วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : เกมนี้วัดกันที่หัวใจ......และไต

สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : เกมนี้วัดกันที่หัวใจ......และไต

วันเสาร์ ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย
  •  

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่น่ารักทุกท่านครับ… ในช่วงสงกรานต์ปีนี้ผมจะได้มี โอกาสดีที่จะได้ไปปฎิบัติหน้าที่ แพทย์ประจำทีมให้กับนักกีฬาทีมชาติไทยครับ เป็นเกมที่ผมเชื่อว่าผู้อ่านหลายๆ ท่านน่าจะไม่เคย ได้ยินกันมาก่อน ทั้งๆ ที่ มีเกมนี้มากว่า 40 ปีแล้ว แถมประเทศไทยเองก็เคย เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันชิงแชมป์โลกของกีฬานี้มาก่อนอีกซะด้วย เกมที่ผมพูดถึงนี้ก็คือ World Transplant Game หรือมีชื่อในภาษาไทยว่า กีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะโลก พูดง่ายๆ ก็เหมือนกับโอลิมปิกเกมของนักกีฬากลุ่มเฉพาะ โดยนักกีฬาทุกคนที่เข้าร่วมเกมนี้ได้ จะต้องเคยรับการเปลี่ยน อวัยวะ อย่างใดอย่าง หนึ่ง เช่น หัวใจ ไต ตับ ปอด ไขกระดูก เป็นต้น มองจากภายนอกเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเขาได้รับการเปลี่ยนอวัยวะอะไรไป ไม่เหมือนกับ นักกีฬาพาราลิมปิก ที่เรามองจากภายนอกก็จะรู้ว่าแขนขาดขาขาดหรือตาบอดเป็นต้น ในชีวิตการเป็นแพทย์กีฬาของผม ผมได้ปฏิบัติหน้าที่ให้กับนักกีฬาทีมชาติไทย ในหลากหลายเกมเช่น ซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ หรือแม้กระทั่งโอลิมปิก เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะดีใจไปกับนักกีฬาของเราที่ได้รับชัยชนะ แต่สำหรับกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะนี้ ความรู้สึกของผมมันเหนือกว่าคำว่าดีใจ มันเป็นความรู้สึกที่ทั้ง ดีใจและรู้สึกซาบซึ้งเป็นอันมาก ไม่ว่าจะกับนักกีฬาของประเทศเราเองหรือ นักกีฬาของต่างประเทศ บางครั้งถึงกับต้องเสียน้ำตาเมื่อได้ยิน ได้เห็น ถึงเบื้องหลังของการที่นักกีฬาได้มายืนอยู่ตรงนี้และได้เป็น ตัวแทนของชาติและได้รับรางวัลในฐานะทีมชาติ อ่านแล้วก็สงสัยใช่ไหมครับว่าทำไมถึง ความรู้สึกซาบซึ้งมันถึง เกิดขึ้นเยอะในเกมนี้ ประการแรกคือ การที่คนคนหนึ่ง จะได้รับการรักษาโดยการเปลี่ยนอวัยวะนั้น นั่นหมายความว่าอวัยวะของเขา จะต้องอยู่ในสภาวะที่ใช้การไม่ได้จนถึงที่สุด ฉะนั้นบางคนเคย มีประวัติเทียวไปเทียวมาอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายๆ ปี เช่นจะต้องไปฟอกไต เนื่องจากเป็นไตวายระยะสุดท้าย หรือบางคน มีภาวะหัวใจล้มเหลวเคยอยู่ในไอซียูจนถึงขั้นวิกฤต มีแค่เส้นบางบางที่กั้นระหว่างความเป็นและความตายเท่านั้น หรือบางคนเคยเป็นมะเร็งไขกระดูกมาก่อน แต่ ทว่าผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับของขวัญอันล้ำค่าที่สุดในชีวิตของเขา บางครั้งของขวัญชิ้นนี้ได้รับจากคนที่เค้าไม่รู้จักมาก่อน บางครั้งก็ได้รับจากญาติสนิทซึ่งญาติคนนี้ก็ยังมีความต้องการที่จะใช้อวัยวะนี้อยู่เหมือนกัน แต่เขายอมเสียสละให้กับผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้ต่อชีวิตออกไป นั่นหมายถึงนักกีฬาท่านนี้เคยอยู่ในภาวะที่ใกล้กับความตายมาแล้ว แต่ด้วยความเสียสละของเพื่อนมนุษย์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ และบุญกรรมที่ทำมา ทำให้เขารอดพ้นจากความตาย กลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับคนปกติ แถมยังแข็งแรงพอที่จะเล่นกีฬาได้ในระดับแข่งขันและเป็นการแข่งขันระดับโลกเสียด้วย

ประการถัดมา ไม่ใช่ผู้เปลี่ยนอวัยวะทุกคน จะสามารถเดินทางมาถึงจุดๆ นี้ได้ เนื่องจากการหาอวัยวะที่เข้าได้กับตัวเองเป็นเรื่องยากและอาศัยโชคชะตาอย่างมาก เมื่อได้รับอวัยวะแล้ว การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะนั้นก็ไม่ได้ทำกันง่ายๆ การเปลี่ยนอวัยวะถือเป็นการผ่าตัดที่ใหญ่มากต้องอาศัยทีมแพทย์ที่มีความชำนาญอย่างสูงในเรื่องของการเปลี่ยนอวัยวะ ผู้ป่วยอาจเจออุปสรรคต่างๆ และภาวะแทรกซ้อนมากมายทั้งในขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด เมื่อผ่าตัดประสบความสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ยากที่สุดก็คือการทำอย่างไรให้คนอวัยวะนั้นอยู่กับผู้ป่วยได้ เนื่องจากอวัยวะใหม่ถือเป็นสิ่งแปลกปลอม ของร่างกายร่างกายคนเรามีระบบต่อต้านสิ่งแปลกปลอมนี้ ผู้ป่วยและนักกีฬาทุกคนจึงมีความจำเป็นจะต้องกินยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อไม่ให้เกิดการต่อต้านอวัยวะที่ได้รับมา การกินยากดภูมินั้นผู้ป่วยมีความจะต้องเปลี่ยนรูปแบบของการใช้ชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอาหารการกินจะต้องเป็นเวลาเนื่องจาก มีผลกับระดับของยาอย่างมาก หลายรายก็มีผลข้างเคียงจากยา อีกด้วย แค่นี้ชีวิตก็ยากลำบากแล้ว แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังมีใจรักกีฬา หาเวลามาฝึกซ้อมกีฬาเพื่อให้มีทักษะทางกีฬาได้อยู่ในระดับแข่งขัน ซึ่งต้องนับถือน้ำใจนักกีฬาจริงๆ


ประการถัดมา ถึงแม้ว่า ประเทศไทยนั้นจะมีผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนอวัยวะ ปีหนึ่งอยู่ในระดับประมาณ 500 ถึง 600 คนต่อปี ในจำนวนนี้ กลายมาเป็นนักกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะเป็นจำนวนไม่มากเลย เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนอวัยวะที่ประเทศไทยมีอยู่ สาเหตุ เช่น ผู้เปลี่ยนอวัยวะนั้นไม่ทราบว่า การเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์กับตัวเอง หลายๆ ด้าน ทั้งเรื่องความแข็งแรงโดยรวมของปอดหัวใจและกล้ามเนื้อ และเรื่องการอยู่รอดของอวัยวะที่ได้รับมา จากงานวิจัยก็ได้พิสูจน์แล้วว่า การออกกำลังกายนั้น มีแต่ประโยชน์ หรือบางกรณีก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว เนื่องจากคิดว่าการเล่นกีฬาเป็นเรื่องต้องห้าม สำหรับคนกลุ่มนี้ ฉะนั้นการสนับสนุนจากครอบครัวในการออกกำลังกายหรือในการเล่นกีฬาสำหรับคนกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญมากๆ ฉะนั้น ในกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะโลกนี้เมื่อนักกีฬาได้มาเข้าร่วมกิจกรรมและมีโอกาสได้รับรางวัลจึงเห็นภาพประทับใจระหว่างนักกีฬาและครอบครัวที่สนับสนุนเขาให้เดินทางมาถึงจุดๆ นี้ได้ ในบางครั้ง หนึ่งในสมาชิกของครอบครัวก็เป็นผู้ที่บริจาคอวัยวะมาให้นักกีฬา ยิ่งเกิดภาพประทับใจระหว่าง ผู้ที่เสียสละอวัยวะกับผู้ได้รับชีวิตใหม่

กีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะโลกนั้น นอกจากจะมีจุดประสงค์หลักเพื่อวัดศักยภาพทางการกีฬาในระหว่างผู้เปลี่ยนอวัยวะ จากประเทศต่างๆ ทั่วโลกแล้ว ยังมีจุดประสงค์แฝงที่สำคัญ อีกอย่าง หนึ่ง ก็คือการรณรงค์เรื่องการบริจาคอวัยวะ ซึ่งนักกีฬากลุ่มนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่จะแสดงให้โลกได้รับทราบว่า การที่คนคนหนึ่งนั้นบริจาคอวัยวะ ทำให้คนอีกหลายคนกลับมามีชีวิตใหม่ ได้ เขาใช้คอนเซ็ปที่ว่า “Gift of Lift” ซึ่งหมายถึงของขวัญแห่งชีวิต ในประเทศไทยนั้นจำนวนผู้บริจาคอวัยวะ ยังถือว่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับระดับโลกพบว่า ในเรื่องของการบริจาคเงินเพื่อการกุศลนั้นประเทศไทยไม่เป็นรองใครในโลก จากสถิติของ World giving index เมื่อปี 2554 พบว่าคนไทยนั้นบริจาคเงินเพื่อการกุศลเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ถ้าถามว่า คนไทยนิยมบริจาคอวัยวะการมากน้อยแค่ไหน สถาบันที่มีการลงทะเบียนผู้บริจาคอวัยวะ หรือ IRODATได้รายงานว่าในปี 2563 สหรัฐอเมริกา สเปน และโครเอเชีย เป็นประเทศที่ คนนิยมบริจาคอวัยวะกันมากที่สุด โดยสหรัฐอเมริกานั้น ประชากร 40 คนในหนึ่งล้านคนได้บริจาคอวัยวะ ส่วนประเทศไทยนั้นอยู่ในอันดับที่ 55 โดย ประชากร 2.7 คนในหนึ่งล้านคนได้บริจาคอวัยวะ ซึ่งจากตัวเลขนี้ทำให้เห็นโอกาสพัฒนาได้อีกมาก

สำหรับรายการแข่งขันกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะโลกมีการจัดแข่งขันมาแล้วมากกว่า 48 ปี ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 24 โดยจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 15 – 21 เมษายน 2566 ณ เมืองเพิร์ท ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้มีชนิดกีฬาที่แข่งขันกันทั้งสิ้น 17 ชนิดกีฬา มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้นประมาณ 1,500 คน จากประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมแข่งขัน 54 ประเทศ และในนามประเทศไทย ครั้งนี้ทางสมาคมกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะแห่งประเทศไทย ได้ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันทั้งสิ้น 34 คน นักกีฬาส่วนใหญ่เป็นผู้ได้รับเปลี่ยนไต การแข่งขันประกอบด้วย 7 ชนิดกีฬา ได้แก่ เปตอง แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส โบว์ลิ่ง ลอนโบวล์ส ดาร์ทและกรีฑาทั้งประเภทลู่และลาน โดยมีเป้าหมายที่ 23 เหรียญทอง และติดอันดับ 1-10 ของประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน นับเป็นเป้าหมายที่ท้าทายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสิ่งที่สมาคมฯ ต้องการเป็นอันดับ 1 ของกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะของเอเชีย สำหรับช่องทางการติดตามข่าวสารการแข่งขัน มีหลากหลายช่องทาง เช่น ในเฟซบุ๊กหรืออินสตาแกรมของสมาคมกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะ แห่งประเทศไทย ช่วยเป็น กำลังใจให้ นักกีฬาผู้เปลี่ยนอวัยวะของเรา ประสบความสำเร็จในระดับโลกด้วยนะครับ

จริงจริงแล้ว เรื่องกีฬากับ ผู้ที่มีภาวะอวัยวะล้มเหลว เช่น ผู้ป่วยไตวาย หรือผู้ที่การได้รับการเปลี่ยนอวัยวะนั้นยังมีประเด็นที่ หมอสามารถพูดถึงได้อีกหลายประเด็น เช่น รายละเอียดการออกกำลังกายของคนในกลุ่มนี้ ออกอย่างไร ออกหนักแค่ไหน ทำอะไรได้บ้าง ออกแล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง ชลอการเสื่อมของไตได้ไหม ไว้มีโอกาสหมอจะเล่าให้ฟังในคราวต่อไปครับ

รศ.ดร.นพ.เมษัณฑ์ ปรมาธิกุล

แพทย์ที่ปรึกษาการกีฬาแห่งประเทศไทย

กรรมการสมาคมกีฬาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย

อนุกรรมการฝ่ายแพทย์ คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : ความสูง 191 ซม.ของบูม-กษิดิศ ท่านได้แต่ใดมา? (ตอนที่ 1) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : ความสูง 191 ซม.ของบูม-กษิดิศ ท่านได้แต่ใดมา? (ตอนที่ 1)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : จะออกกำลังกาย มีชุดแล้ว...มีความรู้เรื่องโภชนาการการกีฬา (แล้ว) หรือยัง? (ตอนที่ 2) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : จะออกกำลังกาย มีชุดแล้ว...มีความรู้เรื่องโภชนาการการกีฬา (แล้ว) หรือยัง? (ตอนที่ 2)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : New Year’s Resolution ตั้งเป้าหมายใหม่ยังไง?..ให้ปังและไม่พัง สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : New Year’s Resolution ตั้งเป้าหมายใหม่ยังไง?..ให้ปังและไม่พัง
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 2) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 2)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 1) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 1)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาโอลิมปิกกินอะไรกัน? สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาโอลิมปิกกินอะไรกัน?
  •  

Breaking News

(คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่

KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง

คดี‘ชั้น 14’พ้นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’

ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved