nn ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะมั่นใจมากๆว่าด้วยฝีมือการบริหารงานด้านเศรษฐกิจภายใต้การนำของน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี (ที่ลิ่วล้อแห่กันอวยว่าเก่ง
ฉลาดมาก)...จะทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2568 เติบโตได้มากกว่าปีนี้...รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง...คาดว่าจะเติบได้ถึงระดับ 3.5% โน่นเลย
เศรษฐศาสตร์วันหยุด...ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะรู้ไหมว่าในปี’68เศรษฐกิจไทยจะต้องเจอกับอะไรบ้าง…4เครื่องยนต์สำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจะเดินเครื่องได้เต็มที่หรือไม่...ยกตัวอย่างเรื่องการส่งออก ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 60%จีดีพีไทย...และต้องพึ่งพาการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกเป็นสำคัญ...ปี’68 คงไม่มีใครกล้าเถียงว่านโยบายของสหรัฐ..จะก่อให้เกิดสงครามการค้าที่รุนแรง โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐกับจีน...ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะการค้าโลกอย่างแน่นอน และสินค้าส่งอออกของไทย ก็จะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงผ่านตลาดส่งออกสหรัฐฯและทางอ้อมผ่านตลาดอื่นๆ ที่ต้องแข่งขันกับสินค้าจีน..โดยสรุปการส่งออกของไทยจะเติบโตได้น้อยกว่าปี 2567 ที่เติบโตในระดับ 3-4%
ส่วนภาคการท่องเที่ยว ที่มีสัดส่วน 15-20% จีดีพี...ด้วยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกย่อมกระทบกับการท่องเที่ยวไทยในปี’68 แน่นอน...ในมิติของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติก็อาจจะยังไม่กลับมาเท่ากับช่วงที่ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีน ส่วนจากชาติอื่นๆ ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้านี้ด้วยเช่นกัน...ในมิติของคุณภาพ(การใช้จ่ายต่อหัว)...ก็ย่อมไม่ได้ดีขึ้นเช่นกันตามสภาพของเศรษฐกิจ ส่วนกลุ่มที่มีแรงซื้อสูงก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมาเที่ยวประเทศไทยเท่านั้น เพราะพวกเขามีทางเลือกมากมาย และประเทศคู่แข่งด้านการท่องเที่ยวก็พัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้แข่งกับไทยได้สบายๆ ขณะที่คู่แข่งของไทยสร้างแรงดึงดูดใหม่ๆ แต่ไทยยังกลับใช้มุขเดิมๆ อยู่เลย ความสดใหม่ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติก็หมดลงไปทุกวันๆ
การผลิตและการบริโภคภาคเอกชน...ก็เป็นอีกเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย ในปี’68 จะยิ่งยากลำบากขึ้นไปอีกจากที่เคยหดตัวต่อเนื่องมากว่า 2-3 ปี...ประเด็นสำคัญที่ภาคการผลิตของไทยจะต้องเจอคือการทะลักเข้ามาจากสินค้าจากจีน ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้ากับสหรัฐ...สายการผลิตสำคัญเช่นในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยแน่นอนว่าหดตัวลงตามการไหลบ่าเข้ามาของรถยนต์ EV จากจีน และกำลังซื้อในประเทศที่หดตัวลงอย่างหนัก ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ของไทยเองก็ใช้กำลังการผลิตในอัตราที่ต่ำมากเช่นกัน ด้วยเหตุที่สินค้าที่ผลิตมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงซึ่งเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาเรื่องของต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่ง
นอกจากนี้สิ่งที่ไทยจะต้องเจออีกคือว่าความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุนของไทย ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก อย่างสหรัฐฯและยุโรป จากการดำเนินนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ซึ่งมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยทั่วโลก รวมทั้งไทยด้วยที่จะมีความยากลำบากในการใช้นโยบายการเงิน
ถึงตรงนี้คงต้องรอดูว่าคณะกรรมการชุดใหม่ที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเพื่อรับมือผลกระทบจากนโยบายของ“ทรัมป์”...จะช่วยแก้โจทย์ของเศรษฐกิจไทยได้อย่างไรบ้าง...แต่ที่ต้องเตือนคือว่า...หากกระตุ้นแต่การบริโภค แต่ปัญหาในภาคการผลิตซึ่งส่งผลต่อการจ้างงานและรายได้ของฝั่งแรงงานไม่ได้รับการแก้ไข...อันนี้อันตรายมาก
พงษ์พันธุ์
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี