วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : คาร์โบไฮเดรตโหลดดิ้ง (Carb Loading)

สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : คาร์โบไฮเดรตโหลดดิ้ง (Carb Loading)

วันเสาร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย
  •  

คาร์โบไฮเดรตโหลดดิ้ง (Carb loading) เป็นวิธีการที่นักกีฬานิยมใช้ก่อนการแข่งขันเพื่อสะสมไกลโคเจนไว้ในกล้ามเนื้อให้ได้มากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นแนวคิดที่ดี แต่วิธีการทำคาร์โบไฮเดรตโหลดดิ้งแบบดั้งเดิมนั้นค่อนข้างสุดโต่งและก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับนักกีฬามาก ทำให้มีการศึกษาวิธีการใหม่ๆ มากขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติและลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงวิวัฒนาการของการทำคาร์โบไฮเดรตโหลดดิ้ง และวิธีการใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นพร้อมทั้งคำแนะนำเชิงปฏิบัติ

แนวคิดนี้เริ่มตั้งแต่ยุค 1960 ที่เทคนิคการใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อ (Biopsy) ถูกพัฒนาขึ้น ทำให้นักวิจัยสามารถเก็บตัวอย่างกล้ามเนื้อมาวัดปริมาณไกลโคเจน (แหล่งกักเก็บคาร์โบไฮเดรต) ที่สะสมได้ จากงานวิจัยที่ทำในยุคนั้นสรุปได้ว่า


1) ปริมาณไกลโคเจนที่สะสมในกล้ามเนื้อขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่กิน (ยิ่งกินคาร์โบไฮเดรตปริมาณมากเท่าไหร่ ปริมาณไกลโคเจนที่สะสมก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น)

2) ปริมาณไกลโคเจนที่สะสมในกล้ามเนื้อลดลงระหว่างการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกายหนัก (ยิ่งความหนักสูง ยิ่งลดเร็ว)

3) ปริมาณไกลโคเจนที่สะสมในกล้ามเนื้อที่สูงขึ้นส่งผลให้นักกีฬาเหนื่อยน้อยลงและมีประสิทธิภาพในการออกกำลังกายดีขึ้น

การทำคาร์โบไฮเดรตโหลดดิ้งในยุคแรก

ในยุคนั้น มีการตั้งข้อสังเกตว่าหากลดปริมาณไกลโคเจนในกล้ามเนื้อลงก่อน จากนั้นลดการบริโภคคาร์โบไฮเดรตลงเป็นเวลา 3 วัน แล้วตามด้วยการกินคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูงมากเป็นเวลา 3 วัน จะทำให้ปริมาณไกลโคเจนในกล้ามเนื้อฟื้นตัวได้มากกว่าการกินคาร์โบไฮเดรตทุกวัน โดยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า“Supercompensation” ซึ่งหมายถึง การที่ไกลโคเจนไม่ได้กลับสู่ระดับปกติหลังจากถูกลดปริมาณลง แต่กลับ “เพิ่มขึ้น” และไปถึงระดับที่ “สูงกว่าปกติ” ซึ่งจาก
หลักการนี้เอง นำไปสู่การพัฒนาวิธีการทำคาร์โบไฮเดรตโหลดดิ้งแบบดั้งเดิม (classical supercompensation diet) ซึ่งนักวิ่งอย่าง Ron Hill นำเอาไปใช้และประสบความสำเร็จได้เป็นแชมป์วิ่งมาราธอนยุโรปในช่วงปี 1970

ผลข้างเคียง

วิธีการนี้ประกอบด้วยการออกกำลังกายหนักมากเป็นเวลา 7 วันก่อนการแข่งขัน ตามด้วยการจำกัดคาร์โบไฮเดรตเป็นเวลา 3 วัน (เพื่อทำให้ไกลโคเจนที่สะสมในกล้ามเนื้อลดลงมากที่สุด; ตามรูป) ซึ่งการออกกำลังกายหนักๆ 7 วันก่อนแข่งอาจไม่ใช่เรื่องที่ดี และการฟื้นตัวโดยไม่ได้รับคาร์โบไฮเดรตในวันต่อๆ มานั้นก็ยิ่งแย่ในสัปดาห์ก่อนแข่งขัน นักกีฬาได้รับคำแนะนำให้งดออกกำลังกาย ซึ่งสำหรับนักกีฬาหลายคนแล้วอาจจะเป็นเรื่องที่ทรมานมากกว่า นอกจากนี้ การกินอาหารไขมันสูงและไม่มีคาร์โบไฮเดรตเลยใน 3 วันหลังจากออกกำลังกายเพื่อลดไกลโคเจน ยังก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารแก่นักวิ่งหลายคน ดังนั้น โดยรวมแล้วถึงแม้ว่าวิธีการนี้จะมีประสิทธิภาพสูง แต่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ

การทำคาร์โบไฮเดรตโหลดดิ้งในยุคต่อมา

ในช่วงยุค 1980 จึงมีการนำเสนอวิธีการใหม่ โดยตัดการออกกำลังกายเพื่อลดไกลโคเจนออก และเน้นการเพิ่มปริมาณการบริโภคคาร์โบไฮเดรตแบบค่อยเป็นค่อยไปตามโปรแกรมฝึกซ้อมที่ลดลงก่อนวันแข่งขัน (ตามรูป) ซึ่งวิธีการนี้แสดงให้เห็นว่าปริมาณไกลโคเจนที่สะสมในกล้ามเนื้อก็ยังคงอยู่ในระดับสูง หลังทำติดต่อกันเป็นเวลา 6-7 วัน เช่นเดียวกับวิธีดั้งเดิม ถึงแม้ว่าจะไม่ได้สูงเท่าก็ตาม

การทำคาร์โบไฮเดรตโหลดดิ้งในยุคใหม่ (2 วันอาจจะเพียงพอแล้ว)

ต่อมาในช่วงยุค 1990 งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่านักกีฬาชั้นเลิศ (well trained athlete) สามารถเพิ่มปริมาณไกลโคเจนที่สะสมในกล้ามเนื้อได้เทียบเท่ากับวิธีก่อนหน้านี้โดยใช้เวลาแค่ 1-2 วันในการเน้นกินคาร์โบไฮเดรตสูงควบคู่กับการลดการฝึกซ้อมลงในวันเหล่านั้น สำหรับนักกีฬาที่ระดับต่ำลงมา อาจจะต้องใช้เวลานานกว่านั้นเล็กน้อย นอกจากนี้ งานวิจัยยังแสดงให้เห็นอีกว่าอัตราการลดลงของไกลโคเจนระหว่างการออกกำลังกายนั้นสัมพันธ์กับปริมาณไกลโคเจนที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ กล่าวคือ ยิ่งมีปริมาณไกลโคเจนสะสมในกล้ามเนื้อมากเท่าไหร่ ร่างกายก็จะดึงมาใช้ได้เร็วเท่านั้น ดังนั้น หลังจากออกกำลังกายไป 1-2 ชั่วโมง ปริมาณไกลโคเจนที่สะสมของนักกีฬาจะเหลือใกล้เคียงกัน ไม่ว่านักกีฬาจะเริ่มต้นด้วยปริมาณไกลโคเจนที่สูงมากหรือสูงปกติก็ตาม (แสดงให้เห็นว่าการสะสมไกลโคเจนในกล้ามเนื้อสูงมากด้วยวิธีดั้งเดิมอาจเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น)

แนวทางปฏิบัติ

1) ก่อนออกกำลังกาย นักกีฬาควรมั่นใจว่ามีปริมาณไกลโคเจนสะสมในกล้ามเนื้ออย่างเพียงพอ“เพียงพอ” หมายถึง มีสะสมในปริมาณมาก แต่ไม่จำเป็นต้องสูงมากจนเกินไป เพราะหากสูงมากร่างกายจะดึงมาใช้ได้เร็วมากเช่นกัน

2) สำหรับนักกีฬา การสะสมไกลโคเจนสามารถทำได้โดยการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง 2 วันก่อนการแข่งขันควบคู่กับการลดการใช้ไกลโคเจน (โดยการลดการฝึกซ้อม) เนื่องจากการฝึกซ้อมลดลง ทำให้มีการใช้พลังงานลดลงด้วย

3) การเพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรต ไม่ได้หมายถึงการกินเยอะขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ควรเน้นการเลือกแหล่งที่มาของคาร์โบไฮเดรตและลดการกินไขมัน นักกีฬามักจะเข้าใจผิดระหว่างการเติมไกลโคเจน (carb loading) กับการกินมากเกินไป (overeating) โดยไม่เลือกชนิดของอาหาร

4) ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 5-7 กรัม/น้ำหนักกิโลกรัม/วัน น่าจะเพียงพอสำหรับนักกีฬาส่วนใหญ่ (ที่มีการใช้พลังงานน้อย)

5) นักกีฬาที่มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ควรเลือกแหล่งของคาร์โบไฮเดรต (อาหารที่มีกากใยอาหารน้อย)

เอกสารอ้างอิง : www.mysportscience.com

Jeukendrup and Gleeson Sports Nutrition Human Kinetoics Champaign IL, 2010

ผศ.ดร. ปิยาภรณ์ ตุ้มนาค

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : ความสูง 191 ซม.ของบูม-กษิดิศ ท่านได้แต่ใดมา? (ตอนที่ 1) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : ความสูง 191 ซม.ของบูม-กษิดิศ ท่านได้แต่ใดมา? (ตอนที่ 1)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : จะออกกำลังกาย มีชุดแล้ว...มีความรู้เรื่องโภชนาการการกีฬา (แล้ว) หรือยัง? (ตอนที่ 2) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : จะออกกำลังกาย มีชุดแล้ว...มีความรู้เรื่องโภชนาการการกีฬา (แล้ว) หรือยัง? (ตอนที่ 2)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : New Year’s Resolution ตั้งเป้าหมายใหม่ยังไง?..ให้ปังและไม่พัง สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : New Year’s Resolution ตั้งเป้าหมายใหม่ยังไง?..ให้ปังและไม่พัง
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 2) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 2)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 1) สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาประเภทอดทนกินคาร์โบไฮเดรตสูง VS ไขมันสูงดี? (ตอนที่ 1)
  • สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาโอลิมปิกกินอะไรกัน? สมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย : นักกีฬาโอลิมปิกกินอะไรกัน?
  •  

Breaking News

กระท้อนทองบางเจ้าฉ่า หวานฉ่ำถึงใจ! สวนลุงจ่า-แม่จงกล พร้อมให้ลิ้มลองและสั่งจอง

'เด็จพี่'ชูคอ! เชียร์'กกต.-ดีเอสไอ-ปปง.' เช็กบิลต้นตอ ฮั้วเลือก สว.

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2568

งานชุมนุมสายมูคึกคักจัดกลางสวนสาธารณะคุกเก่าลุ้นเลขธูปผู้ว่าฯหลังเคยเข้ามา2งวดซ้อน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved