วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
LIFE&HEALTH : รู้จัก...กัญชาทางการแพทย์

LIFE&HEALTH : รู้จัก...กัญชาทางการแพทย์

วันพุธ ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : LIFE&HEALTH
  •  

ในยุคนี้ผู้คนให้ความสนใจในการใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกในการส่งเสริมสุขภาพ และรักษาโรคมากขึ้นโดยเฉพาะกระแสการใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างแพร่หลายในวงกว้าง ข้อมูลจาก อาจารย์เภสัชกรดร.เชาวลิตมณฑล วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า พบว่ามีการนำกัญชามาใช้รักษาตนเองโดยขาดความรู้ความเข้าใจ ส่งผลให้ได้รับอันตรายจากการใช้กัญชาได้ บทความนี้จะให้ความรู้เบื้องต้นสำหรับการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่ประชาชนควรรู้ โดยบทความนี้ไม่หมายรวมถึงการนำไปใช้เพื่อการสันทนาการหรือการเสพกัญชาอย่างผิดกฎหมาย

พืชกัญชามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa subsp. indica พืชกัญชามีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกับ กัญชง (Cannabis sativa subsp.sativa) แต่แตกต่างกันที่สปีชีส์ย่อย ส่วนของพืชกัญชาที่นำมาใช้ทางการแพทย์ คือ ช่อดอกเพศเมีย ประเทศไทยจัดกัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 สารออกฤทธิ์ที่พบได้ในกัญชาเป็นสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ ในกัญชาพบสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ประมาณ 100 ชนิด และสารอื่นๆ อีกประมาณ 400 ชนิด แต่สารสำคัญของกัญชาที่รู้จักกันทั่วไป จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ เดลต้า-9-เตตระไฮโดรแคนนาบินอลหรือทีเอชซี (THC) และแคนนาบิไดออลหรือซีบีดี (CBD) สารทีเอชซี (THC) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เหนี่ยวนำให้เกิดความรู้สึกเคลิ้มฝัน แก้ปวด แก้คลื่นไส้อาเจียน กระตุ้นความอยากอาหาร ส่วนสารซีบีดี(CBD) มีฤทธิ์คลายกังวล เป็นสารที่ไม่มีฤทธิ์เสพติด สามารถรักษาอาการทางจิตและประสาท แก้ปวด แก้อักเสบ และต้านการชัก


ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์มีประโยชน์ในหลายโรค ได้แก่ ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับยาเคมีบำบัด โรคลมชักที่รักษายากบางชนิดและโรคลมชักที่ดื้อต่อการรักษา ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และภาวะปวดเส้นประสาท

นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์กัญชาน่าจะได้ประโยชน์ในการควบคุมอาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทอักเสบอื่นๆ และโรควิตกกังวล

ปัจจุบันยังไม่มีขนาดยาเริ่มต้นที่แน่นอนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา แต่ควรเริ่มใช้ในขนาดต่ำและปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นช้าๆ จนได้ขนาดยาที่เหมาะสมที่สุดและเกิดผลข้างเคียงต่ำซึ่งขนาดยาที่ผู้ป่วยแต่ละรายตอบสนองจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นกับลักษณะของผู้ป่วย โรคที่ผู้ป่วยเป็น และผลิตภัณฑ์ที่ใช้

แต่อย่างไรก็ตาม แนวทางการรักษาตามวิธีมาตรฐานไม่แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชาเป็นทางเลือกแรก แต่แนะนำให้ใช้เป็นทางเลือกรองลงมา หรือใช้ควบคู่กับการรักษาตามวิธีมาตรฐาน

น้ำมันกัญชาที่ใช้กันปัจจุบันและซื้อขายในตลาดใต้ดิน มักจะเป็นสารสกัดหยาบของกัญชาในเอทิลแอลกอฮอล์ ที่กำจัดแอลกอฮอล์ออกแล้ว ดังนั้นสารสกัดจึงมีความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์ค่อนข้างสูง การนำมาใช้จะต้องมีการเจือจางก่อน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณสารที่สูงเกินไปจนเกิดอันตรายได้ น้ำมันที่นิยมใช้เพื่อเจือจางสารสกัดกัญชา ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันพืช เช่น น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก เป็นต้น

การใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบยาหยดใต้ลิ้น ระยะเวลาที่สารสำคัญถึงระดับสูงสุดในเลือด อาจใช้เวลานานหลายชั่วโมง ทำให้ผู้ป่วยบางรายเข้าใจผิดว่า ไม่ตอบสนองต่อยาจึงเพิ่มขนาดยาหรือเพิ่มจำนวนหยดของการใช้น้ำมันกัญชา ส่งผลให้เมื่อยาออกฤทธิ์ทำให้ระดับยาในเลือดผู้ป่วยสูงเกินไป จึงเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยาได้

การใช้กัญชาครั้งแรกควรเริ่มใช้ในเวลาก่อนนอนและควรมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อระมัดระวังการเกิดผลข้างเคียง โดยต้องปรับลดขนาดยาเมื่อเกิดอาการเวียนศีรษะ
เสียสมดุล หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตผิดปกติ และจะต้องหยุดยาเมื่อเกิดอาการสับสน กระวนกระวาย ประสาทหลอน วิตกกังวล และโรคจิต ในระหว่างการใช้กัญชาผู้ป่วยไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานกับเครื่องจักรกล เนื่องจากบางรายมีอาการมึนศีรษะและง่วงซึมได้ นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังการใช้ยากัญชาร่วมกับยาแผนปัจจุบัน เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น การใช้กัญชาร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดประสาท จะทำให้ฤทธิ์การกดประสาทของยาดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น

กัญชามีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้กัญชาหรือส่วนประกอบอื่นๆในผลิตภัณฑ์จากกัญชา ผู้ที่มีอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ยังไม่สามารถควบคุมอาการได้ หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ที่มีอาการโรคจิต โรควิตกกังวล หรืออารมณ์แปรปรวน และควรหลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร

ยา สมุนไพร หรือกัญชาล้วนแล้วแต่มีประโยชน์และโทษด้วยกันทั้งนั้น การใช้กัญชาภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานความน่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์จะทำให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้กัญชาโดยที่เกิดโทษน้อยที่สุด แต่กัญชาที่ใช้จะต้องทราบปริมาณของสารสำคัญ (สารทีเอชซีและซีบีดี) ที่แน่นอนปราศจากการปนเปื้อนของโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง และเชื้อก่อโรค ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน อันจะส่งผลต่อประสิทธิผลในการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วยต่อไป

ผศ.(พิเศษ)ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์

ประธานกรรมการ มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • LIFE&HEALTH : รู้จักโรคไทรอยด์ต่ำ: สาเหตุ อาการ และการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี LIFE&HEALTH : รู้จักโรคไทรอยด์ต่ำ: สาเหตุ อาการ และการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี
  • LIFE&HEALTH : สัญญาณเตือนก่อนเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด LIFE&HEALTH : สัญญาณเตือนก่อนเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด
  • LIFE & HEALTH : ข้อควรรู้เบื้องต้นการตรวจเช็คช่วงล่างรถยนต์..เตรียมรถให้พร้อมเดินทางปลอดภัย LIFE & HEALTH : ข้อควรรู้เบื้องต้นการตรวจเช็คช่วงล่างรถยนต์..เตรียมรถให้พร้อมเดินทางปลอดภัย
  • Life & Health : ความก้าวหน้าในงานบริการ ปชช. ของ รพ.สมเด็จพระยุพราชเชียงของ จ.เชียงราย Life & Health : ความก้าวหน้าในงานบริการ ปชช. ของ รพ.สมเด็จพระยุพราชเชียงของ จ.เชียงราย
  • LIFE&HEALTH : ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ผลต่อสุขภาพและคุณภาพการใชชีวิต LIFE&HEALTH : ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ผลต่อสุขภาพและคุณภาพการใชชีวิต
  • LIFE&HEALTH : อนาคตของเทรนด์ไทยปี 2025 เมื่อ Social Monitoring เป็นหัวใจสำคัญ LIFE&HEALTH : อนาคตของเทรนด์ไทยปี 2025 เมื่อ Social Monitoring เป็นหัวใจสำคัญ
  •  

Breaking News

(คลิป) ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2 ชุดขาวในเงามืด!

'อุ๊งอิ๊งค์'วางฤกษ์ 9 โมง เข้ากระทรวงวัฒนธรรมวันพรุ่งนี้

ครม.อิ๊งค์1/2 เฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่

'หมอวรงค์'แฉมีคนพยายามแทรกแซงศาล หวังตีตกไต่สวนคดีชั้น 14

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved