วันพุธ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / มองมุมหมอ
มองมุมหมอ

มองมุมหมอ

นายแพทย์ปิยะ เนตรวิเชียร
วันอาทิตย์ ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565, 20.01 น.

โอมิครอนในเมืองไทย ปาฏิหาริย์หรืออย่างไรกันแน่

ดูทั้งหมด

  •  

เมืองไทยมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องคุ้มครอง ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์บ้านเมือง ภัยพิบัติ หรือโรคภัยไข้เจ็บระบาดต่างๆ ในที่สุดสถานการณ์ ที่ไม่ดีเหล่านั้น ก็จะผ่านพ้นไปได้ โดยไม่เกิดความเสียหายที่ใหญ่หลวงหลายคนอาจจะไม่เชื่อเรื่องอย่างนี้ แต่สำหรับคนที่ผ่านชีวิตมาแล้วมากกว่า 70 ปี รวมทั้งตัวผมเองด้วยผมเชื่อว่าหลายท่านจะมีความรู้สึกไม่ต่างไปจากผมมากนัก

การเกิดโรคระบาดจากไวรัส SARS-COV-2 ที่เริ่มต้นจากมณฑลอู่ฮั่น ประเทศจีน แล้วในที่สุดก็แพร่กระจายไปทั่วทั้งโลก โดยมีการกลายพันธุ์ของไวรัสอู่ฮั่นซึ่งเป็นสายพันธุ์เริ่มต้นไปอีกหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่ละสายพันธุ์ก็มีความรุนแรงที่แตกต่างกัน สายพันธุ์ล่าสุดที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของโลกในขณะนี้ คือสายพันธุ์ที่เรียกกันว่าโอมิครอน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น ขณะนี้ได้แพร่ระบาดไปมากกว่าค่อนโลกแล้ว โดยในแต่ละวันมีผู้ป่วยรายใหม่ ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตัวนี้นับเป็นล้านๆ คน ทั้งในทวีปอเมริกา ยุโรป เอเชีย แน่นอน รวมถึงทวีปต้นกำเนิดคือ แอฟริกาด้วย โดยไวรัสตัวนี้ได้สอดแทรกเข้ามาแทนที่ไวรัสสายพันธุ์เดลต้าที่เคยเป็นพระเอกในช่วงเกือบ 2 เดือนที่ผ่านมา ขึ้นมาเป็นสายพันธุ์ที่มีคนติดเชื้อมากที่สุดในแต่ละวันแล้ว


จำนวนผู้ป่วยที่เกิดจากการติดโรคโควิด-19 นั้น หากนับรวมทั้งโลกขณะนี้มีแล้วมากกว่า 325 ล้านราย และโรคนี้ได้คร่าชีวิตของผู้คนไปแล้วมากกว่า 5.5 ล้านราย ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดและเสียชีวิตมากที่สุดด้วยคือประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์ อาจจะมากที่สุดในโลกก็ว่าได้ และยังเป็นประเทศที่เป็นผู้พัฒนาและผลิตวัคซีนที่ใช้ต่อสู้กับโรคนี้ด้วยวิธีการใหม่ที่เรียกว่าเอ็มอาร์เอ็นเอเป็นประเทศแรกของโลกด้วย แต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ แต่กลับกลายเป็นว่าเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนได้ทำให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมากกว่าที่เคยเกิดจากการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าด้วยซ้ำไป ส่วนประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาวัคซีนชนิดไวรัลเวกเตอร์ ก็มีผู้ที่ติดเชื้อนี้และเสียชีวิตเป็นระดับต้นๆ ของโลกเช่นเดียวกัน ในขณะที่ประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ที่พัฒนาวัคซีนเชื้อตาย และเป็นวัคซีนชนิดแรกที่ถูกนำออกมาใช้ต่อสู้กับโรคโควิด-19 นี้กลับพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่เกิดขึ้นนั้นมีจำนวนน้อยกว่ารวมทั้งมีผู้เสียชีวิตน้อยกว่าประเทศที่ได้กล่าวมาแล้วด้วย โดยถึงขณะนี้มีการฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตาย คือ ซิโนแวคและซิโนฟาร์มไปแล้วมากกว่า 2,800 ล้านโดสให้กับประชากรซึ่งมีอยู่มากกว่า 1,400 ล้านคน โดยฉีดครบตามเกณฑ์แล้วมากกว่า 1,200 ล้านราย

ในส่วนของประเทศไทย นับตั้งแต่ผู้ป่วยรายแรกซึ่งเป็นชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันนี้ มีผู้ป่วยแล้วมากกว่า 2.3 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตเกือบ 2.2 หมื่นราย เป็นอัตราการเสียชีวิต ประมาณ 0.95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของทั้งโลก ซึ่งน่าจะนำมาวิเคราะห์ว่าเพราะเหตุใด ความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตในผู้ป่วยชาวไทย จึงน้อยกว่าหลายๆประเทศ ซึ่งหากประมวลจากสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้นั้น น่าจะมาจาก 3 ประเด็นดังนี้

ประเด็นแรกคือความตั้งใจของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ประเด็นที่ 2 คือจำนวนประชากร ที่ได้รับการฉีดวัคซีน

ประเด็นที่ 3 คือความเป็นคนไทย ที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม

ในเรื่องความตั้งใจของรัฐบาลนั้น ภายหลังจากเริ่มมีการตรวจพบว่า มีการเกิดโรคโควิด-19 ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดระบบดูแลด้านสุขภาพของประชากร ก็ได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังและใส่ใจโดยตลอด โดยได้ขานรับนโยบายของรัฐบาล ที่ได้มีการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจที่มีชื่อว่า ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือที่มีชื่อย่อว่า ศบค. โดยทันที ถือว่าเป็นมือไม้ที่สำคัญยิ่งและได้สอดประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอีกหลายภาคส่วน ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนเช่นเดียวกัน คือจัดการป้องกันและควบคุมการระบาดให้ได้โดยเร็วที่สุด รัฐบาลได้ทุ่มเททรัพยากรจำนวนมาก เพื่อบริหารจัดการในเรื่องนี้ ทั้งในเรื่องของการจัดหาวัคซีนเพื่อฉีดให้กับประชาชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การตั้งงบประมาณพิเศษเพื่อใช้เป็นค่าตรวจรักษาประชากรที่เจ็บป่วยจากโรคนี้ในหลายๆ รูปแบบ และเนื่องจากโรคนี้ได้ก่อให้เกิดผลกระทบ อย่างรุนแรงทางด้านเศรษฐกิจ ก็ได้มีการสนับสนุนและช่วยเหลือประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีรายได้น้อยจนถึงรายได้ปานกลางหลายๆ โครงการด้วยกัน ทำให้ประชากรส่วนใหญ่เห็นความตั้งใจจริงของรัฐบาลชุดนี้

ในเรื่องของจำนวนประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีน จากการที่ภาครัฐได้มีการจัดหาวัคซีน ซึ่งถึงแม้ในระยะแรกๆ จะมีปัญหายุ่งยากพอสมควร จนดูเหมือนว่า การจัดหาวัคซีนเข้ามาฉีดให้กับประชากรจะล่าช้าไปบ้าง แต่ในที่สุดก็สามารถดำเนินการจัดหาวัคซีนหลายชนิดมาฉีดให้กับประชาชนได้ โดยมีการจัดลำดับให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงและผู้ที่ทำงานด่านหน้า อันได้แก่ แพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรักษาพยาบาล ได้รับการฉีดวัคซีนเป็นกลุ่มแรกๆ และมีการขยายผลออกไปยังประชากรกลุ่มอื่นๆ จนครบถ้วนทุกกลุ่ม และยังได้รับแรงเสริมจากการจัดหาวัคซีนทางเลือกของภาคเอกชนให้กับประชาชน โดยมีสมาคมโรงพยาบาลเอกชนเป็นโต้โผอีกด้วย จนสามารถจะพูดได้ว่าประเทศไทยไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัคซีนอีกแล้ว โดยขณะนี้มีผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนทุกกลุ่มประชากร โดยฉีดเป็นเข็มที่ 1 ไปแล้วมากกว่า 52 ล้านโดส ฉีดเข็มที่ 2 ไปแล้วมากกว่า 47 ล้านโดส และฉีดเข็มที่ 3 ซึ่งเป็นเข็มกระตุ้นแล้ว มากกว่า 9 ล้านโดส คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ประมาณ 72, 66 และ 13 ตามลำดับ รวมจำนวนโดสที่ฉีดไปแล้วประมาณ 110 ล้านโดส ครอบคลุมประชากรเกินกว่า 70% ซึ่งตามทฤษฎีระบาดวิทยาเชื่อว่าทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ระดับประเทศได้แล้ว

ประเด็นสุดท้าย คือ ความเป็นคนไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงาม มีความรักความสามัคคีในหมู่ประชากรส่วนใหญ่ ดังนั้น เมื่อได้รับการสื่อสารจากภาครัฐให้ทราบถึงภยันตรายดังกล่าวจากโรคนี้และได้ขอให้ ประชาชนทุกคนให้ความร่วมมือในการดำเนินชีวิตตามแนวชีวิตวิถีใหม่ อันได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย การอยู่ห่างจากผู้คนที่ไม่รู้จัก และการล้างมือบ่อยๆ ตลอดจนให้ความร่วมมือตามมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐได้กำหนดไว้ ซึ่งตั้งแต่เมื่อมีการระบาดในระยะแรกๆ จนต้องการล็อกดาวน์พื้นที่ต่างๆ ก็ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง จนทำให้รัฐบาลเชื่อมั่นในประชาชน และผ่อนคลายมาตรการต่างๆลงเรื่อยๆ จนเกือบจะเข้าสู่ภาวะปกติ ถึงแม้ว่าขณะนี้จะมีการระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนอย่างง่ายและรวดเร็ว ต้องหันกลับไปใช้มาตรการบางประการอีกครั้งหนึ่ง ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

หันกลับมาดูจำนวนของผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ตั้งแต่มีการระบาดของเชื้อกลายพันธุ์โอมิครอนในประเทศไทยนั้น โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดซึ่งรวมทั้งจากสายพันธุ์เดลต้าด้วยประมาณ 80,000 ราย โดยในแต่ละวันมีผู้ติดเชื้อซึ่งในระยะเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 3,000 รายต่อวันเท่านั้น แต่ก็ขยับขึ้นไปอย่างรวดเร็วถึงระดับ 8,000 รายต่อวัน ทำให้มีการคาดการณ์ว่าการระบาดของไวรัสโอมิครอนที่เกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็วนั้น และมีจำนวนผู้ติดเชื้อหลายหมื่นรายต่อวันในอีกไม่นานนัก แต่การณ์กลับปรากฏว่า ตัวเลขของผู้ติดเชื้อรายใหม่คงอยู่ที่ระดับตัวเลข 7,000-8,000 ราย มาหลายวันแล้ว และจำนวนผู้ที่เสียชีวิตแต่ละวันก็น้อยกว่า 20 ราย มาเป็นระยะเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ และเหลือเพียง 9 ราย เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะเกิดจากการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าตัวเดิม หากตัวเลขต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับนี้ โดยมีแนวโน้มว่าจะเริ่มลดลงได้ด้วยซ้ำ ก็เป็นเรื่องที่แปลกและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่าเป็นผลตามการวิเคราะห์ที่ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้น หรือมีส่วนร่วมจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องคุ้มครองเมืองไทยตามความเชื่อของเราหรือไม่

คาดว่าเมื่อถึงปลายเดือนมกราคมนี้ รัฐบาลน่าจะนำเรื่องของการระงับการเดินทางของชาวต่างชาติ
ที่เข้าสู่ประเทศไทยตามแนวทาง Test & Go และแซนด์บ็อกซ์กลับมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งซึ่งหากว่าจำนวนผู้ป่วยรายใหม่จากโรคนี้เริ่มลดลงให้เห็นชัดเจน ก็คงจะได้มีการผ่อนปรนให้มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ต่อไป อันจะทำให้นักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีอีกด้านหนึ่งในการนำรายได้จำนวนมหาศาลกลับมาสู่ประเทศไทยเพื่อที่จะช่วยพยุงฐานะทางเศรษฐกิจ นอกเหนือไปจากการส่งสินค้าออกหลายอย่าง ซึ่งยังเป็นส่วนสำคัญเช่นกันที่ทำให้รายได้มวลรวมของประเทศไทย ไม่ลดต่ำลงอย่างมากมายนัก และจะทำให้วิถีชีวิตของผู้คนทั่วไปกลับมาสู่สภาพใกล้เคียงปกติมากขึ้น

รัฐบาลได้เร่งรณรงค์เรียกร้องให้ประชาชนที่ได้รับวัคซีนยังไม่ครบโดส ให้เข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบถ้วนโดยเร็ว รวมทั้งการที่จะต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่มเติม เพื่อให้การสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายอยู่ในระดับสูงตลอดเวลา อันจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่ร้ายแรงหากมีการติดเชื้อขึ้น รวมทั้งรอดพ้นจากการเสียชีวิตด้วย โดยขณะนี้
ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเกือบทุกจังหวัด ส่วนราชการที่รับผิดชอบอยู่ได้ดำเนินการจัดให้มีการฉีดวัคซีนทั้งในเชิงรับและเชิงรุก ให้กับประชาชนอย่างเข้มแข็งแล้ว และในบางพื้นที่ประชาชนยังมีโอกาสเลือกชนิดของวัคซีน แต่เป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์ได้อีกด้วย นอกเหนือจากเรื่องการที่จะเริ่มฉีดวัคซีนให้กับเยาวชนอายุตั้งแต่ 5 ถึง 11 ปี ซึ่งน่าจะกระทำได้ในเดือนกุมภาพันธ์นี้เป็นต้นไป

มาเถอะครับ มารับการฉีดวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ที่ระบุไว้รวมทั้งการฉีดเข็มกระตุ้นตามระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง สังคมโดยรอบตัวท่านและประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวมด้วย

นายแพทย์ปิยะ เนตรวิเชียร

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
07:55 น. โควิดไทย ทรงตัว!เสียชีวิต33ราย ติดเชื้อขยับขึ้น5,013ราย
07:04 น. ‘ภาคเหนือ- อีสาน- ออก’ ฝนตกหนักบางแห่ง อันดามันคลื่นสูง 2 เมตร
06:45 น. ไฟเขียวกลางมิ.ย. ถอดหน้ากากได้ในพื้นที่โล่งแจ้ง ยกเว้น3กรณีต้องสวมใส่แมส
06:30 น. สธ.ถกนัดแรกรับมือ‘ฝีดาษลิง’ เพิ่มด่านคัดกรอง คุมเข้มคนมาจาก17ประเทศเสี่ยง
06:30 น. 'บิ๊กตู่'ยังกังขา!! ถามกลางวงข้าว ครม.นโยบายผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ ทำได้จริงแค่ไหน?
ดูทั้งหมด
ยิปซี 12 นักษัตร พยากรณ์ ระหว่างวันที่ 22-28 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
เตะตัดขา‘ชัชชาติ’เริ่มแล้ว!ระวังสุมไฟแค้นในใจปชช. เดี๋ยวรู้เอง
เอวดีระวังตกงาน! วิจารณ์สนั่นพนง.สาว โดดเหยียบเคาน์เตอร์เต้นยั่วๆ
ตามรอยธรรม! พบ'พระป่า'ห่มจีวรจากเศษผ้าย้อมเปลือกไม้ ไม่ฉันเนื้อสัตว์-ไม่รับปัจจัย
ปชป.ชนะขาดลอย! 'สจ.เส็ง'ซิวเก้าอี้ส.ส.เลือกตั้งซ่อมเขต 3 ราชบุรี
ดูทั้งหมด
บทพิสูจน์ครั้งสำคัญของ กสทช.
30 ปี เหตุการณ์พฤษภาทมิฬรำลึก
ชัยชนะของความเปลี่ยนแปลง
ชนะให้ได้ และแพ้ให้เป็น = เดิมพัน ‘สลิ่ม’
มองโลกบ้าง อย่ามองแค่เมืองไทย และก็ขอข่าวมีสาระด้วย
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

นักการทูตรัสเซียประจำยูเอ็น ยื่นใบลาออก ประท้วงสงครามในยูเครน

แตกหัก! 'บิ๊กน้อย'ไม่ทน ประกาศลาออกหน.เศรษฐกิจไทย หลังถูก 15 กก.บห.กดดัน

ส่องเลขหางประทัด! พิธีอัญเชิญองค์พ่อ'พระพิฆเนศ' ประดิษฐานหน้าท้าวเวสฯ

สธ.ดีเดย์กลางมิ.ย.นำร่องบางพื้นที่‘ถอดหน้ากาก’ได้ ยกเว้น 3 กรณี

เปิดรายชื่อ 15 ก.ก.บห.เศรษฐกิจไทยก๊วน'ธรรมนัส'เปิดเกมล้างไพ่ไล่'บิ๊กน้อย'

'นั่งกระโหย่ง' ไหว้พระแบบสมัยโบราณค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคมไทย

  • Breaking News
  • โควิดไทย ทรงตัว!เสียชีวิต33ราย ติดเชื้อขยับขึ้น5,013ราย โควิดไทย ทรงตัว!เสียชีวิต33ราย ติดเชื้อขยับขึ้น5,013ราย
  • ‘ภาคเหนือ- อีสาน- ออก’ ฝนตกหนักบางแห่ง อันดามันคลื่นสูง 2 เมตร ‘ภาคเหนือ- อีสาน- ออก’ ฝนตกหนักบางแห่ง อันดามันคลื่นสูง 2 เมตร
  • ไฟเขียวกลางมิ.ย. ถอดหน้ากากได้ในพื้นที่โล่งแจ้ง  ยกเว้น3กรณีต้องสวมใส่แมส ไฟเขียวกลางมิ.ย. ถอดหน้ากากได้ในพื้นที่โล่งแจ้ง ยกเว้น3กรณีต้องสวมใส่แมส
  • สธ.ถกนัดแรกรับมือ‘ฝีดาษลิง’  เพิ่มด่านคัดกรอง  คุมเข้มคนมาจาก17ประเทศเสี่ยง สธ.ถกนัดแรกรับมือ‘ฝีดาษลิง’ เพิ่มด่านคัดกรอง คุมเข้มคนมาจาก17ประเทศเสี่ยง
  • \'บิ๊กตู่\'ยังกังขา!! ถามกลางวงข้าว ครม.นโยบายผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ ทำได้จริงแค่ไหน? 'บิ๊กตู่'ยังกังขา!! ถามกลางวงข้าว ครม.นโยบายผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ ทำได้จริงแค่ไหน?
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เตรียมตัวรับโควิด-19  เป็นโรคประจำถิ่นกันเถอะครับ

เตรียมตัวรับโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นกันเถอะครับ

23 พ.ค. 2565

MIS-C โรคอันตรายในเด็ก  หลังจากติดเชื้อโควิด-19

MIS-C โรคอันตรายในเด็ก หลังจากติดเชื้อโควิด-19

16 พ.ค. 2565

มารู้จักภาวะที่เรียกว่าลองโควิด (Long COVID) กันนะครับ

มารู้จักภาวะที่เรียกว่าลองโควิด (Long COVID) กันนะครับ

9 พ.ค. 2565

การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก

การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก

2 พ.ค. 2565

เปิดประเทศเพื่อรองรับโควิด-19  เป็นโรคประจำถิ่น

เปิดประเทศเพื่อรองรับโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น

25 เม.ย. 2565

หวังว่าโควิด-19 จะไม่กลับมาระบาดใหญ่

หวังว่าโควิด-19 จะไม่กลับมาระบาดใหญ่

18 เม.ย. 2565

กักตัวรักษาโควิด-19 ที่บ้าน  กักกันจริงหรือเปล่า

กักตัวรักษาโควิด-19 ที่บ้าน กักกันจริงหรือเปล่า

11 เม.ย. 2565

สร้างสมดุลการฟื้นฟูเศรษฐกิจ  กับการระบาดของโรคโควิด-19

สร้างสมดุลการฟื้นฟูเศรษฐกิจ กับการระบาดของโรคโควิด-19

4 เม.ย. 2565

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved