วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ถึงเวลาของกระทรวงพาณิชย์ ที่ต้องปกป้องผู้ประกอบการไทย

เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ถึงเวลาของกระทรวงพาณิชย์ ที่ต้องปกป้องผู้ประกอบการไทย

วันอาทิตย์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 07.42 น.
Tag : ข่าวเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์วันหยุด เศรษฐกิจไทย
  •  

 

nn ตั้งแต่ปี 2561 สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ได้ใช้มาตรา 232 (Section 232) อ้างเหตุความมั่นคงของชาติ ตามกฎหมายการขยายการค้า (Trade Expansion Act) ปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard : SG) กับสินค้าเหล็ก โดยกำหนดอากร 25% กับสินค้าเหล็กทุกประเภท และสงครามการค้าได้ขยายวงโดยสหภาพยุโรปได้ใช้อากร Safeguard 25% กับสินค้าเหล็กเช่นกัน โดยทั้งอเมริกาและสหภาพยุโรปได้ใช้มาตรการดังกล่าวมา 7 ปีต่อเนื่องแล้ว และยิ่งขยายการกีดกันการนำเข้าสินค้าประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศจีนในวงกว้างและรุนแรงยิ่งขึ้น


ในปี 2567 ประเทศที่มีการส่งออกสินค้าสูงสุดในโลก คือ จีน ส่งออกสินค้ามูลค่ามากถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่าการส่งออกของประเทศไทยถึง 12.4 เท่าตัว ในระยะหลังนี้เมื่อจีนถูกอเมริกาและสหภาพยุโรปใช้มาตรการกีดกันทางการค้าเข้มขึ้น จีนได้พุ่งเป้าส่งออกสินค้ามายังประเทศกลุ่ม Belt and Road Initiative มากขึ้นจนมีสัดส่วนการค้ามากกว่า 50% ของการค้าทั่วโลกของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคอาเซียน โดยจีนได้ส่งออกสินค้าเหล็กมาอาเซียนกว่า 40 ล้านตัน ปี 2567 คิดเป็นสัดส่วนมากเกือบ 40% ของการส่งออกเหล็กจีนไปทั่วโลก ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องใช้มาตรการทางการค้าเพื่อปกป้องการจ้างงานของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบและรักษาเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในประเทศไทยด้วย โดยในระหว่างปี 2554 - ปัจจุบัน ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่มีการใช้มาตรการปกป้องการ
นำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard) ได้แก่ อินโดนีเซีย 25 มาตรการ เวียดนาม5 มาตรการ ฟิลิปปินส์ 4 มาตรการ มาเลเซีย 3 มาตรการ ในขณะที่ประเทศไทยไม่ได้ใช้มาตรการ Safeguard มากว่า 6 ปีแล้ว และไม่เคยใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (CVD) เลย

ปัญหาสำคัญที่ประเทศไทยต้องดำเนินการป้องกันแก้ไขในช่วงสงครามการค้าโลกรุนแรง ได้แก่ 1. สินค้าจีนซึ่งไปอเมริกาและสหภาพยุโรปได้ยากขึ้น ก็จะยิ่งทะลักมาอาเซียน ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่กล้าใช้มาตรการทางการค้าบางอย่าง 2. ผู้ผลิตในไทยที่ใช้วัตถุดิบจากจีนแล้วส่งออกไปอเมริกา และสหภาพยุโรป จะถูกเพ่งเล็งและอาจถูกใช้มาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยง (Anti-Circumvention) สินค้าจากจีนที่ถูกใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และตอบโต้การอุดหนุนอยู่เดิม 3. การลงทุนจากจีนมาเปิดโรงงานในประเทศไทยจะส่งผลให้ผู้ผลิตสินค้าประเภทเดียวกันที่มีอยู่เดิมและมีกำลังการผลิต (Production Capacity) ล้นเหลืออยู่แล้วในประเทศไทย ต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากนักลงทุนจีน จนผู้ประกอบการเดิมบางรายต้องปิดกิจการลง

ขณะนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้ดำเนินการหลายมาตรการ เช่น 1. การห้ามตั้งห้ามขยายโรงงานบางประเภทซึ่งประเทศไทยมีกำลังการผลิตสูงเกินพออยู่แล้ว 2. เข้มงวดการดำเนินการทั้งตามพ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และพ.ร.บ.โรงงาน คราวนี้ก็ถึงเวลาของกระทรวงพาณิชย์ ที่นอกจากมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping: AD) แล้ว กระทรวงพาณิชย์ต้องพิจารณาใช้มาตรการอื่นๆ ด้วยตามความจำเป็น ได้แก่ มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard : SG) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty : CVD) เพื่อให้การปกป้องผู้ประกอบการในประเทศไทย

พงษ์พันธุ์

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ไม่ต้องกลัวเหล็กขาดแคลน  หลังยกเลิก มอก.เหล็กเตาIF เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ไม่ต้องกลัวเหล็กขาดแคลน หลังยกเลิก มอก.เหล็กเตาIF
  • คลังเร่งหามาตรการเสริมพยุงจีดีพีไม่ให้ต่ำกว่า 3% คลังเร่งหามาตรการเสริมพยุงจีดีพีไม่ให้ต่ำกว่า 3%
  • จับตาสงครามการค้าสหรัฐ-จีนกระทบเศรษฐกิจไทย จับตาสงครามการค้าสหรัฐ-จีนกระทบเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ยกเลิก มอก.เหล็กเตาIF  ต้องเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ยกเลิก มอก.เหล็กเตาIF ต้องเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
  • เศรษฐศาสตร์วันหยุด : เหล็กจีนจากเตาIF  รัฐบาลควรตระหนักและทบทวนได้แล้ว เศรษฐศาสตร์วันหยุด : เหล็กจีนจากเตาIF รัฐบาลควรตระหนักและทบทวนได้แล้ว
  • รมว.คลังถกรอบทิศ หาทางรับมือผลกระทบ \'ทรัมป์2.0\' รมว.คลังถกรอบทิศ หาทางรับมือผลกระทบ 'ทรัมป์2.0'
  •  

Breaking News

‘ปลัดมท.’ กำชับ ‘ผู้ว่าฯ-นายอำเภอ’ ชายแดนใต้ ต้องอยู่ในพื้นที่สร้างความมั่นใจปชช. เข้มเฝ้าระวังไฟใต้ระอุ

แห่ส่งกำลังใจ'จ่าลอด'นักแสดงไทบ้านฯ อุบัติเหตุรถตกสะพานM6 อาการสาหัส

'อ้วน รีเทิร์น'เคลียร์ชัด! โพสต์รูปคู่ 'หมอย้ง'สยบข่าวรักร้าว

โฆษกเพื่อไทยปัดไม่เคยพูดป่วยวิกฤต แค่บอกว่าป่วยได้รับการผ่าตัด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved