วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : อันตรายจากบรรจุภัณฑ์โฟม

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : อันตรายจากบรรจุภัณฑ์โฟม

วันอาทิตย์ ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : ความรู้รอบตัว ความรู้เรื่องสุขภาพ วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน
  •  

ปัจจุบันการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอะไรที่เร่งรีบ แม้แต่การรับประทานอาหารก็ต้องสะดวก รวดเร็วไว้ก่อน รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมนำมาใส่อาหาร ต้องยอมรับเลยว่าบรรจุภัณฑ์ชนิดโฟมเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เพราะหาซื้อง่าย ราคาถูก ทั้งที่เราเองก็รับรู้ถึงอันตรายจากกล่องโฟม รวมทั้งการสร้างปัญหากับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากก็ตาม

กล่องโฟมเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้บรรจุอาหาร ผลิตมาจากวัสดุพอลิเมอร์ ชนิดพอลิสไตรีน(polystyrene) โดยกล่องโฟมจะทนความร้อนได้เพียง 70 องศาเซลเซียส ซึ่งแน่นอนว่าอาหารที่เราทานอยู่เป็นประจำ มีอุณหภูมิสูงกว่ามาตรฐานส่งผลให้สารอันตรายปนเปื้อนมากับอาหาร เมื่อนำมาใช้บรรจุอาหารร้อนและอาหารทอด น้ำมันจากอาหารจะเกิดปฏิกิริยากับโฟม ทำให้เกิดสารอันตรายปะปนออกมากับอาหาร ซึ่งกรมอนามัย ย้ำว่าการรับประทานอาหารจากกล่องโฟม ติดต่อกันนาน 10 ปี เสี่ยงเป็นมะเร็งสูงกว่าคนปกติ 6 เท่า ขณะที่หลายประเทศไม่ใช่กล่องโฟมบรรจุอาหารเด็ดขาด เนื่องจากสารเหล่านี้มีผลเสียต่อร่างกาย คือ ทำลายระบบฮอร์โมนในร่างกาย มีผลต่อระบบประสาท เม็ดเลือดแดง ตับ และไตเมื่อถูกผิวหนังหรือเข้าตาหรือสูดดมเข้าไป ทำให้เยื่อเมือกเกิดการระคายเคือง มีอาการไอและหายใจลำบากปวดศีรษะ ง่วงซึม สมาธิสั้น มีผลต่อประสาทส่วนกลางและส่วนปลายทำให้เคลื่อนไหว ทรงตัวไม่ดีดังเดิม สำหรับผู้หญิงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมีอาการหงุดหงิดง่าย ซึ่งสารพิษจากกล่องโฟมที่ปนเปื้อนในอาหารเหล่านี้ จะได้รับจาก


1.อุณหภูมิความร้อนของอาหารที่อยู่ในถ้วยโฟม

2.อาหารซึ่งบรรจุหรือใส่ในภาชนะที่ทำจากโฟมมีส่วนประกอบของน้ำมันสูง

3.ใส่อาหารไว้ในกล่องโฟมเป็นเวลานาน

4.การทำให้เกิดความร้อน โดยนำอาหารที่อยู่ในถ้วยโฟมอุ่นในไมโครเวฟ

5.นำกล่องโฟมบรรจุอาหารไปแช่แข็งหรือแช่อุณหภูมิเย็นจัดเป็นเวลานานๆ

นอกจากการใช้บรรจุภัณฑ์โฟมติดต่อกันเป็นเวลานาน
ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาภายหลัง เนื่องจากเกิดการสะสมสารพิษในร่างกายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยังก่อให้เกิดปัญหาขยะล้นเมือง เพราะเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ อีกทั้งเมื่อทำลายโฟมก็ทำให้เกิดมลพิษสร้างปัญหาให้กับสังคมส่วนรวมในหลายๆ ด้าน อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันได้นั้น คือการปลูกจิตสำนึก โดยเริ่มต้นจากตัวเราเอง ลด ละ เลิก การใช้บรรจุภัณฑ์โฟมเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติ หรือภาชนะแบบอื่นแทน ดีกว่าการปล่อยให้ร่างกายถูกทำลายเพราะอันตรายจากสารเคมีทุกวัน และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่จะตามมาอีกด้วย

กองประชาสัมพันธ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า‘ไลเคน’ วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า‘ไลเคน’
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วุ้นนํ้ามะพร้าว (วุ้นสวรรค์) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วุ้นนํ้ามะพร้าว (วุ้นสวรรค์)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : นอนหลับสมดุล เป็นต้นทุนสุขภาพสากล (1)  (Sleep Equity for Global Health) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : นอนหลับสมดุล เป็นต้นทุนสุขภาพสากล (1) (Sleep Equity for Global Health)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วว./บพท. บริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก ผลิตน้ำประปาจากน้ำฝน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วว./บพท. บริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก ผลิตน้ำประปาจากน้ำฝน (1)
  •  

Breaking News

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved