วันพุธ ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
‘ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน’ จากเป็นธรรมสู่ความยั่งยืน

ดูทั้งหมด

  •  

“ความยั่งยืน (Sustainability)” เป็นคำที่ประชาคมโลกให้ความสำคัญมากในระยะหลังๆ ดังที่องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ออกเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) จำนวน 17 ข้อเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกนำไปปฏิบัติให้บรรลุผลรวมถึงสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ได้ออกแนวปฏิบัติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (Business andHuman Rights) เพื่อให้ภาคธุรกิจดำเนินกิจการโดยไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งก็จะเชื่อมโยงกับประเด็นสิ่งแวดล้อม (เช่น สิทธิชุมชน) ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนด้วย

ในการประชุม Asia Inclusive & Responsible Business Forum (Asia-IRB) ซึ่งจัดโดยอ็อกแฟม อินเตอร์เนชั่นแนล (Oxfam International)ที่กรุงเทพฯ เมื่อช่วงปลายเดือน ก.พ. 2566 มีผู้นำภาคธุรกิจ กลุ่มประชาสังคมในทวีปเอเชีย และหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นๆ เข้าร่วมประชุมกว่า80 ราย มีการหารือเกี่ยวกับวิธีการที่ธุรกิจต่างๆ จะได้รับประโยชน์จากการจ่ายค่าจ้างที่เหมาะสม การส่งเสริมศักยภาพของผู้หญิง การมีส่วนร่วม และการปรับตัวเพื่อสร้างการผลิตและห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยที่สุด


จักรชัย โฉมทองดี องค์การอ็อกแฟม ประจำภูมิภาคเอเชีย เผยว่า บริษัทในเอเชียเริ่มตระหนักมากขึ้นถึงแรงผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมและความเป็นธรรมทางสังคมในระดับโลก แต่ก็ยังไม่เพียงพอ บริษัทต่างๆ ควรก้าวข้ามรูปแบบ CSR ลักษณะเดิมๆ แบบโครงการสั้นๆ แล้วจบไป หากแต่ควรผนวกรวมมิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นส่วนประกอบสำคัญของโมเดลทางธุรกิจ โดยงานประชุมนี้เน้นให้เห็นถึงวิธีการที่บริษัทเอกชนหลากหลายขนาดและรูปแบบ สามารถนำกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นความสำคัญกับมนุษย์และโลกมาใช้มากขึ้นโดยไม่กระทบกับผลประกอบการ

ปราชญ์ เกิดไพโรจน์ ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคด้านความยั่งยืน “ไทยยูเนี่ยน” บริษัทแปรรูปและส่งออกอาหารทะเลระดับโลก กล่าวว่า บริษัทได้รับประโยชน์จากความรู้ของภาคประชาสังคมในการสนับสนุนการตรวจสอบและการสร้างขีดความสามารถที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และยังได้ทำสัญญากับเรือประมงเพื่อส่งเสริมการใช้แรงงานที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย ซึ่งการทำงานร่วมกันเป็นพื้นฐานในการสร้างโมเดลธุรกิจที่มีส่วนร่วมและยั่งยืนจำเป็นต้องร่วมมือกับทุกคน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคมและลูกค้า

กุนธี กัน รองประธาน “AMRU Rice” ผู้ผลิตและส่งออกข้าวอินทรีย์รายใหญ่ของกัมพูชา กล่าวว่า บริษัทกำลังพยายามสร้างระบบนิเวศที่ทุกคนในห่วงโซ่อุปทานได้รับประโยชน์ มีการส่งเสริมผลประโยชน์ทางการค้าที่เป็นธรรมมากขึ้นสำหรับเกษตรกรผ่านการเป็นเจ้าของหุ้นโดยตรง โดยให้ราคาที่เป็นธรรม และค่าพรีเมียมสำหรับพืชผลผ่านข้อตกลงการจัดหา ทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคประชาสังคมเพื่อสนับสนุนความหลากหลายในการเพาะปลูกซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดทั้งปี ส่งเสริมเทคนิครับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพของภูมิอากาศให้กับเกษตรกรด้วย อาทิ การใช้โรงเรือนและการปลูกพืชแซม เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

นอกจากธุรกิจขนาดใหญ่ ยังมีตัวอย่างกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) อาทิ ภิรมย์ ดีพรรณ ซีอีโอของ “MUCH Mobile Healthcare” (กัมพูชา) กล่าวว่า การลงทุนในสตาร์ทอัพด้านการดูแลสุขภาพมีผลกระทบทางสังคมอย่างมาก ความสำเร็จของธุรกิจนำไปสู่ผลลัพธ์ด้านสุขภาพและการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกับชุมชนที่ด้อยโอกาส ซึ่งนำไปสู่การกระจายทรัพยากรด้านการดูแลสุขภาพที่เท่าเทียมกันมากขึ้น และลดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ โดย MUCH Mobile Healthcare ประสบความสำเร็จในปรับปรุงการดูแลผู้สูงอายุและมอบการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึงผ่านคลินิกเคลื่อนที่ อีกทั้งให้ความสำคัญกับส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงานหญิงด้วย

ยังมีตัวอย่างที่มาไกลแบบข้ามทวีป โดย จอย บามิเดล ซีอีโอของ Jaebee Furniture (ไนจีเรีย) กล่าวว่า การลงทุนด้านการศึกษาและการจ้างงานผู้หญิงมีความสำคัญมากในการสร้างผลกระทบทางสังคม บริษัทมุ่งมั่นที่จะเป็นเวทีสำหรับผู้หญิงที่ด้อยโอกาสในชุมชน และนำหญิงสาวที่ออกจากโรงเรียนมาเข้าสู่ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ของบริษัท การดูแลผู้คนในชุมชนทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและเพิ่มผลกำไรได้ แนวทางคือการช่วยเหลือผู้คน เพราะรู้ว่าเมื่อเราช่วยเหลือผู้อื่นทุกคนก็จะได้รับประโยชน์

อ็อกแฟมตระหนักถึงผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากธุรกิจต่างๆ ในการลดความยากจนทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกัน บริษัทจำนวนมากก็มีส่วนทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ในช่วงที่เกิดโรคระบาด งานวิจัยของอ็อกแฟม เรื่อง “Not in This Together” ได้ชี้ให้เห็นว่า ระบบธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมแม้จะนำไปสู่ผลกำไรของบริษัท แต่แรงงานในห่วงโซ่อุปทานอาหารกลับต้องดิ้นรนเพื่อรักษางานของตนไว้

การประชุมนี้ได้ข้อสรุปว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะมุ่งมั่นทำงานต่อไปเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจที่มีความเท่าเทียม สำรวจโอกาสต่างๆ และดำเนินการเพื่อช่วยเหลือธุรกิจอื่นๆ ในการให้ความสำคัญกับจุดมุ่งหมายด้านความเป็นธรรม และความยั่งยืนเท่าๆ กับผลกำไรเพื่อสร้าง “เศรษฐกิจฐานมนุษย์” ที่เป็นระบบเศรษฐกิจที่หนุนเกื้อต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน!!!

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:45 น. ฟันโช๊ะ!‘ศรีสุวรรณ’ชี้หาก‘พิธา’โอนหุ้นหลังสมัคร ส.ส. ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว
13:40 น. รถบรรทุกสารเคมี ยางระเบิดพลิกคว่ำ ที่นิคมมาบตาพุด เร่งเก็บกู้ หวั่นรั่วไหล
13:35 น. ‘สนธิญา’ยื่นกกต.เอาผิด‘พิธา’ปมถือหุ้น อัดเพ้อฝันปลุกผี‘ไอทีวี’เชือดทางการเมือง
13:16 น. เหน็บแรง! ThailandOnly ที่เดียวในโลก เทียบ‘คนถือหุ้น VS คนถือปืน’
13:11 น. หัวจะปวด! ลูกหลอนยา เก็บหินไว้เต็มบ้าน แช่น้ำ..รอเป็นทองคำ!
ดูทั้งหมด
ยิปซี 12 นักษัตร พยากรณ์ : ระหว่างวันที่ 4 ถึง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ฟันเปรี้ยง!‘จตุพร’ย้ำ‘ก้าวไกล’ตั้งรัฐบาลไม่ได้ เปิดชื่อ‘นายกฯ’ปชช.ลุกฮือ-ทหารยึดอำนาจ
พรรคไหนซวย? ว่าที่ส.ส.เจอร้องสอยพุ่ง 30 คน-ปม'คะแนนเขย่ง'โผล่กระทบปาร์ตี้ลิสต์
กระบะส่งพัสดุหลับในข้ามเลนประสานงาปาเจโร่ดับคารถทั้ง 2 ฝ่าย 3 รายรับวันพระใหญ่
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 5 - 11 มิ.ย.66
ดูทั้งหมด
อย่าให้บ้านเมืองต้องบอบช้ำกว่านี้เลย
ตลาดหลักทรัพย์ฯสะท้อนผลจากภาวะการเมือง
แวดวงการเงิน : 7 มิถุนายน 2566
‘เครือข่ายโรงพยาบาลปัจจัยขับเคลื่อน’
บดบี้ขยี้แหลก
ดูทั้งหมด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ฟันโช๊ะ!‘ศรีสุวรรณ’ชี้หาก‘พิธา’โอนหุ้นหลังสมัคร ส.ส. ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว

รถบรรทุกสารเคมี ยางระเบิดพลิกคว่ำ ที่นิคมมาบตาพุด เร่งเก็บกู้ หวั่นรั่วไหล

‘สนธิญา’ยื่นกกต.เอาผิด‘พิธา’ปมถือหุ้น อัดเพ้อฝันปลุกผี‘ไอทีวี’เชือดทางการเมือง

หัวจะปวด! ลูกหลอนยา เก็บหินไว้เต็มบ้าน แช่น้ำ..รอเป็นทองคำ!

งง‘พิธา’เป็นสัญลักษณ์ความถูกต้องไปแล้ว เหน็บเหล้าเป็นน้ำประเสริฐ‘กัญชา’เป็นซาตาน

เตรียมสั่งย้ายตร.ทางหลวง เอี่ยว'ส่วยสติกเกอร์' ขอบคุณ'วิโรจน์'ตัวจุดชนวนตรวจสอบทุจริต

  • Breaking News
  • ฟันโช๊ะ!‘ศรีสุวรรณ’ชี้หาก‘พิธา’โอนหุ้นหลังสมัคร ส.ส. ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว ฟันโช๊ะ!‘ศรีสุวรรณ’ชี้หาก‘พิธา’โอนหุ้นหลังสมัคร ส.ส. ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว
  • รถบรรทุกสารเคมี ยางระเบิดพลิกคว่ำ ที่นิคมมาบตาพุด เร่งเก็บกู้ หวั่นรั่วไหล รถบรรทุกสารเคมี ยางระเบิดพลิกคว่ำ ที่นิคมมาบตาพุด เร่งเก็บกู้ หวั่นรั่วไหล
  • ‘สนธิญา’ยื่นกกต.เอาผิด‘พิธา’ปมถือหุ้น อัดเพ้อฝันปลุกผี‘ไอทีวี’เชือดทางการเมือง ‘สนธิญา’ยื่นกกต.เอาผิด‘พิธา’ปมถือหุ้น อัดเพ้อฝันปลุกผี‘ไอทีวี’เชือดทางการเมือง
  • เหน็บแรง! ThailandOnly ที่เดียวในโลก เทียบ‘คนถือหุ้น VS คนถือปืน’ เหน็บแรง! ThailandOnly ที่เดียวในโลก เทียบ‘คนถือหุ้น VS คนถือปืน’
  • หัวจะปวด! ลูกหลอนยา เก็บหินไว้เต็มบ้าน แช่น้ำ..รอเป็นทองคำ! หัวจะปวด! ลูกหลอนยา เก็บหินไว้เต็มบ้าน แช่น้ำ..รอเป็นทองคำ!
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายไม่สอดคล้องชีวิตจริง  ปัจจัยเอื้อ‘ส่วย’ซื้อความสะดวก

กฎหมายไม่สอดคล้องชีวิตจริง ปัจจัยเอื้อ‘ส่วย’ซื้อความสะดวก

3 มิ.ย. 2566

‘ความรุนแรง’กับเด็กและเยาวชน

‘ความรุนแรง’กับเด็กและเยาวชน

27 พ.ค. 2566

49ปี‘กองทุนเงินทดแทน’

49ปี‘กองทุนเงินทดแทน’

20 พ.ค. 2566

เส้นทางสู่ความยั่งยืน  ทำจริงไม่ง่ายอย่างที่คิด

เส้นทางสู่ความยั่งยืน ทำจริงไม่ง่ายอย่างที่คิด

13 พ.ค. 2566

นโยบายสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุ

นโยบายสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุ

6 พ.ค. 2566

‘ระรานออนไลน์’ทรมานทางจิตใจ

‘ระรานออนไลน์’ทรมานทางจิตใจ

29 เม.ย. 2566

การศึกษาเพื่อเด็กหลุดระบบ

การศึกษาเพื่อเด็กหลุดระบบ

22 เม.ย. 2566

สิทธิมนุษยชนลดเหลื่อมล้ำ  ประชาสังคมฝากถึงการเมือง

สิทธิมนุษยชนลดเหลื่อมล้ำ ประชาสังคมฝากถึงการเมือง

15 เม.ย. 2566

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved