วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ / ลงมือสู้โกง โดย...เฟื่องวิชญ์ สุวรรณเนตร
ลงมือสู้โกง โดย...เฟื่องวิชญ์ สุวรรณเนตร

ลงมือสู้โกง โดย...เฟื่องวิชญ์ สุวรรณเนตร

เฟื่องวิชญ์ สุวรรณเนตร
วันพุธ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 02.00 น.
‘การศึกษาไทย’ ซุกอะไรไว้ใต้พรม?

ดูทั้งหมด

  •  

 

เมื่อกล่าวถึงคำว่า “โรงเรียนดีมีคุณภาพ” ตามทัศนคติของคนทั่วไปอาจใช้ความมีชื่อเสียง ความเป็นเลิศทางวิชาการ หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการสอบวัดผลของนักเรียนเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณภาพของสถานศึกษาในประเทศเกือบจะทั้งหมด จากมุมมองที่ว่านี้เองก็นำมาสู่กระบวนการเชิงนโยบายที่มีความพยายามในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนแบบเส้นตรงตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา เมื่อไม่นานมานี้ท่านอาจได้ยินข่าวการเสนอแนวนโยบายของรัฐ ให้มีการจัดตั้งโรงเรียนอีลิท (elite school)ที่แปลว่า “โรงเรียนของชนชั้นนำ” เพิ่มขึ้นมา เพื่อตอกย้ำการยกระดับคุณภาพโรงเรียนไทยที่มุ่งเน้นพัฒนาแต่เพียงมิติของความสามารถในการแข่งขันทางวิชาการ โดยมีหลักในการคัดกรองและส่งเสริมเฉพาะเด็กเก่งและเป็นเลิศเพียงเท่านั้น ซึ่งก็มีทั้งเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้านจากผู้คนจำนวนมากต่อแนวคิดดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากทั้งสองด้านของเหรียญ ผู้เขียนมองว่าการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนแบบขาเดียวนั้นคงเป็นสิ่งที่น่ากังวลไม่น้อย หากการพัฒนาที่ว่านี้เป็นการพัฒนาที่เน้นชูความเป็นเลิศ แต่กลับซุกซ่อนปัญหาอีกมากมายหลายด้านของโรงเรียนเอาไว้ใต้พรม


เราคงพอจะเห็นภาพกันแล้วว่าที่ผ่านมาการศึกษาไทยของเราเน้นเพียงการพัฒนาคุณภาพในด้านใด คำถามที่เกิดขึ้นตามมา แล้วใครบ้างที่ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนานี้? ถึงแม้ยุทธศาสตร์เหล่านี้จะวางทิศทางการทำงานมุ่งไปที่ “เด็กนักเรียน” โดยยึดหลักการตอบสนองความต้องการและความสนใจของเด็กเป็นที่ตั้ง แต่ตัวแสดงนี้กลับไม่ถูกพูดถึงบทบาทที่พวกตนจะร่วมพัฒนาคุณภาพภายในโรงเรียนของตนได้เลย เพราะแผนดำเนินงานต่างๆ มักกล่าวถึงแค่บุคลากรการบริหารจัดการโรงเรียนและคุณครู แม้ในช่วงหลังจะพยายามสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนมากขึ้น แต่สุดท้ายการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนก็ยังเป็นเพียง “เรื่องของผู้ใหญ่”

ทั้งนี้ หนึ่งในปัญหาที่ถูกซุกไว้ใต้พรม ก็คือ ปัญหาคุณภาพการให้บริการเชิงกายภาพในโรงเรียน ซึ่งได้สร้างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงคุณภาพที่เด็กนักเรียนพึงได้รับอย่างเท่าเทียมกัน เช่น การมีโต๊ะเรียนที่ไม่เพียงพอการมีห้องน้ำที่ขาดความปลอดภัยตามมาตรฐาน หรือการจัดตั้งโรงอาหารที่ไม่เป็นไปตามหลักสุขอนามัยพื้นฐาน เป็นต้น

กอปรกับในปัจจุบัน Twitter ได้กลายมาเป็นช่องทางออนไลน์ที่เด็กนักเรียนรุ่นใหม่จำนวนมากใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนของตน เพราะพวกเขาเหล่านี้ไม่ยอมให้เสียงของพวกตนถูกซุกไว้ใต้พรมอีกต่อไป และได้ขยายพรมแดนของปัญหาออกไปในวงกว้างจนเกิดเป็นกระแสที่เด็กรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาท้าทายระบบการบริหารจัดภายในโรงเรียน ผ่านการติด hashtag โรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น #savebcc#เกียมอุดม #โยธินมรณะ #โรงเรียนมัธยมหลังเขา หรือ #โรงเรียนชื่อดังย่านเอกชัย เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในประเด็นที่ถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือคุณภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงเรียนนั่นเอง

“เสียง” เหล่านี้ก็คือการสะท้อนถึงความอึดอัดไม่พอใจของเด็กนักเรียนรุ่นใหม่ต่อการบริหารจัดการภายในโรงเรียนที่ถูกซุกซ่อนเอาไว้เป็นเวลานาน จนนำมาสู่การแสดงออกผ่านแพลตฟอร์มที่พวกตนรู้สึกถึงการมีเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น หากแต่ถูกมองข้ามในการเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงนี้

จากสภาวะความคับข้องใจที่เกิดขึ้นในกลุ่มนักเรียนอย่างกว้างขวาง ได้จุดประกายแนวคิดในการเปลี่ยนความตึงเครียดให้กลายเป็นความร่วมมือผ่านการมีส่วนร่วมของเด็กนักเรียน (from tension to participation) โดยทีมนักวิจัยจาก Siam Lab คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มดำเนินโครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในโรงเรียน (School Governance) ภายใต้โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน (ระยะที่ 2) สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งได้ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันกับเด็กนักเรียนในโรงเรียนพื้นที่ศึกษา เปิดพื้นที่ให้นักเรียนในฐานะเยาวชนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นผ่านกลไกในการร่วมสำรวจโรงเรียนของตน เกิดการรวบรวมชุดข้อมูลเปิด (open data)เกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของโรงเรียนได้ อีกทั้งนักเรียนยังได้รับการปลูกฝังวัฒนธรรมธรรมาภิบาลและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันผ่านการลงมือทำจริง

ความสำคัญของโครงการวิจัยนี้คือการสร้างแพลตฟอร์ม “We The Students” อันเป็นพื้นที่ออนไลน์ให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการสำรวจคุณภาพการให้บริการของโรงเรียน ผ่านการจัดกระบวนการที่ชื่อว่า “กิจกรรม Schools Through Our Eyes” และสามารถรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างปลอดภัยโดยไม่เปิดเผยตัวตน (school checklist) นำไปสู่การร่วมกันปรับปรุงคุณภาพของโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น และจัดทำชุดข้อมูลเปิดในโรงเรียน (school data) ที่มาจากความต้องการของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเพิ่มมิติของแนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนให้กับภาครัฐได้ รวมถึงเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ธรรมาภิบาลในกลุ่มนักเรียน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับโรงเรียน (school sharing) โดยยึดการออกแบบแพลตฟอร์มให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ 3 ป. ขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้แก่ “ปลูกฝัง-ป้องกัน-เปิดโปง” ในการสร้างกลุ่มพลเมืองตื่นรู้สู้โกงในระดับเยาวชน การสร้างช่องทางสำรวจคุณภาพการให้บริการของโรงเรียน และการจัดทำข้อมูลเปิดเพื่อส่งเสริมการร่วมกำกับและตรวจสอบโรงเรียน อันจะเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงและสร้างแรงขับเคลื่อนให้กับบุคลากรการบริหารจัดการโรงเรียนและเจ้าหน้าที่รัฐนำไปปรับปรุงคุณภาพของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ความท้าทายของงานวิจัยชิ้นนี้คือการสร้างความมั่นใจให้กลุ่มเด็กนักเรียนรู้สึกได้ว่า “เสียง” ของพวกตนนั้นมีความหมาย เสียงที่นอกจากจะส่งไปถึงกลุ่มนักเรียนด้วยกันแล้ว ก็ยังถูก “รับฟัง” จากกลุ่มผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น “อย่างสร้างสรรค์” และสร้างข้อเสนอแนะที่เริ่มมาจากการมีส่วนร่วมของพวกตน (bottom-up) นำไปสู่ผลลัพธ์ของการเป็น “โรงเรียนดีมีคุณภาพ” โดยไม่ต้องอาศัยกลไกและมุมมองการพัฒนาคุณภาพจากภาครัฐเพียงอย่างเดียวอันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยไม่เกิดความขัดแย้งและความรุนแรง และนับเป็นการเปลี่ยนความตึงเครียดให้กลายเป็นความร่วมมือผ่านการมีส่วนร่วมของเด็กนักเรียนได้อย่างแท้จริง

โดยผู้อ่านสามารถติดตามความคืบหน้าโครงการผ่านทาง “เฟซบุ๊คเพจ Siam Lab

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:52 น. 'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!
22:29 น. น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น
22:22 น. ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม
22:13 น. ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย
21:41 น. หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
ใช้‘เอไอ’อย่างพึงระวัง ‘สมองมนุษย์’ถูกลดทอน
เศรษฐกิจไทยร่วงเพราะรัฐบาลกลวง
งกครองโลก (1)
บุคคลแนวหน้า : 5 กรกฎาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต

อุบตอบมีชาติไหนบ้าง?! 'ทรัมป์'ลงนามจดหมายแจ้งภาษีตอบโต้12ประเทศ พร้อมร่อน7ก.ค.นี้

โหดเหี้ยม! คนร้ายซุ่มยิง‘ตำรวจ’ สภ.กรงปินัง เสียชีวิต หน้าร้านสะดวกซื้อใน จ.ยะลา

'องค์ดาไลลามะ'หวังมีพระชนม์ชีพยืนยาวนานถึง130ปี ก่อนกลับชาติมาเกิดเป็นผู้นำทิเบต

  • Breaking News
  • \'อดีต ส.ว.สมชาย\'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!! 'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!
  • น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง\'อดีตรองเสธ.กัมพูชา\' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น
  • ครั้งแรกในรอบ102ปี! \'ฝรั่งเศส\'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม
  • ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย
  • หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

‘การศึกษาไทย’ ซุกอะไรไว้ใต้พรม?

‘การศึกษาไทย’ ซุกอะไรไว้ใต้พรม?

5 ก.พ. 2563

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved