**ตั้งแต่ปลายปี 2560 ในยุคที่ คุณลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง นั่งเป็นอธีบดีกรมสรรพสามิต...ที่มีการนำโครงสร้างภาษียาสูบแบบ 2 อัตรามาใช้ โดยให้บุหรี่ที่ราคาต่ำกว่าเทียร์ที่กำหนดไว้เสียภาษีในอัตราน้อยกว่า ในขณะที่บุหรี่ที่มีราคาขายปลีกแพงกว่าต้องขยับไปเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่า ทำให้เกิดการแข่งขันราคาในบุหรี่เทียร์ล่าง หรือที่เกิดการกระจุกตัวของบุหรี่เกือบทั้งตลาดที่ราคาบุหรี่ที่ราวๆ 70 บาทต่อซอง ในขณะที่ราคาบุหรี่ขั้นต่ำในตลาดก็เพิ่มขึ้นจากเดิมซองละ 40 บาท ในปี 2560 เป็น 65 บาท ในปี 2568 ขยายตัวมากกว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนแอและยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่จากปัจจัยภายนอกต่างๆ โดยราคาที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจาก “อัตราภาษี” สรรพสามิตบุหรี่ที่ปรับเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด รวมทั้งการเก็บภาษีมหาดไทย ร้อยละ 10 และเงินบำรุงกองทุนผู้สูงอายุ ร้อยละ 2 ของภาษีสรรพสามิต...ผ่านมาแล้ว 8 ปี ผลกระทบที่เกิดขึ้นปฏิเสธไม่ได้ว่า นโยบายภาษียาสูบครั้งนั้น มีความผิดพลาด โดยส่งผลให้รายได้สรรพสามิตสูญหายไปกว่าปีละ 2 หมื่นล้านบาท ในขณะที่คนสูบบุหรี่ซิกาแรตกลับเพิ่มขึ้น สถานการณ์ที่ย่ำแย่คงติดอยู่ในใจ คุณเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง...จนทำให้แถลงชัดเจนว่า ต้องเร่ง ปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ เพื่อมาปราบบุหรี่เถื่อนให้สิ้นซาก...ถือว่าดีที่กล้าตัดสินใจเช่นนี้...แต่เรื่องนโยบายภาษีบุหรี่ใหม่ จำเป็นต้องเข้าใจปัญหา เพื่อหาทางแก้ไขได้อย่างถูกต้องก่อน...ปัญหาที่ 1 โครงสร้างภาษียาสูบแบบ 2 อัตรา ทำให้รายได้ภาษีสรรพสามิตบุหรี่ลดลง จากการที่ผู้บริโภคเปลี่ยนจากสูบบุหรี่ราคาแพงมาสูบบุหรี่ราคาถูก ภาษีต่อซองที่ได้ก็ลดลง แต่คนสูบเท่าเดิม นี่แหละที่ผู้เชี่ยวชาญภาษีในต่างประเทศเค้าเรียกร้องกันให้เลิกใช้ภาษีแบบหลายอัตรา เพราะบุหรี่จะไปกระจุกตัวในเทียร์ที่เสียภาษีต่ำกันหมด ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วโลก พอเกิดที่ไทยก็ทำให้การยาสูบแห่งประเทศไทย ได้รับผลกระทบ เพราะบุหรี่นอกมุดลงมาขายราคาใกล้เคียงกันกับบุหรี่ไทยมากขึ้น ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่กำไรก็ลดลง เพราะระบบหลายอัตราขาดความหลากหลายด้านราคา ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถตั้งราคาบุหรี่ในช่วงราคาที่มีภาระภาษีไม่สูงมากได้ จนมีแค่กำไรบางเฉียบเข้ากระเป๋า…ปัญหาที่ 2 อัตราภาษีที่สูงเกินไปภายใต้โครงสร้าง 2 อัตรา ทำให้ราคาบุหรี่ต้องปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าการขยายตัวของกำลังซื้อในช่วงเวลาเดียวกันมาก ทำให้คนหันไปสูบสินค้าทดแทนที่ราคาถูกกว่า เช่น บุหรี่เถื่อน และบุหรี่ไฟฟ้า อย่างไรก็ดีหากมองในมุมผู้บริโภค บุหรี่เถื่อนแพร่กระจายได้รุนแรงในระดับนี้ ไม่ใช่แค่ปัจจัยด้านราคา แต่ยังมาจากปัจจัยด้านการเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายกว่าผ่านการตลาดออนไลน์และการขนส่งสินค้าของบริษัทขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น...**
** อนันตเดช พงษ์พันธุ์**
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี