วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : Sports Science behind the Scenes

สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : Sports Science behind the Scenes

วันเสาร์ ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย
  •  

จากความสำเร็จของทีมฮอกกี้หญิงทีมชาติไทยที่สามารถคว้าแชมป์รายการ Ice Hockey Women’s World Championship Division 3 กลุ่ม B ระหว่างวันที่ 24-29 มี.ค.2567 ที่เอสโตเนียได้สำเร็จ ทำให้ทีมไทยได้เลื่อนชั้นไปสู่ดิวิชั่น 3 กลุ่มเอ โดยมีสถิติลงสนาม 4 นัดชนะรวดทั้ง 4 นัด โดยมี ม.ล.กฤษฎา เกษมสันต์นายกสมาคมกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งแห่งประเทศไทยร่วมเดินทางในฐานะผู้จัดการทีม พร้อมด้วย คุณกฤษณาพรมดิราช ผู้ช่วยผู้จัดการทีมและผู้ฝึกสอนทีมหญิงคุณรอรี่ รอลิค หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย “หมอเม” รศ.ดร.นพ.เมษัณฑ์ ปรมาธิกุล แพทย์ประจำทีม และ คุณชนิดา แซ่ตั้ง นักกายภาพบำบัดประจำทีม ซึ่งในการแข่งขัน World Championship ครั้งนี้ถือเป็นการเข้าร่วมครั้งแรกของทีมสาวไอซ์ฮอกกี้ไทย

“หมอเม” ในฐานะแพทย์ประจำทีมที่เพิ่งร่วมงานกับทีมกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งทีมชาติไทยเป็นครั้งแรกในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลทีมชายชุด U-18 เข้าร่วมการแข่งขันรายการ IIHF เวิลด์ แชมเปี้ยนชิพ ดิวิชั่น 3, กลุ่มบี ณ เมืองเคปทาวน์ ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งในครั้งนั้นทีมไทยเองพลาดการได้แชมป์ไปอย่างน่าเสียดาย ในครั้งนี้คุณหมอเองจึงได้ตั้งใจนำเอาประสบการณ์จากครั้งก่อนมาวางแผนกลยุทธ์ทางด้านโภชนาการการกีฬาร่วมกับเวชศาสตร์การกีฬา เพื่อช่วยนักกีฬามีความพร้อมสำหรับการแข่งขันในแต่ละแมทช์มากที่สุด ซึ่งถึงแม้การเดินทางในครั้งนี้จะไม่ได้มีนักโภชนาการการกีฬาร่วมเดินทางไปด้วย แต่คุณหมอเองก็ได้มีการวางแผนและปรึกษากับที่ปรึกษาด้านโภชนาการ ผศ.ดร.ปิยาภรณ์ ตุ้มนาค ตั้งแต่ก่อนเดินทางและตลอดช่วงระยะเวลาเข้าร่วมการแข่งขัน สำหรับการดำเนินงานนั้นจะโฟกัสไปที่ตัวนักกีฬาเป็นหลัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้นักกีฬาสามารถปรับตัวจากการเดินทางได้เร็วขึ้น ซึ่งปัญหาหลักๆ ที่นักกีฬาต้องเผชิญ เช่น การปรับตัวของร่างกายทั้งในเรื่องการเดินทางเป็นระยะเวลานานบนเครื่องบิน อาการ jet lag เวลาในการกินและการนอนที่แตกต่างกัน อาหารไม่ถูกปาก สภาพอากาศที่ไม่คุ้นเคย เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจกระทบกับผลการแข่งขันในแมทช์แรกได้ การดำเนินงานที่คุณหมอทำเพื่อช่วยให้นักกีฬาสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศปลายทางได้เร็วขึ้น เช่น การให้คำแนะนำในเรื่องของการปฏิบัติตัวเมื่อไปถึงประเทศปลายทาง การออกไปเดินข้างนอกเพื่อให้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศ การปรับเวลานอน การใช้เมลาโทนินช่วยสำหรับนักกีฬาที่นอนไม่หลับ ยิ่งนักกีฬาสามารถปรับตัวได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะช่วยให้นักกีฬามีความพร้อมสำหรับการแข่งขันมากขึ้นเท่านั้น


ในส่วนของการวางแผนเรื่องของโภชนาการ มุ่งเน้นในเรื่องของการเตรียมความพร้อมให้กับนักกีฬาในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการแข่งขันเป็นสำคัญ ซึ่งทีมไทยมีบทเรียนจากครั้งก่อนที่นักกีฬา U-18 มีเวลาน้อยในการปรับตัวทำให้พลาดท่าแพ้ไปในแมทช์แรกอย่างน่าเสียดาย ในครั้งนี้คุณหมอจึงตั้งใจดูแลเรื่องโภชนาการของนักกีฬาตั้งแต่เท้าแตะพื้นดิน ทั้งนี้เนื่องจากกีฬาฮอกกี้ถือเป็นกีฬาที่ความหนักสูง (high intensity) นักกีฬาจึงมีความต้องการพลังงานมาก และยิ่งในทัวร์นาเมนท์ที่ต้องมีการแข่งขันหลายวันติดกัน ทำให้เรื่องของโภชนาการเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ เนื่องจากพลังงานจากอาหารหลักอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักกีฬา การเพิ่มอาหารระหว่างมื้อจะช่วยทำให้นักกีฬาได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะช่วงก่อนการแข่งขันจะช่วยให้นักกีฬามีการสะสมพลังงานในกล้ามเนื้อไว้ได้อย่างเพียงพอ โดยคุณหมอได้ทำการสำรวจหาซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้ที่พัก ซื้ออาหารว่างที่เหมาะสม เครื่องดื่มและเจลสำหรับนักกีฬา เพื่อเตรียมไว้เป็นเสบียงให้กับนักกีฬาในทุกๆวัน ซึ่งในการนี้ท่านนายกสมาคมฯม.ล.กฤษฎา เกษมสันต์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและมาร่วมช้อปปิ้งด้วย ช่วงระหว่างการแข่งขัน นักกีฬามีโอกาสเสี่ยงต่อการขาดน้ำและโซเดียมเป็นอย่างมาก จากธรรมชาติของกีฬา ชุดที่ใส่ที่ไม่ระบายอากาศและหนัก สภาพอากาศที่เย็น และพฤติกรรมของนักกีฬาที่ไม่ค่อยดื่มระหว่างการแข่งขัน/ช่วงพัก ซึ่งจากประสบการณ์การปฏิบัติงานในแมตซ์ U-18 ที่ผ่านมา คุณหมอสังเกตว่ามีนักกีฬาหลายคนเกิดตะคริวในช่วงท้ายของการแข่งขัน ในครั้งนี้คุณหมอจึงให้ความสำคัญกับการชดเชยน้ำเป็นอย่างมาก โดยมีการวางแผนให้นักกีฬาเตรียมกระบอกน้ำส่วนตัวมาและมีการกระตุ้นให้ดื่มเครื่องดื่มนักกีฬาในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการแข่งขันเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและโซเดียม จากโปรแกรมการแข่งขันที่ต้องแข่งเกือบทุกวัน ทำให้ร่างกายมีเวลาฟื้นตัวจำกัด “เวลา” จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก คุณหมอได้นำเอากลยุทธ์ทางวิทยาศาสตร์การกีฬาแบบบูรณาการศาสตร์ โดยใช้หลัก 4R’s: Refuel, Rehydrate, Recovery, Relax/Rest เข้ามาช่วย เพื่อเร่งให้เกิดการฟื้นตัวของร่างกายหลังแข่งได้เร็วขึ้น และยังมี การนำเอาเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนมาใช้เพื่อกระตุ้นในช่วงท้ายของทัวร์นาเมนท์อีกด้วย ทั้งนี้การวางแผนที่ดีนำไปสู่การป้องกันปัญหา/ลดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการแข่งขันได้ เช่น อาการตะคริว หมดแรงในช่วงท้ายเกมส์ เป็นต้น ซึ่งกลยุทธ์นี้ถือว่าได้ผลดี การันตีได้จากสถิติไร้พ่ายของทีมสาวไทยนั่นเอง

สำหรับนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บในเกมนี้มีหลากหลายตั้งแต่กระดูกซี่โครงเดาะ เอ็นหัวเข่าบาดเจ็บ เอ็นข้อเท้าพลิก เจ็บก้นกบและ เอ็นหัวไหล่บาดเจ็บ เป็นต้น ซึ่งนักกีฬาทุกคนล้วนได้รับการฟื้นฟูสภาพเป็นอย่างดีพร้อม ลุยศึกในแมทช์นี้และทัวร์นาเมนท์ต่อๆ ไป

ผศ.ดร.ปิยาภรณ์ ตุ้มนาค

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รศ.ดร.นพ.เมษัณฑ์ ปรมาธิกุล

ฝ่ายวิชาการ สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : ความสูง 191 ซม.ของบูม-กษิดิศ ท่านได้แต่ใดมา? (ตอนที่ 1) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : ความสูง 191 ซม.ของบูม-กษิดิศ ท่านได้แต่ใดมา? (ตอนที่ 1)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : จะออกกำลังกาย มีชุดแล้ว...มีความรู้เรื่องโภชนาการการกีฬา (แล้ว) หรือยัง? (ตอนที่ 2) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : จะออกกำลังกาย มีชุดแล้ว...มีความรู้เรื่องโภชนาการการกีฬา (แล้ว) หรือยัง? (ตอนที่ 2)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : New Year’s Resolution ตั้งเป้าหมายใหม่ยังไง?..ให้ปังและไม่พัง สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : New Year’s Resolution ตั้งเป้าหมายใหม่ยังไง?..ให้ปังและไม่พัง
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 2) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 2)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 1) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 1)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาโอลิมปิกกินอะไรกัน? สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาโอลิมปิกกินอะไรกัน?
  •  

Breaking News

ละคร ‘พ่อจ๋าแม่อยู่ไหน’ ออกอากาศ 13-16 พ.ค. ทางช่องวัน31

'เอกนัฏ'สั่งเร่งเช็กคุณภาพอากาศ รอบพื้นที่โกดังย่านลาดกระบังไฟไหม้

บ้านนายกฯ อังกฤษโดนเผา ตำรวจเร่งสอบโยงวางเพลิง

(คลิป) ‘อิ๊งค์’รับเสียดายโอกาส ‘ทักษิณ’ชวดบินกาตาร์เจอ‘ทรัมป์’ซี้เก่า

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved