู่เสพติด

ดูทั้งหมด

  •  

สัปดาห์นี้ “ที่นี่แนวหน้า” ขอนำเนื้อหาจากการบรรยายสรุปของ วิทย์ วิชัยดิษฐ หน่วยระบาดวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในเวทีเสวนา “การระบาดสารเสพติดและตลาดการค้า”จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) ช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ รร.แมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ ซึ่งนอกจากการระบาดของสารที่สังเคราะห์หรือผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นยาเสพติดโดยตรงแล้ว ยังมีปัญหายาที่ใช้เพื่อการแพทย์รั่วไหลออกไปสู่การใช้เพื่อเสพติดด้วย

วิทย์ เล่าถึง “ยาประเภทออกฤทธิ์ต่อประสาท (Phychoactive Pharmaceuticals)” ซึ่งมีการพัฒนาไปตามยุคสมัย เช่น ตั้งแต่ก่อนปี 2473 นิยมใช้ฝิ่น แอลกอฮอล์ มอร์ฟีน โคเคน จากนั้นตั้งแต่ปี 2473-2502จะเป็นยากล่อมประสาท (Barbiturates) หรือในปี 2503-2522 ก็เป็นยากล่อมประสาท (Benzodiazepines) หรือในยุค 1990 (2533-2542) ใช้ยากระตุ้นประสาทหรือยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants+Psychostimulants)และยุค 2000 (ปี 2543-2552) เริ่มมีการใช้อนุพันธ์ฝิ่น(Opiloids) เป็นต้น


“ประเทศที่มีรายได้สูง เช่น สหรัฐอเมริกา หรือกลุ่มชาติยุโรป มีสัดส่วนการใช้ยาประเภทออกฤทธิ์ต่อประสาทมากในหมู่ประชากร” เมื่อเทียบกับประเทศที่มีรายได้ปานกลางและต่ำ ในจำนวนนี้ “ยาต่อต้านภาวะวิตกกังวล (Anxiolytics) มีการใช้มากที่สุด” ซึ่งอีกด้านหนึ่งก็ทำให้เกิดปัญหา “การเบี่ยงเบนยา (Drug Diversion)” หรือการนำยาที่แพทย์สั่งจ่ายไปใช้ในวัตถุประสงค์ผิดกฎหมาย แบ่งเป็น 4 วิธีการ คือ

1.จากเพื่อนหรือญาติ ผู้ป่วยได้รับยาจากแพทย์แต่รับประทานไม่หมดจึงแบ่งส่วนที่เหลือให้คนรู้จักเช่น ยาแก้ปวดที่แพทย์สั่งจ่ายกรณ์เข้ารับการผ่าตัด 2.จากระบบบริการทางการแพทย์ เช่น ผู้ป่วยกินยาแล้วยาเหลือจึงนำไปขายต่อ อาทิ ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนนและมีอาการปวดเรื้อรัง แพทย์ก็จะสั่งยาแก้ปวดอนุพันธ์ฝิ่นให้ เมื่อบวกกับลักษณะบางอย่างทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดการเสพติดได้ง่าย ผู้ป่วยก็อาจไปพบแพทย์หลายที่ เพื่อหวังจะได้ยาจำนวนมาก และเมื่อได้มาบางส่วนก็นำไปขาย

“ในสหรัฐฯ มีปัญหาการจ่ายยามากเกินไปแพทย์ 3% เป็นคนจ่ายยาอนุพันธ์ฝิ่น 62% ของทั้งหมดซึ่งแปลว่ามีแพทย์จำนวนไม่กี่รายที่สั่งยาอนุพันธ์ฝิ่นมากเกินเหตุ มีเรื่องของการฉ้อโกงในระบบ แล้วก็มีคลินิกบางคลินิกที่เป็นจุดที่จ่ายยา Opiloids มากเกินขนาดแล้วก็มีผู้ใช้ที่ต้องการ Doctor-Shopping ตรงนี้ไปใช้งาน เขาจะเรียกตรงนี้ว่า Pill Mills” วิทย์ ระบุ

วิทย์กล่าวต่อไปว่า ในประเทศไทย วัยรุ่นนิยมนำยา Tramadol ที่ 1 แผงมี 20 เม็ด แผงละ 75 บาท ซึ่งทำให้เคลิ้ม ไปผสมกับน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มชูกำลัง โดยอาจมองว่าราคาถูกกว่าไปซื้อเหล้ามาดื่มหรือซื้อกัญชามาเสพ อย่างไรก็ตาม แม้ในไทยจะมีการซื้อ-ขายยาเสพติดผ่านอินเตอร์เนต แต่ก็ยังอยู่บนเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ทั่วไป (เช่น Twitter) ไม่ถึงขั้นใช้เว็บไซต์ใต้ดิน (Deep Web) ที่ต้องใช้วิธีพิเศษเพื่อเข้าถึง ดังที่ปรากฏในต่างประเทศกับกรณี Silk Road ที่เคยโด่งดังเมื่อหลายปีก่อน

Silk Road เป็นเว็บใต้ดินสำหรับซื้อ-ขายยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทโดยเฉพาะ เช่น กัญชา ยาอี เหล้าแห้ง ยากระตุ้นประสาท ยาอนุพันธ์ฝิ่น ฯลฯ
ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยโปรแกรมท่องอินเตอร์เนตทั่วไป(เช่น Google Chrome หรือ Firefox) แต่ต้องใช้โปรแกรม TOR และต้องรู้จักที่อยู่ (URL) ของเว็บไซต์จึงจะเข้าไปได้ โดย TOR เป็นโปรแกรมท่องอินเตอร์เนตที่ช่วยปกปิดเลขที่อยู่ (IP Address) ของผู้ใช้ ทั้งนี้ การซื้อ-ขาย จะใช้เงินดิจิทัลสกุลบิตคอยน์ (Bitcoin) เป็นสื่อกลาง Silk Road ถูกปิดไปตั้งแต่ปี 2558 เพราะผู้ดูแลเว็บถูกทางการสหรัฐฯ จับกุม

นักวิชาการผู้นี้ กล่าวทิ้งท้ายถึงวิธีป้องกันการเบี่ยงเบนยา หรือการนำยาที่ใช้ทางการแพทย์ไปใช้เพื่อเสพติดนั้น ประกอบด้วย 1.ละเว้นการจ่ายยาอนุพันธ์ฝิ่นโดยไม่จำเป็น โดยมีแนวปฏิบัติ (Guideline) ให้การจ่ายยากลุ่มนี้ทำได้ยากขึ้น 2.เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้ร้านยา-ห้องยา ซึ่งในสหรัฐฯ มีการปล้นหรือขโมยยาอนุพันธ์ฝิ่นในร้านขายยาเกิดขึ้นหลายครั้งในแต่ละปี

3.กวดขันมาตรการตรวจสต๊อกยา ป้องกันการฉ้อโกงในระบบ และ 4.วิจัยพฤติกรรมการเบี่ยงเบนยาในครัวเรือนหรือชุมชน หมายถึงผู้ป่วยที่ต้องใช้ยา แต่นำยาบางส่วนไปแบ่งหรือขายให้คนรอบตัว ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีบริบทที่แตกต่างกัน จึงควรมีการวิจัยพฤติกรรม เพื่อให้ได้มาตรการการป้องกันที่เหมาะสมที่สุด โดยในส่วนของประเทศไทยยังขาดข้อมูลความชุกของพฤติกรรมดังกล่าว

“ต้องมีการสำรวจตรงนี้ แล้วก็หามาตรการที่มาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ให้ครบวงจรมากขึ้น”วิทย์ กล่าวในท้ายที่สุด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:22 น. พท.มั่นใจ 3 เดือนเห็นผลชัดเจน ปราบ'อาชญากรรม-ยาเสพติด'
16:12 น. 'นักการเมือง'ครอบงำ?! ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย
16:09 น. 'ดิว อริสรา'ลุยหาเงินใช้หนี้ เปิดไลฟ์ขายของ 2 วันยอดทะลุ 2 ล้าน
16:01 น. (คลิป) อดีตฝ่ายแค้น'พรรคส้ม'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ'ทักษิณ'ไม่ใช่'ทหาร'
15:50 น. (คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม'พรรคส้ม' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
ดูทั้งหมด
การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติต้องมีกระดูกสันหลัง
บุคคลแนวหน้า : 13 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-ความเก่ง
บทบรรณาธิการ : 13 กรกฎาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'นักการเมือง'ครอบงำ?! ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย

'ดิว อริสรา'ลุยหาเงินใช้หนี้ เปิดไลฟ์ขายของ 2 วันยอดทะลุ 2 ล้าน

เลย์ออฟครั้งใหญ่! 'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน

รวบหนุ่มไทยมุดชายแดน! ขายบัญชีม้าให้แก๊งคอลฯ พบมีคดีออนไลน์17คดี

รัฐผ่อนปรนรถบัสสองชั้นวิ่ง‘6 เส้นทางเสี่ยง’ได้180วัน เริ่ม 21 ก.ค.

เกมเศรษฐี’เชลซี’vs‘เปแอสเช’:ใครจะครองแชมป์ทีมโลก2025

  • Breaking News
  • พท.มั่นใจ 3 เดือนเห็นผลชัดเจน ปราบ\'อาชญากรรม-ยาเสพติด\' พท.มั่นใจ 3 เดือนเห็นผลชัดเจน ปราบ'อาชญากรรม-ยาเสพติด'
  • \'นักการเมือง\'ครอบงำ?! ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย 'นักการเมือง'ครอบงำ?! ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย
  • \'ดิว อริสรา\'ลุยหาเงินใช้หนี้ เปิดไลฟ์ขายของ 2 วันยอดทะลุ 2 ล้าน 'ดิว อริสรา'ลุยหาเงินใช้หนี้ เปิดไลฟ์ขายของ 2 วันยอดทะลุ 2 ล้าน
  • (คลิป) อดีตฝ่ายแค้น\'พรรคส้ม\'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ\'ทักษิณ\'ไม่ใช่\'ทหาร\' (คลิป) อดีตฝ่ายแค้น'พรรคส้ม'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ'ทักษิณ'ไม่ใช่'ทหาร'
  • (คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม\'พรรคส้ม\' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112 (คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม'พรรคส้ม' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว

12 ก.ค. 2568

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน

5 ก.ค. 2568

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved