วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ออนไลน์ / ซอกซอนตะลอนไป
ซอกซอนตะลอนไป

ซอกซอนตะลอนไป

โดย...เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ
วันอาทิตย์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, 02.00 น.
เทศกาลดิวาลี (ตอน 2)

ดูทั้งหมด

  •  

ดิวาลี เป็นเทศกาลแห่งตะเกียงไฟ  และ  เทศกาลแห่งความสุข  เฉลิมฉลองกันนาน 5 วันด้วยกัน

วันแรกของเทศกาล เรียกว่า  ดานเทอราส(DHANTERAS)  ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ หรือ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563  (เทอราส เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า 13)  ทำให้วันดิวาลี หรือ ลักษมี ปูจา อันเป็นวันสำคัญที่สุดของเทศกาลนี้ ตรงกับวันที่ 15 พฤศจิกายน และเป็นวันแรม 15 ค่ำด้วย   (บางปฎิทินกำหนดให้วันดิวาลี ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน)


คำว่า ดาน (DHAN) เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า  ทรัพย์สิน  หรือ  ความมั่งคั่ง  

ชาวฮินดูจะเริ่มด้วยการทำความสะอาดบ้านเรือน  ที่ทำงาน หรือร้านขายของของตนเอง  การทำความสะอาดนี้   ถือเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในการเริ่มต้นปี

ซึ่งตรงกับแนวคิดของชาวจีน  ที่จะต้องทำความสะอาดบ้านเรือน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ  ห้องครัว และ เตาไฟ ก่อนวันตรุษจีน  ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นศิริมงคลของครอบครัว และ  ความเจริญรุ่งเรืองในอนาคต

(ดิยา  หรือ  ตะเกียงดินเผา ใช้น้ำมัน หรือ น้ำมันเนย เป็นเชื้อเพลิง - ภาพจากวิกิพีเดีย)

จากนั้นก็จัดวาง ดิยา (DIYA)  หรือ ตะเกียงดินเผาที่ใช้น้ำมันหรือเนยเป็นเชื้อเพลิง วางตามระเบียงทางเดิน เป็นแถวเป็นแนว หรือ วางเป็นลวดลายต่างๆ  เพื่อเป็นการต้อนรับพระแม่ลักษมี  เทพีแห่ง ความมั่งคั่ง และ  ความรุ่งเรือง และ พระพิฆเณศวร เทพเจ้าแห่งการเริ่มต้น  เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ  และ  ภูมิปัญญา

ผู้หญิงและเด็ก  จะช่วยกันแต่งแต้มทางเดินเข้าบ้านให้สวยงามด้วยผงแป้งสี หรือ ผงทรายสีทำเป็นลวดลายต่างๆ เรียกว่า รังโกลิ(RANGOLI)   ในขณะที่ผู้ชาย เด็กชายจะช่วยกันตกแต่งบ้าน กำแพงบ้าน ให้สวยงาม

(รังโกลิ ศิลปะการรังสรรความสวยงามบนพื้นด้วยผงแป้งสี หรือ ทรายสี - ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

วันดานเทอรัส ถือเป็นวันหลักของการช้อปปิ้ง ผู้คนออกไปหาซื้อข้าวของ  เครื่องใช้ๆต่างๆ  หรือ อัญมณีประเภททองคำ เป็นต้น  แต่เนื่องจากทองคำมีราคาแพงมาก  จึงอนุโลมให้ซื้อของอื่นๆที่ทำด้วยโลหะเข้าบ้านก็ได้  เช่น  เครื่องใช้ในครัวเรือน

เชื่อกันว่า  หากซื้อของพวกโลหะเหล่านี้เข้าบ้านในช่วงเวลาที่เป็นมงคล  เหมือนกับซื้อของในช่วงที่ฤกษ์ดีทำนองนั้น  ก็จะทำให้ชีวิตครอบครัวประสบความเจริญรุ่งเรือง

ตอนเย็น ทั้งครอบครัวจะทำการบูชาพระแม่ลักษมี และ พระพิฆเณศวร  พร้อมด้วยการถวายอาหารต่างๆ  โดยเฉพาะของหวานที่เรียกว่า มิไทย

(ขนมหวานต่างๆในเทศกาล ดิวาลี)

วัน ดานเทอราส ยังมีความสำคัญตามความเชื่อของชาวฮินดูอีกว่า  ถือเป็นวันประสูติของพระแม่ลักษมี  ที่ถือกำเนิดขึ้นจากผลของการกวนเกษียรสมุทรในทะเลน้ำนม ของเหล่าบรรดาเทพเจ้า กับ บรรดาอสูร

(การกวนเกษียรสมุทร ตามตำนานของฮินดู - ภาพจากวิกิพีเดีย)

วันที่สองของเทศกาลดิวาลี  เรียกว่า  นะระกะ จตุรดาสี (NARAKA CHATURDASI) ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ  คำว่า จตุรดาสี แปลว่า 14   

ส่วนคำว่า  นะระกะ(NARAKA)  แปลว่า  นรก  ซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่า  เซิร์ก (SWARG) ที่แปลว่าสวรรค์

หลักคิดของศาสนาฮินดู เชื่อว่า   เมื่อมนุษย์ตายไปจะมีทางเลือก 2 ทางคือ  ไปสวรรค์  หรือ  ไปนรก  ขึ้นอยู่กับว่า  บุคคลผู้นั้นได้ทำความดี  หรือ  ความชั่วเอาไว้ในตอนที่มีชีวิตอยู่

หากทำความดีก็จะได้ไปสวรรค์ หรือ ไปนิพพาน(NIRVANA)

ศาสนาฮินดูได้รับอิทธิพลเรื่องนิพพานนี้ไปจากศาสนาพุทธ  และเชื่อว่า   หากดวงวิญญาณไปสู่นิพพาน  ก็จะทำให้ดวงวิญญาณของผู้ตายมีความสงบ  มีความสุข

แต่หากดวงวิญญาณไป นรก  ก็จะกลายเป็น บูท (BHOOT) คือดวงวิญญาณที่ไม่มีความสงบ  และทุกข์ยากลำบาก  และจะต้องกลับมาเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกในโลกมนุษย์

ในวันนี้   ชาวฮินดูจะจุดตะเกียงภายในบ้าน  เพื่อว่า   หากดวงวิญญาณของบรรพบุรุษของเขาที่ยังเป็น บูท  กลับมาที่บ้าน  ก็จะได้เห็นว่า  บ้านของตนเองยังอยู่ดี  สมาชิกยังมีความสุข  และ  ได้รับผลบุญจากการบูชาของบรรดาลูกหลาน 

นอกจากนี้   สำหรับวิญญาณเร่ร่อนต่างๆ   ก็จะได้รับประโยชน์จากดวงไฟตะเกียงที่วางประดับไปตามถนนหนทาง  วิหาร  ในเมือง  เพื่อว่าวิญญาณเหล่านี้จะสามารถมองเห็นทางเดินของตัวเองที่จะเดินไปข้างหน้าในโลกหลังความตายได้

นอกจากนี้  ยังเชื่อกันว่า  เป็นวันแห่งการปลดปล่อยดวงวิญญาณให้หลุดพ้นจากการทนทุกข์ทรมานใน “นรก” อีกด้วย

(ของเซ่นไหว้ในเทศกาล สาร์ทจีน ในประเทศไทย- ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

จะว่าไป ก็คล้ายๆกับวันสาร์ทจีนเดือน 7 หรือ วันส่งตายายในเดือน 10 ของไทยเหมือนกัน

เรื่องราวของวัน นะระกะ จตุรดาสี ยังไม่จบ  รออ่านต่อในสัปดาห์หน้านะครับ

สวัสดีครับ

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
09:26 น. รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า
09:14 น. ‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
09:05 น. เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน
08:53 น. 'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร
08:43 น. ใครจะถูกหักเหลี่ยม! 'เทพไท'ชี้ 'นายกฯชั่วคราว'เกมชิงอำนาจชิงไหวชิงพริบ ระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร

กระบะชนหนี! จยย.พ่วงข้างคว่ำล้อชี้ฟ้า หนุ่มเมียนมาบาดเจ็บ

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

  • Breaking News
  • รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า
  • ‘นฤมล’สั่ง\'สพฐ.-สพท.\'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม  หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
  • เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน
  • \'สวนดุสิตโพล\'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร 'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร
  • ใครจะถูกหักเหลี่ยม! \'เทพไท\'ชี้ \'นายกฯชั่วคราว\'เกมชิงอำนาจชิงไหวชิงพริบ ระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน ใครจะถูกหักเหลี่ยม! 'เทพไท'ชี้ 'นายกฯชั่วคราว'เกมชิงอำนาจชิงไหวชิงพริบ ระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน47)  หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน47) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

6 ก.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน46) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน46) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

29 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน45) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน45) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

22 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน44) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน44) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

15 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน43) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน43) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

8 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน42) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน42) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

1 มิ.ย. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน41) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ (ตอน41) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

25 พ.ค. 2568

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ

11 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved