มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดงาน “การสร้างความร่วมมือในการพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารมูลค่าสูงในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง–ตะวันตก ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ”
โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับสถาบันการศึกษาเครือข่าย ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยได้รับเกียรติจากผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิตรศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัย และนวัตกรรม พร้อมด้วย รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)และผู้แทนจังหวัดทั้ง 4 จังหวัดในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตกได้แก่ ว่าที่ นายกองเอก เชษฐา ขาวประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้แทนจังหวัดสุพรรณบุรี, ว่าที่ร้อยตรีอุเทน สีลาเม ผู้แทนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาคุณเอื้องพร นพคุณ ผู้แทนจังหวัดนครปฐม และ เรือโท นพดล จันทรมณี ผู้แทนจังหวัดกาญจนบุรี ขึ้นเวทีร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดงานในครั้งนี้ในวันที่ 30 เมษายน 2568ณ ห้องประชุมพวงเงิน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี
ด้าน รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิจัย และนวัตกรรมกล่าวถึงโครงการ “การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตกให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจด้วยกลไกความร่วมมือและการสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารมูลค่าสูง” เป็นความร่วมมือเชิงพื้นที่ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมดำเนินการกับสถาบันการศึกษาเครือข่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อผลักดันการพัฒนาพื้นที่ CWEC ซึ่งครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม โดยมุ่งเน้นกลุ่มผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารมูลค่าสูงที่มีศักยภาพในการแข่งขันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยหลักคิด BCG และนวัตกรรม ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมหลากหลาย ประกอบด้วย
รศ.ดร.ชนะศึก กล่าวต่อว่า อีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญของการจัดงานในครั้งนี้ คือข้อเสนอเชิงนโยบายของโครงการที่ประกอบด้วยแผนพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของกลุ่มผลิตภัณฑ์กุ้งขาวและกุ้งก้ามกรามในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก(Roadmap) ในยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขยายตลาด และการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายดำเนินการในระยะเวลา 10 ปี แบ่งเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมกุ้งที่ยั่งยืน เชื่อมโยงเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ซึ่งมหาวิทยาลัยสวนดุสิตคาดหวังว่า ความร่วมมือกับเครือข่ายในครั้งนี้ จะครอบคลุมใน 4 มิติ ได้แก่ 1. ด้านเศรษฐกิจ มีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าและการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งอย่างน้อย 15% และเพิ่มรายได้เฉลี่ยของเกษตรกรไม่ต่ำกว่า 30% 2. ด้านสังคมมุ่งเน้นการยกระดับแรงงานในท้องถิ่นโดยฝึกอบรมแรงงานกว่า 20,000 คน และส่งเสริมให้เกิดคลัสเตอร์ย่อยที่มีการบริหารจัดการตนเองอย่างน้อย 20 แห่ง 3. ด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งลดของเสียในกระบวนการผลิตไม่น้อยกว่า 30% ลดระยะเวลาในการขนส่งอย่างน้อย 20% และยกระดับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งให้ผ่านการรับรองไม่ต่ำกว่า 50% ของพื้นที่โครงการ และ4. ด้านเทคโนโลยี มีการตั้งเป้าให้เกิดฟาร์มอัจฉริยะไม่น้อยกว่า 500 แห่ง พัฒนาองค์ความรู้ใหม่และจดสิทธิบัตรไม่ต่ำกว่า 10 รายการ พร้อมทั้งมีแพลตฟอร์มกลางสำหรับบริหารจัดการคลัสเตอร์อย่างเป็นระบบ ดังนั้น ภารกิจข้างต้น ถือเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของโครงการในการเป็นต้นแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่ในระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี