วันจันทร์ ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
ศก.ผจญความเสี่ยง สภาพัฒน์หั่นจีดีพีทั้งปีเหลือ2-3%

ศก.ผจญความเสี่ยง สภาพัฒน์หั่นจีดีพีทั้งปีเหลือ2-3%

วันอังคาร ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag :
  •  

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์แถลงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)ไตรมาส 1/2567 และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567ว่าจีดีพีไทยไตรมาส 1 ปีนี้ขยายตัวได้ 1.5% จากปีก่อนและขยายตัว 1.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งนี้ สศช.ได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยทั้งปีในปี 2567 จาก 2.2-3.2% เป็นคาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ 2-3% จากปัจจัยสงครามการค้า และภูมิรัฐศาสตร์ที่รุนแรงขึ้น

เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ขยายตัวมาจากแรงส่งของภาคของการบริโภคและการบริการเป็นหลัก โดยเฉพาะการบริโภคเอกชนที่ขยายตัว 6.9% ขณะที่ภาคการส่งออกขยายตัว 2.5% ส่วนการลงทุนรวมของประเทศในภาคเอกชนขยายตัว 4.6% อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ยังถูกกดดันจากการลงทุนของภาครัฐที่การลงทุนรวมยังลดลง 27.7% ซึ่งมาจากการล่าช้าของการเบิกจ่ายงบประมาณ


ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2567 ด้านการใช้จ่าย เพื่อการอุปโภค-บริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน การส่งออกสินค้าและบริการรวมชะลอลง6.9% และ 2.5% ตามลำดับ ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล และการลงทุนรวม ลดลง 2.1% และ 4.2% ตามลำดับ

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค-บริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ขยายตัว 6.9% ชะลอลงจากการขยายตัว 7.4% ในไตรมาส 4/2566 เป็นผลจากอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อรายได้ของครัวเรือน โดยการใช้จ่ายฯ ในหมวดสินค้ากึ่งคงทน สินค้าไม่คงทน และหมวดบริการขยายตัว ขณะที่การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล ลดลง 2.1% ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง 3.0% ในไตรมาส 4/2566 เป็นผลมาจากค่าซื้อสินค้าและบริการลดลง 7.6% และการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดลดลง 10.7% ขณะที่ค่าตอบแทนแรงงาน ขยายตัว 1.9%

การลงทุนรวมลดลง 4.2% ต่อเนื่องจากการลดลง 0.4% ในไตรมาส 4/2566 โดยการลงทุนภาครัฐลดลง 27.7% ประกอบด้วยการลงทุนรัฐบาลลดลง 46.0% การลงทุนของรัฐวิสาหกิจลดลง2.8% ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 4.6% ชะลอลงจากการขยายตัว 5.0% ในไตรมาส 4/2566

สศช.คาดว่าจะมีการปรับตัวของภาคการส่งออกดีขึ้นโดยคาดว่าการส่งออกจะบวกได้ 2% ในปีนี้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ซึ่งยังคงต้องทำควบคู่กับการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อการผลักดันการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของไทยให้เพิ่มขึ้น ขณะที่การลงทุนรวมคาดว่าจะขยายตัวได้ 1.9% โดยเป็นการลงทุนของเอกชน 3.2% ลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ 3.5% และการลงทุนภาครัฐยังคาดว่าจะลดลง 1.8%

นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องของการมีหนี้ครัวเรือนที่สูง ความเสี่ยงเรื่องของปัญหาอุทกภัย รวมทั้งการขนส่งสินค้าทางเรือที่ต้องเผชิญกับการขนส่งที่ยากลำบาก ทำให้ค่าระวางเรือแพงขึ้น ขณะที่เรื่องของอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังปรับลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ตามที่หลายประเทศยังคงดอกเบี้ยระดับสูง ประกอบกับการมีมาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้ามาทุ่มตลาดในไทย ซึ่งเหมือนกับในปี 2562 ที่มีปัญหาเรื่องของการกีดกันทางการค้าที่ทำให้มีสินค้าจีนเข้ามาตีตลาดไทย

สำหรับประเด็นการบริหารเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ในช่วงที่เหลือควรให้ความสำคัญกับ1.การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ที่ต้องทำให้ได้ตามเป้าหมาย 2.การดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอให้กับภาคเอสเอ็มอี ซึ่งต้องทำคู่กับการแก้ปัญหาลูกหนี้เรื้อรัง ขณะที่เรื่องหนี้ครัวเรือนเป็นระเบิดเวลาให้กับเศรษฐกิจไทย 3.การดูแลภาคเกษตรและรายได้ของเกษตรกร ซึ่งในช่วงที่เหลือของปีต้องดูแลเรื่องของความเสี่ยงจากอุทกภัย ซึ่งควรเร่งเรื่องของประกันภัยพืชผล 4.การขับเคลื่อนการส่งออก ควบคู่กับการปรับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้แข่งขันได้และส่งออกได้มากขึ้น ควบคู่กับการส่งเสริมการพำนักของนักท่องเที่ยวในระยะยาว และ 5.รองรับและเฝ้าระวังความผันผวนจากเศรษฐกิจโลกที่มีการทุ่มตลาดและการกีดกันทางการค้า ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงมากขึ้น

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • คลัง ถกเอกชน รับมือ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา คลัง ถกเอกชน รับมือ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา
  • finbiz by ttb ติดอาวุธให้ SME ใน สมรภูมิธุรกิจ ฉบับ สงคราม ส่งด่วน finbiz by ttb ติดอาวุธให้ SME ใน สมรภูมิธุรกิจ ฉบับ สงคราม ส่งด่วน
  • SAM ประเดิมครึ่งปีหลัง  จัดประมูลครั้งใหญ่ทรัพย์ NPA กว่า 500 ล. SAM ประเดิมครึ่งปีหลัง จัดประมูลครั้งใหญ่ทรัพย์ NPA กว่า 500 ล.
  • กูรูเชียร์ ซื้อ PCE เคาะเป้าราคาเหมาะสม 3.10-3.60 บ./หุ้น กูรูเชียร์ ซื้อ PCE เคาะเป้าราคาเหมาะสม 3.10-3.60 บ./หุ้น
  • กรุงศรีคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 32.60-33.30 คาด กนง.คงดอกเบี้ยรอบนี้ กรุงศรีคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 32.60-33.30 คาด กนง.คงดอกเบี้ยรอบนี้
  • ‘พิชัย’ย้ำตลาดทุนไทยยังแข็งแกร่ง พร้อมรับมือตะวันออกกลางตึงเครียด ‘พิชัย’ย้ำตลาดทุนไทยยังแข็งแกร่ง พร้อมรับมือตะวันออกกลางตึงเครียด
  •  

Breaking News

'สมชาย'ฝัน! อยากเห็นศาลรับคดีไว้พิจารณา สั่งให้'แพทองธาร'หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ

ด่วน! รัฐบาลจัดยาแรง เข้มชายแดนกัมพูชา 'ตัดเน็ต-น้ำมัน-ส่งออกสินค้า-ไฟฟ้า-คว่ำบาตรฟอกเงิน

‘รองผบช.ภ.1-ผบก.อก.ภ.1’นำคณะตรวจเยี่ยมงานชุมชนสัมพันธ์-สายตรวจ สภ.คูคต

'เสก โลโซ'ปล่อยต่อเนื่องไม่ทิ้งลายร็อกเกอร์ดัง ปล่อยเพลงใหม่'ในวันที่พ่อไม่อยู่'จากเรือนจำ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved