วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ออนไลน์ / ซอกซอนตะลอนไป
ซอกซอนตะลอนไป

ซอกซอนตะลอนไป

โดย...เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ
วันอาทิตย์ ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
มหัศจรรย์ ห้องอำพัน ในพระราชวังแคทเธอรีน (ตอน1)

ดูทั้งหมด

  •  

รัสเซีย เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ผมหลงไหลเป็นพิเศษ  ทั้งในแง่มุมของความลุ่มลึก และ สวยงาม ในเรื่องศิลปะ ที่ถูกปิดงำมาเป็นเวลาช้านานในช่วงที่ยังเป็นสหภาพโซเวียตรัสเซีย   จนคนทั่วโลกแทบจะไม่รู้เลยว่า  ศิลปะ และ ศิลปินชาวรัสเซียก็มีฝีมือยอดเยี่ยมไม่ด้อยไปกว่าของยุโรปเลยแม้แต่น้อย

วันนี้  ผมขอนำท่านผู้อ่านเดินทางสู่นครเซ็นต์ ปีเตอร์สเบิร์ก อดีตเมืองหลวงแห่งที่สองของรัสเซีย  สถาปนาโดยพระเจ้าปีเตอร์มหาราช เมื่อปีค.ศ. 1703


(พระเจ้าปีเตอร์ มหาราช- ภาพจากวิกิพีเดีย)

ผมจะนำท่านผู้อ่านตรงไปที่ พระราชวังแคทเธอรีน ที่อยู่ในหมู่บ้านพุชกิน นอกเมืองเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ไปทางใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่ประทับในช่วงฤดูร้อนของ ราชินี แคทเธอรีน  เช่นเดียวกับ พระราชวังปีเตอร์ ฮ๊อฟ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพระราชวังฤดูร้อนของพระเจ้าปีเตอร์ โดยเฉพาะ

(พระนางแคทเธอรีน มเหสีของพระเจ้าปีเตอร์-ภาพจากวิกิพีเดีย)

จุดที่ผมจะพูดถึงพระราชวังแห่งนี้ก็คือ  ห้องอัมพัน ซึ่งมีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ที่หาชมที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว  

ก่อนที่จะพูดถึงห้องอัมพัน  ผมขอเล่าย้อนหลังก่อนที่จะมาเป็นห้องอัมพันนี้เสียก่อน

ในสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช  พระองค์ทรงเป็นมิตรที่ดีแทบจะสนิทสนมเป็นการส่วนตัวกับ พระเจ้าเฟรดเดอริคที่ 1 แห่งปรัสเซีย 

ปรัสเซีย  ก็คือประเทศเยอรมันในเวลาต่อมานั่นเอง  

(แผนที่รัสเซีย  จะเห็นเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์กอยู่ด้านบน และ มอสโคว์ อยู่ดานล่าง -ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

พระเจ้าปีเตอร์ได้แสดงให้เห็นถึงความอัจฉริยะในการวางแผน และ การทำสงคราม  พระองค์ทรงมองการณ์ไกลว่า  เมืองหลวงของรัสเซียซึ่งตอนนั้นตั้งอยู่ที่กรุงมอสโคว์  เป็นเมืองที่ไม่มีทางออกทะเลโดยตรง  นอกจากจะเดินทางล่องแม่น้ำออกไปสู่ทะเล  ซึ่งค่อนข้างจะใช้เวลานานมาก

พระเจ้าปีเตอร์ เห็นว่า รัสเซียไม่มีทางที่จะเป็นชาติยิ่งใหญ่ได้  หากเมืองหลวง คือ มอสโคว์ไม่มีทางออกทะเลโดยตรง   พระองค์จึงเริ่มมองหาจุดที่ตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่ที่มีทางออกทะเล 

ในที่สุด  พระเจ้าปีเตอร์ ก็ทรงเห็นดินแดนที่รกร้าง  ไร้ประโยนช์  เพราะเป็นที่ราบลุ่มต่ำ  ชุ่มน้ำ  เหมือนหนองบึง  และเป็นดินโคลนส่วนใหญ่  ตั้งอยู่ริมทะเลบอลติค  ตรงอ่าวฟินแลนด์ปากแม่น้ำเนวา(NEVA RIVER)

แต่ปัญหาก็คือ ดินแดนบริเวณนี้อยู่ภายใต้การครอบครองของ สวีเดน มหาอำนาจทางทะเลในยุคนั้น 

แต่ด้วยความสามารถทางทหาร  พระเจ้าปีเตอร์ ตัดสินยึดดินแดนที่ไร้ประโยชน์บริเวณนี้  แม้ว่าจะต้องแลกด้วยการทำสงครามกับสวีเดนเป็นเวลาหลายปีก็ตาม  ซึ่งลงท้ายด้วยชัยชนะของรัสเซีย   

(ป้อมปราการ ปีเตอร์ พอล ที่สร้างขึ้นตามหลักยุทธศาสตร์ - ภาพจากวิกิพีเดีย)

จากนั้น  พระองค์ก็สร้างป้อมปราการที่เข้มแข็งขึ้นตรงบริเวณปากแม่น้ำ  เรียกว่า  ป้อมปราการปีเตอร์ และ พอล ซึ่งก็คือชื่อของสาวกของพระเยซูสองพระองค์นั่นเอง  โดยหนึ่งในนั้นก็คือ ปีเตอร์ พระนามของพระองค์เองด้วย

เนื่องจากพื้นที่แถบนี้  เป็นที่ราบต่ำมีน้ำขังเฉอะแฉะ  เต็มไปด้วยโรคภัยนานาชนิด  โดยเฉพาะ  โรคมาเลเรีย   ดังนั้น  เมื่อพระเจ้าปีเตอร์ประกาศว่า  จะย้ายเมืองหลวงจากมอสโคว์ มาอยู่ที่นี่  ทุกคนจึงแอบซุบซิบนินทาว่า   พระองค์คงจะเสียสติไปแล้ว

แต่พระองค์ไม่สนใจ   เดินหน้าสร้างเมืองหลวงใหม่ขึ้นมา   ด้วยการขุดดินทำเป็นแม่น้ำลำคลอง  เพื่อใช้ดินที่ว่านี้มาถมยกพื้นดินให้สูงขึ้น   ด้วยเหตุนี้  เมืองเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก จึงเต็มไปด้วยแม่น้ำลำคลองน้อยใหญ่กระจายไปทั่วทั้งเมือง

คล้ายๆกับเกาะเวนิส   แต่สวยงามและน่ารักกว่ามาก  เพราะ เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก เป็นแม่น้ำลำคลองที่ไม่กว้างใหญ่นัก  น้ำในแม่น้ำค่อนข้างสงบ  ราบเรียบ  ในขณะที่ เกาะเวนิส เป็นเกาะกลางทะเล   แม่น้ำลำคลองส่วนใหญ่จึงกว้างมาก   และ  มักจะมีคลื่นลมแรง

หลังจากผ่านความเหนื่อยยากลำบากถึงขนาดที่พระองค์จะต้องย้ายมาประทับในกระท่อมไม้ซุงหลังเล็กที่เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก เพื่อคุมการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง   เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ก็พร้อมที่จะเป็นเมืองหลวงใหม่ของราชวงศ์โรมานอฟ และ ของรัสเซีย

มเหสีของพระองค์คือ แคทเธอรีน ซึ่งเรียกขานกันต่อมาว่า  แคทเธอรีน ที่ 1 ได้สั่งให้สร้างพระราชวังที่ประทับสำหรับช่วงฤดูร้อนขึ้นนอกเมือง 

(พระราชวังแคทเธอรีน-ภาพจากวิกิพีเดีย)

และนี่คือที่มาของพระราชวังแคทเธอรีน  และ  ห้องอัมพัน ที่โด่งดัง ซึ่งผมจะเล่าต่อในตอนต่อๆไปครับ

สำหรับท่านที่สนใจจะเดินทางแบบเจาะลึกอียิปต์ 10 วัน 7 คืนกับ ผม   เรามีทัวร์ออกเดินทางทุกเดือน   ติดต่อสอบถาม และสำรองที่นั่งได้ที่ 02 651 6900  หรือ  088 578 6666 หรือ  LINE ID 14092498

ผมกำลังจะเดินทางไปอินเดีย เพื่อสำรวจเส้นทางใหม่ ที่เมืองอาเมดาบาด และ บูเบสชวา  อาจจะขาดหายจากงานเขียนไปบ้าง   แต่จะพยายามรายงานการเดินทางตลอดเวลาผ่านทางเฟซบุ๊คครับ

อย่าลืมติดตามนะครับ   

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ  

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:22 น. 'เพื่อไทย'โต้เฟกนิวส์!! ยัน'รัฐบาล'ไม่มีส่งวัตถุโบราณ 20 ชิ้นให้กัมพูชา
13:06 น. รองโฆษกเพื่อไทยฉะสส.ตีรวน ชงนับองค์ประชุมมุ่งการเมืองเกินไป
13:00 น. นายกฯอิ๊งค์ยินดี 'เติ้น-ทัศนพล'สร้างประวัติศาสตร์ นักขับไทยคนแรกคว้าแชมป์ฟอร์มูล่าทรี 2025
12:47 น. ‘เด็จพี่’เย้ย‘นายกฯชั่วคราว’แค่ฝันกลางวัน ไล่‘ฝ่ายค้าน’ไปเคลียร์กันก่อนจะชูใคร
12:35 น. ‘จิรวัฒน์’จวกวิธีการคนจี้ยุบสภาฯเร่งร้อน-ชิงความได้เปรียบเกินไป
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'เพื่อไทย'โต้เฟกนิวส์!! ยัน'รัฐบาล'ไม่มีส่งวัตถุโบราณ 20 ชิ้นให้กัมพูชา

‘เด็จพี่’เย้ย‘นายกฯชั่วคราว’แค่ฝันกลางวัน ไล่‘ฝ่ายค้าน’ไปเคลียร์กันก่อนจะชูใคร

‘จิรวัฒน์’จวกวิธีการคนจี้ยุบสภาฯเร่งร้อน-ชิงความได้เปรียบเกินไป

‘เพื่อไทย’ชี้ไม่มีความจำเป็นยุบสภาฯ มั่นใจ'อิ๊งค์'จะเรียกความเชื่อมั่น-ฟื้นศรัทธาปชช.กลับมา

วิญญาณยังไม่ไปไหน! ทำบุญหอพักอุทิศบุญ นศ.สาวซดน้ำกระท่อมดับ

รัฐบาลคิกออฟ Web D ใช้ AI สกัดเว็บไซต์ผิดกฏหมาย

  • Breaking News
  • \'เพื่อไทย\'โต้เฟกนิวส์!! ยัน\'รัฐบาล\'ไม่มีส่งวัตถุโบราณ 20 ชิ้นให้กัมพูชา 'เพื่อไทย'โต้เฟกนิวส์!! ยัน'รัฐบาล'ไม่มีส่งวัตถุโบราณ 20 ชิ้นให้กัมพูชา
  • รองโฆษกเพื่อไทยฉะสส.ตีรวน  ชงนับองค์ประชุมมุ่งการเมืองเกินไป รองโฆษกเพื่อไทยฉะสส.ตีรวน ชงนับองค์ประชุมมุ่งการเมืองเกินไป
  • นายกฯอิ๊งค์ยินดี \'เติ้น-ทัศนพล\'สร้างประวัติศาสตร์ นักขับไทยคนแรกคว้าแชมป์ฟอร์มูล่าทรี 2025 นายกฯอิ๊งค์ยินดี 'เติ้น-ทัศนพล'สร้างประวัติศาสตร์ นักขับไทยคนแรกคว้าแชมป์ฟอร์มูล่าทรี 2025
  • ‘เด็จพี่’เย้ย‘นายกฯชั่วคราว’แค่ฝันกลางวัน ไล่‘ฝ่ายค้าน’ไปเคลียร์กันก่อนจะชูใคร ‘เด็จพี่’เย้ย‘นายกฯชั่วคราว’แค่ฝันกลางวัน ไล่‘ฝ่ายค้าน’ไปเคลียร์กันก่อนจะชูใคร
  • ‘จิรวัฒน์’จวกวิธีการคนจี้ยุบสภาฯเร่งร้อน-ชิงความได้เปรียบเกินไป ‘จิรวัฒน์’จวกวิธีการคนจี้ยุบสภาฯเร่งร้อน-ชิงความได้เปรียบเกินไป
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน47)  หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน47) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

6 ก.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน46) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน46) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

29 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน45) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน45) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

22 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน44) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน44) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

15 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน43) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน43) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

8 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน42) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน42) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

1 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน41) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน41) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

25 พ.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

11 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved