วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน
รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน

รู้อะไรไม่สู้...รู้เรื่องเงิน

จักรพงษ์ เมษพันธุ์
วันอาทิตย์ ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564, 02.00 น.
การบริหารเงินออมในครอบครัว

ดูทั้งหมด

  •  

การจัดการเงินในครอบครัวนั้น จัดเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ เพราะแหล่งรายได้ที่เข้ามาในแต่ละเดือน ต้องถูกจัดสรรให้เพียงพอตอบสนองความต้องการของสมาชิกทุกคน และยังต้องสะสมบางส่วนไว้สำหรับการออม เพื่อเตรียมไว้สำหรับค่าใช้จ่ายสำคัญที่อาจต้องจ่ายเป็นเงินก้อนใหญ่ในอนาคต

 สำหรับเรื่องของเงินออมครอบครัวนั้น มีความจำเป็นสำคัญๆ ที่ต้องจัดสรรเงินไว้ ดังนี้


 1. เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

 ในแต่ละครอบครัวควรมีการจัดสรรเงินออม กันไว้ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องและมูลค่าไม่ผันผวน อาทิ เงินฝาก สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ ขนาดเท่ากับ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน กันแยกไว้จากใช้จ่ายและลงทุนต่างๆ สำหรับเผื่อความเสี่ยงกรณีที่รายได้ของใครคนใดคนหนึ่งหายไป (หรือทั้งคู่) จะได้มีเงินกินใช้ในช่วงเริ่มตั้งหลักใหม่ ไม่ต้องหยิบยืมและทำให้ต้องเป็นหนี้

 เงินก้อนนี้ถือเป็นเงินออมก้อนแรกที่ควรสะสม และควรเป็นเงินออมที่ต้องตรวจสอบอยู่เสมอ อย่าให้พร่องลงไป และอย่าใช้ผิดจากวัตถุประสงค์ นั่นคือจะใช้เมื่อมีเหตุฉุกเฉินเท่านั้น

ในกรณีที่ครอบครัวมีแหล่งรายได้หลายทาง และแต่ละแหล่งรายได้มีความมั่นคงสูง ก็อาจปรับลดเงินสำรองเหลือสัก 3 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้

2. ค่าใช้จ่ายในการจัดการความเสี่ยง

 ในส่วนนี้หมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง รวมไปถึงประกันอุบัติเหตุ โดยแต่ละครอบครัว (และแต่ละบุคคลในครอบครัว) ก็จะมีระดับความเสี่ยงทาง
การเงินที่แตกต่างกันไป

 ดังนั้นในการพิจารณาและจัดสรรเงินออมในส่วนนี้ จึงต้องพิจารณาให้ครอบคลุมทั้งความเสี่ยงเชิงบุคคล และงบประมาณที่จะใช้เพื่อจัดการความเสี่ยงด้วย

ทั้งนี้อาจพิจารณาเรื่องสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานต่างๆ ที่มี ว่าครอบคลุมเพียงพอ และสอดคล้องกับเงินออมหรือไม่ เช่น ถ้าสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการ หรือประกันสังคมมีความเพียงพอ และเหมาะกับสถานการณ์การเงินปัจจุบัน การเลือกใช้สิทธิขั้นพื้นฐาน เพื่อจัดการค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ก็ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม แต่หากมีความพร้อม อยากได้บริการที่เพิ่มเติมมากขึ้น ก็อาจต้องกันเงินออมของครอบครัว เอาไว้จัดการกับภาระเหล่านี้ด้วย

3. ค่าเล่าเรียนลูก

สำหรับครอบครัวที่มีลูก ค่าเล่าเรียนลูกถือเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่พอสมควร ยิ่งในปัจจุบันที่คุณพ่อคุณแม่พยายามส่งเสริมให้ลูกๆ ได้รับการศึกษาที่ดี ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็ยิ่งเพิ่มตามไปด้วย

สำหรับการออมเพื่อเก็บสะสมไว้เป็นค่าเล่าเรียนลูก อาจมีการจัดแบ่งการสะสมตามช่วงวัยของการเรียนได้ เช่น

ค่าเล่าเรียนในช่วง 1-3 ปี อาจสะสมไว้ในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ (เนื่องจากใกล้จะได้ใช้เงินแล้ว) เช่น เงินฝาก สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้

ส่วนเงินค่าเล่าเรียนที่สะสมไว้ในระยะยาวกว่านั้น ก็อาจปรับสัดส่วนให้มีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มได้บ้าง เช่น กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือประกันชีวิต

ทั้งนี้ครอบครัวอาจวางแผนร่วมกัน และเก็บค่ามูลค่าใช้จ่ายประกอบการวางแผน เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำและใกล้เคียงกับความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินในอนาคตได้

4. เงินออมเพื่อเป้าหมายระยะสั้น

ในระยะ 2-3 ปี แต่ละครอบครัวอาจมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนในกิจกรรมสำคัญ อาทิ เก็บเงินดาวน์บ้านหลังใหม่ ออกรถยนต์คันใหม่ หรือทริปท่องเที่ยวต่างประเทศ ฯลฯ

เป้าหมายเหล่านี้ถ้าไม่มีการวางแผนและสะสมเงินออมไว้ ก็ไม่ง่ายที่จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ดังนั้นแต่ละครอบครัวควรมีการพูดคุยเรื่องของเป้าหมายและแผนการเงินเป็นประจำทุกปี เพื่อกำหนดแผนการออมในการที่จะบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ครอบครัวฝันไว้

5. ทุนเกษียณ และการสะสมความมั่งคั่ง

หลายครั้งที่คนเป็นพ่อแม่มักให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนบุตรหลาน จนลืมวางแผนการเงินของตัวเองในช่วงหยุดทำงาน

ลองเริ่มต้นวางแผนเกษียณง่ายๆ โดยคาดการณ์ว่าหลังเกษียณจะใช้เงินเดือนละเท่าไหร่ และถ้าต้องอยู่หลังเกษียณยาว 15-20 ปี ต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ จากนั้นจึงค่อยมาพิจารณาเครื่องมือต่างๆ ที่มีการลงทุนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น

5.1 การลงทุนภาคบังคับ อย่างเช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนประกันสังคม

5.2 การลงทุนเพิ่มเติม อาทิ กองทุนรวมเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี กองทุนรวม หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ สลากออมทรัพย์ ประกันชีวิต ประกันบำนาญ ฯลฯ

ลองตรวจดูในทุกช่องทางว่า ทั้งหมดที่สะสมนั้นเพียงพอ หรือแผนการออมของเรามีโอกาสบรรลุเป้าหมายเกษียณได้หรือไม่ ถ้าไม่ก็ให้ปรับเพิ่มเติม

หัวใจสำคัญเลยคือ ต้องจัดสรรเงินสะสมในช่องทางต่างๆ ตั้งแต่เนิ่นๆ อย่ารอให้ใกล้เกษียณ ลูกเรียนจบกันหมด แล้วค่อยมาเริ่มวางแผนเก็บเงินเกษียณ รับรองได้ว่าไม่ทันแน่นอน

นอกเหนือไปจาก 5 ข้อที่หยิบมาคุยกันในบทความนี้ แต่ละครอบครัวอาจมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไปในประเด็นอื่นๆ ได้ แต่ทั้งหมดก็สามารถตอบสนองและทำให้บรรลุเป้าหมายได้ ด้วยการวางแผนการออมที่เหมาะสม

สำหรับใครที่มีครอบครัวแล้ว ก็ลองหยิบประเด็นสำคัญในบทความนี้กลับไปประเมินการจัดสรรเงินออมของครอบครัวคุณดูนะครับ รับรองว่าได้ประโยชน์ และช่วยเติมเต็มโอกาสทางการเงินของครอบครัวคุณได้อย่างแน่นอนครับ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
08:33 น. รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
08:27 น. 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
08:01 น. ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
07:56 น. หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
07:35 น. ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

‘ชูวิทย์’เลคเชอร์‘เรื่องตลก’พรรคร่วมฯ เหน็บจุกๆทุกครั้ง‘เพื่อไทย’เป็นรัฐบาล ต้องไล่ถึงจะลง

'หมอสุรพล'ชี้ทางออก!!! 'ถ้าไม่เปลี่ยนวัฒนธรรมพลเมืองวันนี้ ประเทศไทยจะไม่มีวันเปลี่ยน'

ไม่พบข้อมูลเดินทาง! คาด'อดีตเจ้าคุณอาชว์'ยังอยู่ในไทย มีคนให้ที่พักพิง

  • Breaking News
  • รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
  • \'ปากีสถาน\'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
  • ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่ ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
  • หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
  • ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ยุคนี้ ‘ขยันเลอะเทอะไม่ได้’ ต้องโฟกัส พัฒนาให้เร็วขึ้นเสมอ เตรียมพร้อมก่อนเริ่มงาน #CTC2025  โดยโค้ชหนุ่ม Money Coach

ยุคนี้ ‘ขยันเลอะเทอะไม่ได้’ ต้องโฟกัส พัฒนาให้เร็วขึ้นเสมอ เตรียมพร้อมก่อนเริ่มงาน #CTC2025 โดยโค้ชหนุ่ม Money Coach

29 มิ.ย. 2568

อิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง...

อิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง...

22 มิ.ย. 2568

ชอบ-ถนัด-สามารถ สูตรสร้างอาชีพเสริม

ชอบ-ถนัด-สามารถ สูตรสร้างอาชีพเสริม

15 มิ.ย. 2568

จัดการเงินออมครอบครัวให้ดี ชีวิตมีสุข

จัดการเงินออมครอบครัวให้ดี ชีวิตมีสุข

1 มิ.ย. 2568

อย่าฝากชีวิตไว้กับรายได้ในอนาคต

อย่าฝากชีวิตไว้กับรายได้ในอนาคต

25 พ.ค. 2568

อสังหาริมทรัพย์: เรียนรู้-ลงมือทำ-สำเร็จ

อสังหาริมทรัพย์: เรียนรู้-ลงมือทำ-สำเร็จ

18 พ.ค. 2568

“เปลี่ยน” เพื่อชีวิตการเงินที่ดีกว่า

“เปลี่ยน” เพื่อชีวิตการเงินที่ดีกว่า

11 พ.ค. 2568

เท่าที่มี ... ก็มากพอ (ที่จะเริ่ม)

เท่าที่มี ... ก็มากพอ (ที่จะเริ่ม)

4 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved