การดูดซึมและเมแทบอลิซึมของโพลีฟีนอลส่วนใหญ่ถือว่าช้าและไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม กลไกการออกฤทธิ์ของโพลีฟีนอลในทางเดินอาหารยังมีการศึกษาไม่มากนัก และปัจจุบันงานวิจัยส่วนใหญ่ทำการศึกษาในผักและผลไม้บางชนิดเท่านั้น เช่น เควอซิติน เชอร์รี่ และแบล็คเคอแรนท์ซึ่งการศึกษาสารโพลีฟีนอลชนิดอื่นๆในพืช (ชนิดอื่นๆ) ในมนุษย์ยังมีปริมาณไม่มากพอที่จะแนะนำปริมาณที่เหมาะสมได้
สำหรับการบริโภค เควอซิติน เชอร์รี่ และแบล็คเคอแรนท์ มีข้อแนะนำในการบริโภค (ปริมาณและเวลา)เพื่อให้มีผลตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
เควอซิติน : ปริมาณที่แนะนำให้บริโภค 1,000 มก./วัน เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วันก่อนการแข่งขันผลของการบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานานไม่แน่นอน แต่แนะนำให้หลีกเลี่ยง
แบล็คเคอร์แรนท์ : ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคแอนโทไซยานิน (จากแบล็คเคอร์แรนท์) 105-210 มก./วัน เป็นเวลา 7 วันก่อนการแข่งขัน ผลของการบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานานไม่แน่นอน แต่มีแนวโน้มว่าจะทำให้ป่วย งานวิจัยส่วนใหญ่ทำในแบล็คเคอร์แรนท์สายพันธ์นิวซีแลนด์ อย่างไรก็ตาม หากได้รับปริมาณแอนโทไซยานินถึงปริมาณที่กำหนด ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ จะให้ผลที่แตกต่างกัน
เชอร์รี่ทาร์ต : เชอร์รี่ 90-200 ลูก (ในรูปของน้ำเชอร์รี่ น้ำเชอร์รี่เข้มข้น หรือผงแคปซูล) แบ่งรับประทานเป็น 2 ช่วง คือ 4-7 วันก่อนออกกำลังกาย และ 2-4 วัน มักเห็นผลเมื่อรับประทานหลังการออกกำลังกายแบบ eccentric exercise หรือ แบบ endurance หรือการออกกำลังกายที่มีแนวโน้มทำให้เกิดการอักเสบ (เช่น การวิ่งมาราธอน) รวมถึงการแข่งขันซึ่งต้องแข่งหลายครั้งในหนึ่งวัน หรือ หลายครั้งติดต่อกัน
บลูเบอร์รี่ : ประมาณ 150 กรัม หรือผลเบอร์รี่รวม 300 กรัม เพียงพอที่จะได้รับปริมาณโพลีฟีนอลตามคำแนะนำ
การใช้สารโพลีฟีนอลมีข้อกังวลหรือข้อควรพิจารณาหรือไม่?
1. ยังมีงานวิจัยไม่มากนัก ทำให้ผลที่ไม่ได้อาจไม่ชัดเจนและไม่สามารถระบุปริมาณของโพลีฟีนอลที่แน่นอนได้ ดังนั้น จึงแนะนำให้นักกีฬาบริโภคผักและผลไม้จากธรรมชาติให้เพียงพอและหลากหลายชนิดเพื่อให้ได้รับสารพฤกษเคมีที่หลากหลาย เช่น ปริมาณแอนโทไซยานินในผลเบอร์รี่แต่ละสายพันธุ์อาจแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขในการปลูก ทำให้จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อเปรียบเทียบสายพันธุ์เบอร์รี่ต่างๆ
2. เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยในผลไม้บางสายพันธุ์เท่านั้น เช่น แบล็คเคอแรนท์นิวซีแลนด์ เชอร์รี่มอนต์มอเรนซีเมื่อตัดสินใจที่จะใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นักกีฬาควรตรวจสอบแหล่งที่มา/สารสำคัญหรือสายพันธุ์ของผลไม้ที่ระบุในผลิตภัณฑ์นั้นๆ
3. ผู้ที่มีระบบทางเดินอาหารบอบบาง อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เนื่องจากเชอร์รี่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย และการรับประทานผลเบอร์รี่อื่นๆ ในปริมาณสูงอาจทำให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวนในผู้ที่มีอาการไวต่อสิ่งเร้า ดังนั้นในการเพิ่มการบริโภคเบอร์รี่/เชอร์รี่ หรือการใช้น้ำผลไม้เบอร์รี่/เชอร์รี่ ควรทดลองใช้นอกช่วงเวลาของการออกกำลังกายก่อนจะนำมาใช้จริง
4. หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันผลของฟลาโวนอยด์ต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในนักกีฬายังไม่แน่ชัด
5. งานวิจัยระบุว่าการบริโภคสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านการอักเสบในปริมาณสูงอาจมีผลไปลดความสามารถในการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการฝึกได้ (adaptive response to exercise training) ดังนั้นจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้โพลีฟีนอลจากผลไม้(ในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ในปริมาณที่สูงในช่วงระหว่างการฝึกซ้อมในแต่ละวัน
เอกสารอ้างอิง: The Australian Institute of Sport (AIS) Supplement Framework (https://www.ais.gov.au/nutrition/supplements)
โดย ผศ.ดร. ปิยาภรณ์ ตุ้มนาค
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี