วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
จับตาโดมิโนภาษีสหรัฐฯ...จากเหล็กสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า

จับตาโดมิโนภาษีสหรัฐฯ...จากเหล็กสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า

วันอังคาร ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 11.17 น.
Tag : ค่าเงินบาท เครื่องใช้ไฟฟ้า ทรัมป์ ภาษี สหรัฐ SCBEIC
  •  

นางสาวจิรภา บุญพาสุข  นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) รายงานว่า นับตั้งแต่ที่สหรัฐฯ ได้เริ่มทยอยประกาศใช้นโยบายภาษีนำเข้าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ไทยเริ่มโดนเรียกเก็บภาษีนำเข้าที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาษีนำเข้า 10% จากสินค้าทุกประเทศ (Universal tariffs) และภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariffs) ที่อยู่ระหว่างเลื่อนการบังคับใช้ออกไป 90 วัน จนถึงวันที่ 9 ก.ค. 2025 นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังได้ออกประกาศมาตรการภาษีเฉพาะสินค้า (Specific tariffs) ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ออกประกาศมาตรการภาษีเฉพาะสินค้าเพิ่มเติม โดยขยายขอบเขตให้ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง (Derivative products) ที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ ซึ่งรวมถึงสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายใต้ HS code 84 และ 85 รวม 10 รายการ เช่น เครื่องซักผ้า, ตู้เย็น, เครื่องอบผ้า และเครื่องล้างจาน เป็นต้น โดยทุกประเทศจะถูกเก็บภาษีสูงสุดถึง 50% ตามสัดส่วนของมูลค่าเหล็กที่ใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ยกเว้นสหราชอาณาจักร (UK) ที่อยู่ระหว่างได้รับการผ่อนผันให้เสียภาษี 25% และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ส่วนประกอบของเหล็กที่หลอมในสหรัฐฯ จะได้รับการยกเว้นภาษีเป็น 0% ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2025 ที่ผ่านมา โดยการปรับขึ้นภาษีในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในสหรัฐฯ และลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าทุน เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม เป็นต้น

การปรับขึ้นภาษีครั้งนี้ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยใน 5 กลุ่มสินค้า


มาตรการภาษีระลอกใหม่นี้จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยทั้งหมด 5 รายการ ได้แก่ ตู้เย็น (HS CODE 8418.10), ตู้แช่แข็ง (HS CODE 8418.40), เครื่องอบผ้าขนาดใหญ่ (HS CODE 8451.29), เครื่องซักผ้าขนาดใหญ่ (HS CODE 8450.20) และเครื่องล้างจาน (HS CODE 8422.11) ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ รวมกัน 153.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2024 คิดเป็นสัดส่วนราว 4.1% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด โดยสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีครั้งนี้ค่อนข้างสูง ได้แก่ เครื่องล้างจาน, เครื่องซักผ้าขนาดใหญ่ และตู้เย็น เนื่องจากมีสัดส่วนการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ อยู่ที่ 56%, 28% และ 13% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในแต่ละหมวดสินค้า ตามลำดับ

SCB EIC คาดว่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2025 จะหดตัวที่ -1.9%YOY และมีแนวโน้มจะหดตัวมากขึ้นที่ -2.1%YOY ในปี 2026 จาก Trump’s tariffs

การปรับขึ้นภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทย ทั้งผู้ผลิตรายใหญ่และผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่จะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนมากขึ้น และจะต้องมีการพิจารณาโครงสร้างต้นทุนใหม่ทั้งหมดสำหรับสินค้าในรายการที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษี นอกจากนี้ อัตราภาษีที่สูงขึ้นจะทำให้ราคาสินค้าที่ผู้บริโภคสหร้ฐฯ ต้องจ่ายแพงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังยอดคำสั่งซื้อสินค้าจากไทยและแนวโน้มการส่งออกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดย SCB EIC คาดว่ามูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทย (รวมสินค้ารายการอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่โดนเรียกเก็บภาษีรอบนี้) มีแนวโน้มหดตัว -1.9%YOY ในปี 2025 และมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องที่ -2.1%YOY ในปี 2026 จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงและผลกระทบต่อเนื่องจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ

ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบจากมาตรการภาษีทรัมป์

ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับความเสี่ยงจาก Specific tariffs ที่เพิ่งประกาศอย่างเร่งด่วน ด้วยการประเมินความเสี่ยงในกลุ่มสินค้าที่เสี่ยงสูง มีการพิจารณาโครงสร้างต้นทุนของชิ้นส่วนในการผลิตที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบและบริหารต้นทุนเพื่อชดเชยผลกระทบจากภาษีเหล็กที่จะถูกเก็บเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะต้องเร่งปรับกลยุทธ์ด้านการค้า โดยจะต้องมีการกระจายความเสี่ยงด้วยการขยายการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น อาเซียน, ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา เป็นต้น เพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน จะต้องมีการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานการผลิต ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตให้มากขึ้น และมีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า ทั้งการเลือกใช้วัสดุ การเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น รวมถึงจะต้องเร่งส่งเสริมการทำ R&D เพื่อเลือกใช้วัสดุทดแทนการใช้เหล็ก เช่น อะลูมิเนียมรีไซเคิล และคอมโพสิตไฟเบอร์ เป็นต้น และสิ่งที่จะขาดไม่ได้คือการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้าง Ecosystem ที่เอื้อต่อการเติบโตของอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนงบประมาณด้าน R&D เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ และส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะที่ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานการผลิตมากขึ้น เพื่อให้ไทยพัฒนาไปสู่การเป็นฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะที่สำคัญของอาเซียน

ความท้าทายที่ผู้ประกอบการไทยในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังเผชิญอาจไม่ใช่จุดจบ แต่อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่เป็นแรงผลักให้ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับตัวและยกระดับศักยภาพการผลิต เพื่อรับมือกับสมรภูมิการค้าโลกที่เปลี่ยนไป เพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แข็งแกร่งในอนาคตต่อไป

การปรับขึ้นภาษีเฉพาะสินค้า (Specific tariffs) รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องที่เกี่ยวกับเหล็ก คาดว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในภาพรวม ทั้งทางตรงและทางอ้อม 1) ผลกระทบทางตรง การปรับขึ้นภาษีคาดว่าจะส่งผลให้กำลังซื้อและอุปสงค์ในตลาดสหรัฐฯ ลดลง จากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นและจะส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในระยะข้างหน้า และ 2) ผลกระทบทางอ้อม ความไม่แน่นอนของห่วงโซ่อุปทานการผลิตและการย้ายฐานการผลิต เนื่องจากเหล็กเป็นวัสดุสำคัญในการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยหากผู้ประกอบการเลือกใช้ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีส่วนประกอบของเหล็กตามพิกัดศุลกากร (HS Code 9903.81.91 และ 9903.91.98 ) ที่สหรัฐฯ กำหนดไว้ว่าจะถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม ผู้ประกอบการจะต้องมีการพิจารณาโครงสร้างต้นทุนใหม่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทย ทั้งผู้ผลิตรายใหญ่และผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งอาจนำไปสู่การย้ายฐานการผลิตในระยะต่อไปได้

ผู้ประกอบการจะต้องเร่งปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่กำลังจะมาถึง

ท่ามกลางพายุจากสงครามการค้าที่คอยซัดเข้าฝั่งไทยอยู่เป็นระลอก ผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นต้องเร่งวางกลยุทธ์เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่กำลังจะมาถึง โดยต้องเริ่มจากสิ่งที่สามารถดำเนินการได้ก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินความเสี่ยงสำหรับกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีครั้งนี้ โดยพิจารณาจากโครงสร้างต้นทุนของชิ้นส่วนในการผลิตที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ รวมถึงจะต้องมีการบริหารต้นทุนเพื่อชดเชยผลกระทบจากภาษีเหล็กที่จะถูกเก็บเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะต้องกระจายความเสี่ยงด้วยการขยายการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น อาเซียน, ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา เป็นต้น เพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน จะต้องมีการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานการผลิต โดยการนำเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและลดต้นทุนการผลิต และมีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า เช่น การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย

รวมทั้งการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น รวมถึงจะต้องเร่งส่งเสริมการทำ R&D เพื่อเลือกใช้วัสดุทดแทนการพึ่งพาการใช้เหล็กในระยะข้างหน้า เช่น อะลูมิเนียมรีไซเคิล และคอมโพสิตไฟเบอร์ เป็นต้น แต่หัวใจสำคัญที่จะขาดไม่ได้ คือการสนับสนุนจากภาครัฐ ที่จะต้องมีการลงทุนส่งเสริมการสร้าง Ecosystem ที่เอื้อต่อการพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยภาครัฐจะต้องมีการสนับสนุนการให้งบประมาณ R&D ร่วมกับภาคเอกชน เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ รวมไปถึงการส่งเสริมการลงทุนและให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะที่ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานการผลิตมากขึ้น เพื่อให้ไทยพัฒนาไปสู่การเป็นฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะที่สำคัญของอาเซียน

ความท้าทายที่ผู้ประกอบการไทยในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังเผชิญอาจไม่ใช่จุดจบ แต่อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่เป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยเร่งมือพัฒนาศักยภาพในการผลิตเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แข็งแกร่งในระยะข้างหน้า

 

-031

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • TDRIแนะทางรอดของไทย มีหลายสินค้าฝ่ามรสุมภาษีทรัมป์ได้ TDRIแนะทางรอดของไทย มีหลายสินค้าฝ่ามรสุมภาษีทรัมป์ได้
  • ค่าเงินบาทประจำวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 ค่าเงินบาทประจำวันที่ 9 กรกฎาคม 2568
  • ‘ทรัมป์’โหด!สหรัฐลุยรีดเก็บภาษีเต็มสูบ ไทยโดนภาษี36% เริ่มใช้มาตรการ1ส.ค.นี้ ‘ทรัมป์’โหด!สหรัฐลุยรีดเก็บภาษีเต็มสูบ ไทยโดนภาษี36% เริ่มใช้มาตรการ1ส.ค.นี้
  • YLG เผยครึ่งปีราคาทองคำพุ่ง 25% ลุ้นทั้งปีแตะ 3,500 ดอลลาร์สหรัฐ YLG เผยครึ่งปีราคาทองคำพุ่ง 25% ลุ้นทั้งปีแตะ 3,500 ดอลลาร์สหรัฐ
  • นักเศรษฐศาสตร์KKPแนะ แนวทางรับมือผลกระทบภาษีสหรัฐ36% นักเศรษฐศาสตร์KKPแนะ แนวทางรับมือผลกระทบภาษีสหรัฐ36%
  • บล.โกลเบล็ก คัด4หุ้นหลบภัย ช่วงตลาดขาลงจากพิษภาษีสหรัฐ บล.โกลเบล็ก คัด4หุ้นหลบภัย ช่วงตลาดขาลงจากพิษภาษีสหรัฐ
  •  

Breaking News

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved