วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
เตือนมีโรค-แมลงระบาดทุเรียน กรมวิชาการชี้อากาศเปลี่ยนต้องเฝ้าระวังช่วงออกดอก

เตือนมีโรค-แมลงระบาดทุเรียน กรมวิชาการชี้อากาศเปลี่ยนต้องเฝ้าระวังช่วงออกดอก

วันอังคาร ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559, 06.00 น.
Tag :
  •  

กรมวิชาการเกษตร ประกาศแจ้งเตือนชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวังช่วงอากาศเย็น ซึ่งตรงกับช่วงทุเรียนออกดอกและระยะที่ดอกบานเริ่มติดผล ให้ระวังลมกระโชกแรง ไม่ควรเว้นการให้น้ำ แต่ควรเพิ่มการให้น้ำมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันดอกและใบร่วง ระวังการแตกใบอ่อน โดยทุเรียนจะแสดงอาการใบเหลือง เหี่ยว ต้นทุเรียนแสดงอาการขาดน้ำ

สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหา เมื่อทุเรียนออกดอกและเห็นดอกระยะไข่ปลาแล้ว ให้เพิ่มปริมาณน้ำโดยการให้น้ำทีละน้อย สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง ลดปริมาณน้ำลงในช่วงดอกใกล้บาน นอกจากนี้ควรสังเกตการระบาดของโรคดอกแห้งเนื่องจากเชื้อรา มักพบอาการในดอกทุเรียนระยะหัวกำไลจนถึงดอกบานโดยพบจุดสีดำบนกลีบดอก กลีบดอกแห้งเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีราสีเทาดำเจริญฟูคลุมกลีบดอกดอกจะเน่าก่อนบาน แห้ง และหลุดร่วงไปหากพบไม่ควรให้ทุเรียนขาดน้ำในระยะออกดอก เพราะจะทำให้ดอกแห้ง ดอกไม่สมบูรณ์ เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย และควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มพบโรคควรพ่นด้วยสารคาร์เบนดาซิม 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 15-20 กรัม หรือสารอะซ็อกซี่สโตรบิน+ไดฟิโนโคนาโซล 20+12.5% เอสซี อัตรา 10-12 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และให้เก็บดอกร่วงที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายด้วย


สำหรับแมลงศัตรูพืชที่ระบาดในสวนทุเรียนระยะนี้ คือ เพลี้ยไฟ ไรแดง และหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน หากพบเพลี้ยไฟใบอ่อนหรือยอดอ่อนทุเรียนจะชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น ใบโค้ง แห้ง หงิกงอ และไหม้ การเข้าทำลายในช่วงดอก ทำให้ดอกแห้ง ดอกและก้านดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแคระแกร็น และร่วงได้ การเข้าทำลายในช่วงผลอ่อน ทำให้ผลอ่อนทุเรียนชะงักการเจริญเติบโต หนามเป็นแผล และเกิดอาการปลายหนามแห้ง ผลไม่สมบูรณ์และแคระแกร็นถ้าพบเพลี้ยไฟระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง เมื่อพบเพลี้ยไฟระบาดรุนแรง ให้ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ อิมิดาโคลพริด 10%เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์โบซัลแฟน 20%อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

ในส่วนของไรแดงที่ระบาดในสวนทุเรียน มักพบต้นทุเรียนแสดงอาการใบเหลืองซีด ไม่เขียว และไม่เป็นมัน ดูคล้ายมีฝุ่นจับเป็นผงสีขาว การระบาดอย่างรุนแรงจะทำให้ใบทุเรียนหลุดร่วงอย่างรวดเร็ว เกษตรกรควรสำรวจดูไรแดงบนใบทุเรียน ซึ่งสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นจุดสีน้ำตาลเข้มวิ่งเคลื่อนไหวไปมา การพ่นสารฆ่าไร ควรใช้สารสลับชนิดกัน ดังนี้ สารโพรพาร์ไกต์ 30% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะมิทราซ 20% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

เกษตรกรชาวสวนทุเรียนควรเฝ้าระวังการเข้าทำลายของหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน มักพบหนอนที่ฟักใหม่เริ่มกัดกินไชชอนใต้เปลือกไม้ และถ่ายมูลออกมาเป็นขุยไม้ติดอยู่ภายนอกเป็นระยะๆ ตามเส้นทางที่หนอนไชชอนอยู่ใต้เปลือกไม้ ให้เกษตรกรแก้ไขด้วยการพ่นด้วยสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ชุ่มเฉพาะบริเวณต้นและกิ่งขนาดใหญ่ จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ชาวกาฬสินธุ์‘ปลูกเห็ดฟาง’ลงทุนหลักพันฟันกำไรหลักหมื่น ชาวกาฬสินธุ์‘ปลูกเห็ดฟาง’ลงทุนหลักพันฟันกำไรหลักหมื่น
  • ก.เกษตรฯขับเคลื่อนคลินิกเกษตรฯต่อเนื่อง ก.เกษตรฯขับเคลื่อนคลินิกเกษตรฯต่อเนื่อง
  • \'ปอเทือง\'พืชมหัศจรรย์ ปรับปรุงดินที่เคยเสื่อม สู่การฟื้นฟูดินอย่างยั่งยืน 'ปอเทือง'พืชมหัศจรรย์ ปรับปรุงดินที่เคยเสื่อม สู่การฟื้นฟูดินอย่างยั่งยืน
  • \'พด.อุทัย\'ขับเคลื่อนหมอดินอาสา จัดฝึกอบรมหมอดินหลักสูตรที่ 3 \'การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาฯ\' 'พด.อุทัย'ขับเคลื่อนหมอดินอาสา จัดฝึกอบรมหมอดินหลักสูตรที่ 3 'การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาฯ'
  • เกษตรกรชาวอีสาน พลิกมิตินำวิถีเกษตรกรรมคาร์บอนต่ำ ยกระดับแปลงปลูก ลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรชาวอีสาน พลิกมิตินำวิถีเกษตรกรรมคาร์บอนต่ำ ยกระดับแปลงปลูก ลดต้นทุนการผลิต
  • กรมชลฯ มั่นใจน้ำในเขื่อนลำตะคอง เพียงพอใช้อุปโภคบริโภค กรมชลฯ มั่นใจน้ำในเขื่อนลำตะคอง เพียงพอใช้อุปโภคบริโภค
  •  

Breaking News

แคชเมียร์ระอุ! 'ปากีสถาน'ยกระดับโจมตี ยิงถล่มเสียชีวิต 1 ราย

ละเมิดสิทธิเด็ก! ‘ยูเอ็น’ประณาม‘อิสราเอล’สั่งปิดโรงเรียนในเยรูซาเล็มตะวันออก อ้าง‘ฮามาส’แฝงตัว

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์ในพระองค์ จำนวน 18 นาย

ชาวปากช่องไม่เอา! 'ค้านเหมืองแร่ดิน' หวั่นมลพิษสิ่งแวดล้อมเสียสมดุล

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved