วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
ย้อนมองยุคโควิดระบาด อ่านรายงานไทยเหลื่อมล้ำ

ดูทั้งหมด

  •  

“ที่นี่แนวหน้า” ฉบับเสาร์นี้ (18 มี.ค. 2566) ต้องบอกว่า“ครบ 3 ปีเต็ม” หากย้อนไปเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2563อันเป็นวันเริ่มต้นของการ “ล็อกดาวน์” หรือการใช้มาตรการปิดกิจการต่างๆ ลดการรวมกลุ่มคนให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อสกัดกั้นการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยในวันดังกล่าวนั้นเป็นวันแรกของการปิดสถานบันเทิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ก่อนที่ในอีก 6 วันต่อมา หรือวันที่ 24 มี.ค. 2563 จะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ขยายมาตรการล็อกดาวน์ไปทั่วประเทศ รวมถึงปิดสถานที่อื่นๆ อีกหลายประเภทเพิ่มเติม

แม้ปัจจุบันทุกอย่างจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งไล่มาตั้งแต่การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ (แบบไม่หวนกลับไปใช้อีก) ในวันที่ 1 พ.ย. 2564 จนถึงวันที่ 1 ต.ค. 2565 ที่มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เปิดกิจการต่างๆ และเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเต็มรูปแบบ เรื่องราวของโควิด-19 เหลือเพียงความทรงจำ แต่วิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่นี้ได้ “เปิดแผล” สำคัญของสังคมไทยอย่าง “ความเหลื่อมล้ำ” ให้เห็นชัดเจนขึ้น


เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่ “รายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ 2564/2565” ขนาดยาว 46 หน้า ฉายภาพความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยที่เห็นได้ชัดแม้ภายหลังรัฐบาลจะผ่อนคลายและยุติไปตามลำดับสำหรับมาตรการล็อกดาวน์ โดยสรุปคือ “คนระดับล่างที่ตกงานในช่วงล็อกดาวน์ มีโอกาสกลับเข้าสู่การทำงานต่ำกว่าคนระดับบนอย่างเห็นได้ชัด” เห็นได้จากการแบ่งประชาชนเป็น 5 กลุ่ม จากฐานระดับล่างสุด ร้อยละ 20 ถึงระดับบนสุด ร้อยละ 20

พบว่า กลุ่มยากจนที่สุด มีอัตราการกลับมาทำงานเพียงร้อยละ 62 และกลุ่มยากจน ร้อยละ 73 น้อยกว่าอีก 3 กลุ่มที่เหลืออย่างมีนัยสำคัญ คือกลุ่มรายได้ระดับกลาง ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 90 กลุ่มร่ำรวย ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 91 และกลุ่มรวยที่สุด ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 90 (หน้า 33 ของรายงาน) นอกจากนั้น “ยิ่งฐานะร่ำรวยยิ่งฟื้นตัวได้เร็ว” โดยวัดจากสัดส่วนของผู้ที่มีรายได้เท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 12 เดือนก่อน พบว่ากลุ่มยากจนที่สุดที่มีรายได้เท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น มีเพียงร้อยละ 28 ในขณะที่กลุ่มคนรวยที่สุดที่มีรายได้เท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น มีถึงร้อยละ 50 (หน้า 34 ของรายงาน)

“โควิด-19 ยังทำให้อัตราความยากจนในสังคมไทยที่เคยลดลงกลับมาเพิ่มขึ้น” เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 อัตราความยากจนคิดเป็นร้อยละ 47 เพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านั้นซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 44 โดยมีข้อห่วงใยคือ ครัวเรือนเปราะบางหรือกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อภาวะความยากจนในปัจจุบันมีจำนวน 6.6 ล้านคน ครึ่งหนึ่งอยู่ภายใต้เส้นความยากจน ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งก็มีความเสี่ยงสูงมากที่จะตกลงมาอยู่ใต้เส้นความยากจน หากมีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีศักยภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ต่ำ (หน้า 4 ของรายงาน)

“เหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล” หากยังจำกันได้ ในช่วงล็อกดาวน์นั้นสถาบันการศึกษาก็เป็นอีกสถานที่ที่ถูกสั่งปิด และนักเรียน-นักศึกษาต้องหันไป “เรียนออนไลน์”กันอย่างต่อเนื่องยาวนานพอสมควร ในเวลานั้นเกิดความสับสนโกลาหลอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะความกังวลต่อเด็กและเยาวชนในครัวเรือนระดับฐานรากว่าจะเรียนไม่ทันเพื่อนเพราะเข้าไม่ถึงสัญญาณอินเตอร์เนตและอุปกรณ์เชื่อมต่อ

ซึ่งก็สอดคล้องกับในรายงานฉบับนี้ ที่ระบุว่า เมื่อดูผ่านจำนวนครัวเรือนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือและการเข้าถึงอินเตอร์เนต ยังมีความแตกต่างระหว่างกรุงเทพฯและปริมณฑลและภูมิภาค ซึ่งสัมพันธ์กับรายได้ของครัวเรือน ที่พบว่า การเข้าถึงอินเตอร์เนตของกลุ่มครัวเรือนรายได้สูงสุด อยู่ที่ร้อยละ 93 ขณะที่ครัวเรือนกลุ่มที่จนที่สุด เข้าถึงอินเตอร์เนตเพียงร้อยละ 58.3

กลุ่มผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑล มีอัตราการใช้คอมพิวเตอร์สูงกว่าในภูมิภาค ขณะที่ประชากรในเขตเทศบาล มีอัตราการใช้คอมพิวเตอร์ที่สูงกว่านอกเขตเทศบาล นอกจากนี้ ทักษะดังกล่าวยังแปรผันตามระดับการศึกษา ระดับชั้นรายได้ของครอบครัว และประเภทของการทำงาน โดยกลุ่มงานทักษะสูงจะมีสัดส่วนและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์สูงกว่าการทำงานที่ใช้ทักษะในระดับรองมา (หน้า 5 ของรายงาน)

“แก่และจน : ประชากรกลุ่มนี้เพิ่มเร็วอย่างน่าเป็นห่วง” อย่างที่ทราบกันว่าปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่“สังคมสูงวัย” จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงสวนทางกับผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น แต่รายงานฉบับนี้ยังพบข้อมูลที่น่าตกใจว่าหากแบ่งประชากรสูงอายุเป็น 5 กลุ่ม (ยากจนที่สุด ยากจน ปานกลาง ร่ำรวย รวยที่สุด) สัดส่วนของผู้สูงอายุในกลุ่มรายได้น้อยที่สุด (ยากจนที่สุด) นั้น มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2562 (ปีสุดท้ายก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19) มีสัดส่วนถึงร้อยละ 37 สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำในกลุ่มผู้สูงอายุที่กำลังรุนแรง

นอกจากนั้น ครัวเรือนผู้สูงอายุของไทยมีรายได้เฉลี่ยลดลงภายหลังจากปี 2554 เป็นต้นมา และจากค่าสัมประสิทธิ์จีนี (GINI-ตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำ จาก 0 คือไม่เหลื่อมล้ำเลย ถึง 1 คือเหลื่อมล้ำที่สุด) ของการกระจายรายได้ของครัวเรือนสูงวัยในประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงการกระจายรายได้ในภาพรวมที่ดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากค่าสัมประสิทธิ์ที่ 0.587 ในปี 2543 มาเป็น 0.533 ในปี 2562 (หน้า 17-18 ของรายงาน) ซึ่งต้องไม่ลืมว่าเนื่อง ด้วยความที่ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ผ่านพ้นวัยทำงานไปแล้ว จึงจำเป็นต้องพึ่งพิงสวัสดิการจำนวนมากจากภาครัฐ

เมื่อมองไปที่ความพยายามแก้ไขของภาครัฐ บทความได้อ้างถึงรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ที่ได้สรุปรวมมาตรการของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับความยากจน และความเหลื่อมล้ำ ในปี 2564 พบว่า มีหลายนโยบายของรัฐที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้สามารถทำงานได้ยาวนานขึ้น มีทักษะต่างๆมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต

รวมถึงยังอาจจะช่วยปรับเปลี่ยนทักษะให้กับแรงงานที่ต้องออกจากงานในช่วงโควิดได้ เพื่อให้สามารถหางานใหม่ได้ในช่วงหลังจากนี้ โครงการประเภทดังกล่าว เช่น การฝึกอบรมแรงงานผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ ของกระทรวงแรงงาน นับเป็นหนึ่งในนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะยาว พัฒนาทุนมนุษย์ และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงอายุ (สังคมสูงวัย) ของไทยอีกด้วย (หน้า 39-40 ของรายงาน)

อีกไม่นานคนไทยก็จะได้เลือกตั้งรัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ชุดใหม่ ก็คงต้องฝากเรื่องของความเหลื่อมล้ำเป็นโจทย์สำคัญให้ทุกพรรคการเมืองร่วมหาแนวทางแก้ไขด้วย ส่วนรายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ 2564/2565 ฉบับเต็ม ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่เพจ “Center for Research on Inequality and Social Policy – CRISP” ดังนี้ https://www.facebook.com/photo?fbid=642007244395223&set=a.522638622998753

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
08:45 น. ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'
08:33 น. รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
08:27 น. 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
08:01 น. ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
07:56 น. หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

‘ชูวิทย์’เลคเชอร์‘เรื่องตลก’พรรคร่วมฯ เหน็บจุกๆทุกครั้ง‘เพื่อไทย’เป็นรัฐบาล ต้องไล่ถึงจะลง

'หมอสุรพล'ชี้ทางออก!!! 'ถ้าไม่เปลี่ยนวัฒนธรรมพลเมืองวันนี้ ประเทศไทยจะไม่มีวันเปลี่ยน'

ไม่พบข้อมูลเดินทาง! คาด'อดีตเจ้าคุณอาชว์'ยังอยู่ในไทย มีคนให้ที่พักพิง

  • Breaking News
  • ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ\'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2\' \'นายกฯ\'ควบ\'รมว.วัฒนธรรม\' ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'
  • รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
  • \'ปากีสถาน\'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
  • ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่ ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
  • หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

10 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved