วันศุกร์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / มองมุมหมอ
มองมุมหมอ

มองมุมหมอ

นายแพทย์ปิยะ เนตรวิเชียร
วันจันทร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.

วัคซีนเข็มกระตุ้นและแนวชีวิตวิถีใหม่ยังเป็นสิ่งจำเป็น

ดูทั้งหมด

  •  

ก็ผ่านมาแล้วนะครับสำหรับวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้เคยมีการออกข่าวเอาไว้ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาว่า จะเป็นวันที่มีการประกาศว่าโรคโควิด-19 ในประเทศไทยได้เข้าสู่ระยะที่เรียกว่า Endemic หรือโรคประจำถิ่น ซึ่งหมายถึงโรคระบาดที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติในพื้นที่ ตามฤดูกาล โดยเป็นโรคที่สามารถจะป้องกันและควบคุมได้ แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีการออกประกาศอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด โดยช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการพูดถึงการเปลี่ยนผ่านสถานะของโรคโควิด-19 จาก Pandemic หรือการระบาดใหญ่ทั่วโลก ให้มาเป็นระยะ Post-pandemic หรือระยะหลังการระบาดใหญ่ไปก่อน

เหตุผลของการที่ไม่มีการออกประกาศดังกล่าวน่าจะเนื่องมาจากการที่แม้แต่องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ก็ยังไม่มีการออกประกาศให้โรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นแต่อย่างใด สำหรับประเทศไทย เกณฑ์ที่ ศบค.จะใช้ในการประกาศว่าโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นนั้นจะต้องเป็นไปดังนี้


1.จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละวันต้องไม่เกิน 10,000 ราย

2.อัตราการป่วยเสียชีวิต น้อยกว่า 0.1%

3.ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล น้อยกว่า 10%

4.กลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยรุนแรงได้รับวัคซีน อย่างน้อย 2 โดส มากกว่า 80% และประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง ควรจะได้รับการฉีดเข็มกระตุ้นแล้วไม่น้อยกว่า 60% ซึ่งจะเห็นจากข้อมูลที่มีอยู่ว่าเรายังไม่ผ่านเกณฑ์ครบทุกข้อ จึงต้องชะลอเรื่องการประกาศออกไปก่อน

เมื่อกลับมาดูเรื่องข้อมูลของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ตลอดจนผู้เสียชีวิตในประเทศไทยนั้น ขณะนี้จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข จะพบว่าจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละวัน เริ่มกลับขึ้นมาอยู่ที่ระดับมากกว่า 2,500 รายอีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนผู้เสียชีวิตไม่เกิน 20 รายต่อวันก็ตาม เนื่องจากได้มีการประกาศก่อนหน้านี้แล้วว่าจะนับจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เฉพาะในส่วนของผู้ที่ได้ถูกรับไว้รักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น จึงทำให้ข้อมูลที่ประกาศต่อสาธารณชนอาจจะไม่ใช่เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง

เนื่องจากตามสภาพความเป็นจริงในขณะนี้ พบว่าในโรงพยาบาลเกือบจะทุกแห่งโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดบางที่ มีจำนวนผู้ที่มีอาการกลับเข้ามาเพื่อขอรับการตรวจด้วยชุดตรวจ ATK หรือ RT-PCR มากขึ้นอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลาร่วม 2 สัปดาห์แล้ว ทั้งๆ ที่เป็นการเข้ารับการรักษาตามสิทธิพื้นฐานในระบบบริการสุขภาพของแต่ละคนก็ตาม ซึ่งถึงแม้จะให้ผลที่ยืนยันว่ามีการติดเชื้อ แต่หากไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการมากก็จะได้รับคำแนะนำให้กักตัวพักรักษาแบบเจอ-จ่าย-จบ หรืออยู่ที่บ้าน ตามแนวทางใหม่ที่มีการประกาศใช้ หรือหากเป็นผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมก็ยังอาจจะเข้ารับการรักษาซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกักตัวที่เรียกว่าเป็น Hotel Isolation ได้อยู่ ซึ่งในกรณีที่กล่าวมานี้จะไม่ถูกนำไปนับรวมในจำนวนผู้ป่วยรายใหม่แต่ละวันในรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเชื่อกันว่าผู้ที่ตรวจแล้วยืนยันว่าติดเชื้อในปัจจุบันนี้น่าจะมีมากถึงวันละ 20,000 รายก็ตาม

หากนำเรื่องนี้มาพิจารณาตามเหตุและผลที่อาจจะเป็น การที่ไม่มีการประกาศจำนวนผู้ที่ติดเชื้อจากที่ตรวจพบและไม่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาล จะทำให้ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่ถูกสื่อออกไปสู่สาธารณะนั้น สร้างความเข้าใจผิดได้ว่าสถานการณ์การระบาดขณะนี้ไม่มีความน่าวิตกกังวลอีกต่อไปแล้ว ร่วมกับการที่มีการประกาศยกเลิกการสวมหน้ากากอนามัย จะทำให้ประชาชนส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีจำนวนพอสมควรเกิดความประมาทในการดำเนินชีวิต ทำให้การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังมีเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนกระจายอยู่ทั่วไปกลับมาระบาดใหม่ได้อีกรอบหนึ่ง

และขณะนี้ก็มีความชัดเจนแล้วว่าได้มีการระบาดของเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า BA.4 และ BA.5 ในคนไทยแล้วจำนวนไม่น้อยร่วมอยู่ด้วย และเชื้อตัวนี้ก็มีการระบาดได้อย่างรวดเร็ว และยังทำให้เกิดอาการรุนแรงได้โดยเฉพาะในผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุเกินกว่า 60 ปี หรือผู้ที่อยู่ในกลุ่ม 608 ก็ตาม นอกจากนี้ยังพบว่ามีประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มดังกล่าวติดเชื้อนี้และมีอาการพอสมควร เช่นลงปอดได้ด้วย จึงเป็นเรื่องที่ภาครัฐอาจจะต้องนำเรื่องนี้กลับมาทบทวนเพื่อใช้ในการวางแผนบริหารจัดการโรคโควิด-19ที่เคยดีอยู่แล้วให้ดีต่อไป

ในส่วนของประชาชนทั่วไปนั้น จากการผ่อนปรนมาตรการต่างๆ เพื่อจะทำให้ธุรกิจทุกประเภทดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้านอาหาร สถานบันเทิง ผับและบาร์ สถานอาบอบนวด ห้างสรรพสินค้าและอื่นๆ ได้อย่างที่เรียกว่าเสรี รวมทั้งการอนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ในสถานบันเทิงต่างๆ จนถึงเวลา 02.00 น. นั้น ซึ่งรวมทั้งการปลดมาตรการที่ให้มีการสวมหน้ากากอนามัยเกือบจะตลอดเวลา เพียงแต่มีการแนะนำให้ผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงยังคงต้องสวมหน้ากากอยู่เหมือนปกติที่ผ่านมา ตลอดจนได้ผ่อนปรนมาตรการทั้งหมดในการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยได้โดยสะดวก จึงเป็นเรื่องที่อาจจะทำให้เกิดการระบาดระลอกใหม่กลับมาอีกครั้งหนึ่ง

แต่ไม่ว่าสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จะถูกปรับเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นหรือไม่ หรือแม้จะมีสัญญาณบางอย่างที่บ่งชี้ว่าอาจจะมีการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่เกิดขึ้นจากเชื้อตัวใหม่ก็ตามสิ่งหนึ่งที่ประชาชนทุกคนจะต้องปฏิบัติต่อไปอย่างต่อเนื่อง คือจะต้องรู้จักการป้องกันตัวเอง

โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด-19 ให้เกิดขึ้นในร่างกายโดยมีปริมาณของภูมิคุ้มกันมากเพียงพออยู่เกือบจะตลอดเวลา เพราะสิ่งนี้อาจจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ที่แน่นอนก็คือจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงได้อย่างแน่นอน เมื่อดูจากตัวเลขของผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจะพบว่า มีประชาชนที่ ควรได้รับวัคซีน ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 1 เข็ม อยู่ที่ประมาณ 82 เปอร์เซ็นต์ ได้รับการฉีด 2 เข็มแล้วอยู่ที่ประมาณ 76 เปอร์เซ็นต์ และได้รับการฉีดเข็มที่ 3หรือเข็ม Booster แล้วอยู่ที่ประมาณ 42 เปอร์เซ็นต์เศษจึงขอเรียนว่า สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนเพียง 1 หรือ 2 เข็มตลอดจนผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 ควรจะต้องรีบเร่งในการเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบ 3 เข็มเป็นอย่างน้อย และเนื่องจากขณะนี้มีข้อมูลเชิงประจักษ์แล้วว่าไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดใดก็ตามที่ทำให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันได้นั้น ระดับภูมิคุ้มกันที่ถูกสร้างขึ้นจะอยู่ในร่างกายโดยมีปริมาณพอเพียงต่อการป้องกันอาการรุนแรงได้ไม่เกิน 4 เดือน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งว่า

สำหรับผู้ที่ได้วัคซีนแม้จะครบ 3 เข็มมาแล้ว เมื่อครบระยะเวลา 4 เดือน ก็ควรจะเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 4 โดยมีข้อมูลว่าวัคซีนเข็มที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าคือวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาก็ตาม ทั้งนี้ไม่มีความแตกต่างในเรื่องประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญส่วนวัคซีนอีกชนิดหนึ่งที่อาจจะใช้เป็นเข็มที่ 4 ได้ดีคือวัคซีนชนิดโปรตีนเบส ที่เริ่มมี การนำมาใช้ในประเทศไทยบ้างแล้วจากการบริจาค และเชื่อว่าจะมีการนำมาใช้มากขึ้นเนื่องจากเป็นวัคซีนที่อาจจะมีความปลอดภัยมากกว่าวัคซีนอื่นๆ

จนถึงขณะนี้ประเทศไทยได้มีการอนุญาตให้มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเยาวชนตั้งแต่อายุ 5 ปีขึ้นไปได้แล้วโดยวัคซีนที่เริ่มต้นเข็มที่ 1 อาจจะเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายก็ได้ ส่วนเข็มที่ 2 นั้นควรจะเป็นวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ หรือจะฉีดทั้ง 2 เข็มเป็นวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ ก็มีประสิทธิภาพดีเช่นเดียวกัน ที่ยังมีปัญหาอยู่คือเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ขวบ และมากกว่านี้ที่ขณะนี้พบว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มมากขึ้นและทำให้เกิดอาการพอสมควร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลและห่วงใย จึงเป็นเรื่องที่กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานอาหารและยา จะต้องรีบเร่งดำเนินการติดตามการขออนุมัติใช้วัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอทั้งของไฟเซอร์และโมเดอร์นาในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ถึง 5 ปี จากคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งหากได้รับการอนุมัติแล้วเมื่อใดก็น่าจะมีเหตุผลเพียงพอที่จะใช้วัคซีนดังกล่าวมาฉีดให้เด็กของเราซึ่งมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปได้เช่นกันซึ่งเชื่อว่าบริษัทผู้ผลิตได้มีการพัฒนาวัคซีนทั้ง 2 ยี่ห้อเพื่อใช้ในเด็กช่วงอายุดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว

ในอนาคตการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 จะต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของทุกคน เช่นเดียวกับการฉีดวัคซีนอื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ว่าประชาชนทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนนี้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเชื่อว่าการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในอนาคตจะได้ผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และตรงกับสายพันธุ์ที่มีการระบาด ซึ่งจะทำให้การป้องกันการติดเชื้อและการมีอาการเกิดขึ้นได้ผลกว่าเดิม ซึ่งอาจจะเป็นวัคซีนที่ฉีดเพียงแค่ปีละ 1 ครั้งก็เป็นได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องติดตามกันต่อไป และน่าจะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก

ดังที่กล่าวแล้วว่า วัคซีนช่วยป้องกันอาการรุนแรงได้ แต่การป้องกันการรับเชื้อโรคเข้ามาสู่ร่างกายด้วยการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างระหว่างผู้คนและการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์บ่อยๆ ยังเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมหาศาลในการป้องกันตัวเอง เพราะถึงอย่างไรการระบาดของโรคโควิด-19ในขณะนี้ก็ยังไม่ได้ลดน้อยลงจนถึงกับระดับที่จะเรียกได้ว่าเป็นโรคประจำถิ่น การป้องกันตัวเองจึงต้องอาศัยทั้งการฉีดวัคซีนให้ครบและฉีดเพิ่มเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ต่อเนื่องหลังจากเข็มกระตุ้นที่ 3 แล้วอย่างน้อย 4 เดือน การดำเนินชีวิตตามแนวชีวิตวิถีใหม่ยังเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการลดโอกาสของเชื้อไวรัสที่จะเข้าสู่ร่างกาย จึงจะต้องถูกนำมาใช้เป็นแนวทางดำเนินชีวิตแบบปกติอย่างเข้มแข็งและตลอดไป

นายแพทย์ปิยะ เนตรวิเชียร

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:30 น. นายกฯ-ครม.ทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
09:18 น. ‘ยะลา’ระอุ!กราดยิงหน้าผับดังเจ็บ-เสียชีวิต จับมือปืนทันควัน
08:53 น. ‘รมว.แรงงาน’ยันรัฐบาลปรับขึ้น‘ค่าจ้างขั้นต่ำ’แน่ แย้มตัวเลข-คาดชงครม.เดือนก.ย.
08:37 น. สะอึก!นักเขียนซีไรต์ฉะนักการเมือง‘เปรตในร่างคน’ ทรยศหักหลัง แย่งชิงอำนาจ
08:21 น. นายกฯขอบคุณสถาบันการเงินดูแลลูกหนี้ให้ปรับตัวได้ หนุนฟื้นเศรษฐกิจ
ดูทั้งหมด
‘มท.1’ชง‘ครม.’แต่งตั้ง‘อธิบดี-รองปลัด-ผู้ว่าฯ-ผู้ตรวจฯ’ล็อตใหญ่
หมอแนะเคล็ดลับออกกำลังกายอย่างไร ให้หัวใจแข็งแรง-เพิ่มภูมิต้านทาน
เลคเชอร์ 7 ข้อ!ใครคือนายกรัฐมนตรี หลัง‘บิ๊กตู่’พ้นตำแหน่ง 24 สิงหา 65
ยิปซี 12 นักษัตร พยากรณ์ ระหว่างวันที่ 7 - 13 สิงหาคม 2565
โดนแล้ว! ผกก.บางพลัดสั่งย้าย'พ.ต.ต.'ฉาวคดีอนาจารดาราสาวลูกครึ่ง
ดูทั้งหมด
อาณาจักรโล่เงิน : 12 สิงหาคม 2565
บุคคลแนวหน้า : 12 สิงหาคม 2565
แก้รธน.บัตรเลือกตั้งสองใบหาร500ล่มในสภา ถือเป็นชัยชนะของคนแพ้
แม่
ภาษีหุ้นชินกับตระกูลชิน
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Q4ศก.เริ่มฟื้นตัวชัดเจน ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค-หอการค้าก.ค.ขยับ

บางจากฟันรายได้เพิ่ม80% ครึ่งปีแรกทำเงินกว่า1.52แสนล้าน

‘พาณิชย์’ชี้ช่อง ‘อาหารมังสวิรัติ’ สินค้าส่งออกดาวรุ่ง เจาะตลาดไต้หวัน

‘ลมหายใจเพื่อเมือง’ โครงการ ‘ปตท.’ หนุนภารกิจ ‘กทม.’ เพิ่มพื้นที่สีเขียว - ดูแลคุณภาพชีวิตคนกรุงเทพฯ

‘ปตท.’ ปรับวิสัยทัศน์มุ่ง ‘พลังงานอนาคต’ ชูกลยุทธ์ ‘3P’ ขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย ‘Net Zero’

วิกฤตสภาไทย! องค์ประชุมไม่ครบ'ล่มซ้ำซาก' เหลือสมาชิกโหรงเหรงแค่ 124 คน

  • Breaking News
  • นายกฯ-ครม.ทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง นายกฯ-ครม.ทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  • ‘ยะลา’ระอุ!กราดยิงหน้าผับดังเจ็บ-เสียชีวิต จับมือปืนทันควัน ‘ยะลา’ระอุ!กราดยิงหน้าผับดังเจ็บ-เสียชีวิต จับมือปืนทันควัน
  • ‘รมว.แรงงาน’ยันรัฐบาลปรับขึ้น‘ค่าจ้างขั้นต่ำ’แน่ แย้มตัวเลข-คาดชงครม.เดือนก.ย. ‘รมว.แรงงาน’ยันรัฐบาลปรับขึ้น‘ค่าจ้างขั้นต่ำ’แน่ แย้มตัวเลข-คาดชงครม.เดือนก.ย.
  • สะอึก!นักเขียนซีไรต์ฉะนักการเมือง‘เปรตในร่างคน’ ทรยศหักหลัง แย่งชิงอำนาจ สะอึก!นักเขียนซีไรต์ฉะนักการเมือง‘เปรตในร่างคน’ ทรยศหักหลัง แย่งชิงอำนาจ
  • นายกฯขอบคุณสถาบันการเงินดูแลลูกหนี้ให้ปรับตัวได้ หนุนฟื้นเศรษฐกิจ นายกฯขอบคุณสถาบันการเงินดูแลลูกหนี้ให้ปรับตัวได้ หนุนฟื้นเศรษฐกิจ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พบแพทย์ก่อนการรักษา ถ้าติดเชื้อโควิด-19

พบแพทย์ก่อนการรักษา ถ้าติดเชื้อโควิด-19

8 ส.ค. 2565

ฝีดาษลิง โรคระบาดใหม่ที่ควรตระหนัก แต่อย่าหวั่นวิตก

ฝีดาษลิง โรคระบาดใหม่ที่ควรตระหนัก แต่อย่าหวั่นวิตก

1 ส.ค. 2565

โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นโดยปริยาย

โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นโดยปริยาย

25 ก.ค. 2565

มารู้จักยาที่ใช้รักษาโควิด-19

มารู้จักยาที่ใช้รักษาโควิด-19

18 ก.ค. 2565

โควิด-19 ระลอกใหม่มาแน่นอน

โควิด-19 ระลอกใหม่มาแน่นอน

11 ก.ค. 2565

วัคซีนเข็มกระตุ้นและแนวชีวิตวิถีใหม่ยังเป็นสิ่งจำเป็น

วัคซีนเข็มกระตุ้นและแนวชีวิตวิถีใหม่ยังเป็นสิ่งจำเป็น

4 ก.ค. 2565

ใช้แนวทางดำเนินชีวิตวิถีใหม่  ให้เป็นวิถีชีวิตแบบปกติ

ใช้แนวทางดำเนินชีวิตวิถีใหม่ ให้เป็นวิถีชีวิตแบบปกติ

27 มิ.ย. 2565

บทสุดท้ายของโควิด-19 กำลังจะมาถึง

บทสุดท้ายของโควิด-19 กำลังจะมาถึง

20 มิ.ย. 2565

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved